จุ้ยบ้วยเนี้ย
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
จุ้ยบ้วยเซี่ยเนี้ย | |||||||
เทวรูป พระแม่จุ้ยบ้วยเนี่ยเนี้ย ศิลปะแบบประเพณีจีน | |||||||
ภาษาจีน | 水尾圣娘 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | เจ้าแม่ท้ายน้ำ | ||||||
|
จุ้ยโบเนี้ยว (สำเนียงจีนฮกเกี้ยน) หรือ จุ้ยบ้วยเนี้ย (สำเนียงจีนแต้จิ๋ว) หรือ ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง (สำเนียงไฮ้หน่ำ-ไหหลำ) (จีน: 水尾聖娘; พินอิน: Shuǐ wěi shèng niáng) เป็นเทวนารีนักพรตตามความเชื่อของจีน และศาสนาเต๋า พระนาม “ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง” หรือแปลตรงตัวได้ว่า เจ้าแม่ท้ายน้ำ หรือที่ชาวไทยรู้จักกันในนาม เจ้าแม่ทับทิม เป็นเทพนารีนักพรต ที่รู้จักและนิยมบูชาเช่นเดียวกับม่าจ้อโป๋ หรือไฮตังม่า เป็นเทพเจ้าที่ได้รับความเคารพในหมู่ของชาวฮกเกี้ยน ชาวไหหลำ และชาวจีนโพ้นทะเล ที่ประกอบอาชีพเป็นชาวประมงเดินเรือ โดยส่วนใหญ่ชาวไทยมักเข้าใจผิดว่า “ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง” กับ “ม่าจ้อโป๋” เป็นองค์เดียวกัน จึงนิยมเรียกรวมกันว่า "เจ้าแม่ทับทิม" ซึ่งแท้ที่จริงแล้วตามความเชื่อของจีนเป็นคนละองค์กัน[1]
โดยศาลเจ้าของ “ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง” เฉพาะในประเทศไทยมีกันหลายแห่ง ที่โด่งดังมีชื่อเสียง ได้แก่ ศาลเจ้า “ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง” เชิงสะพานเตียนฮี่ (ซังฮี้-แต้จิ๋ว) เป็นศาลเจ้าแม่ทับทิมที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ขณะที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม เชิงสะพานพระปกเกล้า ย่านพาหุรัด, ศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง สามย่าน เป็นศาลของม่าจ้อโป๋ หรือเทียนโหวเซี้ยบ้อ ซึ่งเป็นเทพคนละองค์กับ “ตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง”
อนึ่ง การใช้ชื่อ "จุ้ยโบเนี้ยว" (水尾娘) คือการเรียกโดยใช้สำเนียงจีนฮกเกี้ยน ที่เรียกชื่อศาลเจ้าตุ๊ยบ่วยเต๊งเหนี่ยง ซึ่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (ร.1-ร.3) การใช้สำเนียงฮกเกี้ยนถือเป็นสำเนียงที่ได้รับการยอมรับ เช่นเดียวกับการแปลวรรณกรรมต่าง ๆ ที่แปลโดยใช้สำเนียงจีนฮกเกี้ยน เช่น สามก๊ก เลียดก๊ก ห้องสิน ไซฮั่น ไซอิ๋ว เป็นต้น ซึ่งจุ้ยโบเนี้ยวถือเป็น "ชื่อเฉพาะ" ที่ใช้เรียกศาลเจ้าแม่ทับทิมสามเสน เชิงสะพานซังฮี้ ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]คำศัพท์ สำเนียงไฮ้หน่ำ-ไหหลำ :
水 ตุ่ย = น้ำ
尾 บ่วย = ท้าย/หาง
聖 เต๊ง = ปราชญ์/สิ่งศักดิ์สิทธิ์
娘 เหนี่ยง = สตรี/หญิง
แปลรวม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเทพนารีแห่งหมู่บ้านท้ายน้ำ เนื่องจากพระองค์เริ่มมีศาลแห่งแรกที่หมู่บ้านตุ๊ยบ่วยซุย เกาะไหหลำ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ หน้า 13 ประชาชื่น, ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้วไม่ใช่เจ้าแม่ทับทิม. "เล้ง 1919 (LHONG 1919) ท่าเรือ ย้อนเวลาสู่ประวัติศาสตร์ไทย-จีน" โดย ธนะธัช ตังคะประเสริฐ: มติชนปีที่ 40 ฉบับที่ 14495: วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560