วารันเจียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้พิทักษ์ชาววารันเจียนในภาพจากบันทึกพงศาวดารจากคริสต์ศตวรรษที่ 11

วารันเจียน (อังกฤษ: Varangians หรือ Varyags; นอร์สเก่า: væringjar; ภาษากรีกยุคกลาง: Βάραγγοι, Βαριάγοι; ยูเครน: варя́ги) คือชนไวกิง[1][2] และชาวนอร์สที่เดินทางไปทางตะวันออกและทางใต้ไปยังบริเวณที่ในปัจจุบันคือรัสเซีย, เบลารุส และยูเครน ส่วนใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 10 แต่นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าคำว่า "วารันเจียน" หมายถึงชนชาติพันธุ์ก็ได้ที่เป็นนักเดินทะเล พ่อค้า หรือโจรสลัด คำนี้ใช้ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับไวกิงและกองทหารสลาฟที่เดินทางระหว่างเมืองสำคัญทางการค้าและมักจะเข้าทำสงครามเมื่อมีโอกาส คำที่คล้ายคลึงกันในภาษารัสเซีย "เนเม็ต" (немец) ใช้สำหรับชาวต่างประเทศจากประเทศในยุโรปแต่ส่วนใหญ่หมายถึงเยอรมัน ในภาษารัสเซียสมัยใหม่คำนี้หมายถึงคนเยอรมัน

ตามหลักฐานบันทึกพงศาวดารของรุสเคียฟที่รวบรวมราว ค.ศ. 1113 กล่าวถึงกลุ่มวารันเจียนที่รวมทั้งชนสวีด, ชนรุส, ชนนอร์มัน, ชนแองเกิล และ ชนกอตแลนเดอร์[3] ชนวารันเจียนส่วนใหญ่ที่ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตะวันออกของบอลติก รัสเซีย และดินแดนทางตอนใต้มาจากบริเวณที่เป็นสวีเดนปัจจุบัน[4]

ชนวารันเจียนทำการค้าขาย โจรสลัด และทหารรับจ้าง และมักจะเดินทางทางน้ำ ไปจนถึงทะเลแคสเปียน และ คอนสแตนติโนเปิล[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Milner-Gulland, R. R. Atlas of Russia and the Soviet Union. Phaidon. p. 36. ISBN 0714825492.
  2. Schultze, Sydney (2000). Culture and Customs of Russia. Greenwood Publishing Group. p. 5. ISBN 0313311013.
  3. Duczko, Wladyslaw (2004). Viking Rus. BRILL. pp. 10–11. ISBN 9004138749.
  4. Forte, Angelo, Richard Oram, and Frederik Pedersen. Viking Empires. Cambridge Univ. Press, 2005. 13-14.
  5. Stephen Turnbull, The Walls of Constantinople, AD 324–1453, Osprey Publishing, ISBN 1-84176-759-X