กลุ่มภาษาอิตาลิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษากลุ่มอิตาลิก)
อาณาบริเวณที่พูดกลุ่มภาษาอิตาลิก
  เรติก (Raetic)
  ลาโปนติก (Lepontic)
  เวเนติก (Venetic)
  อีลิเลียน (Illyrian)
  ลีคูเลียน (Ligurian)
  อีทูสแคน (Etruscan)
  อัมเบรียน (Umbrian)
  ลิบูรเนียน (Liburnian)
  ลาติน (Latin)
  ออสกัน (Oscan)
  เมสสาพิก (Messapic)
  กรีค (Greek)
  ซีเคิล (Sicel)
  พิซินี เหนือ (N. Picene)
  พิซินี ใต้ (S. Picene)

กลุ่มภาษาอิตาลิก เป็นสมาชิกของสาขาเซนตุม (Centum) ของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ซึ่งรวมถึงกลุ่มภาษาโรมานซ์ (มีภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษาสเปน กับภาษาอื่น ๆ) และภาษาที่สูญพันธุ์บางภาษา

อิตาลิกมี 2 สาขา คือ

คนที่พูดภาษาอิตาลิก ไม่ได้เป็นชาวพื้นเมืองของอิตาลี แต่ได้ย้างมาตั้งถิ่นฐานในอิตาลีในช่วง 2000 ปีก่อนคริสตกาล ตามหลักฐานโบราณคดี วัฒนธรรมแอปเปไนน์ (การฝังศพ) เข้ามาสู่คาบสมุทรอิตาลีประมาณ 1350 BC จากตะวันออกสู่ตะวันตก ยุคเหล็กเจ้ามาสู่อืตาลีในช่วง 1100 BC กับวัฒนธรรมวิลลาโนวา (การ เผาศพ) จากเหนือสู่ใต้ ก่อนหน้าที่จะมีชาวอิตาลิกนั้น ประชากรของอิตาลีส่วนใหญ่เป้นกลุ่มที่ไม่ใช่อินโด-ยุโรเปียน ( อาจรวมถึงชาวเอทรัสแกน) การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกที่เนินพาลาทีน (Palatine hill) เกิดขึ้นเมื่อ 750 BC ส่วนการตั้งถิ่นฐานที่ เนินคิรินัล(Quirinal) เกิดขึ้นเมื่อ 720 BC ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาอิตาลิกมากที่สุดคือกลุ่มภาษาเคลติก (ดู อิตาโล-เคลติก)

กลุ่มภาษาอิตาลิกพบเป็นอักษรครั้งแรกจากคำจารึกของ ภาษาอัมเบรียนและภาษาฟาลิสกันจากศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล อักษรที่ใช้มาจากอักษรอิตาลิกโบราณ ซึ่งสืบมาจากอักษรกรีก กลุ่มภาษาอิตาลิกแสดงถึงอิทธิพลจากภาษาเอทรัสแกน (Etruscan) เล็กน้อย และจากภาษาของกรีกโบราณมากขึ้นในขณะที่โรม ได้แผ่อาณาเขตทั่วคาบสมุทรอิตาลี ภาษาละตินได้กลายเป็นภาษาที่เด่นเหนือภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มอิตาลิก ซึ่งสูญพันธุ์ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 1 และจากภาษาละตินสามัญ หรือ (Vulgar Latin) ก่อให้เกิดกลุ่มภาษาโรมานซ์

ภาษาเวเนติก (Venetic) ซึ่งเป็นภาษาโบราณที่ปรากฏในคำจารึก (ซึ่งรวมถึงประโยคเต็ม ๆ ด้วย) ถือโดยนักภาษาศาสตร์หลายท่านว่าใกล้เคียงกับกลุ่มภาษาอิตาลิก และในบางกรณีถือเป็นกลุ่มภาษาอิตาลิกด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]