มูเดิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Moodle
ผู้ออกแบบMartin Dougiamas
นักพัฒนาMartin Dougiamas
Moodle HQ
Moodle Community
รุ่นเสถียร
4.3.3[1] แก้ไขบนวิกิสนเทศ / 12 กุมภาพันธ์ 2024
ที่เก็บข้อมูล
ภาษาที่เขียนPHP
ระบบปฏิบัติการCross-platform
ประเภทCourse management system
สัญญาอนุญาตGPLv3+[2]
เว็บไซต์moodle.org

มูเดิล (อังกฤษ: Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) เป็นซอฟต์แวร์เสรีเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมการศึกษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (อาจเรียกว่า Learning Management System หรือ Virtual Learning Environment; VLE) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 มีฐานผู้ใช้ประกอบไปด้วย 70,793 เว็บไซต์ที่ลงทะเบียนและตรวจสอบแล้ว ซึ่งให้บริการแก่ผู้ใช้ 63,204,814 รายในกว่า 6.7 ล้านวิชาและผู้สอนกว่า 1.2 ล้านคน[3]

มูเดิลเดิมทีได้พัฒนาโดย Martin Dougiamas มีจุดประสงค์เพื่อช่วยคุณครูหรือผู้ที่ทำงานด้านการศึกษาให้สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ได้ ความสามารถของมูเดิลเน้นไปที่การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาและการร่วมกันพัฒนาเนื้อหาบทเรียน รุ่นแรกของมูเดิลได้เปิดตัวในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 และปัจจุบันก็ยังคงพัฒนาเรื่อยมา

ชื่อมูเดิลได้กลายมาเป็นชื่อของโครงการและบริษัทมากมายที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์มูเดิล

  • ซอฟต์แวร์มูเดิล
  • Moodle Pty Ltd (หรืออาจเรียกว่า Moodle Headquarters หรือ the Moodle Trust) เป็นบริษัทในเมืองเพิร์ท ประเทศออสเตรเลีย มีส่วนร่วมในการพัฒนาซอฟต์แวร์หลักของมูเดิล
  • ชุมชนมูเดิล เป็นเครือข่ายเปิดของผู้ใช้งานมูเดิล มีผู้ใช้ลงทะเบียนกว่าหนึ่งล้านคน ผู้ใช้แต่ละคนอาจแบ่งปันโค้ด แนวคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ภายในชุมชน นอกจากนี้ชุมชนยังมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์จำนวนมากที่ไม่ได้ร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์หลักของมูเดิลโดยตรง แต่ช่วยในการสร้างโมดูลเสริมความสามารถต่าง ๆ
  • Moodle Partner network เป็นกลุ่มที่ช่วยสนับสนุนเงินบริจาคให้แก่ Moodle Pty Ltd

ปูมหลัง[แก้]

ต้นกำเนิด[แก้]

Martin Dougiamas ผู้สำเร็จการศึกษาทั้งทางการศึกษาและวิทยาการคอมพิวเตอร์ได้เขียนเวอร์ชันแรกของ Moodle และทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเพื่อศึกษาการใช้ซอฟต์แวร์เสรีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมุ่งไปในแนวทาง "social constructionist"[4][5][6]

ต้นกำเนิดของชื่อ[แก้]

ตัวย่อ Moodle หมายถึง Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment (ในปีแรก ๆ "M" หมายถึง "Martin's" ซึ่งก็คือชื่อผู้พัฒนาโปรแกรม) นอกจากจะเป็นตัวย่อแล้ว ชื่อนี้ยังถูกใช้เพราะความหมายตามพจนานุกรม[7] และเพราะมีชื่อโดเมนว่างอยู่ในจดทะเบียนได้ในขณะนั้น[8]

"Moodle" เป็นเครื่องหมายการค้าในหลายประเทศจดทะเบียนโดย Martin Dougiamas มีเพียง Moodle Partner เท่านั้นที่สามารถใช้เครื่องหมายการค้านี้ได้อย่างถูกกฎหมายในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมูเดิล

สถิติและส่วนแบ่งการตลาด[แก้]

ณ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

  • มีไซต์ที่ลงทะเบียน 55,110 แห่งให้บริการแก่ผู้ใช้ 44,966,541 รายใน 4,763,446 วิชาใน 214 ประเทศ และมีมากกว่า 75 ภาษา[9]
  • ไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดคือ moodle.org มี 66 วิชาและผู้ใช้ 1,090,234 ราย หลังจากการลงทุนราว 5 ล้านปอนด์ใน พ.ศ. 2548 Open University ในสหราชอาณาจักร เป็นผู้ใช้มูเดิลที่ใหญ่เป็นอันดับสองเมื่อนับจากจำนวนผู้ใช้ โดยมีผู้ใช้ 714,310 รายใน 6,093 วิชา รายชื่อไซต์สิบอันดับแรกโดยจำนวนวิชาและโดยจำนวนผู้ใช้แสดงอยู่ ณ เว็บไซต์ moodle.org

การพัฒนา[แก้]

รุ่นที่เผยแพร่[แก้]

รุ่น เผยแพร่ หมายเหตุประจำรุ่น เวอร์ชันล่าสุด วันที่ การสนับสนุน
Moodle 2.4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 Moodle 2.4.1 มกราคม พ.ศ. 2556 ยังเปิดใช้งานอยู่
Moodle 2.3 มิถุนายน พ.ศ. 2555 Moodle 2.3.4 มกราคม พ.ศ. 2556 ยังเปิดใช้งานอยู่
Moodle 2.2 ธันวาคม พ.ศ. 2554 Moodle 2.2.7 มกราคม พ.ศ. 2556 ยังเปิดใช้งานอยู่
Moodle 2.1 มิถุนายน พ.ศ. 2554 Moodle 2.1.10 มกราคม พ.ศ. 2556 สิ้นสุด
Moodle 2.0 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 Moodle 2.0.10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สิ้นสุด
Moodle 1.9 มีนาคม พ.ศ. 2551 Moodle 1.9.19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 สิ้นสุด
Moodle 1.8 มีนาคม พ.ศ. 2550 Moodle 1.8.14 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สิ้นสุด
Moodle 1.7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 Moodle 1.7.7 มกราคม พ.ศ. 2552 สิ้นสุด
Moodle 1.6 มิถุนายน พ.ศ. 2549 Moodle 1.6.9 มกราคม พ.ศ. 2552 สิ้นสุด
Moodle 1.5 มิถุนายน พ.ศ. 2548 Moodle 1.5.4 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 สิ้นสุด
Moodle 1.4 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 Moodle 1.4.5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 สิ้นสุด
Moodle 1.3 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 Moodle 1.3.5 กันยายน พ.ศ. 2547 สิ้นสุด
Moodle 1.2 มีนาคม พ.ศ. 2547 Moodle 1.2.1 มีนาคม พ.ศ. 2547 สิ้นสุด
Moodle 1.1 สิงหาคม พ.ศ. 2546 Moodle 1.1.1 กันยายน พ.ศ. 2546 สิ้นสุด
Moodle 1.0 สิงหาคม พ.ศ. 2545 Moodle 1.0.9 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 สิ้นสุด

ประกาศนียบัตรรับรอง[แก้]

ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 มีประกาศนียบัตรอย่างเป็นทางการมอบให้กับผู้สอนที่ใช้มูเดิล เริ่มแรกเรียกประกาศนียบัตรนี้ว่า Moodle Teacher Certificate (MTC) และต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Moodle Course Creator Certificate (MCCC) ซึ่งประกาศนียบัตรนี้จะได้รับผ่าน Moodle Partners หรือ Central Certification Services เท่านั้น และขณะนี้กำลังมีการอภิปรายเกี่ยวกับการให้ใบรับรอง Moodle Administrators Certificate สำหรับผู้ดูแลมูเดิลอีกด้วย

การสัมมนามูเดิล[แก้]

การสัมมนาที่จัดโดยชุมชนมูดเดิลเรียกกันว่า MoodleMoot[10] ซึ่งได้จัดสัมมนามาหลายครั้งมาแล้วตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยมากเจ้าภาพสถานที่จะเป็นมหาวิทยาลัยหรือสถาบันต่าง ๆ การสัมมนาทั้งหลายนี้สนับสนุนโดย Moodle Partner

กำหนดการสัมมนาทั้งหลายจะประกาศโดย Moodle Conference Center[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Moodle 4.3.3 Release Notes".
  2. "Moodle License".
  3. "Moodle stats page". Moodle.org.
  4. Weller, M. (2006). "VLE 2.0 and future directions in learning environments". Proceedings of the first LAMS Conference, Sydney. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. McMulli & Munroe (2004). "VMoodle at DCU". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-13. สืบค้นเมื่อ 2013-03-01.
  6. Sclater, Neil (2008). "A Large-scale Open Source eLearning Systems at the Open University". Educase. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-26. สืบค้นเมื่อ 2013-03-01. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. "Moodle definition". All Words.
  8. "The chicken or the egg". Moodle.org Lounge.
  9. Current Moodle Statistics
  10. MoodleMoot at moodle.org
  11. The Conference Center at moodle.org

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

มูเดิล[แก้]

อื่น ๆ[แก้]