ราสโคล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพนิกิตา พุชโตสเวียต นักบวชจากกลุ่มความเชื่อเก่า กำลังโต้เถียงกับอัครบิดรโจอาคิมแห่งมอสโก ในเรื่องปัญหาทางความเชื่อ โดยซาเรฟนาโซฟียา อะเลคเซยีฟนาแห่งรัสเซีย ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เป็นประธานในการโต้วาทะนี้ วาดโดย วาซิลี เปรอฟ (ปี 1880)

ราสโคล (Raskol) (รัสเซีย: раскол, เสียงอ่านภาษารัสเซีย: [rɐˈskoɫ], แปลว่า "แยกออก, แยกตัว" or "ศาสนเภท") เป็นเหตุการณ์ความแตกแยกระหว่างคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ซึ่งเป็นคริสตจักรทางการกับกลุ่มความเชื่อเก่า ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากการปฏิรูปศาสนาของอัครบิดรนิคอนแห่งมอสโก ในปีค.ศ. 1653 ซึ่งพยายามสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างศาสนจักรกรีกและศาสนจักรรัสเซีย

ราสโคล และผลจากการปฏิรูป[แก้]

กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางวงการศาสนาได้รวมตัวกันและถูกเรียกว่า กลุ่มผู้มุ่งมั่นแห่งศรัทธา (Zealots of Piety; ภาษารัสเซีย: Кружок ревнителей благочестия ; ครูซอก เรฟนีเทเล บลาโกเชสติยา) ได้ประกาศยืนหยัดว่าจะทำให้ศาสนจักรรัสเซียบริสุทธิ์ พวกเขาพยายามปฏิรูปสังคมมอสโก และจะนำสังคมไปใกล้ชิดกับคุณค่าของความเป็นคริสเตียนและปรับปรุงการปฏิบัติกิจของศาสนจักร เป็นผลให้พวกเขาดำเนินการกำจัดตำราทางศาสนาที่เขียนในแนวทางอื่น และจะดำเนินการให้ตำราทางศาสนามีการเขียนอย่างถูกต้อง บุคคลผู้ทรงอิทธิพลในวงการนี้ได้แก่ หัวหน้าพระ อัฟวาคุม เปทรอฟ, อีวาน เนโรนอฟ, สตีเฟน วอนิฟาติเยฟ, ฟโยดอร์ รทิชเชฟ และนิคอน ซึ่งขณะนั้นเป็น อาร์ชบิชอปประจำอัครมุขมณฑลนอฟโกรอด ต่อมาเขาจะได้เป็นอัครบิดร

ด้วยการสนับสนุนจากพระเจ้าซาร์อเล็กซีที่ 1 แห่งรัสเซีย อัครบิดรนิคอนได้เริมกระบวนการชำระตำราทางศาสนาของรัสเซียให้สอดคล้องกับประเพณีของศาสนจักรกรีกสมัยใหม่และมีการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมบางอย่าง (เครื่องหมายนิ้วมือสองนิ้วในการทำเครื่องหมายกางเขนถูกเปลี่ยนเป็นหนึ่งในสามนิ้ว และออกเสียง "อัลเลลูยา" สามครั้งแทนที่จะเป็นสองครั้งแบบเดิม เป็นต้น) แนวคิดใหม่นี้นำมาซึ่งกระแสต่อต้านจากทั้งทางฝั่งนักบวชและประชาชน ซึ่งได้โต้แย้งอัครบิดรถึงความชอบธรรมและความถูกต้องในการปฏิรูปพิธีกรรมเหล่านี้เอาเอง โดยคนเหล่านี้ได้โต้แย้งจากการอ้างถึงหลักธรรมศาสนศาสตร์และกฎของศาสนาคริสต์นิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ แต่อัครบิดรทรงเพิกเฉยต่อการประท้วง และการปฏิรูปได้รับความเห็นชอบจากซินอด ในปีค.ศ. 1654-1655 และในปีค.ศ. 1653 ถึง 1656 ลานพิมพ์มอสโกภายใต้การควบคุมของเอพิฟานิอุส สลาวิเน็ตสกี นักศาสนวิทยา ได้ทำการตีพิมพ์ตำราทางศาสนาฉบับใหม่ที่ผ่านการชำระและแปลภาษาแล้ว

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ในภาษาอังกฤษ[แก้]

  • Cherniavsky, M (1955), "The Reception of the Council of Florence in Moscow", Church History (article), XXIV: 147–57.
  • Crummey, Robert O (1970), The Old Believers & The World of Antichrist; The Vyg Community & The Russian State, Wisconsin UP.
  • Gill, T (1959), The Council of Florence, Cambridge.
  • Shevchenko, I (1955), "Ideological Repercussions of the Council of Florence", Church History (article), XXIV: 291–323.
  • Zenkovsky, Serge A (1957), "The ideology of the Denisov brothers", Harvard Slavic Studies, III: 49–66.
  • ——— (1956), "The Old Believer Avvakum", Indiana Slavic Studies, I: 1–51.
  • ——— (1967) [1960], Pan-Turkism and Islam in Russia, Harvard UP
  • ——— (1957), "The Russian Schism", Russian Review, XVI: 37–58, doi:10.2307/125748.

ในภาษารัสเซีย[แก้]

  • Голубинский (Golubinskij), ЕЕ (1900), История русской церкви [History of the Russian Church], Москва (Moscow).
  • ——— (1905), К нашей полимике со старообрядцами [Contribution to our polemic with the Old believers], ЧОИДР (ČOIDR).
  • Зеньковский, СА (Zenkovskij, SA) (2006), Русское старообрядчество [Russia's Old Believers], vol. I, II, Москва (Moscow).
  • Каптерев, НФ (Kapterv, NF) (1913), Патриарх Никон и его противники в деле исправления церковныx обрядов [Patriarch Nikon and his opponents in the correction of church rituals], Москва (Moscow).
  • ——— (1914), Характер отношений России к православному востоку в XVI и XVII вв [Character of the relationships between Russia and the orthodox East in the 16th and 17th centuries], Москва (Moscow).
  • Карташов, АВ (Kartašov, AV) (1959), Очерки по иситории русской церкви [Outlines of the history of the Russian church], Париж (Paris).
  • Ключевский, ИП (Ključevskij, IP) (1956–59), Сочинения [Works], vol. I–VIII, Москва (Moscow).
  • Кутузов, БП (Kutuzov, BP) (2003), Церковная "реформа" XVII века [The church "reform" of the 17th century], Москва (Moscow).