สถาปัตยกรรมเหตุผลนิยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุผลนิยม (อังกฤษ: Rationalism) ในทางสถาปัตยกรรม หมายถึงกระแสสถาปัตยกรรมซ่งส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นในอิตาลีในทศวรรษที่ 1920 และ 1930 วิตรูเวียสเป็นผู้กล่าวอ้างในงานเขียน De architectura ว่าสถาปัตยกรรมเป็นวิทยาศาสตร์ที่สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล แนวคิดนี้ถูกนำมาต่อยอดและพัฒนาในงานเขียนเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมในยุคเรนเนสซองส์ ทฤษฎีศิลปะยุคศตวรรษที่สิบแปดต้านศิลปะแบบบาโรกที่ใช้ความฟุ้งเฟ้อเกินจริง แต่เลือกใช้ความงดงามตามความเป็นจริง

เหตุผลนิยมในศตวรรษที่ยี่สิบเป็นการต่อต้านต่อศิลปะแบบอาร์ตนูโวและเอกซเพรชชั่นนิสม์

คำว่า Rationalism ยังมักนำมาใช้เพื่อเรียกถึงสถาปัตยกรรมอินเทอร์เนชั่นนอลเช่นกัน[1][2][3][4]

เหตุผลนิยมยุคเรืองปัญญา[แก้]

โครงการอนุสรณ์สถานไอแซก นิวตัน โดย Étienne-Louis Boullée

เหตุผลนิยมยังสามารถใช้เรียกขบวนการสถาปัตยกรรมที่มีขึ้นในยุคเรืองปัญญา ซึ่งโต้แย้งว่าพื้นฐานทางปัญญาของสถาปัตยกรรมนั้นหลัก ๆ อยู่ในวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่อต้านการอ้างถึงธรรมเนียมและความเชื่อโบราณ แนวคิดนี้เป็นไปตามที่ René Descartes ระบุ ซึ่งเน้นย้ำการใช้เส้นรูปทางเรขาคณิตและสัดส่วนตามอุดมคติ[5]: 81–84 

นักทฤษฎีสถาปัตยกรรมในยุคนี้ที่ขับเคลื่อนแนวคิดเหตุผลนิยมยังรวมถึง Jean-Louis de Cordemoy (1631–1713),[6]: 559 [7]: 265  Carlo Lodoli ชาวเวนิส (1690–1761),[6]: 560  Abbé Marc-Antoine Laugier (1713–1769) และ Quatremère de Quincy (1755–1849)[5]: 87–92 

สถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดย Claude Nicholas Ledoux (1736–1806) และ Étienne-Louis Boullée (1728–1799) เป็นตัวอย่างชิ้นงานรูปแบบทั่วไปของสถาปัตยกรรมเหตุผลนิยมยุคเรืองปัญญา (Enlightenment rationalism) ด้วยการใช้รูปทางเรขาคณิตโดยบริสุทธิ์[5]: 92–96 

เหตุผลนิยมเชิงโครงสร้าง[แก้]

เหตุผลนิยมเชิงโครงสร้าง (structural rationalism) ส่วนใหญ่หมายถึงขบวนการสถาปัตยกรรมในยุคศตวรรษที่ 19 ที่มักเกี่ยวเนื่องกับ Eugène Viollet-le-Duc และ Auguste Choisy โดย Viollet-le-Duc ปฏิเสธแนวคิดของสถาปัตยกรรมอุดมคติ แต่มองสถาปัตยกรรมในแง่ของการก่อสร้างที่มีเหตุผล กำกับไว้ด้วยวัสดุและเป้าหมายใข้งานของสถาปัตยกรรมนั้น ๆ

สถาปนิก Eugène Train เป็นหนึ่งในสถาปนิกคนสำคัญของสายนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลงานอาคารทางการศึกษา เช่น Collège Chaptal และ Lycée Voltaire[8]

เหตุผลนิยมต้นศตวรรษที่ 20[แก้]

ที่ทำการพรรคฟาสซิสต์เดิมในโกโม ออกแบบโดย Giuseppe Terragni.

สถาปนิกเช่น Henri Labrouste และ Auguste Perret นำเอาหลักของเหตุผลนิยมเชิงโครงสร้างตลอดศตวรรษที่ 19 มาใช้ในงานออกแบบของตน ในต้นศตวรรษที่ 20 สถาปนิกเช่น Hendrik Petrus Berlage ได้ศึกษาแนวคิดที่ส่าโครวสร้างในตัวมันเองควรจะสร้างพื้นที่ (space) โดยที่ไม่ต้องมีการตกแต่ง ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นมอเดิร์นนิสม์ ที่ศึกษาแนวคิดนี้อย่างลึกลงไปอีก กลุ่มมอเดิร์นนิสต์โซเวียตอย่าง ASNOVA เป็นที่รู้จักในชื่อ "นักเหตุผลนิยม" ('the Rationalists')

สถาปัตยกรรมเหตุผลนิยม (อิตาลี: Architettura razionale) เติบโตมาในอิตาลีระหว่างทศวรรษ 1920-1930 ไปจนถึง 1940 ภายใต้การสนับสนุนของระบอบฟาสซิสต์อิตาลีที่นำโดยมุสโสลินี ในปี 1926 กลุ่มของสถาปนิกรุ่นใหม่ ได้แก่ Sebastiano Larco, Guido Frette, Carlo Enrico Rava, Adalberto Libera, Luigi Figini, Gino Pollini และ Giuseppe Terragni (1904–43) ได้ก่อตั้ง Gruppo 7 ซึ่งตีพิมพ์ประกาศ (manifesto) ของตนในนิตยสาร Rassegna Italiana ประกาศเจตจำนงว่าจะเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างลัทธิคลาสสิกแบบ Novecento Italiano และลัทธิอุตสาหกรรมแบบฟิวเชอริสม์[9]: 203  ตัวอย่างชิ้นแรก ๆ ของสถาปัตยกรรมนี้คือ ปาลัซโซกวาลีโน ใน ตูริน สร้างให้กับนักการเงิน Riccardo Gualino โดยสถาปนิก Gino Levi-Montalcini และ Giuseppe Pagano[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Turner, Jane (1996). The Dictionary of Art. 26 Raphon to Rome, ancient, §II: Architecture. London: Grove. ISBN 1-884446-00-0.
  2. El siglo XX. Vanguardias (ภาษาสเปน). Milan: Electa. 2006. p. 101. ISBN 84-8156-404-4.
  3. Khan, Hasan-Uddin (2009). El Estilo Internacional (ภาษาสเปน). Köln: Taschen. ISBN 978-3-8365-1053-0.
  4. Baldellou, Miguel Ángel; Capitel, Antón (1995). Summa Artis XL: Arquitectura española del siglo XX (ภาษาสเปน). Madrid: Espasa Calpe. ISBN 84-239-5482-X.
  5. 5.0 5.1 5.2 Broadbent, Geoffrey (1990). Emerging Concepts in Urban Space Design. London: Van Nostrand Reinhold (International). ISBN 9780747600251.
  6. 6.0 6.1 Kostof, Spiro (1985). A History of Architecture: Settings and Rituals. New York: Oxford University Press. ISBN 9780195034721.
  7. Lefaivre, Liane; Tzonis, Alexander (2004). The Emergence of Modern Architecture: A Documentary History from 1000 to 1810. London: Routledge. ISBN 9780415260244.
  8. Froissart-Pezone, Rossella; Wittman, Richard (1999–2000). "The École Nationale des Arts Décoratifs in Paris Adapts to Meet the Twentieth Century". Studies in the Decorative Arts. University of Chicago Press on behalf of the Bard Graduate Center. 7 (1): 30. JSTOR 40662721.
  9. Frampton, Kenneth (2007). Modern Architecture: A Critical History. New York: Thames & Hudson. ISBN 9780500203958.
  10. "Palazzo Gualino". MuseoTorino. สืบค้นเมื่อ 2015-09-18.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]