วิกิพีเดีย:งานมอบหมายผู้เรียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งานมอบหมายผู้เรียนสามารถช่วยปรับปรุงวิกิพีเดียได้ แต่ก็อาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีต่อโครงการหากไม่ชี้นำอย่างเหมาะสม[1] แม้แต่บรรณาธิการวิกิพีเดียมากประสบการณ์ที่เป็นผู้สอนชั้นเรียนยังมีประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดี[2] แม้จะมีความยากลำบาก แต่งานมอบหมายและชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จในวิกิพีเดียภาษาอื่นก็สามารถพบเห็นได้ และหน้าสารสนเทศนี้เจตนาชี้ทางเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ดี งานมอบหมายที่สำเร็จกำหนดให้มีระบบวางแผนและวัดผลอย่างระมัดระวังให้สอดคล้องกับความต้องการของวิกิพีเดียและบรรทัดฐานของวิกิพีเดีย (ที่เรียก นโยบายและแนวปบัติ) หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับงานมอบหมายผู้เรียน กรุณาถามที่ ...

เราคาดหมายว่าผู้สอนมีความรู้จากการปฏิบัติงานวิกิพีเดียดี และควรเต็มใจช่วยจัดการการละเมิดนโยบายด้านเนื้อหาแกนกลางในงานของผู้เรียน มูลนิธิวิกิมีเดียสนับสนุนแผนงานการศึกษาทั่วโลก ซึ่งในประเทศไทยสามารถติดต่อได้ทางหน้านี้ในเอาท์รีชวิกิ (Outreach Wiki) ความมุ่งหมายของโครงการคือช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนเรียนรู้เกี่ยวกับวิกิพีเดียและหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่พบบ่อย ควรติดต่อแผนงานการศึกษาก่อนเริ่มชั้นเรียนเสมอ[3] งานมอบหมายแต่ละอย่างควรมีหน้าคอร์สของตนเองเพื่อให้อาสาสมัครป้อนกลับ (feedback) อย่างสร้างสรรค์ได้ถูกที่ หน้าผู้ใช้ของผู้เรียนควรลิงก์ไปหน้าคอร์สและแบบร่างใด ๆ ควรมีการระบุตัวผู้สอนในหน้าคอร์ส และหน้าผู้ใช้ควรมีรายละเอียดการติดต่อ (หรือเปิดตัวเลือกรับอีเมลทางวิกิพีเดีย) หากมีปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ขึ้น อาจจำเป็นให้รีบติดต่อผู้สอนก่อนเพื่อระงับปัญหาก่อนมีผลกระทบด้านลบต่อประสบการณ์ของผู้เรียน

อาสาสมัครผู้คว่ำหวอดควรต้อนรับผู้เขียนที่เป็นผู้เรียน และผู้เรียนควรเรียนรู้การสื่อสารผ่านช่องทางปกติของวิกิพีเดีย เช่น หน้าคุยของบทความและคุยกับผู้ใช้ หากผู้เขียนติดต่อผู้สอน ควรพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์ เช่นเดียวกัน ผู้สอนควรตอบรับการป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ต่องานมอบหมายชั้นเรียน

ภาพรวม[แก้]

งานมอบหมายที่ดีตั้งอยู่บนความรู้เรื่องบรรทัดฐานของวิกิพีเดีย (ที่เรียก นโยบายและแนวปฏิบัติ) เมื่อผู้สอนที่มีความรู้ ผู้เรียนที่มีความสามารถ และผู้เขียนประสานงานกันโดยยึดบรรทัดฐานเหล่านี้ งานมอบหมายนั้นมีโอกาสสำเร็จสูง ฉะนั้น การเรียนรู้บรรทัดฐานเหล่านี้จะต้องเป็นส่วนประกอบหนึ่งของงานมอบหมายทุกงาน เพื่อจัดระเบียบสิ่งต่าง ๆ ระบบการวัดผลและงานมอบหมายที่เป็นแนวเดียวกับบรรทัดฐานเหล่านี้มีความจำเป็น ผู้เรียนควรเต็มใจพยายามเพื่อเหลือการเข้ามีส่วนร่วมคุณภาพไว้เป็นมรดก

ผู้เรียนและผู้สอนที่เข้าร่วมในงานมอบหมายอาจรู้สึกพ่ายแพ้ต่อนโยบายและแนวปฏิบัติมากมาย รูปแบบการเขียนที่แนะนำ ชาววิกิพีเดียที่ไม่พึงประสงค์บางคน และความซับซ้อนของการเขียนรหัส

เมื่ออาสาสมัครมากประสบการณ์เผชิญผลลัพธ์ของงานมอบหมายที่ออกมาไม่ดี พวกเขาอาจรู้สึกพ่ายแพ้ต่อปัญหาเนื้อหาและการจัดรูปแบบต่าง ๆ ที่พวกตนใส่ใจ พวกเขายังอาจรู้สึกว่าตนเป็นผู้ช่วยสอนี่ไม่ได้รับค่าจ้างและไม่ได้รับคำขอบคุณ หากชั้นเรียนทั้งชั้นไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติเนื้อหาของวิกิพีเดียอย่างเป็นระบบ งานของผู้เรียนอาจถูกย้อนกลับหรือลบ และสามารถผลักไสหรือบั่นทอนกำลังใจของอาสาสมัครที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้เรียนไม่ใช้หน้าคุยเพื่อบรรลุความเห็นพ้องในเนื้อความที่พิพาท

วิกิพีเดียภูมิใจที่เป็น "สารานุกรมที่ทุกคนแก้ไขได้" และชุมชนวิกิพีเดียอาศัยอาสาสมัครที่พยายามปฏิบัติตามบรรทัดฐานของโครงการ เมื่อผู้เรียนแก้ไขเป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นเรียน (ซึ่งอาจไม่ตรงกับบรรทัดฐานของวิกิพีเดีย) มากกว่าความประสงค์ดำเนินการพันธกิจของวิกิพีเดียโดยสมัครใจ พลวัตนี้จึงเปลี่ยน ด้วยเหตุนี้จึงชอบที่ชุมชนวิกิพีเดียจะคาดหมายให้ผู้สอนรับผิดชอบต่องานของผู้เรียน ทั้งเพื่อผลดีต่อตัวผู้เรียนเองและต่อสารานุกรม

งานมอบหมายของผู้เรียนควรดำเนินการโดยใช้หน้าคอร์สแผนงานการศึกษาเสมอ ปกติควรพัฒนาบทความในหน้าผู้ใช้ของผู้เรียนหรือหน้าชั่วคราวก่อน หลังการประเมินแล้ว บทความนั้นอาจได้เป็นบทความวิกิพีเดีย

หน้าคอร์ส หน้าผู้ใช้และชื่อผู้ใช้[แก้]

งานมอบหมายชั้นเรียนควรมีหน้าคอร์สซึ่งระบุชื่อผู้ใช้ของผู้สอน การติดต่อประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่กับชั้นเรียน ผู้เรียน และบทความที่ผู้เรียนวางแผนลงมือเขีียน (แม้ปัจจุบันยังไม่มีอยู่) และตำแหน่งของฉบับร่างทุกฉบับ (เช่นในหน้าทดลองเขียนของผู้ใช้) สำคัญอย่างยิ่งที่จะจดรายการหน้าวิกิพีเดียทุกหน้าที่ผู้เรียนในชั้นเรียนจะแก้ไข หน้าคอร์สจะช่วยให้อาสาสมัครติดตามความก้าวหน้าของชั้นเรียนและแยกแยะระหว่างปัญหาจำเพาะกับชั้นเรียนกับปัญหาจำเพาะกับคน เพื่อให้การป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ชี้ไปได้ถูกที่ ชั้นเรียนที่ไม่มีหน้าคอร์สอาจถูกมองว่าเป็นการรบกวน และอาจลงเอยด้วยอาสาสมัครย้อนงานของนักเรียน อาสาสมัครผู้เรียนแต่ละคนควรมีลิงก์ไปหน้าคอร์สของตน บทความที่วางแผนหรือกำลังเขียนสำหรับงานมอบหมาย และร่างอยู่บนสุดในหน้าผู้ใช้ ผู้สอนควรทำให้แน่ใจว่าสามารถตอบทางหน้าคุยกับผู้ใช้ของตนได้ หรือมีรายละเอียดติดต่อหรือเปิดใช้งานที่อยู่อีเมล (ซึ่งไม่มีการเปิดเผย แต่ใช้เปิดช่องทางรับอีเมลหรือใช้ส่งอีเมลทางวิกิพีเดีย)

ผู้สอนควรเตือนผู้เรียนไม่ให้ใช้ชื่อจริงของตัวเป็นชื่อผู้ใช้ รวมทั้งไม่เปิดเผยสารสนเทศส่วนบุคคล ผู้สอนบางคนอาจกำหนดให้ผู้เรียนใช้ชื่อจริงเพื่อส่งเสริมให้รับผิดชอบข้อความและเลียนแบบวารสารวิชาการ แต่การทำเช่นนั้นอาจมีผลกระทบถาวรต่อชื่อเสียงของผู้เรียนได้

ผู้เรียนแต่ละคนควรลงทะเบียนบัญชีแยกกัน บัญชีหนึ่งบัญชีไม่ควรมีผู้เรียนใช้มากกว่าหนึ่งคนในทุกกรณี

คำแนะนำ[แก้]

คำแนะนำสำหรับผู้เรียน[แก้]

ก่อนอื่น ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย! วิกิพีเดียยินดีรับผู้เขียนใหม่ และเราหวังว่าคุณจะยังแวะเวียนมาหลังจบชั้นเรียนแล้ว วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมแบบใช้วิกิที่เปิดเผยและใช้เนื้อหาเสรี

  1. คุณทำงานร่วมกับชุมชน: ในโรงเรียนคุณเคยทำงานกลุ่มบ้างแล้ว แต่ในวิกิพีเดีย คุณจะเข้ามีส่วนร่วมในบทความที่สาธารณะเข้าถึงได้ ซึ่งมีสมาชิกชุมชนไม่เปิดเผยตัวตนเป็นผู้สร้างและบำรุงรักษา ในวิกิพีเดีย งานของคุณอาจถูกปรับเปลี่ยนหรือลบออกได้ตลอดเวลา และงานนี้ไม่มีกำหนดส่ง
  2. เราคาดหวังว่าคุณจะปฏิบัติตามบรรทัดฐานของเรา: วิกิพีเดียภาษาไทยมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชุมชนค่อย ๆ วางมาตั้งแต่ปี 2546 ปกติสมาชิกชุมชนให้อภัยคุณหากคุณเริ่มเรียนรู้วิถีของวิกิพีเดีย แต่คุณไม่มีสถานภาพพิเศษในฐานะผู้เรียนในวิกิพีเดีย และไม่มีใครเป็นเจ้าของบทความในโครงการ
  3. เขียนให้เป็นสารานุกรม: คุณอาจเคยเขียนเรียงความมาแล้ว แต่วิกิพีเดียมีนโยบายเนื้อหาแกนกลาง คู่มือแนวทางและโครงสร้างการเขียนของตัวเอง แต่กล่าวโดยสรุปคือ คุณจะต้องเขียนจากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ไม่ใช่มาจากการตีความเอง
  4. ห้ามโจรกรรมทางวรรณกรรมและละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องจริงจัง และคุณอาจถูกพักไม่ให้แก้ไขวิกิพีเดีย
  5. ทดลองก่อน: หากต้องการฝึกแก้ไขก่อน ให้ลองคัดลอกและวางเนื้อหาในหน้าทดลองเขียนของคุณ ซึ่งหน้านี้ยังใช้เป็นที่ร่างบทความใหม่ด้วย หากคุณโพสต์บทความทันทีอาจถูกลบได้ เมื่อคุณสร้างบทความใหม่ ควรดูว่าหัวข้อที่เขียนมีความโดดเด่น และดูว่าไม่มีผู้อื่นเขียนบทความเรื่องเดียวกันแล้ว (แต่อาจใช้คนละชื่อกัน)
  6. รับฟังคำแนะนำและเน้นการพูดคุยกัน: อาสาสมัครมากประสบการณ์อาจให้คำแนะนำหรือย้อนการเข้ามีส่วนร่วมของคุณ กรุณาสนใจคำแนะนำของเขาเหล่านั้นด้วย หากเริ่มมีการอภิปรายการแก้ไขของคุณทางหน้าคุย (คุณควรเฝ้าดูบทความที่คุณเขียน) ให้ตอบสนองด้วย หากมีบางคนย้อนการแก้ไขของคุณ อย่าเริ่ม "สงครามแก้ไข" (ย้อนกลับไปมา) หากคุณไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขนั้น ควรเปิดการอภิปรายในหน้าคุยของบทความจะดีที่สุด และอธิบายอย่างสุภาพว่าเหตุใดคุณเชื่อว่ารุ่นของคุณดีกว่า กรุณาใช้เหตุผลโดยยึดจากนโยบายและแนวปฏิบัติในหน้าคุย บางทีอาจมีผู้อื่นมีติดป้ายระบุปัญหาในบทความ กรณ๊นี้ไม่ควรลบป้ายออกหากยังไม่ได้แก้ไขปัญหา แต่หากคุณไม่มั่นใจว่าต้องทำอะไรหรือคุณไม่เห็นด้วย การเริ่มการอภิปรายในหน้าคุยแล้วใช้วิธีแจ้งเตือนผู้เขียนที่ติดป้ายถือว่าเหมาะสม
  7. ระมัดระวัง: อย่าเปิดเผยชื่อจริง สารสนเทศส่วนบุคคลในวิกิพีเดีย เพราะอาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีฉวยโอกาสนำไปใช้ได้ และในวิกิพีเดียภาษาไทยคุณอาจเจอกับผู้ใช้ไม่พึงประสงค์ ซึ่งในกรณีดังกล่าวคุณสามารถขอความช่วยเหลือได้

วิกิพีเดียเป็นสิ่งแวดล้อมความร่วมมือที่ขึ้นอยู่กับการสื่อสาร หากคุณคิดว่ามีผู้เขียนเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุข้อกำหนดของงานมอบหมายของคุณ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ประสานงานหรือที่ ... คุณยังสามารถขอความช่วยเหลือโดยใช้แม่แบบ {{ช่วยหน่อย}} นอกจากนี้ กรุณาแจ้งข้อกังวลกับเจ้าหน้าที่ประสานงานหรือที่ ... หากคุณคิดว่างานมอบหมายของคุณขัดต่อบรรทัดฐานของวิกิพีิเดีย เพราะเนื้อหาในเนมสเปซบทความที่ไม่เป็นไปตามนโยบายจะถูกลบโดยเร็ว อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่สามารถช่วยปรึกษาผู้สอนของคุณเพื่อปรับเปลี่ยนการออกแบบงานมอบหมายได้ และคุณยังสามารถถามคำถามได้ทางแผนกช่วยเหลือได้ตลอดเวลา

ขอให้มีความสุขกับการเขียน!

คำแนะนำสำหรับผู้สอน[แก้]

โบชัวร์เป็นไฟล์พีดีเอฟที่พัฒนาสำหรับหลักสูตรการศึกษาวิกิพีเดีย ว่าด้วยวิธีการใช้วิกิพีเดียเป็นเครื่องมือสอนในชั้นเรียนอุดมศึกษา (อังกฤษ)

คุณน่าจะเคยมีประสบการณ์เป็นผู้เขียนวิกิพีเดียมาบ้างแล้ว หรือถ้ายังไม่มีประสบการณ์ มีสื่อและคนที่เต็มใจช่วยให้คุณเรียนรู้ได้ ผู้ที่สามารถช่วยได้อาจรวมผู้สอนคนอื่นที่มีประสบการณ์กับงานมอบหมายวิกิพีเดีย เจ้าหน้าที่ประสานงานของ หลักสูตรการศึกษาสำหรับคอร์สของคุณ หรือผู้เขียนวิกิพีเดียทางแผนกช่วยเหลือ กรุณาถามที่ ... หากคุณต้องการความช่วยเหลือ ผู้สอนทุกคนควรปฏิบัติตามคำชี้แจงสำหรับตั้งโครงการชั้นเรียน เราตระหนักว่าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาของคุณและวิธีการสอน และด้วยเหตุผลที่ดี คุณอาจมองวิกิพีเดียว่ามีแต่ผู้เขียนที่ขาดประสบการณ์และวิจารณญาณอย่างคุณ แต่ขอให้เข้าใจว่าผู้เขียนหลายคนก็เป็นนักวิชาการมากประสบการณ์ และผู้เขียนทุกคน ไม่ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือไม่ อาจไปพบผู้เรียนของคุณได้ กรุณาทำความเข้าใจวิกิพีเดียก่อนออกแบบงานมอบหมาย เราขอขอบคุณล่วงหน้า!

ชุมชนอาสาสมัครที่นี่อาจยินดีต้อนรับผู้เขียนที่เป็นผู้เรียนใหม่ แต่บางทีก็ไม่สามารถรับมือกับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นทันทีทันใดซึ่งเกิดได้เมื่อผู้เรียนจำนวนมากเข้ามาพร้อมกัน บ่อยครั้งอาสาสมัครมีเรื่องที่สนใจที่เขียนอยู่เป็นประจำซึ่งอาจไปตรงกับงานมอบหมายชั้นเรียนของคุณ เนื่องจากมีสายตามากมายดูบทความที่ผู้เรียนทำงานอยู่ และคุณไม่สามารถควบคุมการกระทำของผู้เขียนวิกิพีเดียคนอื่น หรือเมื่อใดที่มีอาสาสมัครมาแก้ไขเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นการใส่ใจนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียตั้งแต่แรกเริ่มต้นคอร์สจะช่วยพัฒนาประสบการณ์ของผู้เรียน และช่วยคุณเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นในช่วงที่คุณกำลังส่งผลการเรียนของผู้เรียน

กรุณารับประกันว่าชั้นเรียนของคุณปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นสำหรับหน้าคอร์ส หน้าผู้ใช้และชื่อผู้ใช้ ผู้เรียนของคุณควรโพสต์แม่แบบในหน้าคุยของบทความที่วางแผนพัฒนา และเมื่อมีการเขียนบทความใหม่ กรุณาสอดส่องดูว่าผู้เรียนของคุณวางแม่แบบนี้ไว้ในหน้าคุยเช่นกัน

กรุณาอย่าบังคับให้ผู้เรียนเขียนบทความลงในเนมสเปซบทความ หรืออย่างน้อยคุณควรตรวจทานบทความด้วยตนเอง หรือให้อาสาสมัครวิกิพีเดียตรวจบทความก่อนเพื่อป้องกันปัญหาตามมา นอกจากนี้ ไม่ควรคิดคะแนนจากความยาวของหน้าอย่างเดียว เพราะวิกิพีเดียไม่ควรมีเนื้อความที่ไม่จำเป็นและอยู่นอกประเด็น

คุณควรเฝ้าติดตามการแก้ไขของผู้เรียน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรับทราบเมื่ออาสาสมัครวิกิพีเดียอื่นให้การป้อนกลับผู้เรียนของคุณ และควรให้แน่ใจว่าผู้เรียนคนนั้นตอบสนองด้วย บางกรณีอาจมีอาสาสมัครคนอื่นมาติดป้ายแจ้งไว้บนสุดของหน้าบทความ ป้ายดังกล่าวใช้เป็นวิธีการสื่อสารระหว่างผู้เขียน และไม่ควรนำออกจนกว่าจัดการปัญหาแล้ว ดูให้แน่ใจว่าผู้เรียนของคุณเข้าใจเนื้อหาและรูปแบบการเขียนที่เหมาะสำหรับสารานุกรม ซึ่งไม่อนุญาตงานค้นคว้าต้นฉบับ รวมถึงอย่าปักใจว่าผู้เขียนวิกิพีเดียจะแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียนเสมอไป และอย่าปักใจว่าที่การแก้ไขของผู้เรียนไม่ถูกย้อนหมายความว่าอาสาสมัครคนอื่นยอมรับการแก้ไขนั้น การแก้ไขซ้ำ ๆ อย่างไม่ช่วยเหลืออาจถือเป็นการรบกวนได้

คุณอาจส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกระบวนการและมาตรฐานพื้นฐานของวิกิพีเดีย บางทีคุณอาจมอบหมายให้ผู้เรียนอ่านหน้านี้แล้วให้ตอบคำถามสั้น ๆ (quiz)[4]

ให้ผู้เรียนโพสต์ข้อเสนอแนะการปรับปรุงโดยตรงในหน้าคุยของบทความ ไม่ใช่ออฟไลน์ พิจารณาให้รางวัลแก่ผู้เรียนที่ให้คำแนะนำดี ๆ ในวิกิพีเดีย รวมถึงพิจารณาให้รางวัลแก่การขอคำแนะนำจากผู้ใช้มากประสบการณ์และปรับปรุงบทความตามคำแนะนำนั้น รวมทั้งพิจารณาลงโทษผู้เรียนที่ไม่จัดการกับปัญหาที่อาสาสมัครเสนอขึ้น

บทความที่มีการเขียนดีอยู่แล้วก่อนเริ่มคอร์สของคุณมักมีอาสาสมัครจับตาอยู่หลายคน และผู้เรียนของคุณอาจถูกอาสาสมัครคัดค้านการเปลี่ยนแปลงบทความนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความคุณภาพสูง การให้ผู้เรียนปรับปรุงบทความสั้นที่ยังต้องปรับปรุงอีกมากจะดีกว่า กรุณาอย่าให้ผู้เรียนเผยแพร่บทความที่ไม่ช่วยพัฒนาวิกิพีเดีย เพื่อมิให้เป็นภาระของชุมชนอาสาสมัคร

ขอขอบคุณที่แนะนำผู้เรียนของคุณเข้าสู่วิกิพีเดีย ช่วยสอดส่องดูผู้เรียน และช่วยให้พวกเขาเหลือมรดกทางบวกไว้สำหรับผู้อ่านมากมาย!

คำแนะนำสำหรับอาสาสมัคร[แก้]

ผู้เรียนอาจให้ความสำคัญต่างจากอาสาสมัครประจำ (การวัดผลชั้นเรียนสำคัญกว่าการพัฒนาวิกิพีเดีย คือ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแล้วไม่กลับมาอีก) ขึ้นอยู่กับว่าจัดระเบียบชั้นเรียนอย่างไร บางทีอาสาสมัครอาจเผชิญการแก้ไขของผู้เรียนจำนวนมากในเวลาอันสั้น และพบว่าการทำให้ผู้เรียนสนใจคำแนะนำบรรณาธิการยาก ทั้งนี้ วิกิพีเดีย:ประพฤติเยี่ยงอารยชน วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ และ วิกิพีเดีย:โปรดอย่ากัดผู้ใช้ใหม่ยังมีผลอยู่ แต่ควรปฏิบัติต่อผู้เรียนแบบเดียวกับผู้ขียนใหม่ทุกคนโดยไม่มีข้อพิจารณาพิเศษใด ๆ

หากคุณพบเห็นการแก้ไขที่มีปัญหา ให้อธิบายความกังวลของคุณในหน้าคุยของบทความหรือคุยกับผู้ใช้ เรียบเรียงคำให้เหมาะสมเช่นเดียวกับกรณีผู้เขียนใหม่คนอื่น คุณมีสิทธิย้อนเนื้อหาหรือย้ายไปหน้าคุย หรือเสนอลบตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการละเมิดนโยบายอย่างร้ายแรง (ผู้เรียนสามารถขอให้ผู้ดูแลระบบจัดหาสำเนาของบทความที่ถูกลบได้เสมอ) โครงการชั้นเรียนไม่เป็นเจ้าของหน้าที่กำลังเขียนอยู่ เมื่อคุณแสดงความกังวลของคุณอย่างสุภาพแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องกล่าวย้ำคำแนะนำอีก

กรุณาอย่าให้โครงการผู้เรียนลดทอนความสุขในการเขียนของคุณ ไม่ต้องรู้สึกไม่ดีเมื่อย้อนการแแก้ไขที่ควรแล้ว ผลการเรียนของผู้เรียนไม่ใช่ความรับผิดชอบของคุณ หรือแง่มุมอื่นของการสอนในชั้นเรียน ยกเว้นคุณเลือกเข้าไปเกี่ยวข้องเอง หากคุณไม่ต้องการแก้ไขปัญหาทั้งหมดในหน้าหน้าหนึ่ง ก็สามารถปล่อยให้ผู้เขียนอื่นทำได้ โดยอาจติดป้าย {{เก็บกวาด}} หรือแม่แบบที่คล้ายกันในหน้านั้น หากผู้เรียนไม่สนองต่อปัญหาอย่างน่าพึงพอใจ พิจารณาหยิบยกประเด็นนั้นสนทนากับผู้สอน พึงรักษาความเป็นมืออาชีพและความสุภาพด้วย หากคุณได้รับการสนองตอบล่าช้าหรือไม่น่าพึงพอใจ กรุณารายงานปัญหานั้นไปยัง ...

หากคุณพบเห็นผู้เขียนที่เป็นผู้เรียนที่ทรงคุณค่า กรุณากล่าวชื่นชมเขาทางหน้าคุย เช่นเดียวกัน หากคุณต้องการชื่นชมชั้นเรียนใดชั้นเรียนหนึ่ง พิจารณาโพสต์ใน ...

ข้อพิจารณาการแก้ไข[แก้]

เลือกหัวข้อ[แก้]

ก่อนลงมือเขียนบทความใด ๆ ในวิกิพีเดียควรเลือกหัวข้อก่อน

  1. หัวข้อโดดเด่น: บทความวิกิพีเดียจะต้องมีการกล่าวถึงในแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ ซึ่งการตัดสินนั้นอาจเป็นเรื่องยาก และอาจต้องคุยกับอาสาสมัครคนอื่น
  2. บทความที่จะลง: เลือกลงเนื้อหาให้ถูกบทความ เช่น ในบทความประเทศไทย มีสารสนเทศบางส่วนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ซึ่งกล่าวสั้น ๆ ให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น แต่รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยมีการขยายความแล้วในบทความประวัติศาสตร์ไทย การลงเนื้อหาไม่ถูกหน้าอาจทำให้เกิดเนื้อหาซ้ำซ้อนที่มีผู้เขียนไว้แล้วเดิม และเนื้อหานั้นอาจถูกย้ายไปหน้าอื่นหรือถูกลบ
  3. การลบเนื้อหา: ระวังเรื่องการลบเนื้อหา โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีผู้เรียบเรียงไว้แล้วเดิมที่มีแหล่งอ้างอิง ถ้าลบเนื้อหาหลายบรรทัดคุณควรอธิบายเหตุผลในหน้าคุย

โจรกรรมทางวรรณกรรมและการละเมิดลิขสิทธิ์[แก้]

ระมัดระวังเรื่องการคัดลอกและวางข้อความจากแหล่งที่มาอื่น โจรกรรมทางวรรณกรรมอาจถือเป็นเรื่องใหญ่ที่อาจทำให้คนคนหนึ่งตกวิชานั้นหรือถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย รวมทั้งถ้าใช้ชื่อจริง โจรกรรมทางวรรณกรรมอาจติดตามคนคนนั้นไปตลอดชีวิต ผู้เรียนควรตระหนักว่ามีคนเฝ้าสังเกตการแก้ไขในหน้าวิกิพีเดียอย่างลับ ๆ และมีโอกาสสูงที่จะมีคนจับได้ว่าโจรกรรมทางวรรณกรรม

ดูเพิ่ม: วิกิพีเดีย:เขียนงานอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. บางครั้งบรรณาธิการอาสาสมัครมีภาระซ่อมแซมการแก้ไขคุณภาพต่ำ การรวมเนื้อหาที่คล้ายกัน หรือลบบทความ
  2. Jon Beasley-Murray นักวิชาการและชาววิกิพีเดีย แบ่งปันทัศนะของเขา (อังกฤษ) ตั้งแต่ปี 2555 เรื่องการใช้วิกิพีเดียในระดับอุดมศึกษา มีข้อแนะนำ (อังกฤษ) จากประสบการณ์ช่วงแรก ๆ ของเขา และล่าสุดนำเสนอเอกสารนี้ในงานวิกิเมเนีย (Wikimania) 2015; หน้าผู้ใช้ของเขาแสดงตัวอย่างชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ
  3. Please consider delaying your Wikipedia assignment to next semester if you are not familiar with how things work. You and your students will benefit from good planning.
  4. ถ้าคุณกลัวว่าหน้านี้ไม่เสถียรสำหรับความมุ่งหมายของการตั้งคำถาม ให้ลิงก์บทความนี้ด้วยลิงก์ถาวรไปรุ่นปัจจุบันโดยเลือกหลังคลิกแถบ "ดูประวัติ" บนสุดของบทความ