ไฮเปอร์ลิงก์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างการนำเคอร์เซอร์เมาส์วางบนอักษรที่เป็นไฮเปอร์ลิงก์

การเชื่อมโยงหลายมิติ [1] หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (อังกฤษ: hyperlink) นิยมเรียกโดยย่อว่า ลิงก์ (อังกฤษ: link) คือคำหรือวลีต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารข้อความ ใช้สำหรับเปิดเอกสารอื่นที่เชื่อมโยงด้วยวิธีการคลิกลงบนคำหรือวลีนั้น โดยเฉพาะกับเว็บเพจซึ่งจะทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ ข้อความที่เป็นลิงก์มักจะปรากฏเป็นสีหรือรูปแบบที่โดดเด่นกว่าข้อความรอบข้าง ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถคลิกบนลิงก์เพื่อเปลี่ยนหน้าไปยังเว็บเพจที่กำหนดไว้ แทนที่จะพิมพ์ในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์โดยตรง

ไฮเปอร์ลิงก์สามารถใช้เป็นการอ้างอิงภายในเอกสารข้อความหลายมิติ นอกจากนี้การคลิกบนลิงก์อาจเป็นการเรียกใช้งานสคริปต์ที่เขียนไว้โดยผู้พัฒนาเว็บก็ได้

เอชทีเอ็มแอล[แก้]

เมื่อกล่าวถึงลิงก์ ความหมายโดยนัยคือลิงก์ที่ปรากฏในเอกสารเอชทีเอ็มแอลซึ่งพบได้มากมายบนอินเทอร์เน็ต ลิงก์ในเอชทีเอ็มแอลสร้างขึ้นจากแท็ก <a> (ย่อมาจาก anchor) โดยมีแอตทริบิวต์ href (ย่อมาจาก hypertext reference [2]) เป็นตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL) ข้อความที่อยู่ระหว่างกลางแท็กเปิดและปิดจะกลายเป็นข้อความที่สามารถคลิกได้ และทำให้เว็บเบราว์เซอร์เปิดยูอาร์แอลตามที่กำหนดไว้ใน href ตัวอย่างเช่น

พฤติกรรมในเว็บเบราว์เซอร์[แก้]

เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงผลไฮเปอร์ลิงก์ในลักษณะที่แตกต่างจากข้อความรอบข้าง เช่นอาจจะด้วยสีสัน แบบอักษร หรือการตกแต่งอื่น ๆ ที่ต่างออกไป ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ด้วยแคสเคดดิงสไตล์ชีตส์ (SS) เพื่อบ่งบอกผู้ใช้ว่าข้อความใดเป็นลิงก์ที่คลิกได้ เมื่อนำเมาส์ไปวางไว้เหนือลิงก์ ตัวชี้ตำแหน่งจะปรากฏเป็นรูปมือกำลังชี้ มียูอาร์แอลหรือคำอธิบายอื่นปรากฏที่แถบสถานภาพ และตัวลิงก์อาจมีการเปลี่ยนลักษณะไปขึ้นอยู่กับสไตล์ชีต

ปกติแล้วการคลิกลิงก์ธรรมดาจะเปิดหน้าเว็บในเฟรมหรือหน้าต่างเดิมของเว็บเบราว์เซอร์ สำหรับบางโปรแกรม เช่นอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์และมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ การกด Shift พร้อมกับคลิกบนลิงก์จะเป็นการเปิดหน้าเว็บในหน้าต่างใหม่ และการกด Ctrl พร้อมกับคลิกจะเป็นการเปิดหน้าเว็บบนแท็บใหม่ในหน้าต่างเดิม ผู้พัฒนาเว็บที่ต้องการให้เปิดในเฟรมหรือหน้าต่างที่เจาะจง จะใส่แอตทริบิวต์ target เพิ่มลงไปในแท็กลิงก์ โดยกำหนดค่าเป็น "_blank" สำหรับการเปิดในหน้าต่างใหม่หรือแท็บใหม่ [3] หรือระบุเป็นชื่อเฟรมที

อ้างอิง[แก้]

  1. "ศัพท์บัญญัติ ราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2009-06-03.
  2. Tim Berners-Lee, Making a Server ("HREF" is for "hypertext reference")
  3. Basic HTML data types: Frame target names