ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ E-Saan Software Park จัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจาก หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศไทย โดยเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องมี สถานที่จริง เพื่อเป็นแหล่งรวมของบริษัทที่ทำการผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ และ เพื่อเป็นศูนย์รวมกิจกรรมด้านการบริการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และ การยกระดับคุณภาพองค์กรซอฟต์แวร์ของไทย รวมถึงการส่งเสริมผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านซอฟต์แวร์ในเรื่องการตลาด การจับคู่ธุรกิจ การช่วยประสานงานหาแหล่งเงินสนับสนุนทางการเงิน และ การจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ และ การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

ไฟล์:Esswlogo.jpg
สัญลักษณ์ของ E-Saan Software Park
CIMATT Web Hosting
KhonKaen360.com เว็บไซต์บริการข้อมูลทางธุรกิจของ จ.ขอนแก่น

ที่อยู่[แก้]

ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชั้น 4 อาคารศูนย์วิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002 โทรศัพท์ (+66)-43-202-426 โทรสาร (+66)-43-202292

ภาระกิจการบริการของศูนย์ฯ[แก้]

  • พัฒนาธุรกิจและการตลาด (Business Development and Market Enabling)

สนับสนุนผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ในการขยายช่องทางการตลาด ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย ผลักดันให้เกิดพันธมิตรธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ประสานงานด้านแหล่งเงินทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและร่วมทุนในธุรกิจซอฟต์แวร์

  • ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ (Software Technology Transfering)

ฝึกอบรมบุคลากรทั้งระดับมืออาชีพและองค์กร เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรไอที ในสาขาต่างๆ โดยมีกิจกรรมหลักคือ อบรมหลักสูตรเทคโนโลยีด้านซอฟต์แวร์สำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และบุคคลทั่วไปที่ต้องการความรู้เฉพาะทาง จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยก้าวสู่มาตรฐานความเชี่ยวชาญระดับสากล โดยการสอบประกาศนียบัตรไอทีในสาขาต่างๆ

  • บ่มเพาะธุรกิจซอฟต์แวร์ (Software Business Incubation)

เป็นบริการเพื่อเสริมสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถไปสู่ความสำเร็จของการธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ โดยให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ สถานที่ทำงานพร้อมอุปกรณ์ การฝึกอบรม การให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ การจับคู่ธุรกิจ การจัดหาแหล่งเงินทุน การให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายธุรกิจ รวมทั้งการเปิดช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ

  • ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย (Animation and Multimedia Innovation)

ศูนย์นวัตกรรมแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย หรือ AMIC เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ สาขาขอนแก่น และผู้ประกอบการด้าน Animation & Multimedia โดยวัตถุประสงค์ของศูนย์แห่งนี้ เปิดกว้างสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะเข้ารับการฝึกอบรม และแลกเปลี่ยนความรู้จากผู้มีประสบการณ์ เพื่อพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานด้าน Digital Media และนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งปัญหาหลักของงานในสาขา Digital Media คือการขาดแคลนบุคลากร เงินทุน และช่องทางการตลาด AMIC จะทำหน้าที่ สร้างคน สร้างงาน สร้างตลาด สร้างธุรกิจ โดยเน้นไปที่ Animation & Multimedia, Mobile Application & Computer Games (Edutainment)

  • วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Research and Development)

โดยเครือข่ายความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญไอทีในสาขาต่างๆ ในสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการดำเนินกิจกรรมในการวิจัยและพัฒนาในด้าน ICT โดยเน้น Embedded System, RFID, Wireless Devices, Open Source, High Performance Computing,Software Engineering,CIMATT Web Hosting และ Business Portal Websiteให้บริการข้อมูลทางธุรกิจของจังหวัดขอนแก่นภายใต้ชื่อ"ขอนแก่น360ดอตคอม"(KhonKaen360.com)[1] เก็บถาวร 2008-01-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • บริการพื้นที่สำนักงาน / ห้องฝึกอบรม (Office Rental and Training Facilities)

บริการให้เช่าพื้นที่สำนักงานสำหรับบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อเป็นแหล่งรวมของ Cluster ของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ที่จะสนับสนุนให้บริษัทต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเกิดความร่วมมือทางธุรกิจและเทคโนโลยี บริการห้องฝึกอบรมอบรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย

หน่วยงานภายใต้การกำกับ[แก้]

ศูนย์[แก้]

  • ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีซอฟต์แวร์
  • โครงการจัดตั้ง North Eastern Digital Content Center
  • ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจซอฟต์แวร์
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ขอนแก่น
  • ศูนย์พัฒนาทักษะและการเรียนรู้ ICT ภูเก็ต

เครือข่าย[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]