วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/มีนาคม 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิทยาศาสตร์

อยากรู้ว่า ข้างขึ้นข้างแรม กับ จันทรคราส แตกต่างกันอย่างไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.133.172 (พูดคุย | ตรวจ) 11:52, 4 มีนาคม 2551 (ICT)

อ่านที่ ข้างขึ้นข้างแรม และ จันทรคราส --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:04, 4 มีนาคม 2551 (ICT)

ทำไมเรามองเห็นดวงจันทร์ได้ (ดาวจันทร์เป็นดาวเคราะห์)

ทำไมเรามองเห็นดวงจันทร์ได้ (ดาวจันทร์เป็นดาวเคราะห์) --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.129.14.196 (พูดคุย | ตรวจ) 18:45, 5 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบ
เพราะดวงจันทร์อยู่ในระยะที่มองเห็นได้ --ปังคุง 10:31, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
ตอบแบบนั้นตกวิทย์แน่ครับ เพราะดวงจันทร์สะท้อนแสงอาทิตย์กลับมายังโลกของเรา เราจึงสามารถเห็นดวงจันทร์ได้แม้เป็นดาวเคราะห์ (ซึ่งไม่มีแสงสว่างในตัวเองอย่างดาวฤกษ์) แน่นอนดาวเคราะห์อื่นๆ ก็สามารถเห็นได้เช่น ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ฯลฯ ถ้าไม่ได้หันด้านมืดเข้าหาโลก ระยะที่มองเห็นได้ไม่เกี่ยวครับ ดาวฤกษ์ต่างๆ ห่างจากโลกเราหลายล้านปีแสงก็ยังสามารถมองเห็นได้เลย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 10:48, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
ที่จริงแล้วก็ ถูก ทั้งสองท่านแหละครับ แต่ท่าน ออกตาฯ (octahedron80) ตรงประเด็นมากกว่า
อย่างไรก็ตาม ถ้าระยะไม่ใกล้พอ แสงจากดวงอาทิตย์จะสะท้อนได้หรือ (ที่ดาวฤกษ์เห็นได้แม้ไกล เพราะแม้ไกลแต่มีแสงในตัวเองเป็นตัวช่วย แต่ดาวเคราะห์ที่อยู่ไกล ในเมื่อไม่มีแสงในตัวเอง และไม่ได้แหล่งแสงเพียงพอ ก็เห็นจากที่โลกนี่ไม่ได้)
ดูอย่างดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น ซึ่งเรามองไม่เห็น ถึงจะใช้กล้องโทรทรรศน์ทั้งแบบแสงและวิทยุ

ที่รู้ได้ว่ามันมีอยู่ ก็ด้วยการเคลื่อนไหวของดาวฤกษ์ที่เป็นดาวแม่

(ที่จริงขนาดก็มีส่วนให้เห็นชัดหรือไม่ชัด แต่ไม่ตรงประเด็น ไม่ขอเอ่ย)
สรุปคือ แสงเป็นตัวการ แต่ระยะเป็นตัวช่วยแสงอีกที

แต่เนื่องจากผู้ถามใช้คำว่า (เป็นดาวเคราะห์) แสดงว่าเข้าใจบางส่วนแล้ว ท่าน ปังคุง จึงตอบแบบกระชับ ละในฐานที่เข้าใจสำหรับจุดที่เข้าใจแล้ว ปล. ถามการบ้านนี่หว่า --Sirius (TeeTaweepo) 10:15, 25 เมษายน 2551 (ICT)

ที่จริงในระบบสุริยะอื่นก็มีดาวฤกษ์เราจึงเห็นดาวดวงนั้นไม่เกี่ยวกับระยะห่างเลย และแสงที่เรามองเห็นจากดวงดาวก็เป็นแสงจากอดีตเพราะระยะห่างนั้นไกลหลายปีแสงแสงจึงใช้เวลานานกว่าจะมาถึงตาของเรา

Sinoatrial node

sinuatrial nodeคืออไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.35.2 (พูดคุย | ตรวจ) 09:45, 6 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบ ไปอ่านที่ en:Sinoatrial node --ปังคุง 10:31, 6 มีนาคม 2551 (ICT)
ตอบ The Sinoatrial node (ย่อว่า SA node หรือ SAN, บางครั้งเรียก sinus node) เป็นเนื้อเยื่อที่สามารถให้จังหวะทางไฟฟ้าได้ชนิดหนึ่ง (pacemaker) อยู่บริเวณหัวใจห้องบนขวา มีหน้าที่ให้จังหวะการเต้นของหัวใจในภาวะปกติซึ่งเรียกว่า sinus rhythm เนื้อเยื่อนี้ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่วางตัวอยู่บนผนังหัวใจห้องบนขวาใกล้ทางติดต่อกับหลอดเลือดดำใหญ่ superior vena cava เซลล์เหล่านี้เป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่ดังกล่าวโดยเฉพาะ

การเตรียมสารละลายของสารประกอบมีวิธีอย่างการอยางไยครับ ตอบด้วย

ผมเป็นนักเรียน ม.4 นะครับความรู้เรื่อง เคมี น้อยมากเลยครับ ขอความกรุณาด้วยครับทุกท่าน --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.123.241 (พูดคุย | ตรวจ) 16:22, 10 มีนาคม 2551 (ICT)

อาริสโตเติล

อยากรู้ประวัติของอาริสโตเติล แพรวา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.0.40 (พูดคุย | ตรวจ) 18:53, 10 มีนาคม 2551 (ICT)

ไปอ่านที่ อริสโตเติล สิ --ปังคุง 12:48, 11 มีนาคม 2551 (ICT)

explained how food poisoning can be prevented --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 91.108.11.173 (พูดคุย | ตรวจ) 17:02, 11 มีนาคม 2551 (ICT)

ดาราจักร

เราสามารถไปเยี่ยมดาราจักรที่ไม่ใช่ทางช้างเผือกได้หรือไม่ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 222.123.10.175 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ตอบ
หากว่าไปเยี่ยม (ไปในดาราจักรนั้นๆและกลับมาโลกขณะยังมีชีวิต ณ ปัจจุบัน) เทคโนโลยีของมนุษย์ยังไม่สามารถทำได้ เพราะว่าระยะทางระหว่างดาราจักรนั้นไกลมาก แม้แต่ แอนโดเมดา ดาราจักรที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดดาราจักรหนึ่งก็ยังอยู่ห่างออกไปถึง 2.2 ล้าน ปีแสง แสงยังเดินทางตั้ง 2.2 ล้านปี ต่อให้เราเดินทางได้เร็วเท่าแสงก็คงสูญพันธุ์ก่อน
ยานวอยเอเจอร์ 2 ยานอวกาศลำเดียวในปัจจุบันที่เดินทางถึงดาวเนปจูนในปี 1989 (ระยะทางประมาณ 4 ชั่วโมงแสง จากโลก) ใช้เวลาถึง 12 ปี!
เว้นเสียแต่เราสามารถสร้างรูหนอนในอวกาศเพื่อเดินทางข้ามกาล-อวกาศ ไปยังบริเวณอื่นของเอกภพได้โดยไม่ขัดกับกฎความเร็วแสงเป็นความเร็วต้องห้าม ขณะนี้ยังเป็นไปไม่ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.181.11 (พูดคุย | ตรวจ) 06:10, 21 มีนาคม 2551 (ICT)
ตอบ2
เดินทางไปได้ครับ แต่ไปในชั่วคนหนึ่งแล้วกลับ (แบบในปัจจุบันไม่ได้)

ต้องไปแบบ อาณานิคมอพยพ (โคโลนี แบบในการ์ตูน) ถึงจะได้

ส่วนการ วาล์ฟ (เดินทางด้วยรูหนอน) แบบในหนัง สตาร์แทร็ก ก็ยังเป็นแค่นิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลักฐานปัจจุบันยังยืนยันว่าขัดกับความจริง -- Sirius (Teetaweepo)
ข้อมูลรกสมอง
แสงมีความเร็ว 299,792,458 เมตร/วินาที
เสียงมีความเร็ว 343 เมตร/ วินาที
แสงเร็วกว่าเสียง 874030.49 เท่า
ระยะ 2.2 ล้านปีแสง คือ แสงเดินทางใช้เวลา 2.2 ล้านปี
ถ้าเสียงเดินทางจะใช้ = 2.2 ล้านปี X 874030.49 เท่า = 1,922,867,078,000 ล้านปี
นั่นคือ ถ้าใช้ยานอวกาศที่เร็วเท่ากับ 1 มัค (1เท่าความเร็วเสียง) แบบไม่หยุดแวะ จะใช้เวลา 192 ล้านล้านล้านปี
(สงสัยกว่าจะถึงมนุษย์อวกาศคงวิวัฒนาการเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ไปกี่รอบไม่รู้) --Sirius (TeeTaweepo) 10:33, 25 เมษายน 2551 (ICT)

ตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสีมีอะไรบ้าง ใครทราบช่วยทีครับ

อยากทราบข้อมูลตัวทำละลายในอุตสาหกรรมสี มีอะไรบ้าง และมีชื่อทางการค้าว่าอะไรเพื่อจะได้นำไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ VOC และ MSDS ต่อได้ เพราะไม่ทราบจะจำแนกได้อย่างไรว่าตัวทำละลายไหนใช้ในอุตสาหกรรมสี ขอบคุณมากครับ


IPA, ETHYL ACETATE, BUTYL ACETATE, KETONE, ACETONE, METHYL ALCOHOL, KEROSENE, MEK, MIBK, BUTYL CELLOSOLVE, H2O, ETC. ...NINJAW

มู่เล่ย์คืออะไร

ผมอยากทราบว่ามู่เล่ย์คือะไรและความหมายของมู่เล่ย์แต่ละชนิดครับ นายทินกร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 117.47.94.164 (พูดคุย | ตรวจ) 04:43, 15 มีนาคม 2551 (ICT)

ผลบวกทั้งหมดของจำนวนนับที่หาร 2550 ลงตัวมีึค่่าเท่าใด

ผลบวกทั้งหมดของจำนวนนับที่หาร 2550 ลงตัวมีึค่่าเท่าใด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.24.161 (พูดคุย | ตรวจ) 03:55, 17 มีนาคม 2551 (ICT)

ppm

ppm เป็นความเข้มข้นแบบ mass/mass หรือ volume/volume (ความเข้มข้นของก๊าซในปล่องระบาย)-- ซีอิ๊วดำ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.144.139.226 (พูดคุย | ตรวจ) 08:14, 17 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบ
1 ppm (part per million) = 1 mg / L
ดังนั้นเป็น mass / volume ต่างหาก --Sirius (TeeTaweepo) 10:37, 25 เมษายน 2551 (ICT)

ppm มีทุกแบบครับ ทั้ง m-m v-v m-v ดังนั้นต้องดูหน่วยและบริบทรอบข้างด้วย อ่านเพิ่มได้ที่ en:Parts-per notation --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 15:45, 17 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อาร์คีเมเดส

อยากรู้ค่ะว่าอาร์คีเมเดสเสียชีวิตเมื่อมีอายุเท่าไหร่ แพรวา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.11.170 (พูดคุย | ตรวจ) 03:08, 18 มีนาคม 2551 (ICT) ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.10.155 (พูดคุย | ตรวจ) 03:08, 31 มีนาคม 2551 (ICT)

การถ่ายฝากตัวอ่อน

การถ่ายฝากตัวอ่อนเริ่มต้นที่ไหนค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.131.50 (พูดคุย | ตรวจ) 11:41, 18 มีนาคม 2551 (ICT)

ไปอ่านที่ การถ่ายฝากตัวอ่อน --ปังคุง 13:36, 15 เมษายน 2551 (ICT)

แสงสีเขียว

อยากทราบว่าแสงสีเขียวที่อยุ่บนท้องฟ้าอะอะไรหรอค่ะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 58.10.131.50 (พูดคุย | ตรวจ) 11:44, 18 มีนาคม 2551 (ICT)

เคยตอบแล้วเลื่อนขึ้นไปดู #เห็นแสงสีเขียวบนท้องฟ้าจะใช่ดาวหางมั้ยครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 18:50, 18 มีนาคม 2551 (ICT)

โครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบิน

โครงสร้างทางเคมีของฮีโมโกลบินประกอบด้วยอะไรบ้าง? และส่วนใดที่จับกับออกซิเจนแล้วเกิดเป็นออกซีฮีโมโกลบิน? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 124.121.206.147 (พูดคุย | ตรวจ) 14:23, 19 มีนาคม 2551 (ICT)

ตอบ Haemoglobin เป็นโปรตีนในเลือดชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนจากตำแหน่งแลกเปลี่ยนก๊าซไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกาย เป็นโปรตีนรูปกลม ในมนุษย์ ฮีโมโกลบิน A ซึ่งพบมากที่สุดประมาณ 95% ของฮีโมโกลบินทั้งหมด ประกอบด้วย โปรตีนโกลบิน 4 สาย(มี 2 หน่วยย่อย α และ 2 หน่วยย่อย β) และ 4 ฮีมซึ่งแต่ละอันมีประกอบด้วยอะตอมของเหล็กฝังในใจกลางวง porphyrin โปรตีนโกลบิน 1 สายจะจับอยู่กับ 1 ฮีม ส่วนอะตอมของเหล็กเป็นส่วนที่จับกับโมเลกุลก๊าซออกซิเจน โดย 1 ฮีมต่อ 1 โมเลกุลออกซิเจน ดังนั้น 1 โมเลกุลของฮีโมโกลบินจะจับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล

ฟังก์ชันไซน์

อยากได้รูปกราฟของฟังก์ชันไซน์มากๆได้โปรด ช่วยหาให้ทีเถอะค่ะ …มิซาเอะ [1] --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.28.181.11 (พูดคุย | ตรวจ) 07:05, 21 มีนาคม 2551 (ICT)

การเติมคลอรีนมากเกินไป

   หากเติมคลอรีนลงในน้ำพุปริมาณมากเกินไปจะทำให้เกิดฟองขึ้นได้ใช่ไหม  โดยที่น้ำที่ใช้ในน้ำพุเป็นน้ำที่ใช้หมุนเวียนอยู่แต่ในอ่างน้ำพุ

นะคะ ใครทราบช่วยบอกหน่อย และหากจะเติมคลอรีนลงในน้ำพุเราความเติมความเข้มข้นเท่าไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.149.119.215 (พูดคุย | ตรวจ) 11:32, 22 มีนาคม 2551 (ICT)


ถ้าจะเติมเพื่อป้องกันแบคทีเรียหรือสาหร่าย เค้าไม่ใช้คลอรีนกันขอรับ เพราะมันไม่เสถียรเติมลงไปแป๊ปหนึ่งก้อสลายตัวหมดแล้ว และการเติมคลอรีนไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการที่จะเกิดฟองขอรับ ถ้าต้องการหาสารที่ใช้บำบัดน้ำในน้ำพุ ลองเปิดหาในเยลโล่ฯดีกว่า ให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเลือก เคมีมันมีหลายตระกูลเยอะอยู่ขอรับ ตอบเท่านี้เพราะยังไม่ชัดเจนในความต้องการของคำถาม หากจะสอบถามเพิ่มเติมเมลล์ที่ gear4car@yahoo.com ...ninjaw

จะทำลายอาหารเลี้ยงเชื้อที่หมดอายุแล้วอย่างไร

เนื่องจากในโรงงานมีอาหารเลี้ยงเชื้อที่หมดอายุแล้วจะทำลาย แต่ไม่แน่ใจว่าจำเป็นต้องนำไปทำลายแบบฝังกลบหรือไม่ แต่ถ้าไม่ทำลายสามารถนำมาทำอะไรได้บ้าง รบกวนตอบด่วนค่ะ เพราะต้องทำเอกสารขออนุมัติทำลายแล้วภายในวันที่ 25/03/08 ขอขอบพระคุณอย่างสูง

อุไรวรรณ์ ทองเกลา --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.146.196.70 (พูดคุย | ตรวจ) 02:55, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

อยากรู้มากๆ รีบตอบด่วน

โซเดียมเปอร์ออกไซดื คืออะไร และสามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับสิ่งใดได้บ้าง --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.131.86 (พูดคุย | ตรวจ) 04:57, 24 มีนาคม 2551 (ICT)


ไปอ่านที่ en:Sodium peroxide --ปังคุง 13:59, 15 เมษายน 2551 (ICT)

GSM

GSM หมายถึงอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 203.144.130.176 (พูดคุย | ตรวจ) 01:27, 25 มีนาคม 2551 (ICT)

ไปอ่านที่ จีเอสเอ็ม --ปังคุง 12:59, 15 เมษายน 2551 (ICT)
ปล. อย่าจำสลับกับ MSG (ผงชูรส) นะ --Sirius (TeeTaweepo)

ตอบ GSM ย่อมาจาก Global System for Mobile Communication ครับ

แมวน้ำ

อยากทราบว่าแมวน้ำหายใจอย่างไรคะ ? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.147.197 (พูดคุย | ตรวจ) 08:17, 26 มีนาคม 2551 (ICT)

หายใจบนบก เวลาว่ายน้ำ มันกลั้นหายใจนะครับ เหมือนคนนี่แหละ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:48, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

สนิมเขียวเทพีเสรีภาพทำยังงัย??

เห็นได้ชัดเจนว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน สามารถกำหนดสีที่พื้นผิวของงานปฏิมากรรมโลหะด้วยวิธีการทางเคมี อันได้แ1.รมดำ 2.สนิมสีเขียวขาว,สว่าง 3.สนิมสีเขียวเข้ม 4.สนิมแดงฯลฯ ((ปัญหาของผมมีอยู๋ว่าทำอย่างไรให้โลหะดังนี้1ทองเหลือง 2ทองแดง 3สำฤทธิ์ 4อะลมิเนียม เกิดสนิมสีเขียวโดยเฉาะอย่างยิ่ง"สีเขียวเข้มๆ"ได้ครับ))ผมเคยแช่ใน cupper solfate แต่ก็ไม่work มันก็เขียวแต่ไม่ติดทน คล้ายกับเอาแป้งมาโรยซะมากกว่า!! ถ้ามีใครทราบช่วยตอบกลับด้วยครับ ไม่รู้ต้องใช้เคมีตัวไหน เวลาและอุณหภูเท่าไหร่ (joseph phatchirakul)

สกัดทองคำขาว

สารเคมีที่สามารถแยกหรือสกัดทองคำขาวออกจากแร่ตัวอื่นได้ดี่ที่สุด --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 202.44.71.98 (พูดคุย | ตรวจ) 17:22, 27 มีนาคม 2551 (ICT)

ค่าแรงอัด

ค่าแรงอัด หน่วยเป็น PSI.จะแปลงหน่วยเป็น TON มีสูตรการคำนวณอย่างไรครับ จาก. ผีแดงพันปี --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.250.251 (พูดคุย | ตรวจ) 04:18, 28 มีนาคม 2551 (ICT)

แปลงไม่ได้ครับ คนละมิติกัน psi คือ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ส่วน ตัน คือหน่วยน้ำหนักอย่างเดียวไม่ต่อพื้นที่ แต่ถ้าจะหา ตันต่อตารางนิ้ว ก็ยังพอไหว แต่ตันก็มีหลายแบบอีก --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 13:29, 11 มิถุนายน 2551 (ICT)

แมกนีเซียมซัลเฟต

แมกนีเซียมซัลเฟต เป็นสารประเภทใด มีธาตุใดเป็นองค์ประกอบบ้าง และมีชื่อว่าอะไร --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 61.7.146.180 (พูดคุย | ตรวจ) 11:44, 31 มีนาคม 2551 (ICT)


ไปอ่านที่ แมกนีเซียมซัลเฟต --ปังคุง 13:00, 15 เมษายน 2551 (ICT)