วิธีใช้:สอนคู่มือการเขียน/ทั้งหมด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


คู่มือการเขียน (MOS) เป็นคู่มือเชิงลึกที่วางมาตรฐานสำหรับการจัดรูปแบบบทความวิกิพีเดีย การปฏิบัติตามแนวดังนี้ช่วยให้สารานุกรมชัดเจน มีรูปแบบเดียวกัน และเสถียร


วิธีง่าย ๆ คือหาบทความที่เขียนดีแล้วลอกการจัดรูปแบบมาเลย แต่ถ้าคุณต้องการสารสนเทศเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดรูปแบบ คู่มือการเขียนน่าจะมีคำแนะนำให้


พึงระลึกว่า MOS เป็นแนวปฏิบัติ คุณไม่จำเป็นต้องจำได้ทั้งหมด คือมีอยู่เพื่อให้คุณดูเมื่อคุณไม่แน่ใจว่าควรแสดงผลสารสนเทศอย่างไรจึงดีที่สุด และลดความขัดแย้งกับผู้เขียนอื่นเมื่อตัวเลือกการจัดรูปแบบไม่ตรงกัน


เนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ และผู้ใช้อื่นสามารถช่วยเหลือคุณได้เมื่อสงสัย

การแบ่งส่วนบทความ

An article with a table of contents block and an image near the start, then several sections

บทความควรประเดิมด้วยบทสรุปหัวข้อนั้น แล้วจึงนำผู้อ่านเข้าสู่รายละเอียด โดยแบ่งข้อความออกเป็นส่วน ๆ ภายใต้ชื่อที่จัดเป็นกลุ่ม


ส่วนนำ

ส่วนนำเป็นส่วนแรกที่อยู่บนสุดของบทความ อยู่ก่อนสารบัญและเหนือพาดหัว ประโยคแรกมักเป็นนิยามที่กระชับและระบุความสำคัญของเรื่อง ส่วนนำที่เหลือนำเสนอบริบทของบทความและสรุปใจความสำคัญ


ส่วนนำควรมีความยาว 1–4 ย่อหน้า และเป็นภาพรวมอย่างกระชับของบทความ (คือตัดเนื้อหาออกก็อ่านเข้าใจ) แต่ละประโยคในส่วนนำควรเน้นเพื่อสะท้อนความสำคัญของเรื่อง ควรเรียบเรียงอย่างชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายเพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านสนใจอ่านบทความเต็ม ร้อยแก้วที่เหลือของบทความให้สารสนเทศเพิ่มเติม


ส่วนและพาดหัว

บทความจัดระเบียบเป็นส่วนและส่วนย่อย โดยมีพาดหัวสั้น ๆ จะปรากฏอัตโนมัติในสารบัญ โดยทั่วไปส่วนที่มีความยาว 1–4 ย่อหน้าอ่านได้ง่ายที่สุด


พาดหัวลำดับที่ 1 เป็นชื่อบทความและสร้างอัตโนมัติ ดังนั้นพาดหัวอันแรกในบทความจึงต้องเป็นลำดับที่ 2 (==ลำดับที่ 2==) และส่วนย่อยเป็นลำดับที่ 3 (===ลำดับที่ 3===) ไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ไม่ควรข้ามลำดับ (เช่น ลำดับที่ 2 ไม่ควรต่อด้วยลำดับที่ 4)

ภาพและอ้างอิง

ภาพควรสนับสนุนเนื้อหาสาระของบทความโดยไม่แย่งความสนใจไปจากเนื้อหา และควรใส่อ้างอิงสำหรับสารสนเทศที่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียง


ภาพ

ภาพช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจบทความดียิ่งขึ้น เพิ่มหรือเปลี่ยนภาพเฉพาะเมื่อดีกว่าภาพเก่า หรือภาพใหม่สนับสนุนเนื้อหาบทความได้ดีกว่า เมื่อสร้างและอัปโหลดภาพ ควรมีความละเอียดสูงเพียงพอและมีรูปแบบไฟล์เหมาะสม


ควรกระจายภาพไม่ให้กระจุกอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในบทความ ภาพควรสัมพันธ์กับส่วนที่แสดงภาพอยู่ และมีคำบรรยายภาพที่ช่วยอธิบายบริบทได้ดีขึ้น แสดงภาพเป็นภาพขนาดย่อ (thumbnail) และจัดชิดขวาของบทความเป็นค่าตั้งต้นเพื่อให้อ่านดูแล้วกลมกลืนกัน หากจำเป็นอาจใช้การจัดรูปแบบอย่างอื่น เช่น ชิดซ้าย แกลอรี และพาโนรามา


เลี่ยงการอัดภาพจำนวนมากในส่วนสั้น ๆ เพราะจะล้นไปส่วนถัดไป และทำให้อ่านยาก (ผังมาตรฐานมุ่งสำหรับความละเอียดจอภาพ 1024 × 768 พิกเซล)

ดูเพิ่ม


lefteless
lefteless

อ้าง

  • อย่าตัดตอนข้อความยาว ๆ จากต้นฉบับมามากเกินไป โดยทั่วไปบทความควรถอดความและสรุปเนื้อหา (ถ้าต้องการเผยแพร่เอกสารทั้งหมด กรุณาใช้โครงการวิกิซอร์ซ)
  • ใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  • ใช้ลีลาการอ้างอิงที่ใช้อยู่แล้ว อย่าใช้ปะปนกัน โดยมีรายการอ้างอิงอยู่ท้ายบทความ


ดูเพิ่ม

ลิงก์

ลิงก์

Example of good wikilinking, with only the first occurrence of each key term linked.

ลิงก์ที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์เป็นคุณลักษณะสำคัญของวิกิพีเดีย ลิงก์ภายใน (หรือ "วิกิลิงก์") เชื่อมโครงการเข้าด้วยกันเหมือนกับสารานุกรมเล่มเดียวกัน ลิงก์เป็นวิถีทางตรงไปยังตำแหน่งในโครงการที่น่าจะเพิ่มความเข้าใจของผู้อ่านในหัวข้อที่กำลังอ่านอยู่ คุณทราบวิธีใส่ลิงก์ไปแล้วในมอดูล แก้ไข ของหน้าสอนการใช้งานนี้


การตัดสินว่าควรใส่ลิงก์ภายในในบทความมากน้อยเท่าใดนั้น ให้ถามตนเองว่า "ผู้อ่านเรื่องนี้จะสนใจบทความอื่นที่ลิงก์ไปหรือไม่" "ทำลิงก์แล้วช่วยอธิบายมโนทัศน์ที่อธิบายสั้น ๆ หรือผู้อ่านอาจไม่ค่อยคุ้นเคยหรือไม่" โดยทั่วไปคำสำคัญควรทำลิงก์ไปเมื่อกล่าวถึงเฉพาะครั้งแรกในหัวข้อนั้น


สำหรับแหล่งข้อมูลอื่น (ลิงก์ภายนอกที่มิใช่วิกิพีเดีย) เพิ่มได้ในส่วน "แหล่งข้อมูลอื่น" ควรใส่เฉพาะที่มีความเกี่ยวข้องอย่างสูงหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่บทความไม่มีพื้นที่มากพอหรือไม่ แต่สำหรับลิงก์ที่ใช้อ้างอิงเนื้อหาบทความควรใส่ในส่วน "อ้างอิง" มิใช่ส่วนนี้


ดูเพิ่ม

ความกลมกลืน

MoS มีแนวปฏิบัติอย่างกวางขวางในประเด็นงานสารบรรณทุกรูปแบบ ด้านล่างเป็นตัวอย่างประเภทที่คุณสามารถหาคำแนะนำได้


ภาษา

พึงเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และ 2 (ผม, คุณ, ผู้อ่าน) ยกเว้นในคำพูดที่ยกมาและชื่อผลงาน

งดใช้วลีทำนอง ควรทราบว่า และ พึงตระหนักว่า และเลี่ยงคำอย่าง แน่นอน, ในความเป็นจริง, และ ชัดเจนว่า (รวมถึงการเขียนข้อเท็จจริงโดยใช้ อ้างว่า)

สำหรับการทับศัพท์และการแปล ให้ใช้ตามหลักการตกลงกันไว้แล้ว คือ คำทับศัพท์ในวิกิพีเดีย และหลักเกณฑ์การทับศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

แปล United States ว่า สหรัฐ


วันที่และจำนวน

เลี่ยงการใช้วลีที่มีโอกาสพ้นสมัยไปได้ เช่น ล่าสุด, ปัจจุบัน

อย่าเขียน #1; ให้ใช้ ที่ 1 แทน ทั้งนี้ยกเว้นหนังสือการ์ตูน

ไม่ควรใช้ "ปี พ.ศ." หรือ "ปี ค.ศ." (ใช้ พ.ศ. หรือ ค.ศ. ตามลำดับ)


เครื่องหมายวรรคตอน

ใช้เครื่องหมายอัญประกาศตรง " และอะพอสทรอฟีตรง ' ตามที่มีอยู่ในคีย์บอร์ด ไม่ใช้ “ ” และ ‘ ’

ชื่อหนังสือ ภาพยนตร์ ซีรีย์โทรทัศน์ อัลบั้มเพลง งานจิตรกรรม และเรือให้ทำตัวเอน ส่วนชื่อเพลงหรือบทกวีให้เขียนเครื่องหมายอัญประกาศคร่อม

ใช้เครื่องหมายจุลภาคเพื่อแยกกลุ่มคำหรือประโยคเพื่อกันความสับสน

ใช้ en dash (—) ไม่ใช่ยัตภังค์ (-) ระหว่างตัวเลข pp. 14–21, ค.ศ. 1953–2008 ใช้เชื่อมคำที่สัมพันธ์ขนานกัน ตาบอดสีแดง–เขียว; เที่ยวบินนิวยอร์ก–ลอนดอน ให้เว้นช่องไฟสองข้างของ en dash เมื่อเชื่อมหน่วยต่างกัน เช่น มกราคม 1999 – ธันวาคม 2000


ช่องว่างกันขึ้นบรรทัดใหม่กลางคำ

ป้องกันการขึ้นบรรทัดใหม่กลางคำ โดยใช้รหัส {{nowrap}} หรือ {{ไม่ตัดคำ}}

ดูเพิ่ม