ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารออกซฟอร์ด

พิกัด: 51°45′00″N 1°15′17″W / 51.75°N 1.2547°W / 51.75; -1.2547
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาวิหารอ๊อกซฟอร์ด)
อาสนวิหารไครสต์เชิร์ช
Cathedral Church of Christ
เพดานโค้งใบพัดภายในอาสนวิหาร
แผนที่
51°45′00″N 1°15′17″W / 51.75°N 1.2547°W / 51.75; -1.2547
ที่ตั้งออกซฟอร์ด ออกซฟอร์ดเชอร์
ประเทศธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
นิกายคริสตจักรแห่งอังกฤษ
นิกายเดิมโรมันคาทอลิก
เว็บไซต์chch.ox.ac.uk/cathedral
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตย์โรมาเนสก์, กอทิกแบบอังกฤษ
ปีสร้าง1160–1200
การปกครอง
มุขมณฑลออกซฟอร์ด (ตั้งแต่ปี 1546)
แขวง แคนเทอร์เบอรี
นักบวช
อัครพันธบริกรMartin Gorick

อาสนวิหารไครสต์เชิร์ช (อังกฤษ: Christ Church Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันประจำมุขมณฑลออกซฟอร์ด ตั้งอยู่ที่เมืองออกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ และมีเขตการปกครองเลยไปถึงเบนเบอรี (Banbury) นอกจากนี้ยังเป็นโบสถ์น้อยไครสต์เชิร์ชของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด บทบาทที่เป็นทั้งโบสถ์และโบสถ์น้อยของวิทยาลัยนี้เป็นเอกลักษณ์เพียงแห่งเดียวในนิกายคริสตจักรแห่งอังกฤษ[1]

อาสนวิหารเดิมเป็นไพรออรีเซนต์ไฟรด์สไวด์ เพราะเชื่อกันว่าเป็นที่ตั้งของอารามและเรลิกของนักบุญ Frideswide องค์อุปถัมภ์เมืองออกซฟอร์ด แต่ก็ยังเป็นข้อที่ถกเถึยงกันอยู่

เมื่อปี ค.ศ. 1522 โบสถ์ตกไปเป็นของพระคาร์ดินัลวูลซีย์ (Cardinal Wolsey) ผู้ใช้เป็นสถานที่ก่อตั้งวิทยาลัย แต่พอถึงปี ค.ศ. 1529 โบสถ์ก็ถูกยึดไปเป็นของพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ การก่อสร้างวิทยาลัยก็หยุดลงชั่วคราวและมาเริ่มสร้างอีกครั้งเมื่อปีค.ศ. 1546 พระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงสั่งให้ย้ายอาสนวิหารจากมุขมณฑลออสเซนี (Oseney) มาขึ้นอยู่กับมุขมณฑลออกซฟอร์ด และเปลี่ยนชื่ออาสนวิหารตามพระราชโองการเป็น “Ecclesia Christi Cathedralis Oxoniensis”

อาสนวิหารมีคณะนักร้องประสานเสียง (choir) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1526 เมื่อจอห์น เทเวอร์เนอร์ (John Taverner) เป็นผู้เล่นออร์แกน และเป็นมาสเตอร์ของวงนักสวด ป้ายที่รูปปั้นพระคาร์ดินัลวูลซีย์ที่วิทยาลัยเดิมที่เรียกว่า Cardinal College บ่งไว้ว่าตอนนั้นมีนักสวด (chorister) 16 คนและมีพระที่ร้องเพลงสวดอีก 30 คน

อาสนวิหารไครสต์เชิร์ชอ้างว่าเป็นอาสนวิหารที่เล็กที่สุดในอังกฤษแต่ปัจจุบันมีอาสนวิหารอื่นที่เล็กกว่าหลายอาสนวิหารที่ได้เลื่อนขึ้นจากโบสถ์ประจำเขตแพริชขึ้นเป็นอาสนวิหารในคริสต์ศตวรรษที่ 20[2]

ตัวโบสถ์ ที่ทำพิธี และหอ เป็นสถาปัตยกรรมยุคปลายนอร์มัน ส่วนอื่นเป็นสถาปัตยกรรมตั้งแต่สมัยนอร์มันมาจนถึงแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular [en]) ซึ่งเป็นสมัยหนึ่งของกอทิก เพดานภายในเป็นเพดานโค้งใบพัด (fan-vaulted)

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ถูกฝังไว้ที่วัด

[แก้]
  • เซอร์เฮนรี เกจ (Sir Henry Gage) (ค.ศ. 1597–1645) ที่ชาเปลลูซี (Lucy Chapel) ทางด้านใต้ของบริเวณกางเขน (transept) ของวัด
  • บาทหลวงจอร์จ บาร์คลีย์ (George Berkeley) นักปรัชญา อยู่ที่ทางเดินสู่แท่นบูชา
  • เลดี เอลิซาเบธ มอนทาคิวต์ (d. ส.ค. 1354)[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cathedral | Christ Church, Oxford University". Chch.ox.ac.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
  2. "Christ Church Cathedral – Miscellany". 6 December 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 December 2004. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
  3. McGee Morganstern, Anne (2000). Gothic Tombs of Kinship in France, the Low Countries, and England. Penn State Press. p. 107. ISBN 978-0-2710-18-591 – โดยทาง Google Books.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]