มัสยิดเมอนารากูดุซ

พิกัด: 6°48′14″S 110°49′56″E / 6.80389°S 110.83222°E / -6.80389; 110.83222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มัสยิดเมอนารากูดุซ
Masjid Menara Kudus
ศาสนา
ศาสนาซุนนี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งกูดุซ จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย
มัสยิดเมอนารากูดุซตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
มัสยิดเมอนารากูดุซ
ที่ตั้งในประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์6°48′14″S 110°49′56″E / 6.80389°S 110.83222°E / -6.80389; 110.83222
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
เริ่มก่อตั้งค.ศ. 1549

มัสยิดเมอนารากูดุซ (อินโดนีเซีย: Masjid Menara Kudus) เป็นมัสยิดในกูดุซ จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย มัสยิดสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1549 ระหว่างที่ศาสนาอิสลามเริ่มแผยแผ่มาในชวา[1] มัสยิดยังเป็นที่ไว้ศพของซูนันกูดุซ หนึ่งในเก้าสันตะมุสลิมแห่งชวา (ที่เรียกว่า วาลีซางา) และเป็นจุดจาริกแสวงบุญที่สำคัญ[2]

มัสยิดยังคงสิ่งปลูกสร้างเดิมจากยุคก่อนอิสลามไว้ ทั้งจันดีเบินตาร์หรือซุ้มประตูผ่าซีกและงานก่ออิฐแบบฮินดู-พุทธของมัชปาหิต[2] ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของมัสยิดคือหออะษานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งกลองหนังขนาดใหญ่ (เบอดุก) ที่ใช้เรียกละหมาด ปกติกลองนี้จะแขวนใต้ชายคาของมัสยิด แต่ในมัสยิดกูดุซ กลองนี้อยู่ในหอคอยที่มีโครงสร้างเหมือน กุลกุล ในโบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี ไม่ปรากฏว่ามีมัสยิดอื่นอีกในชวาที่มีลักษณะของการตั้งกลองเรียกละหมาดในแบบเดียวกันนี้[3]

ซุ้มประตูทางเข้า จันดีเบินตาร์ และ โกรีอากุง เก่าแก่เป็นจองเดิมจากสมัยมัชปาหิต นอกจากนี้ยังประดับด้วยงานสลักนูนต่ำแบบมันตีงัน และประตูชั้นนอกที่เหมือนกันมากกับบาจังราตูที่โตรวูลัน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบยุคก่อนอิสลามอื่น ๆ ในมัสยิดอีก เช่น หัวปล่อยน้ำรูป กาละ 8 หัว ตรงจุดอาบน้ำละหมาด[3]

องค์ประกอบจากยุคก่อนอิสลามเสนอว่าหมู่อาคารนี้มีส่วนประกอบที่เป็นศาสนสถานบองฮินดู-ชวา มัสยิดถูกสร้างใหม่และต่อเติมหลายต่อหลายครั้ง ในแต่ละครั้งก็จะถอดเอาองค์ประกอบเดิมบางชิ้นออก ในปัจจุบันที่หลงเหลืออยู่คือซุ้มประตู กำแพง และที่ปัจจุบันเป็นหออะษาน ล้วนเป็นของเดิมจากสมัยมัชปาหิต เข้าใจกันว่าเดิมทีน่าจะมีหลังคาแบบหอคอยเมรุบนเสาขนาดใหญ่ แบบที่พบในจีเรอบนและเดอมัก[3] หลังคายอดแหลมเป็นของซ่อมแซมใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1920 ใช้งานกระเบื้องเคลือบมาแทนหลังคาเดิม บนยอดของหลังคาปิดไว้ด้วย มัซตากา[2] จารึกบนเมียะห์รอบเขียนว่ามัสยิดตั้งขึ้นโดยยะฟาร์โชดิก (Ja'far Shodiq) ในฮิจเราะห์ศักราช 956 (ค.ศ. 1549) เข้าใจว่าท่านคือซูนันกูดุซ หรือสันตะอิสลามทั้งเก้าแห่งชวา (วาลีซางา) ผู้ซึ่งร่างได้ถูกตั้งไว้ที่มัสยิดนี้[3][4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Turner, Peter (November 1995). Java. Melbourne: Lonely Planet. pp. 78–79. ISBN 0-86442-314-4.
  2. 2.0 2.1 2.2 Schoppert, P., Damais, S., Java Style, 1997, Didier Millet, Paris, p. 207, ISBN 962-593-232-1
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Miksic, John N. in Java - Periplus Adventure Guide. Periplus Editions 1997. pp. 246-247 ISBN 962-593-244-5
  4. Ricklefs, M.C. (1991). A History of Modern Indonesia since c.1300, 2nd Edition. London: MacMillan. p. 38. ISBN 0-333-57689-6.