ศานตินิเกตัน

พิกัด: 23°41′N 87°41′E / 23.68°N 87.68°E / 23.68; 87.68
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศานตินิเกตัน

พลปุระ
ย่าน
ศานตินิเกตันคฤหะ ในศานตินิเกตันอาศรม
ศานตินิเกตันคฤหะ ในศานตินิเกตันอาศรม
ศานตินิเกตันตั้งอยู่ในรัฐเบงกอลตะวันตก
ศานตินิเกตัน
ศานตินิเกตัน
พิกัด: 23°41′N 87°41′E / 23.68°N 87.68°E / 23.68; 87.68
ประเทศอินเดีย
รัฐเบงกอลตะวันตก
อำเภอพีรภูม
ความสูง30 เมตร (100 ฟุต)
ภาษา
 • ทางการเบงกอล, อังกฤษ
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN731204 (พลปุระ)
731235 (ศานตินิเกตัน)
731236 (ศรีนิเกตัน)
รหัสโทรศัพท์/STD+91 03463

ศานตินิเกตัน (อักษรโรมัน: Shantiniketan) เป็นย่านในเมืองพลปุระ ตำบลพลปุระ อำเภอพีรภูม รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างไปทางเหนือราว 152 กิโลเมตรจากโกลกาตา ศานตินิเกตันสถาปนาขึ้นโดยมหาฤษีเทเวนทรนาถ ฐากุร และต่อมาได้รับการขยับขยายโดยบุตรของเขา รพินทรนาถ ฐากุร ปัจจุบันศานตินิเกตันเป็นเมืองมหาวิทยาลัยสืบเนื่องมาจากการสถาปนาวิศวภารตี ซึ่งเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของรพินทรนาถ ฐากุร[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

อุปาสนคฤห์ (Upasana Griha) โถงกระจกที่เทเวนทรนาถสร้างขึ้นโดยได้แรงบันดาลใจมาจากเดอะคริสตัลพาลิซ

ในปี 1863 เทเวนทรนาถ ฐากุร ได้เช่าที่ดินขนาด 20 เอเคอร์ (81,000 ตารางเมตร) เป็นการถาวรด้วยค่าเช่าปีละ 5 รูปี จากภุวัน โมหัน สิงห์ (Bhuban Mohan Sinha) ตลุกทรจากรายปุระในพีรภูม บนที่ดินนี้มีต้นฉติม (chhatim; ต้นตีนเป็ด) สองต้นปลูกอยู่ ฐากุรสร้างเรือนรับรองขึ้นหนึ่งหลัง และตั้งชื่อให้กับที่ดินนี้ว่า "ศานตินิเกตัน" แปลว่า "ที่พำนักแห่งสันติ" เมื่อเวลาผ่านไป พื้นที่นี้โดยรวมค่อย ๆ ลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อศานตินิเกตันเช่นกัน[2]

พินัย โฆษ กล่าวว่าในกลางศตวรรษที่ 19 พลปุระยังเป็นเพียงสถานที่เล็ก ๆ หลังศานตินิเกตันเติบโตขึ้น พลปุระก็เติบโตไปเช่นกัน พื้นที่จำนวนหนึ่งของพลปุระถือเป็น ซามินดารี ของตระกูลสิงห์ (Sinha) แห่งรายปุระ ภุวัน โมหัน สิงห์ ได้พัฒนาหมู่บ้านเล็ก ๆ ขึ้นในแถบพลปุระ และตั้งชื่อว่า ภุวันทังคะ (Bhubandanga) ปัจจุบันหมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศานตินิเกตันพอดี ภุวันทังคะเคยเป็นแหล่งมั่วสุมของกลุ่มอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เลื่องชื่อ และไม่มีความชั่งใจในการจะสังหารคน ต่อมาจึงเกิดข้อพิพาทและการเผชิญหน้ากันระหว่างศานตินิเกตันกับกลุ่มอาชญากร แต่สุดท้ายหัวหน้ากลุ่มอาชญากรได้ศิโรราบแก่เทเวนทรนาถ และเริ่มเปลี่ยนมาช่วยเขาในการพัฒนาพื้นที่นี้แทน เทเวนทรนาถเคยนั่งสมาธิอยู่เบื้องใต้ต้นฉติม (chhatim) ในศานตินิเกตันนี้ เทเวนทรนาถได้รับแรงบันดาลใจมาจากเดอะคริสตัลพาลิซ ซึ่งเดิมทีสร้างขึ้นที่ฮายด์พาร์กในลอนดอน เพื่อใช้จัดแสดงเกรตเอ็กซิบิชั่นเมื่อปี 1851 ก่อนที่ต่อมาจะถูกย้ายออกไป เขาได้สร้างโถงขนาด 60 คูณ 30 ฟุตขึ้น เพื่อใช้สำหรับการสวดภาวนาพราหโม หลังคาของโถงเป็นกาะเบื้อง ส่วนพื้นปูด้วยหินอ่อนสีขาว ส่วนที่เหลือของอาคารทำมาจากกระจกเช่นเดียวกับเดอะคริสตัลพาลิซที่ลอนดอน อาคารนี้ได้ดึงดูดผู้คนมรจากทุกสารทิศมานับตั้งแต่ช่วงแรกสุด[3] รพินทรนาถ ฐากุร เดินทางมายังศานตินิเกตันเป็นครั้งแรกเมื่อ 27 มกราคม 1878 ขณะนั้นอายุ 17 ปี ในปี 1888 เทเวนทรนาถได้อุทิศอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้เพื่อการก่อตั้งพรหมวิทยาลัย (Brahmavidyalaya) ขึ้น ผ่านทางการตั้งทรัสต์ ในปี 1901 รพินทรนาถได้เริ่มต้นตั้งพรหมจารียาศรม (Brahmacharyaashrama) ขึ้น ที่ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อปถภาวนาตั้งแต่ปี 1925[3][4]

ตระกูลฐากุรเป็นครอบครัวผู้นำการเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตและสังคมในเบงกอลผ่านกิจกรรมในภาคส่วนต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน[5] สภาแวดล้อมที่โชรสังโก ฐากุรพารี หนึ่งในฐานของตระกูลฐากุรในโกลกาตา เต็มไปด้วยดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม และการละคร[6] รพินทรนาถ ฐากุร ได้ก่อตั้งวิศวภารตีขึ้นที่ศานตินิเกตันในปี 1921 และวิทยาลัยได้รับสถานะมหาวิทยาลัยกลางและเป็นสถาบันที่มีความสำคัญระดับชาติในปี 1951[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Pearson, WW.: Santiniketan Bolpur School of Rabindranath Tagore, illustrations by Mukul Dey, The Macmillan Company, 1916
  2. Basak, Tapan Kumar, Rabindranath-Santiniketan-Sriniketan (An Introduction), p. 2, B.B.Publication
  3. 3.0 3.1 Ghosh, Binoy, Paschim Banger Sanskriti, (ในภาษาเบงกอล), part I, 1976 edition, pages 299-304, Prakash Bhaban, Kolkata
  4. "Visva Bharati". History. Visva Bharati. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  5. Deb, Chitra, Jorasanko and the Thakur Family, Pages 64-65, in Calcutta: The Living City, Volume I, edited by Sukanta Chaudhuri, Oxford University Press.
  6. Jorasanko and the Thakur Family by Chitra Deb in Calcutta, the Living City, edited by Sukanta Chaudhuri, Vol I, page 66
  7. "Visva Bharati". About Visva-Bharati. Visva Bharati. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.