วิฆเนศ ทรงธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิฆเนศ ทรงธรรม (Wickanet Songtham)(14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 — ) เป็นนักธรณีวิทยาและ นักบรรพชีวินวิทยา ผู้เชี่ยวชาญด้านซากดึกดำบรรพ์พืช มีภูมิลำเนาเกิดที่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เป็นบุตรคนที่ 4 จากจำนวน 5 คน ของนายจินดา ทรงธรรม]] และนางสวงค์ ทรงธรรม (สง่าเนตร)

ประวัติ[แก้]

วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหัวข้อเรื่อง Stratigraphic Correlation of Tertiary Basins in Northern Thailand Using Algae Pollen and Spores ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2546

วิฆเนศ ทรงธรรม หรือ ดร.วิฆเนศ ทรงธรรม เข้ารับราชการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2529 ในตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ 3 มีภารกิจทำหน้าที่สำรวจจัดทำแผนการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลที่ศูนย์ปฏิบัติการ รพช. ขอนแก่น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กระทรวงมหาดไทย ในปี พ.ศ. 2536 ได้โอนย้ายไปรับราชการที่กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม ทำหน้าที่สำรวจและวิจัยซากดึกดำบรรพ์พืชและซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • 2528 ศูนย์ปฏิบัติการ รพช. นครราชสีมา
  • 2529-2536 ศูนย์ปฏิบัติการ รพช. ขอนแก่น
  • 2536-2554 กรมทรัพยากรธรณี
  • 2554-2562 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผลงาน[แก้]

มีผลงานวิจัยที่นำไปสู่การค้นพบซากดึกดำบรรพ์พืชจากชั้นหินมหายุคซีโนโซอิกมากมาย โดยเป็นการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา เช่น เรณูสัณฐานของพืชที่ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยแล้ว ได้แก่ ทูก้า สปรูซ แท๊กโซเดียม เป็นต้น และยังพบเรณูสัณฐานละอองเรณูของพืชเขตร้อนอีกมากที่นำไปสู่การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์พืชบรรพกาล ระหว่างการวิจัยพบซากดึกดำบรรพ์ของเรณูสัณฐานมากมายและที่มีการศึกษาตั้งสายพันธุ์ใหม่คือสาหร่ายเซลล์เดียว 2 ชนิด คือ Actinastrum bansaense และ Closterium thailandicum ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืด

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • (2020) Songtham, W., Kruainok, P., Punwong, P., Mildenhall, D.C. Depositional environment of the meandering Pran Buri River, Southwestern Thailand during the last 1000 years.Songklanakarin J. Sci. Technol. 42(2) : 430-438.
  • (2015) Songtham, W., Musika, S., Mildenhall, D.C., Cochran, U.A., Kojevnikova, D. Development of the Lower Central Plain of Thailand with history of humen settlements: evidence from pollen, spores and diatoms. Journal of Geological Resource and Engineering 2: 98-107.
  • (2015) Songtham, W., Carling, P.A., Kruainok, P. Some sedimentary features of Yasothon soils in Khorat Basin, NE Thailand. Proceedings of the Third Thai-Lao Technical Conference, 7-8 July 2015, Golden Tulip Sovereign Hotel, Bangkok, Thailand.
  • (2013) Philippe, M., Boonchai, N., Ferguson, D.K., Jia, H., Songtham, W. Giant trees from Middle Pleistocene of Northern Thailand. Quaternary Science Reviews 65: 1-4.
  • (2012) Songtham, W., Duangkrayom, J., Jintasakul, P. An Australasian tektite from the Yasothon Soil Series, Noen Sa-nga, Chaiyaphum, northeastern Thailand. [J] Acta Geoscientica Sinica 33(s1): 59-64.
  • (2012) Songtham, W., Mildenhall, D.C., and Ratanasthien, B. Petrified tree trunks from a gravel deposit, Ban Tak Petrified Forest Park, Ban Tak-Sam Ngao Basin, Tak Province, northern Thailand. Journal of Science and Technology, Mahasarakham University 31(1): 93-100.
  • (2011) Songtham, W., Mildenhall, D.C., Jintaskul, P., and Duangkrayom, J. Evidence of sedimentary deposits generated by an Early Pleistocene meteor impact in northeastern Thailand. Proceedings of International Conference on Geology, Geotechnology and Mineral Resources of Indochina (GEOINDO 2011), pp. 66-71.
  • (2011) Songtham, W., and others. Prehistoric Khorat. Nakhon Ratchasima Rajabhat University 68 p.
  • (2011) Songtham, W., and others. Provenance of a black sand deposit in Laem Ngob district, Trat province, eastern Thailand. Journal of the Geological Society of Thailand 1: 1-6.
  • (2009) Songtham, W., and Raksaskulwong, L. Evidence of mollusk shell deposit, Middle Holocene marine regression, Wat Sai Thai, Muang, Krabi, Thailand. Journal of the Geological Society of Thailand 1: 17-22.
  • (2007) Songtham, W., Phanwong, P., and Seelanan, T. Middle Holocene peat and mollusk shells from Ongkharak area, Nakhon Nayok, Central Thailand: evidence of in situ deposits during a marine regression period. Proceedings of the International Conference on Geology of Thailand: Towards Sustainable Development and Sufficiency Economy, Bangkok, Thailand, 21-22 November 2007: pp. 177-179.
  • (2006) Songtham, W.,and Sektheera, B. Phuwiangosaurus sirindhornae Department of Mineral Resources, Bangkok: 99 pages.
  • วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2549) ทำเนียบซากดึกดำบรรพ์ไทย นามยกย่องบุคคล กรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร 99 หน้า
  • (2005) Songtham, W. and others. Middle Miocene molluscan assemblages in Mae Moh basin, Lampang province, Thailand. Science Asia 31 (2) : 183-191.
  • (2005) Songtham, W. and others. Tertiary basin evolution in northern Thailand: a palynological point of view. Natural History Bulletin of Siam Society 53 (1) : 17-32.
  • (2004) Songtham, W. and others. New species of algae Actinastrum Lagerheim and Closterium Nitzsch ex Ralfs from Middle Miocene sediments of Chiang Muan basin, Phayao, Thailand, with tropical pollen composition. Science Asia 30 (2) : 171-181.
  • (2003) Songtham, W. and others. Oligocene-Miocene climatic changes in northern Thailand resulting from extrusion tectonics of Southeast Asian landmass. Science Asia 29 (3) : 221-233.
  • (2000) Songtham, W. and others. Temperate palynological elements from Na Hong basin, northern Thailand. Mahidol Journal 7 (2) : 121-126.
  • (1999) Songtham, W., and Ratanasthien, B. Holocene Macrophthalmus (Venitus) latreillei crabs from Trat province: indicators of paleoshoreline. Journal of the Geological Society of Thailand 1: 27-31.
  • (1999) Songtham, W., and Watanasak, M. Palynology, age, and paleoenvironment o Krabi basin, southern Thailand. Proceedings of the International Symposium on Shallow Tethys (st) 5, Chiang Mai, Thailand, 1-5 February 1999: pp. 426-439.
  • (1999) Songtham, W., Watanasak, M., and Prakainetra, I. Holocene marine crabs and further evidence of a sea-level peak at ca. 6000 years B.P. in Thailand. Proceedings of the Comprehensive Assessments on Impacts of Sea-Level Rise, Phetchaburi, Thailand, 1-4 December 1999: pp. 89-97.
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔๒, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕