ว่านตะขาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ว่านตะขาบ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Polygonaceae
สกุล: Muehlenbeckia
สปีชีส์: M.  platyclada
ชื่อทวินาม
Muehlenbeckia platyclada

ว่านตะขาบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Muehlenbeckia platyclada (F.v.Muell.) Meissn. เป็นพืชในวงศ์ Polygonaceae ชื่ออื่นๆคือ ตะขาบบิน ตะขาบหิน ตะขาบปีนกล้วย (ภาคกลาง) เพว เฟอ (กรุงเทพมหานคร) ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ) ผักเปลว ตะขาบทะยานฟ้า

ลักษณะ[แก้]

ไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง ต้นอ่อนสีเขียว แบนเรียบ เป็นข้อๆ สีเขียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก ต้นแก่โคนต้นเป็นสีน้ำตาลและกลม ใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดเล็ก มีใบน้อย หรือไม่มีเลย ใบเรียงสลับ ร่วงง่าย ขอบใบเรียบ เนื้อใบอ่อนนิ่ม ไม่มีก้านใบ ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ออกเป็นกระจุกเล็กๆ ที่บริเวณข้อ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกต้นกัน ดอกย่อยขนาดเล็กมาก กลีบรวมสีขาวแกมเขียว มี 5 กลีบ รูปไข่ ก้านดอกสั้น โคนกลีบดอกติดกัน ก้านชูดอกสั้นมาก เกสรตัวผู้ 7-8 อัน ผลสด มีเนื้อ ฉ่ำน้ำ รูปค่อนข้างกลม ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกสีแดง มีรสหวาน เมล็ดเดี่ยว สีเหลือง เป็นสัน 3 สัน[1]

ทรงพุ่มของว่านตะขาบ

สรรพคุณ[แก้]

ว่านตะขาบมีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร ทั้งต้น แก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ แก้ฝีในปอด แก้ไอ แก้เจ็บคอ ใช้ภายนอก แก้โรคผิวหนังเจ็บ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ฝีตะมอย ต้นและใบสด ตำผสมเหล้า พอกหรือคั้นน้ำทา ถอนพิษแมงป่องและตะขาบ แก้ฟกบวม เคล็ดขัดยอก ใบตำผสมเหล้าขาว คั้นน้ำหยอดหูแก้หูน้ำหนวก[2]

อ้างอิง[แก้]