ภาษาอุตซิตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาอ็อกซิตัน)
ภาษาอุตซิตา/เล็งกอด็อก
occitan/lenga d'òc
ออกเสียง[utsiˈta], [u(t)siˈtɔ], [ukʃiˈtɔ]/
[ˈleŋɡɔ ˈðɔ(k)]
ประเทศที่มีการพูดฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลี, โมนาโก
ชาติพันธุ์ชาวอุตซิตา
จำนวนผู้พูดจำนวนผู้พูดทั้งหมดโดยประมาณมีตั้งแต่ 100,000–800,000 คน (2550–2555)[1][2] โดย 68,000 คนในจำนวนนี้อยู่ในอิตาลี (จากการสำรวจ พ.ศ. 2548)[3] และ 4,000 คนในจำนวนนี้อยู่ในหุบเขาอารันของสเปน  (2551)[4]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาอุตซิตาเก่า
  • ภาษาอุตซิตา/เล็งกอด็อก
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรอุตซิตา)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ แคว้นกาตาลุญญา (สเปน)
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ฝรั่งเศส
 อิตาลี (กฎหมายหมายเลข 482 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2542)[5]
 โมนาโก
ผู้วางระเบียบ • สภาภาษาอุตซิตา[6]
 • ที่ประชุมใหญ่ถาวรว่าด้วยภาษาอุตซิตา[7]
 • สถาบันการศึกษาอารัน[8]
รหัสภาษา
ISO 639-1oc
ISO 639-2oci
ISO 639-3ociรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
sdt – Judeo-Occitan
Linguasphere51-AAA-g & 51-AAA-f
ภาษาถิ่นต่าง ๆ ของภาษาอุตซิตา

ภาษาอุตซิตา (อุตซิตา: occitan) หรือ เล็งกอด็อก (อุตซิตา: lenga d'òc) เป็นภาษา (หรือกลุ่มของภาษา) โรมานซ์ที่พูดกันในภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส ประเทศโมนาโก หุบเขาอุตซิตาของประเทศอิตาลี และหุบเขาอารันของประเทศสเปน (บางครั้งเรียกภูมิภาคเหล่านี้โดยรวมว่า "อุตซิตาญอ") นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในเทศบาลกวาร์เดียปีเยมอนเตเซ (แคว้นคาลาเบรีย ประเทศอิตาลี) ซึ่งถูกล้อมด้วยดินแดนที่พูดภาษาอื่น บางคนรวมภาษากาตาลาเป็นส่วนหนึ่งของภาษาอุตซิตาเนื่องจากระยะห่างระหว่างภาษานี้กับภาษาถิ่นบางภาษาของภาษาอุตซิตา (เช่นภาษากัสกอญ) มีความใกล้เคียงกับระยะห่างระหว่างภาษาถิ่นต่าง ๆ ของภาษาอุตซิตา ภาษากาตาลาถือเป็นภาษาถิ่นหนึ่งของภาษาอุตซิตาจนกระทั่งสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 19[9] และปัจจุบันยังคงเป็นภาษาที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด[10]

ภาษาอุตซิตาเป็นภาษาราชการของแคว้นกาตาลุญญาที่ซึ่งมีผู้พูดภาษาถิ่นย่อยของภาษากัสกอญที่รู้จักกันในชื่อภาษาอารันในหุบเขาอารัน[11] ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 สภานิติบัญญัติกาตาลุญญาได้พิจารณาให้ภาษาอุตซิตาถิ่นอารันเป็นภาษาถนัดสำหรับใช้ในหุบเขาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

ตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ ศัพท์ ลีมูแซ็ง (Lemosin), ล็องก์ด็อก (Lengadocian), กัสกอญ (Gascon) และต่อมา พรอว็องส์ (Provençal, Provençau หรือ Prouvençau) เป็นชื่อพ้องสำหรับใช้เรียกภาษาอุตซิตาทั้งมวล แต่ปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันว่า พรอว็องส์ คือภาษาอุตซิตาถิ่นที่พูดกันในภูมิภาคพรอว็องส์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส[12]

ภาษาอุตซิตาต่างจากภาษาโรมานซ์อื่นอย่างภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาสเปนตรงที่ไม่มีสถานะทางการในประเทศใด ๆ และไม่มีภาษาเขียนมาตรฐานเพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า "อุตซิตา" แต่มีบรรทัดฐานหลายบรรทัดฐานที่แข่งขันกันในการเขียนภาษานี้ บางบรรทัดฐานได้รับการกำหนดขึ้นเพื่อให้ใช้ได้กับภาษาถิ่นทุกภาษา ในขณะที่บางบรรทัดฐานอิงกับภาษาถิ่นเพียงภาษาใดภาษาหนึ่ง ความพยายามเหล่านี้ถูกบั่นทอนจากการใช้ภาษาอุตซิตาที่ลดลงอย่างรวดเร็วในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส และจากความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านสัทวิทยาและวงศัพท์ในบรรดาภาษาถิ่นต่าง ๆ

ความอยู่รอดในระยะยาวของภาษาอุตซิตาเป็นที่น่ากังขาอย่างยิ่ง ตามข้อมูลของ หนังสือปกแดงว่าด้วยภาษาใกล้สูญ ของยูเนสโก[13] ภาษาถิ่นหลักสี่ในหกภาษาของภาษาอุตซิตา (พรอว็องส์, โอแวร์ญ, ลีมูแซ็ง และล็องก์ด็อก) อยู่ในภาวะใกล้สูญอย่างรุนแรง (severely endangered) ในขณะที่ภาษาถิ่นหลักอีกสองภาษาที่เหลือ (กัสกอญและวีวาแร-แอลป์) อยู่ในภาวะใกล้สูญอย่างแน่นอน (definitely endangered)

อ้างอิง[แก้]

  1. Bernissan, Fabrice (2012). "Combien l'occitan compte de locuteurs en 2012?". Revue de Linguistique Romane (ภาษาฝรั่งเศส). 76: 467–512.
  2. Martel, Philippe (December 2007). "Qui parle occitan ?". Langues et cité (ภาษาฝรั่งเศส). No. 10. Observation des pratiques linguistiques. p. 3. De fait, le nombre des locuteurs de l'occitan a pu être estimé par l'INED dans un premier temps à 526 000 personnes, puis à 789 000 ("In fact, the number of occitan speakers was estimated by the French Demographics Institute at 526,000 people, then 789,000")
  3. Enrico Allasino; Consuelo Ferrier; Sergio Scamuzzi; Tullio Telmon (2005). "Le Lingue del Piemonte" (PDF). IRES. 113: 71 – โดยทาง Gioventura Piemontèisa.
  4. Enquesta d'usos lingüístics de la població 2008 [Survey of Language Use of the Population 2008] (ภาษาคาตาลัน), Statistical Institute of Catalonia, 2009
  5. Norme in materia di tutela delle minoranze linguistiche storiche, Italian parliament
  6. CLO's statements in Lingüistica Occitana (online review of Occitan linguistics).Lingüistica Occitana: Preconizacions del Conselh de la Lenga Occitana (PDF), 2007
  7. "Page d'accueil". Région Nouvelle-Aquitaine – Aquitaine Limousin Poitou-Charentes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  8. "Reconeishença der Institut d'Estudis Aranesi coma academia e autoritat lingüistica der occitan, aranés en Aran" [Recognition of the Institute of Aranese Studies as an academy and linguistic authority of Occitan, Aranese in Aran] (ภาษาถิ่นอารัน). Conselh Generau d'Aran. 2 April 2014.
  9. Friend, Julius W. (2012). Stateless Nations: Western European Regional Nationalisms and the Old Nations. Palgrave Macmillan. p. 80. ISBN 978-0-230-36179-9. สืบค้นเมื่อ 5 March 2016.[ลิงก์เสีย]
  10. Smith, Nathaniel B.; Bergin, Thomas Goddard (1984). An Old Provençal Primer. New York: Garland. p. 9. ISBN 0-8240-9030-6.
  11. Article 6.5 in the Parlament-cat.net เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, text of the 2006 Statute of Catalonia (PDF)
  12. Dalby, Andrew (1998). "Occitan". Dictionary of Languages (1st ed.). Bloomsbury Publishing plc. p. 468. ISBN 0-7475-3117-X. สืบค้นเมื่อ 8 November 2006.
  13. "UNESCO Atlas of the World's Languages in danger". www.unesco.org.