สัทวิทยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัทวิทยา, สรวิทยา หรือ วิชาระบบเสียง (อังกฤษ: phonology) เป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องเสียงในภาษา โดยแยกย่อยออกเป็น 2 แขนง คือ สัทศาสตร์ (phonetics) และสรศาสตร์ (phonemics)

สัทศาสตร์[แก้]

สัทศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเสียงในภาษาพูด มีแขนงย่อยอีก 3 สาขาคือ สรีรสัทศาสตร์ (articulatory phonetics) สวนสัทศาสตร์ (Acoustics phonetics) และโสตสัทศาสตร์ (auditory phonetics)

สรีรสัทศาสตร์[แก้]

สรีรสัทศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการเปล่งเสียงแต่ละเสียงว่าใช้อวัยวะคือ ลิ้น ริมฝีปาก เส้นเสียงแต่ละเส้นเสียง และลมออกทางช่องปากหรือช่องจมูก เป็นต้น

สวนสัทศาสตร์[แก้]

สวนสัทศาสตร์ [สะวะนะสัดทะสาด], สวันศาสตร์, กลสัทศาสตร์ หรือ นินาทสัทศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับลักษณะของคลื่นเสียงที่เปล่งออกมาว่าอยู่ในลักษณะใด เช่น ระดับเสียง ระดับความถี่ของเสียง มีการใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในด้านการออกเสียง เรียกว่า Sound Spectrogragp Oscillograph เป็นต้น

โสตสัทศาสตร์[แก้]

โสตสัทศาสตร์ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการรับฟัง เสียงประเภทต่าง ๆ ที่มักจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงานของสมอง เช่น เสียงพูดมีระดับสูง ต่ำมีส่วนส่งผลทางด้านจิตใจ

สรศาสตร์[แก้]

สรศาสตร์ หรือ วิชาหน่วยเสียง เป็นการศึกษาภาษาศาสตร์ในด้านที่เกี่ยวกับหน่วยเสียง (phonemes) โดยศึกษาว่า เสียงในภาษาเสียงใดที่เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน

อ้างอิง[แก้]

  • ฉลวย บุญประเสริฐ, ภาษาศาสตร์เบื้องต้น, หน้า 34
  • คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ภาษาศาสตร์เบื้องต้น, ตุลาคม 2552, หน้า 29