วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์
วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์คอนโซล สำหรับบริหารจัดการวินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ผ่านเน็ตเวิร์ก
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
ตระกูลระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์
รหัสต้นฉบับClosed source / Shared source
เผยแพร่สู่
กระบวนการผลิต
RTM: 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
Retail: 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
รุ่นล่าสุด6.0.2030.0 (Power Pack 2) / 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
รุ่นทดลองล่าสุดPower Pack 3 Beta 1 / กรกฎาคม พ.ศ. 2552[1][2]
ชนิดเคอร์เนลHybrid
สัญญาอนุญาตMicrosoft EULA
เว็บไซต์ทางการhttp://www.microsoft.com/windowshomeserver/

วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ (Windows Home Server, ชื่อรหัส: Q) เป็นระบบปฏิบัติการที่มาจากไมโครซอฟท์ ซึ่งได้ประกาศอย่างเป็นทางการในงาน Consumer Electronics Show (CES) 2007 โดยบิลล์ เกตส์ วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ออกแบบสำหรับครัวเรือนเพื่อใช้งานในบ้านที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง โดยจะให้บริการความสามารถหลักในเรื่องการสำรองข้อมูล แชร์ไฟล์ และ Remote Access

วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ ใช้ฐานจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 SP2 โดยมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ออกแบบให้ใช้งานง่ายสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่องการดูแลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ทั้งผ่านเว็บ หรือผ่านโปรแกรมเชื่อมต่อของมันเอง โดยวินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์นั้นไม่ต้องการอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างเมาส์ หรือคีย์บอร์ดแต่อย่างใด โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ติดตั้งวินโดวส์เอกซ์พี หรือวินโดวส์วิสตาในการเชื่อมต่อเข้าสู่วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์เพื่อบริหารจัดการแทน

วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ ยังสามารถทำงานร่วมกับ Time Machine โปรแกรมสำรองข้อมูลของ Mac OS X v10.5 Leopard"

วินโดวส์โฮมเซิร์ฟเวอร์ได้มีกำหนดการที่ออกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2550

ความสามารถ[แก้]

  • Centralized Backup - สามารถสำรองข้อมูลได้ถึง 10 เครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้เทคโนโลยี Single Instance Store ในการหลีกเลี่ยงสำรองไฟล์เดียวกัน แม้ว่าไฟล์นั้นมีอยู่ในหลายเครื่องคอมพิวเตอร์
  • Health Monitoring - สามารถตรวจสอบสถานะเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเน็ตเวิร์กจากทีเดียว ซึ่งรวมถึงสถานะไฟร์วอลล์ และโปรแกรมป้องกันไวรัส
  • File Sharing - เป็นจุดศูนย์กลางในการแชร์ไฟล์ต่างๆ
  • Printing Sharing - เป็นจุดศูนย์กลางในการแชร์เครื่องพิมพ์สำหรับผู้ใช้ทั้งหมดในเน็ตเวิร์ก
  • Previous Versions - ใช้ความสามารถ Volume Shadow Copy โดยสามารถดึงไฟล์รุ่นก่อนหน้านี้ได้ แม้ว่าไฟล์นั้นจะถูกเขียนทับไปแล้ว
  • Headless Operation - ไม่มีหน้าจอ คีย์บอร์ด หรือเมาส์เชื่อมต่อโดยตรง ซึ่งคล้ายกับ router
  • Remote Administration - มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ ในการบริหารจัดการด้วยการรีโมตเข้ามา
  • Remote Access Gateway - สามารถเชื่อมต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์ใดก็ได้ในเน็ตเวิร์ก จากข้างนอก
  • Media Streaming - รองรับการส่งเพลงหรือวิดีโอต่างๆไปที่เอกซ์บอกซ์ 360 หรือ Windows Media Player
  • Data Redundancy - ข้อมูลที่สำรองจะถูกทำสำเนาไปยังฮาร์ดดิสก์หลายตัว ป้องกันข้อมูลสูญหายในกรณีฮาร์ดดิสก์หนึ่งตัวล้มเหลว
  • Expandable Storage - แหล่งเก็บข้อมูลรวมเป็นหนึ่งเดียวกันหมดเหมือนมีเพียงไดร์ฟเดียว และสามารถเพิ่มความจุได้อย่างง่าย เช่นต่ออาร์ดดิสก์ภายนอกเพิ่มผ่านยูเอสบี

อ้างอิง[แก้]

  1. "Info on Power Pack 3 Beta 1 ..." Techchuck. 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  2. http://www.techchuck.com/2009/07/18/microsoft-beta-fies-home-server-pp3-for-windows-7/

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]