ระฆัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1. Bell yoke or headstock 2. canons, 3. crown, 4. shoulder, 5. waist, 6. sound bow, 7. lip, 8. mouth, 9. clapper, 10. bead line
เครื่องกระทบ
ประเภท เครื่องสั่นสะเทือนในตัว
Hornbostel–Sachs classification111.242
(Bells: Percussion vessels with the vibration weakest near the vertex)
ช่วงเสียง
สูงมากถึงต่ำมาก
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
Chimes, cowbell, handbell, ฆ้อง

ระฆัง เป็นเครื่องดนตรีอย่างง่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดหนึ่งด้าน มีตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่นกระดิ่ง ไปจนถึงระฆังขนาดใหญ่ เช่นระฆังบิกเบน ที่แขวนในหอนาฬิกา ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ ระฆังสามารถทำจากวัสดุ ตั้งแต่แก้ว เซรามิค แต่ที่นิยมที่สุดคือโลหะ

ระฆัง มีลักษณะเป็นท่อปลายเปิดข้างเดียว แขวนด้านที่เปิดลงด้านล่าง อาจจะมีค้อนแขวนไว้ข้างในตัวระฆัง หรืออาจจะเอาไว้ด้านนอกก็ได้ แล้วแต่ว่าจะใช้วิธีแกว่งหรือตี เมื่อระฆังถูกตี พลังงานจากการชนของค้อนกับระฆังจะทำให้อากาศในระฆังเกิดการสั่นพ้องขึ้น ทำให้เกิดเสียงอันก้องกังวาน

ในโลกตะวันตก ระฆังมักมีค้อนแขวนไว้ภายใน และแขวนไว้กับแกนที่หมุนได้ แกนที่หมุนได้จะมีเชือกโยงลงไป เวลาจะลั่นก็จะกระตุกเชือก ทำให้ระฆังแกว่ง และกระทบกับค้อนเกิดเป็นเสียงขึ้น บางทีระฆังอาจจะแขวนไว้เป็นราวก็ได้

ส่วนในโลกตะวันออก ระฆังมักใช้วิธีการกระแทกด้วยค้อนหรือไม้ท่อน แทนที่จะแกว่ง เทคนิคหลังนี้เป็นที่นิยมสำหรับหอนาฬิกาและหอระฆังโดยทั่วไป เพราะการแกว่งอาจทำให้หอเสียหายได้

ระฆังมักทำมาจากโลหะผสมทองแดงและดีบุก (ทองเหลือง) ในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยมากมักเป็นทองแดง 3 ส่วน และ ดีบุก 1 ส่วน หลังจากที่หล่อเสร็จแล้ว ก็จะต้องถ่วงเสียง โดยการเพิ่มหรือลดเนื้อวัสดุภายในตัวระฆัง เทียบกับการเคาะส้อมเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการ

ระฆังซิกมุนด์ ที่เมืองกราโกว์ ประเทศโปแลนด์

ดูเพิ่ม[แก้]