มะเร็งเม็ดเลือดขาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Leukemia)
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
ภาพเสมียร์ไขกระดูกย้อมสีไรท์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด B-cell acute lymphoblastic leukemia
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C91-C95
ICD-9208.9
ICD-O:9800-9940
DiseasesDB7431
MeSHD007938

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกทับศัพท์ว่า ลูคิเมีย (อังกฤษ: Leuke(a)mia) เป็นกลุ่มของโรคมะเร็งเม็ดเลือดซึ่งปกติเริ่มต้นในไขกระดูกทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดปริมาณสูงผิดปกติ[1] เซลล์เม็ดเลือดเหล่านี้ยังไม่เจริญเต็มที่ และเรียกว่าเซลล์ตัวอ่อนหรือเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด[2] อาการอาจมีเลือดออกและมีจุดจ้ำเลือด รู้สึกเพลีย มีไข้ และมีความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้น[2] ซึ่งเป็นอาการเนื่องจากขาดเซลล์เม็ดเลือดปกติ ปกติวินิจฉัยด้วยการทดสอบเลือดหรือการเจาะไขกระดูกออกตรวจ[2]

อาการ[แก้]

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น จะมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่ออวัยวะที่สร้างเม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณเกล็ดเลือด ที่บทบาทสำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือดนั้นลดจำนวนลง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาจจะเกิดรอยจ้ำเลือด (bruised) มีภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ (bleed excessively) และ อาจจะเป็นจุดแดง ๆ ตามผิวหนังได้ (petechiae)

นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปกติลดจำนวนลงนั้น จะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนปกติอีกด้วย รวมทั้ง การที่จำนวนเม็ดเลือดแดงมีจำนวนที่ลดลง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการของโลหิตจาง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหายใจลำบากขึ้นด้วย นนปัจจุบันมีความก้าวหน้าของยาเคมีบำบัด และการปลูกถ่ายไขกระดูกมีความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นจัดได้ว่ามีวิธีการรักษาให้หายขาดได้ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ขวบ อัดราการรักษาให้หายขาดค่อนข้างสูง คงขึ้นอยู่กับการมาพบแพทย์รักษาอย่างรวดเร็วและมาพบตั้งแต่เริ่มต้น มีบางกลุ่มที่ไม่ทราบและปล่อยปละละเลยให้อาการเป็นมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการอื่น ๆ อีก เช่น อาการมีไข้ขึ้น หนาวสั่น น้ำหนักลด มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และเมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังตับและม้าม ก็จะทำให้ตับโต และม้ามโตได้ และถ้าหากเซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายไปยังกระดูก ก็จะส่งผลทำให้มีอาการปวดกระดูกและข้อได้เช่นกัน

ประเภท[แก้]

การแบ่งประเภทของมะเร็งเม็ดเลือดขาวนั้น สามารถแบ่งออกได้หลายแบบ ได้แก่

  • Acute lymphocytic leukemia (Acute Lymphoblastic Leukemia หรือ ALL) สามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกด้วย
  • Acute myelogenous leukemia (Acute Myeloid Leukemia (AML) หรือ acute nonlymphocytic leukemia) สามารถพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
  • Chronic lymphocytic leukemia (CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
  • Chronic myelogenous leukemia (CML) พบได้ในผู้ใหญ่ แต่ไม่ค่อยพบในเด็ก

สาเหตุ[แก้]

ไม่มีสาเหตุเดียวที่ทราบว่าก่อให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว สำหรับกรณีที่ทราบนั้นพบน้อย และเชื่อว่ามะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดก็มีสาเหตุต่างกัน

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากการกลายพันธุ์ของดีเอ็นเอเช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น การกลายพันธุ์นี้อาจเกิดขึ้นเองหรือเป็นผลจากการได้รับกัมมันตรังสีหรือสารก่อมะเร็ง[3]

การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์[แก้]

การรักษา[แก้]

การรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย และมะเร็งแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน โดยหลักการการรักษาคือระยะแรกจะควบคุมโรคให้สงบ (remission) หลังจากนั้นจะป้องกันการกลับเป็นซ้ำ (relapse) ผู้ป่วยหลายรายสามารถหายขาดได้

อ้างอิง[แก้]

  1. "Leukemia". NCI. 1 January 1980. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2014. สืบค้นเมื่อ 13 June 2014. Cancer that starts in blood-forming tissue, such as the bone marrow, and causes large numbers of abnormal blood cells
  2. 2.0 2.1 2.2 "What You Need To Know About™ Leukemia". National Cancer Institute. 23 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2014. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  3. Radivoyevitch, T; Sachs, R K; Gale, R P; Molenaar, R J; Brenner, D J; Hill, B T; Kalaycio, M E; Carraway, H E; Mukherjee, S (2015). "Defining AML and MDS second cancer risk dynamics after diagnoses of first cancers treated or not with radiation". Leukemia. 30 (2): 285–294. doi:10.1038/leu.2015.258. PMID 26460209.