บิล เกตส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บิลล์ เกตส์)
บิล เกตส์
บิล เกตส์ ใน ค.ศ. 2023
เกิดวิลเลียม เฮน รี เกตส์ ที่สาม
(1955-10-28) ตุลาคม 28, 1955 (68 ปี)
ซีแอตเทิล, รัฐวอชิงตัน, สหรัฐอเมริกา
สัญชาติอเมริกัน
การศึกษาโรงเรียนแลคไซด์ เมื่อปี ค.ศ. 1973
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (ลาออกเพื่อไปก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์)
อาชีพที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยีไมโครซอฟท์
ประธานร่วมของมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์
ซีอีโอของแคสเคดอินเวสต์เมนต์
ประธานของคอร์บิส
ปีปฏิบัติงาน1975–ปัจจุบัน
กรรมการในเบิร์กเชียแฮธาเวย์
คู่สมรสเมลินดา เกตส์ (สมรส 1994; 2021)[1]
บุตร3 คน
บุพการีวิลเลียม เอ็ช เกตส์ จูเนียร์ (พ่อ)
แมรี แม็กซ์เวลล์ เกตส์ (แม่)
เว็บไซต์www.gatesnotes.com
ลายมือชื่อ

วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (อังกฤษ: William Henry Gates III; เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิลล์ เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน

วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน (KBE) จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 (And Bill Gates Below)

และบิล เกตส์เคยถูกตํารวจจับ 2 ครั้ง ในข้อหาเรื่องขับรถเร็วเกินกําหนดและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ในปี ค.ศ. 1975 และบิล เกตส์ถูกจับอีกครั้งในข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่และฝ่าไฟแดงในปี ค.ศ. 1977

เกียรติประวัติ[แก้]

ประมาณการทรัพย์สินของเกตส์[แก้]

บิล เกตส์ ติดอันดับหนึ่ง จากการจัดอันดับ "ฟอร์บ 400" ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2005 และติดอันดับหนึ่งในการจัดอันดับมหาเศรษฐีโลกของนิตยสารฟอร์บ ในปี ค.ศ. 1996 และระหว่างปี ค.ศ. 1998-2005 ซึ่งจากการจัดอันดับดังกล่าว สรุปได้ว่าทรัพย์สินสุทธิของเขามีมูลค่าดังต่อไปนี้:

  • ค.ศ. 1996 - 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 1997 - 36.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 2 ของโลก ([1] เก็บถาวร 2009-04-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน) (รองจากสุลตานโบลเกียแห่งบรูไน ผู้ซึ่งอยู่ในการจัดอันดับของปีนี้ แม้ว่าฟอร์บจะมีนโยบายไม่รวมประมุขของรัฐไว้ในการจัดอันดับก็ตาม)
  • ค.ศ. 1998 - 51.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 1999 - 90.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2000 - 60.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2001 - 58.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2002 - 52.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2003 - 40.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2004 - 46.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก
  • ค.ศ. 2005 - 46.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อันดับ 1 ของโลก

การที่ทรัพย์สินสุทธิของเกตส์ มีมูลค่าลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา มีสาเหตุมาจากการที่หุ้นของไมโครซอฟท์มีราคาลดลง รวมถึงการที่เขาได้บริจาคเงินหลายพันล้านดอลลาร์ให้องค์กรการกุศลของเขา และแม้เขาจะมีรายได้ลดลง ตามรายงานของนิตยสารฟอร์บในปีค.ศ. 2004 เกตส์ยังได้บริจาคเงินรวมกว่า 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับองค์กรการกุศลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เขาได้กลายเป็นบุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในโลกไปเสียแล้ว แม้จะนับเอาประมุขของรัฐ (ผู้ซึ่งทรัพย์สินมาจากสถานะทางสังคม) ไว้ในการจัดอันดับด้วยก็ตาม (แม้ว่าการจัดอันดับตามมาตรฐานของนิตยสารฟอร์บนั้น จะไม่รวมเอาประมุขของรัฐเอาไว้ด้วย ฟอร์บได้จัดทำบัญชีประมาณการทรัพย์สินของประมุขแต่ละประเทศไว้ต่างหาก เมื่อนำรายชื่อจากการจัดอันดับทั้งสองแบบมารวมกันแล้ว พบว่าเกตส์เป็นบุคคลที่มั่งคั่งที่สุดในโลก) แต่ใน ค.ศ. 2016 เขาได้กลับมามีเงิน 76.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(แปลมาจากวิกิพีเดียเวอร์ชันภาษาอังกฤษ)

วัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

ในภาพยนตร์และโทรทัศน์[แก้]

บุคลิกของบิล เกตส์ มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของเนิร์ดสุดอัจฉริยะ ผู้มีอำนาจล้นฟ้า ซึ่งบุคลิกดังกล่าวนี้มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมป็อป ในการใช้เกตส์เป็นแบบฉบับของ จอมกบฏ หรือ อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบัญชาการจักรวรรดิเทคโนโลยี

ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง ได้นำเสนอบิล เกตส์ ทั้งในแบบที่นำเกตส์ตัวจริงมาปรากฏตัว หรือจินตนาการตัวละครในแบบของเขาขึ้นมา ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะนำบุคลิกที่กล่าวมาข้างต้นมาเป็นต้นแบบ และการที่บิลเกต สื่อมวลชนมักจะคิดว่าบิล เกตส์ วิตกจริตเกี่ยวกับไอคิวของเขา รวมทั้งเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไอคิว และเชื่อกันว่าไอคิวของเกตส์อยู่ที่ราว 160 แต่อย่างไรก็ดี หลายคนประมาณการจากผลสอบ SAT exam (ที่ต้องใช้ในการสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด) แล้วสรุปว่าเขามีระดับไอคิวอยู่ระหว่าง 120-140 เท่านั้นเอง

ในนวนิยาย[แก้]

ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอตัวละครบิล เกตส์ในรูปแบบนวนิยาย ได้แก่:

  • เดอะ เน็ท (The Net - ค.ศ. 1995) — แองเจลลา เบนเน็ต นางเอกของเรื่องรับบทโดยซานดรา บูลล็อก เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์สาวผู้ชอบเก็บตัว เธอได้บังเอิญไปพบ ประตูหลัง (back door) ที่ทำให้สามารถเจาะเข้าโปรแกรมระบบรักษาความปลอดภัยที่กำลังจะถูกขายให้กับรัฐบาลกลางสหรัฐ ซึ่งโปรแกรมนี้ถูกออกแบบโดยบริษัทที่มีลักษณะคล้ายไมโครซอฟท์ โดยมี เจฟ เกร็ก เป็นเจ้าของ เขาเป็นเศรษฐีพันล้าน ผู้ซึ่งมีลักษณะคล้ายบิล เกตส์มาก จากการที่เราเห็นตัวของตัวละครนี้ปรากฏตัวเพียงไม่กี่ฉาก การค้นพบดังกล่าวทำให้แองเจลลากลายเป็นเป้าของพวก แพรโทเรียน กลุ่มก่อการร้ายในโลกไซเบอร์ผู้จงรักภักดีต่อเกร็ก ซึ่งได้กระทำการลบข้อมูลส่วนบุคคลของแองเจลลา และพยายามจะฆ่าเธอ เพื่อที่จะเอาแผ่นดิสก์ที่เป็นหลักฐานมัดตัวการสำคัญคืนมา
  • สมองกลคนสวย (A.I. Love You - ค.ศ. 1996) — ตอนต้นของเรื่อง ฮิโตชิ และซาติ ได้พบกับแฮกเกอร์จอมโฉดยอดอัจฉริยะนามว่า บิลลี่ จี. ซึ่งภายหลังผู้แต่งก็ยอมรับว่ามีที่มาจากบิล เกตส์
  • พยัคฆ์ร้าย 007 ตอน พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow Never Dies - ค.ศ. 1997) — เอลลิออต คาร์เวอร์ (รับบทโดย โจนาธาน ไพรซ์) เป็นประธานองค์กรผู้นำด้านการสื่อสาร หนึ่งในบริษัทที่คาร์เวอร์เป็นเจ้าของ ประกอบธุรกิจผลิตระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่แฝงข้อผิดพลาดไว้ ซึ่งจะบังคับให้ผู้ใช้อัพเกรดระบบอย่างเป็นวงจรไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นยุทธวิธีในการพัฒนาซอฟต์แวร์ของคาร์เวอร์นั้น ได้เคยปรากฏเป็นบทวิพากษ์วิจารณ์การผลิตระบบปฏิบัติการภายใต้การนำของบิล เกตส์อย่างต่อเนื่อง คาร์เวอร์และเกตส์ยังมีลักษณะที่คล้ายกันอีกด้วย
  • เดอะ ซิมป์สัน (15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998) (ปีที่ 9 ตอนที่ 5F11) — บิล เกตส์มาซื้อบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ไม่ชอบมาพากลของ โฮเมอร์ ซิมป์สัน มีชื่อว่า CompuGlobalHyperMegaNet เกตส์สั่งให้ลูกสมุนของเขา "ซื้อขาด" กิจการของซิมป์สัน จนพวกเขากระทั่งสามารถรื้อทำลายสำนักงานได้ และเมื่อโฮเมอร์ทวงเงิน เกตส์ตอบว่า "โอ้ ผมไม่ได้รวยขึ้นมาจากการเขียนเช็คหรอกนะ! (ตามด้วยเสียงหัวเราะอย่างบ้าคลั่ง) "
  • South Park: Bigger, Longer, and Uncut (ค.ศ. 1999) — นายพลแห่งกองทัพบกสหรัฐนายหนึ่งได้มาร้องทุกข์ว่า วินโดวส์ 98 ของเขาที่เพิ่งอัพเกรดล่าสุด ไม่ได้เสถียรไปกว่าเวอร์ชันก่อนที่เป็น วินโดวส์ 95 และเรียกร้องจะขอพบบิล เกตส์ เมื่อตัวการ์ตูนเกตส์เริ่มชี้แจงเหตุผลว่า วินโดวส์ 98 ที่ใช้เทคโนแบบเบิลนั้นเสถียรแค่ไหน ท่านนายพลก็ได้ชักปืนออกมายิงเขา
  • Pretty Sammy 2 ภาพยนตร์แอนิเมชัน ที่มีตัวละครชั่วร้ายใช้ชื่อว่า บิฟ สแตนดาร์ด เจ้าของบริษัทผลิตซอฟต์แวร์สแตนด์ซอฟท์ ที่กำลังพยายามยึดครองตลาดระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของญี่ปุ่น (และมีคู่แข่งที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด ชื่อว่า บริษัทไพน์แอปเปิล ซอฟต์แวร์) ด้วยการทำร้ายตัวละครเอกของเรื่อง
  • Pirates of Silicon Valley (ค.ศ. 1999) — ภาพยนตร์ที่นำเสนอประวัติของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และไมโครซอฟท์ โดยมีแอนโทนี ไมเคิล ฮอล รับบทเป็นบิล เกตส์
  • Net Force ของ ทอม แคลนซี (ค.ศ. 1999) — หลายคนเชื่อว่าวิลเลียม สไตล พระเอกของเรื่อง ผู้ที่พยายามจะครองโลกด้วยการควบคุมระบบอินเทอร์เน็ตนั้น แท้จริงแล้วมีที่มาจากบิล เกตส์ โดยมีการระบุความพ้องกันของชื่อต้น วิลเลียม นั้นเป็นชื่อเต็มของบิล และ สไตล์ (stile) นั้นแปลว่าบันไดเล็กๆที่ใช้ปีนข้ามกำแพง แทนที่จะเข้าทางประตูรั้ว (gate)
  • แอนตี้ ทรัสต์ กระชากแผนจอมบงการล้ำโลก (ค.ศ. 2001) — ภาพยนตร์เกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์ในบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดยักษ์ในเรื่อง ทิม รอบบินส์ รับบทโดยแกรี วินตัน ประธานบริษัทมีบุคลิกลักษณะ และบริบทของตัวละครคล้ายคลึงกับบิล เกตส์เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี แกรี วินสตันได้กล่าวถึงบิล เกตส์ (ในฐานะบุคคลที่สาม) ในช่วงหนึ่งของภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการบอกโดยนัยว่าวินสตันนั้นไม่ใช่เกตส์ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นแค่วิธีหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกฟ้อง
  • Clockstoppers (ค.ศ. 2002) — เฮนรี เกตส์ เป็นประธานบริษัทขนาดใหญ่ยักษ์ ผู้ซึ่งต้องการจะครองโลกโดยใช้เทคโนโลยี (เฮนรี เป็นชื่อกลางของบิล เกตส์)
  • Nothing So Strange (ค.ศ. 2002) — เป็นเรื่องราวที่จินตนาการเกี่ยวกับการฆาตกรรมบิล เกตส์ใน ค.ศ. 1999
  • 2DTV (ค.ศ. 2004) (ชุดที่ 4 ตอนที่ 6) — บิล เกตส์อยู่ในบ้านรูปร่างเหมือนคอมพิวเตอร์ของเขาขณะที่กำลังเขียนจดหมายถึงลูกค้า เมื่อมีเจ้าหน้าที่สำนักงานคนหนึ่งโผล่เข้ามาสร้างความรำคาญให้กับเขา ท้ายสุด ตัวการ์ตูนเกตส์เกือบจะต้องฆ่าตัวตาย เราสังเกตเห็นข้อความบนโน้ตกระดาษว่า "หวัดดีพวก ดูเหมือนนายกำลังจะเขียนจดหมายลาตายนะ" จากนั้นก็มีลูกค้าหัวเสียจำนวนหนึ่งปรากฏตัวขึ้น มาพูดกับเขาว่า "นายต้องการความช่วยเหลือไหม?" เกตส์ยังปรากฏตัวในตอนที่ 4 ของการ์ตูนชุดนี้ ในตอนล้อเลียนที่ใช้ชื่อว่า "แมทริกซ์สำหรับวินโดวส์" ล้อเลียนระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นๆทุกที
  • Family Guy (ปีที่ 3 ตอนที่ 13) — เกตส์บินไปด้วยเครื่องเจ็ตแพค (เครื่องบินส่วนตัวแบบขึ้นลงทางดิ่ง) กับผู้บริหารระดับสูง และไมเคิล ไอสเนอร์ ประธานกรรมการบริหารของวอลต์ ดิสนีย์ ผู้ซึ่งกล่าวว่า "พระเจ้า ผู้คนดูเหมือนมดเมื่อมองจากข้างบนนี่" แล้วเกตส์ก็ตอบกลับไปว่า "พวกมันคือมด ไมเคิล พวกมันคือมด!"
  • ใน Command & Conquer: Yuri's Revenge ชายผู้หนึ่งซึ่งเราทราบเพียงว่าเขาชื่อ "ท่านประธานบิง" ปรากฏตัวในฐานะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท แมสซีฟซอฟท์
  • ใน Robopon 2 (วิดีโอเกมสำหรับเครื่องเกมบอย แอดวานซ์) มีชายผู้หนึ่งชื่อนายเกต (Mr. Gait) เป็นเจ้าของเครือบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดยักษ์ที่มีชื่อว่า แมคโครซอฟท์
  • ในตอนหนึ่งของละครเรื่อง Pinky And The Brain ที่กล่าวถึงสโนวบอลล์ คู่แข่งที่เก่งกล้าของเดอะเบรน กำลังพยายามครองโลกโดยการปลอมตัวเป็นเศรษฐีพันล้านนักออกแบบซอฟต์แวร์ชื่อว่า "บิล เกรตส์"
  • ใน Lois & Clark (ปีที่ 3 ตอนที่ 3 ชื่อตอน "Contact") แพทริก บาลีออร์โท รับบทเป็นนักธุรกิจซอฟต์แวร์ชื่อว่า "บ็อบ เฟนซ์" (Fence = รั้ว) ซึ่งเป็นการเล่นคำกับชื่อของเกตส์ (Gate = ประตูรั้ว)

การปรากฏตัวในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์[แก้]

บิล เกตส์ตัวจริงยังได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์:

  • ละครตลกขบขันเรื่อง Frasier — บิล เกตส์ถูกเชิญให้มาเป็นแขกรับเชิญในรายการวิทยุของดร.เฟรซิเออร์ เครน อย่างไรก็ดี ทันทีที่รายการเริ่มขึ้น ผู้ฟังทางบ้านที่โทรเข้ามาต่างมีคำถามมากมายจะถามเกตส์เกี่ยวกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แต่ดร.เครนไม่ได้ใส่ใจกับเสียงโทรศัพท์
  • Triumph of the Nerds — บิล เกตส์ได้ให้สัมภาษณ์ในภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

ในซอฟต์แวร์[แก้]

โปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายตัว ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานบนระบบปฏิบัติการอื่นนอกเหนือจากไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ได้อ้างถึงบิล เกตส์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยจะอ้างถึงในทางชื่นชมสักเท่าไรนัก ซึ่งในจำนวนนี้มี:

  • เกมโอเพนซอร์ส XBill ซึ่งมีตัวละครชื่อ "บิล" ใส่แว่นตากรอบหนา กำลังพยายามจะลง วิงโดวส์ (โปรแกรมไวรัสที่ปลอมตัวมาเป็นวินโดวส์) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่น
  • เกม Uropa² บน Amiga ที่มีตัวร้ายหลักชื่อว่า "บิล เซแทก" (Setag = Gates สะกดแบบถอยหลัง)
  • ในเกม Might and Magic VII: For Blood and Honor ผู้เล่นถูกมอบหมายภารกิจหนึ่งให้สังหารตัวละครผู้ชั่วร้ายชื่อว่า "วิลเลียม เซแทก" และช่วยเหลือเจ้าหญิงที่ถูกมันจับไป
  • Arcanum: Of Steamworks and Magick Obscura บน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ได้มีตัวละครตัวหนึ่งชื่อว่า "กิลเบิร์ต เบตส์" ผู้ประกอบการผู้มั่งคั่ง ชื่อของตัวละคร "กิล เบตส์" เป็นคำผวนของ "บิล เกตส์" นั่นเอง
  • ในSpace Quest III: The Pirates of Pestulon เกมแอดเวนเจอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้กล่าวถึงบริษัทซอฟต์แวร์ชื่อ "สกัมซอฟท์" ซึ่งเป็นชื่อล้อเลียนไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชัน ประธานบริษัทผู้ชั่วร้าย เป็นชายร่างเล็ก มีบุคลิกแบบพวกเนิร์ดสวมแว่นตา มีชื่อว่า "เอลโม พัก" ผู้ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับบิล เกตส์มาก
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับออกแบบคอมพิวเตอร์ชิป อันเป็นผลิตภัณฑ์ของ Electronic Design Automation ใช้ชื่อว่า "Build Gates" (สร้างประตู) ซึ่งประตูในที่นี้หมายถึงประตูตรรกะ (logic gate)
  • Kill Bill edition เป็นชื่อแผ่นซีดีสำหรับบู้ทลินุกซ์ของ SLAX ซึ่งล้อเลียนภาพยนตร์เรื่อง นางฟ้าซามูไร (Kill Bill) ภาพวอลล์เปเปอร์ของผลิตภัณฑ์เป็นรูปตัวทักซ์ (นกเพ็นกวินสัญลักษณ์ของลินุกซ์) ในชุดสีเหลืองคล้ายกับที่นางเอกเรื่องนางฟ้าซามูไรสวมใส่ เพื่อที่จะสังหารบิล (เกตส์)
  • ในวิดีโอเกมมาเฟียของ Illusion Softworks คนชื่อ "วิลเลียม เกตส์" ออกมาปรากฏตัวในฐานะคนขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ชาวเคนทักกี
  • ในเกมกลยุทธ์คลาสสิก Total Annihilation: Core Contingency มีส่วนหนึ่งของเนื้อเมืองในเกมที่มีชื่อว่า "อาคารวิลลี เกตส์" ซึ่งถ้าหากผู้เล่นยึดอาคารหลังนี้ได้จะทำแต้มได้มาก

หนังสือที่แต่งโดยบิล เกตส์[แก้]

มูลนิธิการกุศล[แก้]

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์[แก้]

บทความหลัก: Bill & Melinda Gates Foundation

เกตส์ได้ศึกษาการทำงานของ แอนดรู คาร์เนกี้ และ จอห์น ดี ร้อคกี้เฟลเลอร์ และในปี 1994 เขาได้ขายหุ้นบางส่วนของไมโครซอฟท์ของเขาเพื่อที่จะสร้าง "มูลนิธิวิลเลียมเอชเกตส์" ในปี 2000 เกตส์และภรรยาของเขารวบรวมสามมูลนิธิของครอบครัวเพื่อสร้าง "มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์" เพื่อการกุศล ซึ่ง 'กองทุนสำหรับบริษัทที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO)' ระบุในปี 2013 ว่าเป็นมูลนิธิเพื่อการกุศลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ด้วยสินทรัพย์มูลค่าตามรายงานมากกว่า $34.6 พันล้าน[5] มูลนิธินี้ยอมให้ผู้ที่สนับสนุนทางการเงินสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าเงินจะถูกใช้ไปอย่างไรซึ่งแตกต่างจากองค์กรการกุศลอื่น ๆ ที่สำคัญ[6][7]

มูลนิธินี้ได้จัดองค๋กรออกเป็นสี่แผนก ได้แก่ แผนกพัฒนาทั่วโลก, แผนกอนามัยทั่วโลก, แผนกสหรัฐอเมริกา และแผนกสนับสนุนและนโยบายทั่วโลก[8]

เกตส์ชื่นชมความเอื้ออาทรและความใจบุญสุนทานที่กว้างขวางของเดวิด ร้อกกี้เฟลเลอร์ ว่าเป็นอิทธิพลที่สำคัญ เกตส์และพ่อของเขาได้พบกับร้อกกี้เฟลเลอร์หลายครั้ง และงานการกุศลของพวกเขาส่วนหนึ่งก็ถูกจำลองในการมุ่งเป้าไปที่การทำบุญของครอบครัวร้อกกี้เฟลเลอร์ โดยที่พวกเขามีความสนใจในการแก้ปัญหาระดับโลกที่ได้รับการปฏิเสธโดยรัฐบาลและองค์กรอื่น ๆ [9] ณ ปี 2007 บิล และ เมลินดา เกตส์ เป็นผู้ใจบุญใจกว้างมากที่สุดอันดับสองในอเมริกา ที่ให้มากกว่า $28 พันล้านเพื่อการกุศล[10] คู่สามีภรรยามีแผนที่จะบริจาคร้อยละ 95 ของความมั่งคั่งของพวกเขาเพื่อการกุศลในที่สุด[11]

ส่วนบุคคล[แก้]

ภรรยาของเกตส์แนะนำว่าทุกคนควรจะเลียนแบบความพยายามในการสร้างกุศลของครอบครัว Salwen ซึ่งได้ขายบ้านของครอบครัวและบริจาคครึ่งหนึ่งของค่าของมัน ตามรายละเอียดในหนังสือ 'พลังของครึ่ง'[12]. เกตส์และภรรยาของเขาได้เชิญโจน Salwen มาที่เมืองซีแอตเติลเพื่อพูดเกี่ยวกับสิ่งที่ครอบครัวได้ทำ และในวันที่ 9 ธันวาคม 2010 เกตส์, นักลงทุน Warren Buffett, และผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Facebook นาย Mark Zuckerberg ได้ลงนามในความมุ่งมั่นของพวกเขาที่เรียกว่า "เกตส์-บุฟเฟ่ต์ให้คำมั่น" คำมั่นสัญญาเป็นความมุ่งมั่นของทั้งสามที่จะบริจาคอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของความมั่งคั่งของพวกเขาตลอดช่วงเวลาเพื่อการกุศล[13][14][15]

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2014, บิล เกตส์ได้โพสต์วิดีโอของตัวเองเทถังน้ำที่มีน้ำแข็งบนศีรษะของเขาหลังจากที่ผู้ก่อตั้ง Facebook นาย Mark Zuckerberg ท้าทายให้เขาทำเช่นนั้นเพื่อที่จะสร้างความตระหนักในการเกิดโรค ALS (เส้นโลหิตตีบด้านข้างแบบ amyotrophic)[16]

บิลเกตส์และมูลนิธิของเขาให้ความสนใจในการแก้ปัญหาด้านสุขอนามัยทั่วโลกตั้งแต่ปี 2005 เช่นโดยการประกาศ "ประดิษฐ์ซ้ำความท้าทายห้องน้ำ" ซึ่งได้รับความสนใจของสื่อมวลชนพอประมาณ[17] เพื่อสร้างความตระหนักในเรื่องสุขอนามัยและการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ บิลเกตส์ได้ดื่มน้ำซึ่งถูก "ผลิตขึ้นจากอุจจาระของมนุษย์" ในปี 2014 ซึ่งในความเป็นจริงมันถูกผลิตจากกระบวนการบำบัดกากตะกอนน้ำเสียที่เรียกว่ากระบวนการ Omni[18][19] ในช่วงต้นปี 2015 เขายังปรากฏตัวกับจิมมี่ ฟอลลอน ในรายการกลางดึกกับจิมมี่ฟอลลอน และท้าทายจิมมี่ให้ดูว่าเขาสามารถลิ้มรสเพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างน้ำที่อ้างถึงนี้กับน้ำดื่มบรรจุขวดได้หรือไม่[20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Greene, Jay (May 3, 2021). "Bill and Melinda Gates, who run one of the world's largest philanthropies, plan to divorce after 27 years". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ May 4, 2021.
  2. "Bloomberg Billionaires Index: Bill Gates". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ May 1, 2021.
  3. Knighthood for Microsoft's Gates
  4. เกี่ยวกับแมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์ เก็บถาวร 2008-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  5. Robin Toal (September 16, 2013). "The Top Ten US Charitable Foundations". Funds For NGOs. Funds For NGOs, LLC. Retrieved April 6, 2014.
  6. Cronin, Jon (January 25, 2005). "Bill Gates: billionaire philanthropist". BBC News. Archived from the original on July 31, 2012. Retrieved April 1, 2008.
  7. "Our Approach to Giving". Bill & Melinda Gates Foundation. Archived from the original on April 4, 2008. Retrieved April 1, 2008.
  8. "What We Do". Bill and Melinda Gates Foundation. Bill and Melinda Gates Foundation. 2014. Retrieved April 6, 2014.
  9. "2005 Annual Report" (PDF). Rockefeller Brothers Fund. January 1, 2006. Archived (PDF) from the original on February 16, 2008. Retrieved February 14, 2008.
  10. "The 50 most generous Americans". Archived from the original on February 22, 2012.
  11. "Bill and Melinda Gates give 95% of wealth to charity". BBC News. October 18, 2010. Archived from the original on July 19, 2012.
  12. Bina Abraham (October 1, 2010). "They half it in them". Gulf News. Archived from the original on July 8, 2012. Retrieved March 17, 2011.
  13. Moss, Rosabeth (December 14, 2010). "Four Strategic Generosity Lessons". Business Week. Archived from the original on July 24, 2012. Retrieved March 9, 2011.
  14. "40 billionaires pledge to give away half of wealth". Archived from the original on September 7, 2012. Retrieved August 8, 2010.
  15. Robyn Griggs Lawrence (February 22, 2011). "A Rich Gift: Homemade Jelly for Bill and Melinda Gates". Mother Earth News. Archived from the original on September 16, 2012. Retrieved March 10, 2011.
  16. "Bill Gates". Facebook. Retrieved August 15, 2014
  17. Kass, Jason (November 18, 2013). "Bill Gates Can't Build a Toilet". New York Times Opinion Pages (New York Times). Retrieved March 24, 2015.
  18. "BBC news article "Bill Gates drinks water distilled from human faeces"". Retrieved January 11, 2015.
  19. "From poop to portable, This Ingenious Machine Turns Feces Into Drinking Water". gatesnotes, The Blog of Bill Gates. January 5, 2015. Retrieved January 13, 2015.
  20. "Bill Gates and Jimmy Drink Poop Water". Youtube Channel of The Tonight Show Starring Jimmy Fallon. January 22, 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า บิล เกตส์ ถัดไป
จอร์จ ดับเบิลยู. บุช บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 2004
(ร่วมกับ โบโน และเมลินดา เกตส์))
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (You)