ภัยพิบัติเชียร์โนบีล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภัยพิบัติเชอร์โนบิล)
ภัยพิบัติเชียร์โนบีล
เครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ในหลายเดือนหลังภัยพิบัติเชียร์โนบิล สามารถเห็นเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 3 ได้ หลังปล่องระบายอากาศ
วันที่26 เมษายน 1986; 37 ปีก่อน (1986-04-26)
เวลา01:23:40 MSD (UTC+04:00)
ที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล, ปรือปิยัจ, Chernobyl Raion, แคว้นเคียฟ, สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน, สหภาพโซเวียต
(ในปัจจุบันคือ แคว้นเคียฟ, ยูเครน)
ประเภทอุบัติเหตุจากนิวเคลียร์และรังสี
สาเหตุข้อบกพร่องจากการออกแบบ และความผิดพลาดจากมนุษย์
ผลมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์อยู่ที่ระดับ 7 (อุบัติเหตุรุนแรงที่สุด) ดูที่ ผลกระทบของภัยพิบัตเชียร์โนบิล
เสียชีวิตเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในครั้งนี้ น้อยกว่า 100 ราย ค่าประมาณการเสียชีวิตนั้นเพิ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ต่อ ๆ ไป ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป (ดูที่ การเสียชีวิตอันเนื่องจากภัยพิบัติ)
โรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลในปัจจุบัน
แผนที่แสดงที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล
เมืองปรือปิยัจที่ถูกทิ้งร้าง จะเห็นโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลอยู่ไกล ๆ

ภัยพิบัติเชียร์โนบีล[1] (ยูเครน: Чорнобильська катастрофа, Čornobyľśka katastrofa; อังกฤษ: Chernobyl disaster) เป็นอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ตั้งอยู่ที่นิคมเชียร์โนบีล ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ ใกล้เมืองปรือปิยัจ แคว้นเคียฟ ทางตอนเหนือของยูเครน ใกล้ชายแดนเบลารุส (ในขณะนั้นยูเครนและเบลารุสยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต) อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดกับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในแง่ของค่าใช้จ่ายและชีวิต

อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวิศวกรได้ทำการทดสอบการทำงานของระบบหล่อเย็น และระบบทำความเย็นฉุกเฉินของแกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่การทดสอบระบบได้ล่าช้ากว่ากำหนดจนต้องทำการทดสอบโดยวิศวกรกะกลางคืน ได้เกิดแรงดันไอน้ำสูงขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ระบบตัดการทำงานอัตโนมัติไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดความร้อนสูงขึ้นจนทำให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 หลอมละลาย และเกิดระเบิดขึ้น ผลจากการระเบิดทำให้เกิดขี้เถ้าปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีพวยพุ่งขึ้นสู่บรรยากาศ ปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,431 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน

อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหนึ่งในสองครั้งที่ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ ซึ่งเกิดอีกครั้งหนึ่งในภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิในปี 2011[2]

สงครามเพื่อต่อสู้กับการปนเปื้อนและป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียมากไปกว่านี้เกี่ยวข้องกับคนงานทั้งทหารและพลเรือนกว่า 500,000 คนและค่าใช้จ่ายประมาณ 18 พันล้านรูเบิ้ล[3] ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุขึ้น มีผู้เสียชีวิตทันที 31 ราย และผลกระทบระยะยาวเช่นมะเร็งอยู่ระหว่างการสืบสวน มีการประมาณการว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000 คน [4]

ภาพรวม[แก้]

ภัยพิบัติเริ่มในช่วงการทดสอบระบบในวันเสาร์ที่ 26 เมษายน 1986 ที่เครื่องปฏิกรณ์หมายเลขสี่ของโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล มีพลังงานกระชาก (อังกฤษ: power surge) ที่ฉับพลันและไม่คาดคิด และเมื่อมีความพยายามที่จะปิดแบบฉุกเฉิน พลังงานกระชากขนาดที่ใหญ่กว่ามากก็เกิดขึ้นในส่วนของพลังงานส่งออก ซึ่งนำไปสู่​​การแตกของ 'อ่างปฏิกรณ์' (อังกฤษ: reactor vessel) และการระเบิดเป็นชุดของไอน้ำ เหตุการณ์เหล่านี้เปิดให้ตัวหน่วงปฏิกิริยานิวตรอนที่ทำด้วยกราไฟท์ (อังกฤษ: graphite neutron moderator) ของเครื่องปฏิกรณ์ได้สัมผัสกับอากาศ ก่อให้เกิดการลุกไหม้[5] ไฟที่ไหม้ส่งกลุ่มฝุ่น (อังกฤษ: fallout) ที่มีกัมมันตรังสีสูงออกสู่ชั้นบรรยากาศและทั่วพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขวาง รวมทั้งเมือง Pripyat กลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีลอยเหนือส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกของสหภาพโซเวียตและยุโรป จากปี 1986-2000 ประชาชน 350,400 คนได้รับคำสั่งให้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ออกจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ปนเปื้อนอย่างรุนแรงของเบลารุส รัสเซียและยูเครน[6][7] ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการของโซเวียตช่วงหลังจากสลายตัว[8][9] ประมาณ 60% ของกลุ่มฝุ่นกัมมันตรังสีตกลงในเบลารุส

รัสเซีย ยูเครนและเบลารุสต้องรับภาระในการลบล้างการปนเปื้อนและค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและมีความสำคัญอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เชียร์โนบีล รายงานจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศได้ทำการตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ[9] อีกหน่วยงานของสหประชาชาติ ได้แก่ UNSCEAR ได้ประมาณการปริมาณสะสมทั่วโลกของการสัมผัสกับรังสีจากอุบัติเหตุ "เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ย 21 วันที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดรับรังสีพื้นหลังในธรรมชาติ (อังกฤษ: natural background radiation) ของโลก" ปริมาณของแต่ละบุคคลที่สัมผัสมีค่าสูงมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในหมู่ผู้ที่สัมผัสมากที่สุด รวมทั้งคนงานท้องถิ่นกู้ภัย 530,000 คนที่มีค่าเฉลี่ยของรังสีที่เทียบเท่ากับปริมาณรังสียังผล (อังกฤษ: effective dose) มากจากปกติอีก 50 ปีของรังสีพื้นหลังธรรมชาติโดยทั่วไปของการได้รับรังสีในแต่ละคน[10][11][12] หลายการประมาณการของจำนวนผู้เสียชีวิตที่ในที่สุดจะเป็นผลมาจากอุบัติเหตุมีความแตกต่างกันอย่างมหาศาล; ความแตกต่างสะท้อนให้เห็นถึงทั้งการขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แข็งแกร่งและวิธีการที่แตกต่างกันที่ใช้ในการวัดปริมาณการตาย ขึ้นอยู่กับว่าการปรึกษาหารือมีการจำกัดวงให้อยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจงหรือว่าขยายไปทั่วโลก และขึ้นอยู่กับว่าการเสียชีวิตเกิดขึ้นโดยทันทีหรือในช่วงระยะสั้นหรือในช่วงระยะยาว

จำนวนผู้เสียชีวิต 31 คน ที่ต้องเสียชีวิตโดยตรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทั้งหมดเป็นเจ้าหน้าที่เครื่องปฏิกรณ์และคนงานฉุกเฉิน[13] รายงานของ UNSCEAR แสดงการเสียชีวิต ณ ปี 2008 รวม 64 ราย ที่ยืนยันแล้วว่าเกิดจากรังสี ในขณะที่เชียร์โนบีลฟอรั่มคาดการณ์ว่า ยอดเสียชีวิตในที่สุดอาจสูงถึง 4,000 รายในหมู่ผู้ที่สัมผัสกับรังสีระดับสูง (คนงานฉุกเฉิน 200,000 คน, ผู้อพยพ 116,000 ตนและผู้อาศัย 270,000 คนที่อยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนมากที่สุด) ตัวเลขนี้เป็นการประมาณการของการตายตามสาเหตุทั้งหมด รวมคนงานฉุกเฉินที่เสียชีวิตประมาณ 50 รายไม่นานหลังจากอุบัติเหตุด้วยโรครังสีเฉียบพลัน เด็ก 9 รายที่ผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และที่คาดการณ์ในอนาคตไว้รวม 3,940 รายจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งและมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่เกิดจากรังสี[14]

ในสิ่งพิมพ์หนึ่งที่มีการตรวจสอบโดยเพื่อนร่วมงาน (อังกฤษ: peer-reviewed publication) ใน'วารสารนานาชาติสำหรับโรคมะเร็ง'ในปี 2006 ผู้เขียน (หลังจากวิธีการสรุปที่แตกต่างกันในการศึกษาของเชียร์โนบีลฟอรั่ม ซึ่งปรากฏยอดการตายที่คาดการณ์รวม 4,000 รายหลังจากที่นำปัจจัยของอัตราการรอดตายจากโรคมะเร็งในสหรัฐมาใช้) กล่าวว่า (โดยปราศจากเข้าสู่การอภิปรายเกี่ยวกับการเสียชีวิต) ในแง่ของการเกิดโรคมะเร็งส่วนเกินทั้งหมดมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ[15]

ประมาณการความเสี่ยงแนะนำว่า ณ ตอนนี้เชียร์โนบีลอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประมาณ 1,000 กรณีและทำให้เกิดโรคมะเร็งอื่น ๆ ในยุโรปอีก 4,000 กรณี คิดเป็นประมาณ 0.01% ของมะเร็งในทุกกรณีที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ มีหลายโมเดลที่คาดการณ์ว่าภายในปี 2065 โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ประมาณ 16,000 กรณีและโรคมะเร็งอื่น ๆ อีก 25,000 กรณีคาดว่าอาจจะเกิดจากรังสีจากอุบัติเหตุ ในขณะที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายร้อยล้านกรณีคาดว่ามาจากสาเหตุอื่น ๆ

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการประมาณค่านอกช่วง (อังกฤษ: extrapolation) จากโมเดลเชิงเส้นที่ไม่มีขีดจำกัด (อังกฤษ: linear no-threshold model) ของความเสียหายที่เกิดจากรังสี ให้ลดลงไปที่ศูนย์ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นห่วง (อังกฤษ: Union of Concerned Scientist) ประมาณการว่า ในหมู่หลายร้อยล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่กว้างขึ้น จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเกิน 50,000 กรณีซี่งจะทำให้เกิน 25,000 รายเสียชีวิตจากมะเร็ง[16]

สำหรับกลุ่มที่กว้างกว่านี้ รายงานของ TORCH ในปี 2006 ที่เรียบเรียงโดยพรรคการเมือง European Greens คาดการณ์ว่ามีเกิน 30,000 ถึง 60,000 รายเสียชีวิตจากมะเร็ง[17] ในแง่ของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ สองรายงานถูกเผยแพร่ออกมาจากกลุ่มต่อต้านนิวเคลียร์กรีนพีซ หนึ่งในนั้นรายงานตัวเลขที่ 200,000 รายหรือมากกว่า[18]

ในบทหนึ่งของกรีนพีซ ผู้ก่อตั้งภูมิภาคนั้นชาวรัสเซียยังประพันธ์หนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า "เชียร์โนบีล: ผลกระทบของภัยพิบัติที่เกิดกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม" ซึ่งสรุปได้ว่าท่ามกลางผู้คนนับพันล้านคนทั่วโลกที่ได้สัมผัสกับการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติ เกือบหนึ่งล้านคนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งก่อนวัยอันควรระหว่างปี 1986 ถึงปี 2004 [19] อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้ล้มเหลวในกระบวนการ peer review [20][21] ในห้าความคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในสิ่งพิมพ์ทางวิชาการ สี่ความคิดเห็นพิจารณาว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อบกพร่องและขัดแย้งอย่างรุนแรง และหนึ่งความคิดเห็นยกย่องในขณะที่มีการตั้งข้อสังเกตถึงข้อบกพร่องบางอย่าง ความคิดเห็นโดย M.I. Balonov เผยแพร่โดย 'สถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์ก' สรุปว่ารายงานมีค่าเป็นลบเพราะมันมีประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์น้อยมากในขณะที่สร้างความเข้าใจผิดอย่างมากให้กับผู้อ่าน มันประมาณการผู้เสียชีวิตเกือบหนึ่งล้านคนในดินแดนของนิยายมากกว่าในดินแดนของวิทยาศาสตร์[22]

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสร้างความกังวลเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ไปทั่วโลกและทำให้มีการชะลอตัวหรือพิจารณายกเลิกแผนการขยายตัวของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์[23] นอกจากนี้อุบัติเหตุที่เกิดยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของอุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ทำให้มีการชะลอการขยายจำนวนปีของการใช้งานและมีการบังคับให้รัฐบาลโซเวียตให้เก็บความลับเกี่ยวกับขั้นตอนให้น้อยลง[24][notes 1] การปกปิดเรื่องภัยพิบัติของ Chernobyl ของรัฐบาลเป็น "ตัวเร่งปฏิกิริยา" สำหรับโครงการ Glasnost ซึ่ง "ปูทางไปสู่การปฏิรูปที่นำไปสู่​​การล่มสลายของสหภาพโซเวียต"[25]

อุบัติเหตุ[แก้]

วันที่ 26 เมษายน 1986 เวลา 01:23 (เวลารัสเซีย UTC+3) เครื่องปฏิกรณ์ตัวที่สี่มีปัญหาจากการเพิ่มขึ้นของพลังงานที่นำไปสู่ภัยพิบัติได้ นำไปสู่​​การระเบิดหลายครั้งในแกนกลางของมัน ทำให้เกิดการฟุ้งกระจายในปริมาณมากของเชื้อเพลิงและวัสดุแกนกลางที่มีกัมมันตรังสีเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ[26]: 73  และจุดประกายไฟให้กับตัวหน่วงปฏิกิริยานิวเคลียร์กราไฟท์ที่ติดไฟได้ (อังกฤษ: combustible nuclear graphite moderator) ตัวหน่วงกราไฟท์ที่กำลังเผาไหม้ไปเพิ่มการปล่อยอนุภาคกัมมันตรังสีที่ปนไปกับควันเนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ไม่ได้ถูกห่อหุ้มด้วยภาชนะบรรจุชนิดแข็งใด ๆ อุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่างการทดสอบที่กำหนดไว้เพื่อทดสอบคุณสมบัติการระบายความร้อนที่อาจเกิดขึ้นในแกนกลางในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการปิดตัวลงตามปกติ

การทดสอบกังหันไอน้ำ[แก้]

ในการทำงานในระยะคงที่ (อังกฤษ: steady state operation) ส่วนที่สำคัญ (ประมาณ 5%) ของพลังงานที่ได้จากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่ได้มาจากปฏิกิริยาฟิชชัน แต่มาจากความร้อนที่เกิดจากการสลายตัว (อังกฤษ: Decay heat) ของผลผลิตจากฟิชชั่น (อังกฤษ: Fission product) ที่สะสม ความร้อนนี้ยังคงเกิดในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากปฏิกิริยาลูกโซ่หยุดการทำงาน (เช่น หลังการปิดเครื่องปฏิกรณ์ฉุกเฉินด้วยการกดปุ่ม Scram (อังกฤษ: Safety Control Rods Activator Mechanism)) และมักจะต้องทำการระบายความร้อนที่ค้างอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของแกนกลาง เครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK เช่นที่เชียร์โนบีล ใช้น้ำเป็นสารหล่อเย็น[27][28] เครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 4 ที่เชียร์โนบีลประกอบด้วยช่องเชื้อเพลิงประมาณ 1,600 ช่อง แต่ละช่องต้องการน้ำหล่อเย็นไหลผ่าน 28 ตัน (28,000 ลิตรหรือ 7,400 แกลลอน) ต่อชั่วโมง[26]

เนื่องจากปั๊มระบายความร้อนต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อระบายความร้อนให้กับเครื่องปฏิกรณ์หลังจากการชัตดาวน์แบบฉุกเฉิน ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของเชียร์โนบีลทั้งหมดมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลสำรอง 3 เครื่อง เครื่องเหล่านี้น่าจะสตารต์เครื่องภายในเวลา 15 วินาที แต่มันใช้เวลาถึง 60-75 วินาที[26]: 15  เพื่อที่จะให้ได้ความเร็วเต็มกำลังส่งออกได้ถึง 5.5 เมกะวัตต์ (MW) ที่จำเป็นในการหมุนอย่างน้อยหนึ่งปั๊มหลัก[26]: 30 

เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างหนึ่งนาทีนี้ ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่ยอมรับไม่ได้ มีทฤษฎีว่าพลังงานเฉี่อยจากการหมุนของกังหันไอน้ำ (ซึ่งควรจะสิ้นสุดลงภายใต้แรงดันไอน้ำที่ยังค้างอยู่) ควรสามารถนำมาใช้ในการสร้างพลังงานไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าโมเมนตัมและแรงดันไอน้ำที่ค้างอยู่นี้อาจจะเพียงพอที่จะหมุนปั๊มน้ำหล่อเย็นได้เป็นเวลา 45 วินาที[26]: 16  สามารถปิดช่องว่างระหว่างความล้มเหลวจากไฟภายนอกและความพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินทั้งหมด[29]

ความสามารถนี้ยังคงต้องได้รับการยืนยันโดยการทดลอง และการทดสอบก่อนหน้านี้ได้สิ้นสุดลงอย่างไม่ประสบความสำเร็จ การทดสอบครั้งแรกที่ดำเนินการในปี 1982 แสดงให้เห็นว่าแรงดันไฟฟ้าจากการกระตุ้นของกังหันเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีไม่เพียงพอ มันก็ไม่ได้รักษาระดับสนามแม่เหล็กตามที่ต้องการหลังจากที่กังหันหมุน ระบบได้รับการดัดแปลงและถูกทดสอบซ้ำในปี 1984 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอีกครั้ง ในปี 1985 การทดสอบได้พยายามเป็นครั้งที่สาม แต่ยังส่งผลในเชิงลบ ขั้นตอนการทดสอบจะถูกทำซ้ำอีกครั้งในปี 1986 และถูกกำหนดให้มีขึ้นในระหว่างการชัตดาวน์เพื่อซ่อมบำรุงของเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่สี่[29]

การทดสอบที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนลำดับของแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ ขั้นตอนการทดสอบเริ่มต้นด้วยการปิดฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ เนื่องจากไม่มีผลกระทบกับความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้นโปรแกรมการทดสอบจึงไม่ได้มีการประสานงานอย่างเป็นทางการกับทั้งหัวหน้าฝ่ายออกแบบของเครื่องปฏิกรณ์ (NIKIET) หรือผู้จัดการด้านวิทยาศาสตร์ แต่มันก็ได้รับการอนุมัติโดยผู้อำนวยการของโรงงานเท่านั้น (แม้ว่าการอนุมัตินี้จะไม่สอดคล้องกับขั้นตอนที่ได้มีการจัดทำขึ้น)[30]

เมื่อพูดถีงพารามิเตอร์ของการทดสอบ พลังงานความร้อนที่ส่งออกจากเครื่องปฏิกรณ์ควรจะ 'ไม่ต่ำกว่า' 700 เมกะวัตต์ในช่วงเริ่มต้นของการทดลอง หากเงื่อนไขการทดสอบเป็นไปตามแผน ขั้นตอนดังกล่าวแน่นอนว่าเกือบจะดำเนินการไปอย่างปลอดภัย แต่ในที่สุดภัยพิบัติก็เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความพยายามที่จะเพิ่มการส่งออกพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ทันทีที่การทดลองเริ่มต้นซึ่งไม่สอดคล้องกับขั้นตอนที่ได้รับการอนุมัติ[30]

โรงไฟฟ้​​าเชียร์โนบีลได้ดำเนินงานมาเป็นเวลาสองปีโดยปราศจากความสามารถในการวิ่งผ่าน 60-75 วินาทีแรกของการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าทั้งหมด และนี่เองที่ทำให้ขาดคุณลักษณะด้านความปลอดภัยที่สำคัญ สันนิษฐานว่าผู้จัดการโรงไฟฟ้ามีความปรารถนาที่จะแก้ไขปัญหานี้ในโอกาสแรก ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมพวกเขาจึงยังคงทดสอบต่อไปแม้ว่าในขณะที่มีปัญหาร้ายแรงได้เกิดขึ้น และว่าทำไมการอนุมัติที่จำเป็นสำหรับการทดสอบไม่ได้ถูกส่งไปขอที่หน่วยงานกำกับดูแลนิวเคลียร์ของสหภาพโซเวียต (แม้ว่าจะมีตัวแทนที่อาคารของเครื่องปฏิกรณ์ 4)[notes 2]: 18–20 

ขั้นตอนการทดลองที่ตั้งใจจะให้ทำงานดังต่อไปนี้:

  1. เครื่องปฏิกรณ์จะถูกให้ทำงานที่ระดับพลังงานต่ำ ระหว่าง 700 เมกะวัตต์ถึง 800 เมกะวัตต์
  2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำจะทำงานด้วยความเร็วเต็มพิกัด
  3. เมื่อเงื่อนไขเหล่านี้ประสบความสำเร็จ ไอน้ำที่จ่ายให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันจะถูกปิด
  4. ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันจะถูกบันทึกไว้เพื่อตรวจสอบว่ามันจะสามารถให้พลังงานปิดช่องว่างสำหรับเครื่องปั้มน้ำหล่อเย็นจนกระทั่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลฉุกเฉินเริ่มลำดับขั้นตอนการสตาร์ตและให้พลังงานไฟฟ้ากับปั๊มน้ำระบายความร้อนโดยอัตโนมัติได้หรือไม่
  5. หลังจากที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินมีความเร็วในการดำเนินงานและจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้ตามปกติของมัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันจะได้รับอนุญาตให้ลดระดับความเร็วของการหมุนฟรีลงต่อไป

เงื่อนไขก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุ[แก้]

เงื่อนไขในการดำเนินการเพื่อการทดสอบถูกจัดทำขึ้นก่อนกะกลางวันของวันที่ 25 เมษายนปี 1986 คนงานกะกลางวันได้รับคำสั่งล่วงหน้าและมีความคุ้นเคยกับขั้นตอนที่จัดทำขึ้น ทีมพิเศษของวิศวกรไฟฟ้าก็มาถึงเพื่อทดสอบระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้าใหม่[31] ตามแผน การลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของการส่งออกของหน่วยพลังงานเริ่มต้นเมื่อเวลา 01:06 ของวันที่ 25 เมษายนและระดับพลังงานลดลงที่ 50% (ที่ 1,600 MW) ของระดับความร้อนสูงสุดของมันที่ 3,200 เมกะวัตต์เมื่อเริ่มต้นของกะกลางวัน

แผนภาพวงจรของเครื่องปฏิกรณ์

ณ จุดนี้ โรงไฟฟ้าอื่นในภูมิภาคได้ปิดทำการไปโดยไม่คาดคิด และศูนย์ควบคุมกริดไฟฟ้​​าที่เมืองเคียฟได้ขอให้การลดลงต่อไปของการส่งออกของเชียร์โนบีลถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากพวกเขาต้องการพลังงานไฟฟ้าที่จำเป็นเพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุดในช่วงเย็น ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลก็เห็นด้วยและเลื่อนการทดสอบออกไป แม้จะมีการเลื่อน แต่การเตรียมการสำหรับการทดสอบที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อการใช้พลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ฯ ได้ดำเนินการต่อ รวมถึงมีการปิดใช้งานของระบบระบายความร้อนแกนกลางฉุกเฉินหรือ ECCS ซึ่งเป็นระบบแบบพาสซีฟ/แอคทีฟของการทำความเย็นที่แกนกลางที่ระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายน้ำให้กับแกนกลางหลักในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการสูญเสียน้ำหล่อเย็น แม้ว่าจะเป็นเหตุการอื่น ระบบนี้จะถูกใช้งานที่จำกัด แต่การปิดใช้งานของมันเหมือนเป็นขั้นตอน "ประจำ" ของการทดสอบเป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดความสนใจอย่างแท้จริงที่จะสนองความปลอดภัยสำหรับการทดสอบนี้[32] นอกจากนี้ ถ้าเครื่องปฏิกรณ์ถูกปิดลงในวันนั้นตามที่วางแผนไว้ ก็เป็นไปได้ว่าน่าจะมีการเตรียมความพร้อมให้มากขึ้นไว้ล่วงหน้าก่อนการทดสอบ

เมื่อเวลา 23:04 น. ศูนย์ควบคุมกริดเมืองเคียฟได้อนุญาตให้ปิดเครื่องปฏิกรณ์ ความล่าช้านี้มีผลกระทบบางอย่างที่รุนแรง: กะกลางวันอยู่มานาน กะเย็นก็กำลังเตรียมที่จะกลับบ้านและกะกลางคืนก็จะไม่รับงานต่อจนกว่าจะถึงเที่ยงคืน ตามแผนการทดสอบควรจะเสร็จสิ้นในระหว่างกะกลางวัน และกะกลางคืนก็เพียงแต่รักษาระบบระบายความร้อนจากการสลายตัวในโรงงานที่กำลังชัตดาวน์[26]: 36–38 

กะกลางคืนมีระยะเวลาที่จำกัดมากที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับดำเนินการทดลอง การลดอย่างรวดเร็วต่อไปของระดับพลังงานจาก 50% มีการดำเนินงานในระหว่างการเปลี่ยนกะ อเล็กซานเดอร์ Akimov เป็นหัวหน้าของกะกลางคืน และ Leonid Toptunov เป็นผู้เดินเครื่องที่รับผิดชอบในการดำเนินงานของระบบปฏิกรณ์ ซึ่งรวมถึงการเคลื่อนที่ของแท่งควบคุม Toptunov ซึ่งเป็นวิศวกรหนุ่มที่เคยทำงานอิสระ เป็นวิศวกรอาวุโสได้ประมาณสามเดือน[26]: 36–38 

แผนการทดสอบต้องการให้มีการลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของการส่งออกพลังงานจากเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 4 ถึงระดับความร้อนที่ 700-1,000 เมกะวัตต์[33] การส่งออกที่ 700 เมกะวัตต์ก็มาถึงที่เวลา 00:05 น. ของวันที่ 26 เมษายน แต่เนื่องจากการผลิตตามธรรมชาติของซีนอน-135 ซึ่งเป็นตัวดูดซับนิวตรอน (อังกฤษ: neutron absorber) ตัวหนึ่งจากการสลายตัวของผลผลิตจากฟิชชัน ไอโอดีน-135 พลังงานในแกนกลางยังคงลดลงต่อไปโดยปราศจากการควบคุมของผู้ควบคุมเครื่องตามกระบวนการที่เรียกว่า'วางยาพิษเครื่องปฏิกรณ์' (อังกฤษ: reactor poisoning) เมื่อพลังงานส่งออกจากเครื่องปฏิกรณ์ลดลงอีกจนถึงประมาณ 500 เมกะวัตต์ Toptunov ทำผิดพลาดโดยกดแท่งควบคุมลึกมากเกินไป (หน่วงปฏิกิริยาฟิชชั่นมากเกินไป) สถานการณ์ที่แน่นอนที่ทำให้ Toptunov กระทำแบบนี้ไม่สามารถรู้ได้เพราะ Akimov และ Toptunov เสียชีวิตในโรงพยาบาลในวันที่ 10 และ 14 พฤษภาคมตามลำดับ การรวมกันของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เครื่องปฏิกรณ์อยู่ในสถานะ'ใกล้ชัตดาว์น'โดยไม่ได้ตั้งใจที่มีการส่งออกพลังงาน 30 เมกะวัตต์ความร้อนหรือน้อยกว่า

ซีนอน-135 ในเครื่องปฏิกรณ์หนึ่งจะทำงานตรงตามหน้าที่เหมือนกับว่าแท่งควบคุมหลายแท่งมากถูกเสียบเข้าไปลึก ในสถานะการทำงานที่คงที่นั้น มันจะถูก "เผาผลาญ" เนื่องจากมันถูกสร้างขึ้นจากไอโอดีน 135 โดยการดูดซับนิวตรอนที่เกิดจากปฏิกิริยาลูกโซ่ที่กำลังดำเนินการอยู่และกลายเป็นซีนอน-136 ที่เสถียร แต่เมื่อพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ถูกลดลง ไอโอดีน 135 ที่ผลิตได้ก่อนหน้านี้สลายตัวกลายเป็นซีนอน-135 เร็วกว่านิวตรอนฟลักซ์ที่ถูกลดลงจะสามารถทำลายมันได้ เครื่องปฏิกรณ์ที่ถูก "วางยาพิษ" จะมีระดับพลังงานที่ลดลงต่ำมาก ผู้เดินเครื่องจะต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างแรกได้แก่รอให้ซีนอนสลายตัวซึ่งอาจใช้เวลาเป็นวัน หรืออย่างหลังดึงแท่งควบคุมขึ้นเพื่อเอาชนะมัน ผู้เดินเครื่องหน่วยที่ 4 ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างถูกต้อง งงงันจากการลดลงของพลังงานไม่สามารถควบคุมได้ เลือกที่จะดำเนินการอย่างหลังและสร้างสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและเป็นอันตรายสูงโดยไม่เจตนา นั่นคือ เมื่อซีนอน-135 ถูกเผาผลาญ มีนิวตรอนที่มากขึ้นถูกปล่อยให้ไม่ถูกดูดซับเพื่อส่งเสริมให้ปฏิกิริยาลูกโซ่ดำเนินต่อไป เป็นการสร้างนิวตรอนมากขึ้นให้ทำการเผาผลาญซีนอน-135 มากขึ้น และเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเครื่องปฏิกรณ์เข้าสู่สภาวะ "วิกฤตยิ่งยวดเฉียบพลัน" (อังกฤษ: prompt supercritical) และพลังงานจะโดดเป็นแท่งแหลมที่สูงมาก ๆ ในเวลาไม่กี่วินาที ขั้นตอนการดำเนินงานมาตรฐานสำหรับ 28 แท่งควบคุมก็คือจะต้องใส่พวกมันให้ลึกเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะวิกฤตยิ่งยวดเฉียบพลัน อย่างที่ Grigoriy เมดเวเดฟเขียน "... ความจุของเครื่องปฏิกรณ์ที่ผิดปกติขณะนี้ได้เกินความสามารถของระบบความปลอดภัยที่มีอยู่ในการปิดตัวมัน"[34]

ตอนนี้ เครื่องปฏิกรณ์กำลังผลิตร้อยละ 5 ของระดับพลังงานตั้งต้นขั้นต่ำที่ถูกออกแบบว่าปลอดภัยสำหรับการทดสอบ[30]: 73  บุคลากรในห้องควบคุมตัดสินใจที่จะใส่คืนพลังงานโดยการปิดระบบควบคุมแท่งแบบอัตโนมัติและแยกส่วนใหญ่ของแท่งควบคุมของเครื่องปฏิกรณ์ด้วยมือ (อังกฤษ: manual) ให้ขึ้นไปจนถึงตำแหน่งบนสุดของพวกมัน[35] หลายนาทีผ่านไประหว่างการแยกแท่งควบคุมและจุดที่พลังงานส่งออกเริ่มที่จะเพิ่มขึ้นและต่อมาคงที่ที่ 160-200 เมกะวัตต์ (ความร้อน) ซึ่งเป็นค่าที่น้อยกว่าที่วางแผนไว้ที่ 700 เมกะวัตต์มาก การลดลงอย่างรวดเร็วของพลังงานในช่วงเริ่มต้นชัดดาวน์และการดำเนินการตามมาในระดับที่น้อยกว่า 200 เมกะวัตต์นำไปสู่​​การเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นของแกนกลางเครื่องปฏิกรณ์จากการสะสมของซีนอน-135[36][37] นี่จำกัดการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องใด ๆ ของพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์และทำให้มันจำเป็นที่จะต้องแยกแท่งควบคุมเพิ่มเติมจากแกนเครื่องปฏิกรณ์เพื่อที่จะต่อสู้กับพิษ

การทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ที่ระดับพลังงานต่ำและมีระดับพิษสูงจะมาพร้อมกับอุณหภูมิแกนและการไหลของน้ำหล่อเย็นที่ไม่เสถียรและเป็นไปได้โดยความไม่เสถียรของนิวตรอนฟลักซ์ซึ่งไปกระตุ้นการเตือนภัย ห้องควบคุมได้รับสัญญาณฉุกเฉินซ้ำ ๆ เกี่ยวกับระดับต่างๆในถังอบไอน้ำ/ถังแยกน้ำ และการแปรปรวนหรือการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ของอัตราการไหลของน้ำป้อนจากภายนอก รวมทั้งจากวาล์วระบาย (อังกฤษ: relief valve) ที่เปิดเพื่อระบายไอน้ำส่วนเกินเข้าสู่เครื่องควบแน่นระบายความร้อนแบบกังหัน และจากตัวควบคุมพลังงานนิวตรอน ในช่วงเวลา 0:35-00:45 น. สัญญาณเตือนภัยฉุกเฉินเกี่ยวกับพารามิเตอร์ความร้อนไฮดรอลิคถูกละเลย เห็นได้ชัดว่าเพื่อสงวนระดับพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์[38]

เมื่อระดับพลังงานที่ 200 เมกะวัตต์มาถึงในที่สุด การเตรียมการสำหรับการทดลองก็ถูกทำต่อไป เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทดสอบ ปั๊มน้ำส่วนเพิ่มถูกเปิดใช้งานเมื่อเวลา 01:05 น.ของวันที่ 26 เมษายน เพื่อเพิ่มปริมาณของน้ำ อัตราการไหลของน้ำหล่อเย็นผ่านเครื่องปฏิกรณ์ที่เพิ่มขึ้นทำให้น้ำหล่อเย็นช่วงขาเข้าของแกนปฏิกรณ์มีอุณหภูมิสูงขึ้น (น้ำหล่อเย็นไม่ได้มีเวลามากพอที่จะปลดปล่อยความร้อนของมันออกไปในกังหันและหอระบายความร้อน) ซึ่งขณะนี้เข้าใกล้อุณหภูมิเดือดนิวเคลียร์ (อังกฤษ: nucleate boiling temperature) ของน้ำมากยิ่งขึ้น เป็นการลดส่วนต่างเผื่อเหลือเผื่อขาดด้านความปลอดภัย (อังกฤษ: safety margin)

การไหลเกินขีดจำกัดที่ยอมได้ตอน 01:19 น. ทำให้เกิดการเตือนภัยว่าแรงดันไอน้ำต่ำในตัวแยกไอน้ำ (อังกฤษ: steam separators) ในขณะเดียวกันการไหลของน้ำส่วนเพิ่มไปลดอุณหภูมิแกนโดยรวมและลด 'ไอน้ำโมฆะ' (อังกฤษ: steam voids) ที่มีอยู่ในแกนและในตัวแยกไอน้ำ[39] เนื่องจากน้ำดูดซับนิวตรอนได้แย่มาก (และน้ำในสถานะของเหลวที่มีความหนาแน่นสูงขึ้นทำให้มันดูดซับได้ดีกว่าไอน้ำ) การเปิดเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมจึงช่วยลดพลังงานของต้วปฏิกรณ์ลงต่อไป เจ้าหน้าที่ตอบสนองโดยการปิดปั๊มหมุนเวียนสองตัวเพื่อลดการไหลของน้ำป้อนขาเข้า ในความพยายามที่จะเพิ่มความดันไอน้ำ และเพื่อถอดถอนแท่งควบคุมแบบแมนนวลมากขึ้นเพื่อรักษาระดับพลังงาน[32][40]

การกระทำทั้งหมดเหล่านี้นำไปสู่รูปแบบการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ที่ไม่แน่นอนอย่างมาก เกือบทั้งหมดของแท่งควบคุมถูกถอดออกด้วยแมนนวล ยกเว้น 18 ใน 28 แท่งควบคุมเป็นอย่างน้อยที่ "ไม่ปลอดภัย" ซึ่งมีเจตนาที่จะยังคงถูกเสียบลงไปจนสุดเพื่อควบคุมเครื่องปฏิกรณ์แม้ในกรณีที่ขาดน้ำหล่อเย็น จากทั้งหมด 211 แท่งควบคุม ในขณะที่ระบบ SCRAM ฉุกเฉินที่ควรจะเสียบแท่งควบคุมทั้งหมดเพื่อชัตดาวน์เครื่องปฏิกรณ์จะยังคงสามารถเปิดใช้งานได้ด้วยมือ (ด้วยปุ่ม "AZ-5") ระบบอัตโนมัติที่สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ได้ถูกปิดการใช้งานเพื่อรักษาระดับพลังงาน และคุณสมบัติด้านความปลอดภัยแบบอัตโนมัติและแม้กระทั่งแบบพาสซีฟอื่น ๆ อีกมากมายของเครื่องปฏิกรณ์ได้ถูกบายพาสไปแล้ว มากกว่านั้น น้ำหล่อเย็นสำหรับเตาปฏิกรณ์ได้ถูกสูบให้น้อยลง ซึ่งเป็นการจำกัดส่วนเผื่อเหลือเผื่อขาดที่มีอยู่ ดังนั้นสิ่งผิดปกติใด ๆ ของพลังงาน ก็จะทำให้น้ำหล่อเย็นนั้นเกิดการเดือด ซึ่งจะลดการดูดซึมนิวตรอนของน้ำ เครื่องปฏิกรณ์ได้อยู่ในสภาวะที่ไม่เสถียรที่เห็นได้ชัดว่าอยู่นอกขอบเขตการดำเนินงานที่ความปลอดภัยที่ผู้ออกแบบได้จัดทำขึ้น หากมีสิ่งใดที่ผลักดันให้มันอยูในสภาวะวิกฤตยิ่งยวด มันก็จะไม่สามารถถูกกู้คืนได้โดยอัตโนมัติ

การทดสอบและการระเบิด[แก้]

เมื่อเวลา 01:23:04 น. การทดลองเริ่มต้น มีการใช้งานปั๊มหมุนเวียนหลัก (MCP) 4 ตัว จากทั้งหมดแปดตัว ซึ่งในระหว่างการดำเนินงานปกติจะมีการใช้งานหกตัว ไอน้ำที่ให้กับกังหันถูกปิดลง เริ่มต้นปิดการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหัน เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเริ่มต้นทำงานและจ่ายไฟฟ้าให้โหลดตามลำดับ; เครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องจ่ายไฟฟ้าให้กับ MCPs ได้อย่างสมบูรณ์ตอน 1:23:43 น. ในระหว่างที่ MCPs ยังไม่ได้กำลังไฟฟ้าเต็ม MCPs จะได้กำลังไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันในขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันกำลังชะลอความเร็ว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่โมเมนตัมของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันกำลังลดลง พลังงานที่มันผลิตให้เครื่องสูบน้ำก็ลดลงด้วย อัตราการไหลของน้ำก็ลดลง ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของโมฆะไอน้ำ (อังกฤษ: steam voids) (ฟอง) ในแกน

เพราะค่าสัมประสิทธิ์ของโมฆะ (อังกฤษ: void coefficient) เป็นเชิงบวกของเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ที่ระดับพลังงานเครื่องปฏิกรณ์ต่ำ มันถูกจัดเตรียมไว้ในขณะนี้ที่จะเริ่มดำเนินการในงาน positive feedback loop ซึ่งในโครงการนี้ การก่อตัวของโมฆะไอน้ำจะลดความสามารถของน้ำหล่อเย็นในรูปของเหลวในการดูดซับนิวตรอน ซึ่งผลที่ได้จะเพิ่มการส่งออกพลังงานของเครื่องปฏิกรณ์ เรื่องนี้ยังเพิ่มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำมากขึ้น ยังจะทำให้พลังงานเพิ่มมากขึ้นไปอีก เกือบตลอดระยะเวลาของการทดสอบ ระบบควบคุมอัตโนมัติได้ประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับ positive feedback นี้ โดยการเสียบแท่งควบคุมลงไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อจำกัดพลังงานไม่ให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามระบบนี้ทำการควบคุมเพียง 12 แท่งเท่านั้นและเกือบทั้งหมดที่เหลือถูกดึงออกแบบแมนนวล

เมื่อเวลา 1:23:40 น. ตามที่ได้บันทึกไว้โดยระบบการควบคุม SKALA ส่วนกลาง การปิดฉุกเฉินของเครื่องปฏิกรณ์ (ซึ่งไม่ได้ตั้งใจที่จะสะกิดให้มีการระเบิด) ได้ถูกเริ่มขึ้น กลไกการขับเคลื่อนแท่งควบคุมเพื่อความปลอดภัย (อังกฤษ: Safety Control Rods Actuator Mechanism (SCRAM)) เริ่มต้นเมื่อมีการกดปุ่ม EPS-5 (หรือเรียกว่าปุ่ม AZ-5) ซึ่งเป็นระบบป้องกันฉุกเฉินเครื่องปฏิกรณ์ ระบบนี้ต่ออยู่กับกลไกที่เสียบแท่งควบคุมทั้งหมดให้ลงไปจนสุด รวมทั้งแท่งควบคุมแบบแมนนวลที่ถูกดึงออกอย่างไม่ระมัดระวังก่อนหน้านี้ เหตุผลที่ว่าทำไมไม่มีใครรู้ว่าปุ่ม EPS-5 ถูกกด หรือว่ามันถูกกดเนื่องจากมันเป็นมาตรการฉุกเฉินในการตอบสนองต่ออุณหภูมิที่สูงขึ้น หรือเพียงแค่เป็นวิธีการตามปกติของการปิดเครื่องปฏิกรณ์เมื่อเสร็จสิ้นการทดลอง

มีมุมมองหนึ่งที่ว่า SCRAM อาจจะถูกสั่งการให้ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของพลังงานอย่างรวดเร็วโดยไ​​ม่คาดคิด แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลบันทึกไว้แน่ชัดเพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ บางคนแนะนำว่าปุ่มไม่ได้ถูกกดแต่สัญญาณที่ถูกผลิตขึ้นอัตโนมัติโดยระบบป้องกันฉุกเฉิน; แต่ระบบ SKALA ได้บันทึกสัญญาณ SCRAM แบบแมนนวลอย่างชัดเจน ทั้งๆที่มันเกิดสัญญาณนี้ขึ้น ได้มีการโต้แย้งในคำถามที่ว่าปุ่ม EPS-5 ถูกกดเมื่อไรหรือแม้แต่ที่ว่ามันได้ถูกกดจริงๆหรือไม่ มีการยืนยันว่าเกิดแรงกดดันจากการเร่งพลังงานอย่างรวดเร็วในช่วงเริ่มต้น และกล่าวหาว่าปุ่มไม่ได้ถูกกดจนกระทั่งเครื่องปฏิกรณ์เริ่มที่จะทำลายตัวเอง แต่คนอื่น ๆ ยืนยันว่ามันเกิดขึ้นก่อนหน้านี้แล้วและอยู่ในสภาพที่สงบ[41]: 578 [42]

หลังจากที่ปุ่ม EPS-5 ถูกกด การเสียบของแท่งควบคุมลงไปในแกนเครื่องปฏิกรณ์ก็เริ่มต้นขึ้น กลไกควบคุมการเสียบจะเคลื่อนแท่งควบคุมที่ความเร็ว 0.4 เมตร/วินาทีเป็นเวลา 18-20 วินาทีในการเดินทางเต็มความยาวของแกนปฏิกรณ์ประมาณ 7 เมตร ปัญหาที่ใหญ่กว่าเป็นข้อบกพร่องของปลายกราไฟท์ของแกนควบคุม ซึ่งในตอนแรกจะแทนที่น้ำหล่อเย็นที่ทำหน้าที่ดูดซับนิวตรอนด้วยกราไฟท์ที่เป็นตัวหน่วงก่อนที่จะเริ่มการเปลี่ยนไปใช้วัสดุโบรอนเพื่อดูดซับนิวตรอนเพื่อที่จะชะลอการเกิดปฏิกิริยา ผลที่ได้ SCRAM จะทำการเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาในครึ่งบนของแกนเมื่อปลายแทนที่น้ำ ลักษณะนี้เป็นที่รู้จักกันดีหลังจากที่ปิดเครื่องปฏิกรณ์ RBMK เครื่องอื่น ๆ ที่เหนี่ยวนำให้เกิดพลังงานพุ่งสูงเป็นแท่งแหลม (อังกฤษ: power spike) ในช่วงเรื่มต้น แต่เนื่องจาก SCRAM ของเครื่องปฏิกรณ์ตัวนั้นทำงานประสบความสำเร็จ ข้อมูลจึงไม่ได้เปิดเผยอย่างกว้างขวาง

ไม่กี่วินาทีหลังจากเริ่ม SCRAM ปลายแท่งกราไฟท์เข้าสู่กองเชื้อเพลิง แท่งแหลมของพลังงานมหาศาลก็เกิดขึ้นและแกนมีความร้อนสูงมากเกินไป ทำให้บางส่วนของแท่งเ​​ชื้อเพลิงแตกหักไปขวางช่องแท่งควบคุมและทำให้แท่งควบคุมติดขัดที่ความลึกหนึ่งในสาม ในขณะที่ปลายกราไฟท์อยู่ในช่วงกลางของแกน ภายในสามวินาที การส่งออกเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 530 เมกะวัตต์[26]: 31 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมาไม่ได้ถูกบันทึกโดยเครื่องมือ; แต่เป็นที่รู้จักกันเพียงเป็นผลมาจากการจำลองทางคณิตศาสตร์ เห็นได้ชัดว่าแท่งแหลมพลังงานทำให้เชื้อเพลิงมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นและสร้างการสะสมไอน้ำขนาดใหญ่ที่นำไปสู่​​การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแรงดันไอน้ำ เรื่องนี้ทำให้ปลอกหุ้มเชื้อเพลิงล้มเหลว ปลดปล่อยองค์ประกอบเชื้อเพลิงลงในน้ำหล่อเย็นและทำให้ช่องบรรจุองค์ประกอบเหล่านี้แตกออก[43]

จากนั้น ประมาณการว่าเครื่องปฏิกรณ์กระโดดไปที่ประมาณ 30,000 เมกะวัตต์ความร้อน สิบเท่าของการส่งออกในการดำเนินงานตามปกติ ค่าที่อ่านได้ล่าสุดบนแผงควบคุมเป็น 33,000 เมกะวัตต์ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างลำดับที่ถูกต้องขึ้นใหม่ของกระบวนการที่จะนำไปสู่การล่มสลายของเครื่องปฏิกรณ์และเครื่องสร้างหน่วยพลังงานไฟฟ้า แต่เป็นการระเบิดของไอน้ำ เหมือนการระเบิดของหม้อไอน้ำจากความดันไอน้ำที่มากเกินไป ที่ดูเหมือนจะเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดต่อไป มีความเข้าใจทั่วไปว่ามันเป็นเพราะไอน้ำจากช่องเชื้อเพลิงที่อับปางหลุดลอดเข้าไปในโครงสร้างการระบายความร้อนภายนอกของเครื่องปฏิกรณ์ที่ก่อให้เกิดการทำลายของเปลือกห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์ ฉีกมันออกและยกแผ่นบนที่หนัก 2,000 ตันขึ้น ซึ่งแผ่นนี้ถูกยึดเข้ากับแท่น ส่งเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดทะลุหลังคาของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ เห็นได้ชัดว่านี่คือการระเบิดครั้งแรกที่หลายคนได้ยิน[44]: 366  ระเบิดครั้งนี้ฉีกช่องเชื้อเพลิงให้กว้างขึ้นอีก พร้อมกับการตัดส่วนใหญ่ของสายการหล่อเย็นที่ป้อนให้กับห้องเครื่องปฏิกรณ์ และเป็นผลให้น้ำหล่อเย็นที่เหลืออยู่พ่นเป็นประกายไอน้ำและหนีออกจากแกนเครื่องปฏิกรณ์ การสูญเสียน้ำทั้งหมดรวมกับค่าสัมประสิทธิ์โมฆะในเชิงบวกที่สูงช่วยเพิ่มพลังงานความร้อนของเตาปฏิกรณ์ให้สูงขึ้นไปอีก

ระเบิดครั้งที่สองมีประสิทธิภาพมากกว่าเกิดขึ้นประมาณสองหรือสามวินาทีหลังจากครั้งแรก; ระเบิดส่งแกนหลักที่เสียหายกระจัดกระจายและสิ้นสุดปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการระเบิดนี้ยังทำลายสิ่งห่อหุ้มเครื่องปฏิกรณ์และพุ่งก้อนตัวหน่วงกราไฟท์ที่ร้อนอย่างยวดยิ่งออกมาอีกด้วย กราไฟท์ที่พุ่งออกมาและช่องทางที่พังยับเยินที่ยังคงอยู่ในซากเครื่องปฏิกรณ์ทำให้เกิดไฟไหม้เมื่อสัมผัสกับอากาศ เอื้ออย่างมากต่อการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีและการปนเปื้อนของพื้นที่ห่างไกล[32]

ตามคำบอกเล่าชองผู้สังเกตการณ์นอกหน่วยที่ 4 ก้อนเผาไหม้ของวัสดุและประกายไฟถูกยิงขึ้นไปในอากาศเหนือเครื่องปฏิกรณ์ บางส่วนของพวกมันตกลงบนหลังคาของห้องโถงเครื่องยนต์และเริ่มไฟไหม้ ประมาณร้อยละ 25 ของก้อนกราไฟท์ที่ร้อนแดงและวัสดุที่ร้อนมากจากช่องเชื้อเพลิงก็ถูกพุ่งออกมา หลายส่วนของบล็อกราไฟท์และช่องเชื้อเพลิงพุ่งออกจากอาคารเตาปฏิกรณ์ ผลจากความเสียหายของอาคาร การไหลของอากาศผ่านแกนก่อตั้งขึ้นโดยอุณหภูมิสูงของแกน อากาศจุดประกายกับกราไฟท์ร้อนและเริ่มไฟใหม้กราไฟท์[26]: 32 

มีหลายสมมติฐานขั้นต้นเกี่ยวกับธรรมชาติของการระเบิดที่สอง มุมมองหนึ่งก็คือว่าการระเบิดครั้งที่สองมีสาเหตุมาจากไฮโดรเจน ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งจากปฏิกิริยาเซอร์โคเนียมไอน้ำที่ร้อนจัดหรือจากปฏิกิริยาของกราไฟท์ร้อนแดงกับไอน้ำที่ผลิตไฮโดรเจนและก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ สมมติฐานอีกประการหนึ่งคือการระเบิดที่สองเป็นการระเบิดจากความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์ที่เป็นผลมาจากการหลบหนีที่ไม่สามารถควบคุมได้ของนิวตรอนเร็ว (อังกฤษ: fast neutron) ที่เกิดจากการสูญเสียน้ำอย่างสิ้นเชิงในแกนของเครื่องปฏิกรณ์[45] สมมติฐานที่สามก็คือการที่ระเบิดเป็นระเบิดด้วยไอน้ำครั้งที่สอง ตามเวอร์ชันนี้ การระเบิดครั้งแรกเป็นเพียงการระเบิดของไอน้ำเล็ก ๆ น้อย ๆ ในวงหมุนเวียนมากกว่า ทำให้เกิดการสูญเสียของการไหลของน้ำหล่อเย็นและความดัน ที่สุดท้ายแล้วทำให้น้ำที่ยังคงอยู่ในแกนกระจายเป็นไอน้ำ จากนั้นการระเบิดครั้งที่สองนี้สร้างความเสียหายส่วนใหญ่ของกับเครื่องปฏิกรณ์และอาคารที่บรรจุมัน

อย่างไรก็ตาม แรงเฉือนของการระเบิดครั้งที่สองและอัตราส่วนของไอโซโทปซีนอน (อังกฤษ: xenon radioisotopes) ที่ปล่อยออกมาในช่วงเหตุการณ์ระบุว่าระเบิดครั้งที่สองน่าจะเป็นพลังงานนิวเคลียร์ชั่วคราวซึ่งเป็นผลมาจากการละลายของวัสดุแกน เนื่องจากขาดเปลือกหุ้ม และน้ำหล่อเย็นของต้วหน่วง ทำให้เกิดการวิกฤตเฉียบพลันอย่างรุนแรงคล้ายกับการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์[46] ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมา 4 หมื่นล้านจูลส์ เทียบเท่ากับประมาณสิบตันของทีเอ็นที การวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่าการระเบิดของนิวเคลียร์ถูกจำกัดให้อยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของแกน[46]

ซึ่งขัดแย้งกับกฎระเบียบด้านความปลอดภัย น้ำมันดิน (อังกฤษ: bitumen) ซึ่งเป็นวัสดุที่ติดไฟได้ ได้ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างหลังคาของอาคารเครื่องปฏิกรณ์และห้องโถงของกังหัน วัสดุที่พุ่งออกมาจุดประกายไฟอย่างน้อยห้าจุดบนหลังคาของเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 3 ที่อยู่ติดกัน ซึ่งยังคงดำเนินงานอยู่ มันเป็นความจำเป็นที่จะต้องดับไฟเหล่านั้นและปกป้องระบบระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์ตัวที่ 3 [26] ภายในเครื่องปฏิกรณ์ตัวที่ 3 หัวหน้ากะกลางคืน ยูริ Bagdasarov อยากจะปิดเครื่องปฏิกรณ์ทันที แต่หัวหน้าวิศวกร นิโคไล โฟมิน ไม่อนุญาตให้ทำ ผู้เดินเครื่องได้รับเครื่องช่วยหายใจและยาเม็ดโพแทสเซียมไอโอไดด์และถูกสั่งให้ดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 05:00 Bagdasarov ตัดสินใจด้วยตัวของเขาเองที่จะปิดเครื่องปฏิกรณ์ เหลือไว้แต่เฉพาะผู้เดินเครื่องที่จะต้องทำงานกับระบบระบายความร้อนฉุกเฉินเท่านั้น[26]: 44 

ระดับรังสี[แก้]

ระดับรังสีโดยประมาณในสถานที่ที่แตกต่างกันไม่นานหลังจากการระเบิดมีดังนี้[47]

สถานที่ ปริมาณรังสี (หน่วยเป็นรึนเกนส์ต่อชม.) ซีเวิท (Sievert) ต่อชม. (หน่วย SI)
บริเวณใกล้เคียงกับแกนเครื่องปฏิกรณ์ 30,000 300
เศษเชื้อเพลิง 15,000–20,000 150–200
กองซากที่จุดติดตั้งปั้มน้ำหมุนเวียน 10,000 100
เศษซากใกล้เครื่อง electrolyzers 5,000–15,000 50–150
น้ำในห้องจ่ายน้ำที่ระดับ +25 5,000 50
ระดับ 0 ของห้องกังหัน 500–15,000 5–150
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 1,000–1,500 10–15
น้ำในห้อง 712 1,000 10
ห้องควบคุม 3–5 0.03–0.05
สถานที่ติดตั้ง Hydropower 30 0.3
หน่วยผสมคอนกรีตใกล้เคียง 10–15 0.10–0.15

ผังโรงงาน[แก้]

ขึ้นอยู่กับภาพของโรงงาน[48]

ระดับ วัตถุ
เมตร ระดับเหนือ (หรือต่ำกว่าถ้าเป็นค่าลบ) พื้นดินที่จุดนี้น
49.6 หลังคาอาคารเครื่องปฏิกรณ์ แกลเลอรี่ของกลไกเติมเชื้อเพลิง
39.9 หลังคาแกลเลอรี่ตัวตัดอากาศ (อังกฤษ: Deaerator)
35.5 พื้นห้องโถงเครื่องปฏิกรณ์หลัก
31.6 ด้านบนของส่วนป้องกันแบบชีววิทยาชุดบน พื้นของที่ว่างสำหรับท่อไปยังตัวแยกไอน้ำ
28.3 ด้านล่างของหลังคาห้องโถงกังหัน
24.0 พื้นตัวตัดอากาศ ห้องเครื่องมือวัดและควบคุม
16.4 พื้นห้องแนวท่อในแกลเลอรี่ของตัวตัดอากาศ
12.0 พื้นหลักของห้องโถงกังหัน พื้นของห้องมอเตอร์ปั้มหมุนเวียนหลัก
10.0 ห้องควบคุม พื้นใต้ส่วนป้องกันแบบชีววิทยาชุดล่างของเครื่องปฏิกรณ์ ปั้มหมุนเวียนหลัก
6.0 ทางเดินกระจายไอน้า
2.2 บ่อปราบปรามความดันด้านบน
0.0 ระดับดิน ห้อง switchgear ระดับห้องโถงกังหัน
−0.5 บ่อปราบปรามความดันด้านล่าง
−5.2, −4.2 ระดับห้องโถงกังหันอื่น
−6.5 ชั้นฐานรากของห้องโถงกังหัน

การมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคล[แก้]

บทความหลัก: การมีส่วนร่วมของแต่ละบุคคลในอุบัติภัยเชียร์โนบีล

การจัดการกับวิกฤตโดยทันที[แก้]

ระดับที่สูงมากของกัมมันตภาพรังสีในลาวาใต้เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลตัวที่ 4 ในปี 1986

ระดับรังสี[แก้]

ระดับรังสีในพื้นที่ที่เลวร้ายที่สุดของอาคารเตาปฏิกรณ์คาดว่าจะเป็น 5.6 roentgens ต่อวินาที (R/s) คิดเป็นกว่า 20,000 roentgens ต่อชั่วโมง ปริมาณที่ทำให้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 500 roentgens (~ 5 Gray (unit), Gy) นานกว่า 5 ชั่​​วโมง ดังนั้นในบางพื้นที่ คนงานที่ไม่มีการป้องกันได้รับในปริมาณที่เป็นอันตรายถึงชีวิตในเวลาน้อยกว่าหนึ่งนาที อย่างไรก็ตาม เครื่องวัดปริมาณรังสี (อังกฤษ: dosimeter) ตัวหนึ่งซึ่งสามารถวัดได้ถึง 1000 R/s ได้ถู​​กฝังอยู่ในซากปรักหักพังของส่วนที่ทรุดตัวของอาคาร และอีกเครื่องหนึ่งล้มเหลวเมื่อเปิดเครื่อง เครื่อง dosimeters ทั้งหมดที่เหลืออยู่มีข้อ จำกัดในการวัดอยู่ที่ 0.001 R/s ดังนั้นพวกมันจึงอ่าน "เกินสเกล" เพราะฉะนั้น คนงานเครื่องปฏิกรณ์สามารถยืนยันได้เพียงว่าระดับรังสีมีปริมาณมากกว่า 0.001 R/วินาที (3.6 R/ชม) ในขณะที่ระดับที่แท้จริงมีสูงกว่านี้มากในบางพื้นที่[26]: 42–50 

ก็เพราะว่าการอ่านในค่าต่ำที่ไม่ถูกต้อง หัวหน้าคนงานเครื่องปฏิกรณ์อเล็กซานเดอร์ Akimov สันนิษฐานว่าเครื่องปฏิกรณ์ทำงานได้ตามปกติ หลักฐานของชิ้นส่วนของกราไฟท์และเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์ที่กระจายอยู่รอบอาคารถูกละเลย และการอ่านของเครื่อง dosimeter อื่น ๆ ถูกนำเข้ามาเมื่อเวลา 04:30 น. ก็ถูกเพิกเฉยภายใต้สมมติฐานที่ว่า dosimeter เครื่องใหม่น่าจะชำรุด[26]: 42–50  Akimov อยู่กับทีมงานของเขาในอาคารเครื่องปฏิกรณ์จนถึงเช้า มีการส่งสมาชิกของทีมงานของเขาเพิ่อพยายามที่จะสูบน้ำเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ ไม่มีใครสักคนสวมใส่เกียร์ป้องกันใด ๆ พวกเขาส่วนใหญ่ รวมทั้ง Akimov เสียชีวิตจากการสัมผัสรังสีภายในสามสัปดาห์[34]: 247–48 

การควบคุมไฟให้อยู่ในที่จำกัด[แก้]

ไม่นานหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ นักผจญเพลิงก็มาถึงและพยายามที่จะดับไฟ คนแรกที่จุดเกิดเหตุเป็นนักผจญเพลิงโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลภายใต้คำสั่งของร้อยโท Vladimir Pravik ที่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 1986 เนื่องจากการเจ็บป่วยจากรังสีเฉียบพลัน พวกเขาไม่ได้รับการบอกกล่าวถึงอันตรายของสารกัมมันตรังสีจากควันและเศษซาก และอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นอะไรที่มากไปกว่าไฟที่เกิดจากไฟฟ้าปกติ: "เราไม่รู้เลยว่ามันเป็นเครื่องปฏิกรณ์ ไม่มีใครบอกกับเรา"[49]

Grigorii Khmel พนักงานขับรถของหนึ่งในรถดับเพลิงวันนั้นได้อธิบายต่อสิ่งที่เกิดขึ้น:

เรามาถึงที่นั่นเมื่อเวลาอีก 10 หรือ 15 นาทีก่อนถึงสองนาฬิกาในตอนเช้า .... เราเห็นกราไฟท์เกลื่อนไปทั่ว Misha ถามว่า: "นั่นใช่กราไฟท์หรือเปล่า?" ผมเตะมันออกไป แต่หนึ่งในนักผจญเพลิงบนรถบรรทุกคันอื่นหยิบมันขึ้นมา "มันร้อน" เขากล่าว ชิ้นส่วนของกราไฟท์มีขนาดแตกต่างกัน บางอันขนาดใหญ่ บางอันขนาดเล็ก เพียงพอที่จะหยิบพวกมันขึ้นมา ... เราไม่รู้มากนักเกี่ยวกับรังสี แม้แต่คนที่ทำงานที่นั่นก็ไม่รู้ ไม่มีน้ำเหลืออยู่ในรถบรรทุก Misha เติมถังน้ำและเราฉีดน้ำไปที่ด้านบน จากนั้นพวกชายหนุ่มที่ตอนนี้ได้ตายไปแล้วก็ปีนขึ้นไปบนหลังคา - Vashchik, Kolya และคนอื่น ๆ และ Volodya Pravik .... พวกเขาปีนขึ้นบันได ... และผมก็ไม่เคยเห็นพวกเขาอีกเลย[50]: 54 

Anatoli Zakharov นักดับเพลิงที่ประจำการอยู่ในเชียร์โนบีลตั้งแต่ปี 1980 ให้รายละเอียดที่แตกต่างกันในปี 2008:

ผมจำได้ว่าเคยล้อเล่นกับคนอื่น ๆ "จะต้องมีปริมาณที่เหลือเชื่อของรังสีที่นี่ เราจะโชคดีถ้าเราทุกคนยังคงมีชีวิตอยู่ในตอนเช้า"[51]

เขายังกล่าวอีกว่า

แน่นอนเรารู้! ถ้าเราทำตามกฎระเบียบ เราจะไม่มีทางเข้าใกล้เครื่องปฏิกรณ์ แต่มันก็เป็นภาระผูกพันทางจริยธรรม - หน้าที่ของเรา เราเป็นเหมือนกามิกาเซ่[51]

ลำดับความสำคัญที่ต้องทำทันทีคือการดับไฟบนหลังคาของสถ​​านีและบริเวณโดยรอบอาคารที่ติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 เพื่อป้องกันหมายเลข 3 และปล่อยให้ระบบระบายความร้อนหลักทำงานต่อไป ไฟถูกดับตอน 05:00 น. แต่นักผจญเพลิงจำนวนมากได้รับปริมาณรังสีที่สูงมาก ไฟภายในเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 ยังคงเผาไหม้จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 1986 เป็นไปได้ว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของกราไฟท์เผาจนหมด[26]: 73 

ไฟถูกดับด้วยความพยายามร่วมกันของเฮลิคอปเตอร์ที่เททราย ตะกั่ว ดินเหนียว และโบรอนที่ดูดซับนิวตรอนมากกว่า5,000ตันลงบนเครื่องปฏิกรณ์ที่กำลังเผาไหม้และมีการฉีดไนโตรเจนเหลว ผู้สร้างภาพยนตร์ชาวยูเครน Vladimir Shevchenko สามารถจับภาพของเฮลิคอปเตอร์ Mi-8 ในขณะที่ปีกหมุนหลักของมันชนเข้ากับสายเครนก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง ทำให้เฮลิคอปเตอร์ตกใกล้กับอาคารเตาปฏิกรณ์ที่ได้รับความเสียหายและทำให้ลูกเรือสี่คนของเครื่องเสียชีวิต[52] ตอนนี้เป็นที่รู้จักกันว่าแทบไม่มีตัวดูดซับนิวตรอนสามารถเข้าถึงแกนปฏิกรณ์[53]

จากประจักต์พยานที่ดูแลนักผจญเพลิงที่เกี่ยวข้องก่อนที่พวกเขาจะเสียชีวิต (ตามที่รายงานในซีรีส์ทางโทรทัศน์ CBC เรื่อง "พยาน") นักผจญเพลิงคนหนึ่งได้เล่าประสบการณ์ของเขากับรังสีว่า "มีรสชาติเหมือนโลหะ" และมีความรู้สึกคล้ายกับว่ามีหมุดและเข็มแทงทั่วใบหน้าของเขา (นี้จะคล้ายกับคำอธิบายที่ให้โดยหลุยส์ Slotin นักฟิสิกส์โครงการแมนฮัตตันที่เสียชีวิตหลายวันหลังจากได้รับรังสีเกินขนาดจนเป็นอันตรายถึงชีวิตจากอุบัติเหตุเนื่องจากวิกฤตที่แกนปฏิกรณ์)[54]

การระเบิดและไฟได้ส่งอนุภาคร้อนของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์และผลผลิตจากฟิชชั่นที่อันตรายอย่างมากขึ้นสู่อากาศ พร้อมกับไอโซโทปกัมมันตรังสีเช่นซีเซียม 137, ไอโอดีน 131, strontium-90 และกัมมันตรังสีอื่น ๆ ผู้อยู่อาศัยในบริเวณโดยรอบสังเกตเห็นเมฆกัมมันตรังสีในคืนของการระเบิด

อุปกรณ์ถูกหลอมรวมเข้าด้วกัน เช่น รถ​​เกลี่ยดินและรถหุ่นยนต์ควบคุมระยะไกลที่สามารถตรวจจับกิจกรรมของรังสีและสามารถบรรทุกเศษซากที่ร้อนได้ Valery Legasov (รองผู้อำนวยการคนแรกของสถ​​าบันพลังงานปรมาณู Kurchatov ในมอสโก) กล่าวในปี 1987 ว่า: "แต่เราได้เรียนรู้ว่าหุ่นยนต์ไม่ใช่วิธีการแก้ไขที่ดีสำหรับทุกอย่าง ในบริเวณที่มีรังสีสูงมาก หุ่นยนต์จะหยุดการเป็นหุ่นยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์หยุดการทำงาน"[55]

เส้นเวลา[แก้]
  • 01:26:03 - สัญญาณเตือนไฟไหม้เปิดใช้งาน
  • 01:28 - นักผจญเพลิงท้องถิ่นและพนักงานรักษาความปลอดภัยของ Pravik มาถึง
  • 01:35 - นักผจญเพลิงจาก Pri​​pyat และพนักงานรักษาความปลอดภัยของ Kibenok มาถึง
  • 01:40 - Telyatnikov มาถึง
  • 02:10 - ไฟบนหลังคาห้องโถงกังหันถูกดับ
  • 02:30 - ไฟบนหลังคาห้องโถงเครื่องปฏิกรณ์หลักถูกดับ
  • 03:30 - นักผจญเพลิงเคียฟมาถึง[56]
  • 04:50 - ไฟไหม้ส่วนใหญ่ถูกจำกัดบริเวณ
  • 06:35 - ไฟถูกดับทั้งหมด[57]

ยกเว้นไฟภายในเครื่องปฏิกรณ์ 4 ซึ่งยังคงเผาไหม้เป็นเวลาหลายวัน[26]: 73 

การประกาศและการอพยพ[แก้]

ภาพโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีลที่มองจากเมือง Pripyat

เมือง Pripyat ที่อยู่ใกล้เคียงไม่ได้มีการอพยพโดยทันที ชาวเมืองดำเนินธุรกิจไปตามปกติของพวกเขา ไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นแม้แต่น้อย อย่างไรก็ตาม ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการระเบิด หลายสิบคนเริ่มล้มป่วยลง ต่อมา พวกเขารายงานอาการปวดหัวอย่างรุนแรงและรู้สึกถึงรสชาติของโลหะในปากของพวกเขา พร้อมกับการไอและอาเจียนที่ไม่สามารถควบคุมได้[58]

เนื่องจากว่าโรงไฟฟ้าได้รับการดำเนินการโดยหน่วยงานในมอสโก รัฐบาลของยูเครนจึงไม่ได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับอุบัติเหตุ[59] Valentyna Shevchenko ที่ขณะนั้นเป็นประธานคณะกรรมการบริหารของ Verkhovna Rada ของ SSR ของยูเครน, จำได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในของยูเครน นาย Vasyl Durdynets ได้โทรหาเธอที่ที่ทำงานเมื่อเวลา 09:00 น. เพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน; เพียงในตอนท้ายของการสนทนาเท่านั้นที่เขารายงานเพิ่มว่ามีไฟไหม้ที่โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีล แต่มันก็ถูกดับลงไปแล้วและทุกอย่างก็เรียบร้อย เมื่อ Shevchenko ถามว่า "ประชาชนเป็นอย่างไรบ้าง?" เขาตอบว่าไม่มีอะไรจะต้องเป็นกังวล: "บางคนกำลังเฉลิมฉลองงานแต่งงาน บางคนกำลังทำสวนและคนอื่น ๆ กำลังตกปลาในแม่น้ำ Pripyat" [59] จากนั้น Shevchenko ได้พูดกับ Volodymyr Shcherbytsky หัวหน้าคณะกรรมการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์ยูเครน (CPU) และประมุขแห่งรัฐโดยพฤตินัย Shcherbytsky กล่าวว่าเขาคาดว่าคณะผู้แทนของคณะกรรมการของรัฐจะนำโดยรองประธานสภารัฐมนตรีของสหภาพโซเวียต[59]

คณะกรรมการถูกจัดตั้งขึ้นในวันเดียวกัน (26 เมษายน) เพื่อตรวจสอบการเกิดอุบัติเหตุ นำโดย Valery Legasov รองผู้อำนวยการคนที่หนึ่งของสถาบันพลังงานปรมาณู Kurchatov และร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญนิวเคลียร์ชั้นนำ Evgeny Velikhov, นักอุตุนิยมวิทยาน้ำ ยูริ อิสราเอล, นักรังสี Leonid Ilyin และอื่น ๆ พวกเขาบินไปยังสนามบินนานาชาติ Boryspil และมาถึงที่โรงไฟฟ้​​าในช่วงเย็นของวันที่ 26 เมษายน[59] ณ เวลานั้น คนสองคนเสียชีวิตแล้วและอีก 52 คนถูกนำส่งโรงพยาบาล คณะผู้แทนในไม่ช้ามีหลักฐานเพียงพอที่ว่าเครื่องปฏิกรณ์ถูกทำลายแล้วและระดับที่สูงมากของรังสีได้ก่อให้เกิดการป่วยเจ็บจำนวนมากจากการสัมผัสกับรังสี ในชั่วโมงแรก ๆ ของวันที่ 27 เมษายน มากกว่า 24 ชั่วโมงหลังจากการระเบิดครั้งแรก พวกเขาได้สั่งให้มีการอพยพของพลเมืองของ Pripyat ในตอนแรกมีการตัดสินใจที่จะอพยพประชากรเป็นเวลาสามวัน ต่อมามันถูกเปลี่ยนให้เป็นถาวร[59]

ประมาณ 11:00 น. ของวันที่ 27 เมษายน รถโดยสารมาถึง Pripyat เพื่อเริ่มต้นการอพยพ[59] การอพยพเริ่มเวลา 14:00 น ข้อความที่ตัดตอนมาแปลของการประกาศอพยพมีดังต่อไปนี้[60]}}

สำหรับความสนใจของผู้อยู่อาศัยใน Pripyat! สภาเทศบาลเมืองแจ้งให้คุณทราบว่าเนื่องจากอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล ในเมือง Pripyat สภาวะของรังสีในบริเวณใกล้เคียงกำลังทวีความรุนแรงขึ้น พรรคคอมมิวนิสต์ เจ้าหน้าที่ และกองกำลังติดอาวุธกำลังทำตามขั้นตอนที่จำเป็นเพื่อต่อสู้นี้ แต่ด้วยมุมมองที่จะทำให้คนมีความปลอดภัยและมีสุขภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ เด็ก ๆ จะเป็นความสำคัญสูงสุด เราต้องอพยพชั่วคราวประชาชนในเมืองที่ใกล้ที่สุดของเคียฟแคว้นปกครองตนเอง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เริ่มจาก 27 เมษายน 1986 02:00 pm แต่ละอพาร์ตเมนต์จะมีรถบัสในการบรรทุกพวกท่านภายใต้การดูแลโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของเมือง ขอแนะนำเป็นอย่างสูงให้นำเอกสารของท่าน บางทรัพย์สินส่วนบุคคลที่สำคัญ และจำนวนหนึ่งของอาหารที่อาจจำเป็นไปกับท่านด้วย ผู้บริหารระดับสูงของสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะและอุตสาหกรรมของเมืองได้ตัดสินใจตามรายชื่อของพนักงานที่จำเป็นจะต้องอยู่ใน Pripyat เพื่อที่จะรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพการทำงานที่ดี บ้านทุกหลังจะได้รับการพิทักษ์โดยตำรวจในช่วงระยะเวลาการอพยพ สหายทั้งหลาย เมื่อออกจากที่อยู่อาศัยของท่านชั่วคราว โปรดให้แน่ใจว่าท่านได้ปิดไฟ, อุปกรณ์ไฟฟ้าและน้ำและปิดหน้าต่าง โปรดรักษาความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อยในขั้นตอนของการอพยพระยะสั้นนี้ สัญญลักษณ์ ประกาศการอพยพใน Pripyat, 27 เมษายน 1986 (14:00)

เพื่อเร่งการอพยพ ชาวบ้านได้รับการบอกเล่าให้นำเฉพาะสิ่งที่เป็นสิ่งจำเป็น และมันจะมีอายุการใช้งานประมาณสามวัน ผลก็คือ ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวส่วนใหญ่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังและยังคงอยู่ที่นั่นจนทุกวันนี้ เมื่อเวลา 15:00 ประชาชน 53,000 คนได้อพยพไปยังหมู่บ้านต่าง ๆ ของภูมิภาคเคียฟ[59] วันรุ่งขึ้น การเจรจาเริ่มขึ้นเพื่ออพยพผู้คนจากเขตในรัศมี 10 กม[59] สิบวันหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ พื้นที่อพยพได้มีการขยายออกไปถึง 30 กม. (19 ไมล์)[61]: 115, 120–1  "เขตยกเว้น" (อังกฤษ: exclusion zone) นี้ยังคงเป็นอย่างนั้นนับตั้งแต่นั้นมา แม้ว่ารูปร่างของมันมีการเปลี่ยนแปลงและขนาดของมันได้รับการขยายออกไป

การอพยพเหล่านี้จริง ๆ แล้วมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง นั่นคือ เป็นการเคลื่อนย้ายผู้คนไปยังพื้นที่ของการขาดแคลนแรงงานในเบลารุสและยูเครน[61]: 90 

การอพยพเริ่มมานานก่อนที่การเกิดอุบัติเหตุจะเป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนทั่วสหภาพ เฉพาะในวันที่ 28 เมษายน หลังจากที่ระดับรังสีเปิดการเตือนภัยที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Forsmark ในประเทศสวีเดน[62] ที่อยู่ห่างจากโรงงานเชียร์โนบีลกว่า 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) สหภาพโซเวียตก็ยอมรับกับสาธารณชนว่าอุบัติเหตุได้เกิดขึ้น เมื่อเวลา 21:02 น. ของเย็นวันนั้น มีการอ่านประกาศเป็นเวลา 20 วินาทีในรายการข่าวโทรทัศน์ Vremya:[63][64]

มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล หนึ่งในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ได้รับความเสียหาย ผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุกำลังได้รับการแก้ไข ความช่วยเหลือได้ถูกส่งไปให้สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบ คณะกรรมการสืบสวนได้รับการจัดตั้งขึ้น สัญลักษณ์ Vremya, 28 เมษายน 1986 (21:00)[63]

นี่คือทั้งหมดของประกาศของการเกิดอุบัติเหตุ ที่ทำเสร็จเรียบร้อยสองวันหลังจากการระเบิด ในตอนนั้น สำนักงานโทรเลขของสหภาพโซเวียต (TASS) ได้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกาะทรีไมล์และอุบัติเหตุนิวเคลียร์อื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา การหารือนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลยุทธ์ทั่วไปของโซเวียตที่เน้นภัยพิบัติต่างประเทศเมื่ออาจเกิดขึ้นสักครั้งในสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการท่านหนึ่งได้กล่าวกับผู้ฟังรายการโดยชี้ให้เห็นถึงความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น[65] ต่อมาการกระจายเสียงของสถานีวิทยุของรัฐได้ถูกแทนที่ด้วยดนตรีคลาสสิก ซึ่งเป็นวิธีการทั่วไปของการเตรียมความพร้อมของประชาชนในการประกาศถึงโศกนาฏกรรมหนึ่ง[64]

ประมาณช่วงเวลาเดียวกัน สำนักข่าวเอบีซีออกรายงานเกี่ยวกับภัยพิบัติ[66]

Shevchenko เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐยูเครนคนแรกที่มาถึงสถานที่เกิดเหตุภัยพิบัติในตอนเช้าของวันที่ 28 เมษายน ที่นั่นเธอได้พูดคุยกับสมาชิกของบุคลากรทางการแพทย์และผู้คน ในขณะที่พวกเขาอยู่ที่มีความสงบและมีความหวังว่าในไม่ช้าพวกเขาจะได้กลับบ้านของพวกเขา Shevchenko กลับบ้านเกือบเที่ยงคืน ระหว่างทางเธอหยุดที่ด่านตรวจสอบรังสีใน Vilcha, หนึ่งในด่านแรก ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นในเร็ว ๆ นี้หลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[59]

มีการแจ้งเตือนจากมอสโกเป็นว่าไม่มีเหตุผลที่จะเลื่อนการฉลองวันแรงงานนานาชาติ 1 พฤษภาคมในเคียฟ (รวมทั้งขบวนพาเหรดประจำปี) แต่ในการประชุมวันที่ 30 เมษายนของสำนักทางการเมืองของคณะกรรมการกลางของ CP(b)U ที่จัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับการวางแผนสำหรับการเฉลิมฉลองที่กำลังจะเกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้รายงานว่าระดับรังสีในเมืองเคียฟเป็นปกติ ในที่ประชุมซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อเวลา 18.00 น. มีการตัดสินใจที่จะลดการเฉลิมฉลองปกติจาก 3.5-4 ชม.ลงมาต่ำกว่า 2 ชม.[59]

ความเสี่ยงต่อการระเบิดของไอน้ำ[แก้]

สองชั้นของสระน้ำเดือดเป็นฟองใต้เครื่องปฏิกรณ์ทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สำหรับการสูบน้ำระบายความร้อนฉุกเฉินและเป็นระบบการปราบปรามความดันที่มีความสามารถในการกลั่นไอน้ำในกรณีที่ท่อไอน้ำขนาดเล็กแตก ชั้นที่สามเหนือพวกมันแต่อยู่ใต้เครื่องปฏิกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นอุโมงค์ไอน้ำ ไอน้ำที่ปลดปล่อยออกมาจากท่อที่หักก็ควรที่จะเข้าสู่อุโมงค์ไอน้ำและถูกนำเข้าไปในสระน้ำฟองผ่านชั้นของน้ำ หลังจากภัยพิบัติ สระน้ำและห้องฐานรากถูกน้ำท่วมเพราะท่อน้ำที่ใช้ระบายความร้อนมันแตกและมีการสะสมของน้ำดับเพลิงและทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะระเบิดด้วยไอน้ำที่ร้ายแรง

กราไฟท์ เชื้อเพลิงและวัสดุอื่น ๆ ข้างต้นที่ยังคุกรุ่นอยู่ที่อุณหภูมิมากกว่า 1,200 องศาเซลเซียส[67] เริ่มต้นติดไฟผ่านชั้นเครื่องปฏิกรณ์และผสมเข้ากับคอนกรีตที่หลอมละลายจากเยื่อบุปฏิกรณ์ ทำให้เกิด corium ซึ่งเป็นวัสดุกัมมันตรังสีกึ่งของเหลวเปรียบได้กับลาวา[68][69] ถ้าส่วนผสมนี้ละลายผ่านพื้นห้องลงไปในสระน้ำ ก็กลัวว่ามันอาจจะสร้างระเบิดไอน้ำที่ร้ายแรงที่อาจจะดีดวัสดุกัมมันตรังสีเพิ่มเติมออกจากเครื่องปฏิกรณ์ มันจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องระบายน้ำในสระออก[70]

สระที่น้ำมีสภาพเป็นฟองอาจจะมีการระบายน้ำออกโดยการเปิดประตูน้ำ อาสาสมัครในชุดดำน้ำดำผ่านน้ำกัมมันตรังสีเพื่อเปิดประตู พวกเหล่านี้เป็นวิศวกรอเล็กซี่ Ananenko (เค้ารู้ว่าวาล์วอยู่ที่ไหน) และ Valeri Bezpalov พร้อมกับชายคนที่สาม บอริส Baranov ที่ให้แสงสว่างแก่พวกเขาด้วยแสงจากหลอดไฟ แต่หลอดไฟของเขาก็ใช้ไม่ได้ ปล่อยให้พวกเขาต้องคลำหาวาล์วด้วยความรู้สึกของพวกเขาเองไปตามท่อ[71] ทุกคนกลับขึ้นไปยังผิวน้ำและตามคำกล่าวของ Ananenko เพื่อนร่วมงานของพวกเขากระโดดด้วยความสุขเมื่อพวกเขาได้ยินว่าพวกเขาได้จัดการเพื่อเปิดวาล์วเรียบร้อยแล้ว เมื่อโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำ ทั้งสามคนมีอาการบาดเจ็บเรียบร้อยแล้วจากความเจ็บป่วยจากรังสีและต่อมาก็เสียชีวิต[72] บางแหล่งข้อมูลอ้างอย่างไม่ถูกต้องว่าพวกเขาเสียชีวิตในโรงงาน[71]

เป็นไปได้ว่ารังสีอัลฟาที่รุนแรงเป็นผู้ที่ทำการสลายโมเลกุล (อังกฤษ: radiolysis (hydrolyzed)) ของน้ำให้กลายเป็นละลายสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ที่มีค่า pH ต่ำที่คล้ายกับกรดที่ถูกออกซิไดซ์[73] การเปลี่ยนน้ำที่เป็นฟองในสระน้ำให้เป็น H2O2 ได้รับการยืนยันจากการปรากฏตัวในลาวาเชียร์โนบีลของ studtite และ metastudtite [74][75] ที่เป็นแร่ธาตุสองอย่างนี้เท่านั่นที่มีเปอร์ออกไซด์[76]

จากนั้นจึงใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงเพื่อระบายน้ำออกจากชั้นฐานราก การดำเนินการไม่เสร็จจนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม หลังจากที่ 20,000 เมตริกตันของน้ำกัมมันตภาพรังสีสูงถูกสูบออก

เมื่อสระฟองน้ำหายไป การหลอมละลายก็มีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดการระเบิดของไอน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อทำเช่นนั้น แกนที่หลอมละลายตอนนี้จะต้องไปให้ถึงระดับพื้นผิวของน้ำใต้ดิน (อังกฤษ: water table) ที่อยู่ด้านล่างของเครื่องปฏิกรณ์ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดสิ่งนี้ มีการตัดสินใจที่จะแช่แข็งแผ่นดินเบื้องล่างเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งยังช่วยรักษาเสถียรภาพของฐานรากอีกด้วย เมื่อใช้อุปกรณ์ขุดเจาะน้ำมัน การฉีดไนโตรเจนเหลวจะเริ่มต้นในวันที่ 4 พฤษภาคม คาดว่าจะต้องใช้ไนโตรเจนเหลว 25 ตันต่อวันเพื่อแช่แข็งดินที่ -100 °C [26]: 59  ความคิดนี้[77] ต่อมาถูกยุบทิ้งและในห้องด้านล่างที่จะทำการติดตั้งระบบระบายความร้อนก็ถูกกลบด้วยคอนกรีต

การกำจัดเศษซาก[แก้]

โรงไฟฟ้​​าเชียร์โนบีลในปี 2003 กับโครงสร้างบรรจุโลงศพหิน (อังกฤษ: sarcophagus containment structure)

ส่วนที่เลวร้ายที่สุดของเศษซากกัมมันตรังสีถูกเก็บรวบรวมภายในสิ่งที่เหลืออยู่ของเครื่องปฏิกรณ์ จำนวนมากของมันถูกเก็บโกยไว้ข้างในโดยผู้ชำระบัญชี (อังกฤษ: liquidators) ที่ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันน้ำหนักมาก (ถูกขนานนามว่า "หุ่นยนต์ชีวภาพ" (อังกฤษ: bio-robots) โดยทหาร) คนงานเหล่านี้จะสามารถใช้เวลาได้ครั้งละไม่เกิน 40 วินาทีเท่านั้นในช่วงเวลาที่ทำงานอยู่บนหลังคาของอาคารโดยรอบเพราะปริมาณที่สูงมากของการฉายรังสีที่ปล่อยออกมาจากแท่งกราไฟท์และเศษซากอื่น ๆ ตัวเครื่องปฏิกรณ์เองก็ถูกปกคลุมด้วยถุงทราย ตะกั่วและกรดบอริกที่หย่อนลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ ประมาณ 5000 ตันของวัสดุถูกหย่อนลงไปในช่วงสัปดาห์หลังการเกิดอุบัติเหตุ

ในขณะที่ยังคงมึความกลัวว่าเครื่องปฏิกรณ์อาจจะกลับเข้าสู่สภาวะปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์อย่างยั่งยืนด้วยตัวเองและระเบิดขึ้นอีก โครงสร้างบรรจุใหม่จึงมีการวางแผนที่จะป้องกันไม่ให้ฝนสาดและไปกระตุ้นให้เกิดการระเบิด และเพื่อป้องกันการปลดปล่อยต่อไปของวัสดุกัมมันตรังสี นี่เป็นงานวิศวกรรมโยธาใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับคนงานก่อสร้างหนึ่งในสี่ล้านคนที่ทุกคนมาถึงขีดจำกัดของรังสีตลอดช่วงชีวิตอย่างเป็นทางการ[53] เมื่อเดือนธันวาคม 1986 โลงศพคอนกรีตขนาดใหญ่ก็ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดผนึกเครื่องปฏิกรณ์และชิ้นส่วนของมัน[78] เหรียญรางวัล "ทำความสะอาด" ที่มีเอกลักษณ์ได้ถูกมอบให้กับคนงาน[79]

ยานพาหนะที่ผู้ชำระบัญชีเหล่านี้ใช้จำนวนมากยังคงจอดอยู่ในสนามในพื้นที่เชียร์โนบีล[80]

ในระหว่างการก่อสร้างโลงศพ ทีมงานทางวิทยาศาสตร์กลับเข้าไปที่เครื่องปฏิกรณ์อีกโดยเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนที่ถูกขนานนามว่า "การเดินทางที่ซับซ้อน" เพื่อค้นหาและจัดการกับเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในทางที่มันจะไม่สามารถทำให้เกิด​​การระเบิดซ้ำขึ้นอีก นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เก็บรวบรวมแท่งเ​​ชื้อเพลิงเย็นด้วยมือ แต่ความร้อนที่รุนแรงก็ยังคงเล็ดลอดออกมาจากแกน อัตราของการแผ่รังสีในส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้รับการตรวจวัดโดยการเจาะรูลงไปในเครื่องปฏิกรณ์และใส่ท่อเครื่องตรวจจับโลหะที่ยาวลงไป นักวิทยาศาสตร์ได้สัมผัสกับระดับที่สูงของการฉายรังสีและฝุ่นกัมมันตรังสี[53]

หลังจากหกเดือนของการสืบสวน ในเดือนธันวาคมปี 1986 ด้วยความช่วยเหลือของกล้องระยะไกลพวกเขาค้นพบมวลของสารกัมมันตรังสีอย่างเข้มข้นในห้องใต้ดินของหน่วยที่สี่ ขนาดกว้างมากกว่าสองเมตรและมีน้ำหนักหลายร้อยตัน ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า "เท้าช้าง" ตามลักษณะรอยย่นของมัน มวลดังกล่าวประกอบด้วยทราย แก้วและเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จำนวนมากที่รั่วออกมาจากเครื่องปฏิกรณ์ คอนกรีตภายใต้เครื่องปฏิกรณ์ถูกทำให้ร้อนด้วยไอน้ำและถูกทำให้แตกโดยลาวาที่แข็งตัวและรูปแบบที่น่าตื่นเต้นและไม่รู้จักที่เรียกว่าผลึก chernobylite มันก็สรุปได้ว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดเกิดขึ้นอีก[53]

ผู้ชำระบัญชีทำงานภายใต้สภาวะที่น่าเสียใจ การแจ้งเตือนที่แย่มากและมีการป้องกันที่ไม่ดี พวกเขาหลายคนแม้ไม่ใช่ส่วนมากก็เผชิญกับรังสีเกินขีดจำกัดของความปลอดภัย[61]: 177–183 [81]: 2  บางคนเกินขีดจำกัดไปกว่า 100 เท่าที่นำไปสู่​​ความตายอย่างรวดเร็ว[61]: 187 

โซนที่ปนเปื้อนอย่างเป็นทางการกลายเป็นเวทีให้กับความพยายามที่จะต้องทำความสะอาดขนาดใหญ่ที่ต้องกินเวลาถึงเจ็ดเดือน[61]: 177–183  เหตุผลอย่างเป็นทางการสำหรับความพยายามของการกำจัดการปนเปื้อน (และอันตราย) อย่างเนิ่น ๆ เช่นนั้น แทนที่จะรอให้มันสลายตัวตามธรรมชาติ ก็คือการที่ที่ดินต้องถูกส่งกลับคืนให้ประชาชนใหม่และนำกลับมาใช้ในการเพาะปลูก อันที่จริงภายในสิบห้าเดือน 75% ของที่ดินได้ถูกใช้ในการเพาะปลูก แม้ว่าจะมีเพียงหนึ่งในสามของหมู่บ้านที่ถูกอพยพออกไปเท่านั้นที่มีการตั้งถิ่นฐานขึ้นใหม่ กองกำลังป้องกันจะต้องทำงานอย่างหนัก ดินแดนแห่งนี้ยังมีมูลค่าทางการเกษตรที่ร่อแร่ อ้างถึงนักประวัติศาสตร์เดวิด มาเปิลส์ ฝ่ายบริหารมีวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาสำหรับการทำความสะอาด พวกเขาปรารถนาที่จะป้องกันไว้ก่อนในความตื่นตระหนกเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และแม้กระทั่งการรีสตาร์ทโรงไฟฟ้าเชียร์โนบีล[61]: 78–9, 87, 192–3 

สาเหตุ[แก้]

มีสองคำอธิบายอย่างเป็นทางการของการเกิดอุบัติเหตุ

การผิดพลาดของผู้ควบคุมเครื่อง[แก้]

คำอธิบายอย่างเป็นทางการครั้งแรกของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งต่อมาได้รับการยอมรับว่าเป็นความผิดพลาด ถูกตีพิมพ์ในเดือนสิงหาคมปี 1986 มันตำหนิผู้ควบคุมเครื่องของโรงไฟฟ้​​า เพื่อตรวจสอบสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ IAEA ได้ตั้งกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มที่ปรึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยนิวเคลียร์ระหว่างประเทศ (INSAG) ซึ่งในรายงานของกลุ่มนี้ในปี 1986 INSAG-1 โดยรวมยังสนับสนุนมุมมองนี้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จัดให้โดยโซเวียตและจากคำบอกเล่าจากปากของผู้เชี่ยวชาญ[82] ในมุมมองนี้ การเกิดอุบัติเหตุแบบภัยพิบัติมีสาเหตุมาจากการละเมิดขั้นต้นของกฎและระเบียบในการดำเนินงาน "ในระหว่างการเตรียมความพร้อมและการทดสอบของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันภายใต้เงื่อนไขลดความเร็วโดยใช้โหลดเสริม บุคลากรตัดการเชื่อมต่อชุดของระบบการป้องกันทางด้านเทคนิคและการละเมิดบทบัญญัติความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่สำคัญที่สุดสำหรับการดำเนินการการฝึกฝนทางเทคนิค"[83]: 311 

ความผิดพลาดของผู้ควบคุมเครื่องอาจจะเกิดจากการขาดความรู้ด้านฟิสิกส์ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และวิศวกรรมนิวเคลียร์ รวมทั้งการขาดประสบการณ์และการฝึกอบรม ตามข้อกล่าวหาเหล่านี้ ในช่วงเวลาของการเกิดอุบัติเหตุ เครื่องปฏิกรณ์ดำเนินการในขณะที่ระบบความปลอดภัยที่สำคัญหลายอย่างถูกปิด ที่สะดุดตาที่สุดได้แก่ระบบทำความเย็นแกนฉุกเฉิน (ECCS) LAR (ระบบควบคุมอัตโนมัติท้องถิ่น) และ AZ (ระบบลดพลังงานฉุกเฉิน) บุคลากรมีความเข้าใจไม่เพียงพอในรายละเอียดของขั้นตอนทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และเจตนาที่จะละเว้นข้อบังคับของการเสร็จสิ้นการทดสอบความเร็ว[83]

นักพัฒนาของโรงปฏิกรณ์พิจารณาว่าการรวมกันของหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้มีการสร้างระบบการป้องกันเหตุฉุกเฉินที่มีความสามารถในการป้องกันการรวมกันของหลายเหตุการณ์ที่นำไปสู่​​วิกฤต เหตุการณ์นั้นคือการปิดการใช้งานอย่างตั้งใจของอุปกรณ์ป้องกันฉุกเฉินรวมกับการละเมิดของขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนั้นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุคือการรวมกันที่ไม่น่าเป็นไปได้อย่างยิ่งของการละเมิดกฎบวกกับงานประจำของการดำเนินงานที่ยอมให้เกิดโดยเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้า[83]: 312 

ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนี้ ข้อบกพร่องหลายอย่างในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์และในกฎระเบียบของการดำเนินงานที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุถูกแยกไว้ต่างหากและถูกกล่าวถึงอย่างไม่เป็นทางการเท่านั้น ข้อสังเกตที่วิกฤตอย่างจริงจังครอบคลุมเพียงแค่เป็นคำถามทั่วไปเท่านั้นและไม่ได้พูดถึงเหตุผลที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการเกิดอุบัติเหตุ ภาพทั่วไปที่ตามมาเกิดขึ้นจากการสังเกตเหล่านี้ ความผิดปกติเกี่ยวกับขั้นตอนหลายอย่างยังช่วยทำให้เกิดอุบัติเหตุอีกด้วย หนึ่งในนั้นก็คือการสื่อสารที่ไม่เพียงพอระหว่างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและผู้ควบคุมเครื่องที่รับผิดชอบในการทดสอบที่กำลังดำเนินไปในคืนนั้น

ผู้ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ได้ปิดระบบความปลอดภัยลงไปจนถึงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าซึ่งการทดสอบกำลังดำเนินการอยู่ คอมพิวเตอร์กระบวนการหลัก-SKALA กำลังทำงานในลักษณะที่ว่าคอมพิวเตอร์ควบคุมหลักจะไม่สามารถปิดเครื่องปฏิกรณ์หรือแม้กระทั่งลดระดับพลังงาน ปกติแล้วเครื่องปฏิกรณ์ควรจะเริ่มต้นการเสียบแท่งควบคุมทั้งหมด เช่นเดียวกันคอมพิวเตอร์ก็ควรจะเริ่มต้น "ระบบป้องกันแกนฉุกเฉิน" ที่เสียบ 24 แท่งควบคุมเข้าไปในโซนที่ใช้งานภายใน 2.5 วินาที ซึ่งยังคงช้าตามมาตรฐานปี 1986 การควบคุมทั้งหมดถูกย้ายจากกระบวนการของคอมพิวเตอร์ไปยังผู้ควบคุมเครื่องที่เป็นมนุษย์

ในเรื่องของการปลดการเชื่อมต่อของระบบความปลอดภัย Valery Legasov กล่าวในปี 1987 ว่า "(มัน)เป็นเหมือนกับนักบินของเครื่องบินทำการทดลองกับเครื่องยนต์ในระหว่างการบิน"[55]

มุมมองนี้จะสะท้อนให้เห็นในสื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับและในงานศิลปะในแนวความคิดของอุบัติเหตุเชียร์โนบีลที่ปรากฏทันทีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[26] และยังคงโดดเด่นเป็นเวลานานในจิตสำนึกของประชาชนและในสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่นิยม

ข้อบกพร่องที่พบในคู่มือการใช้งานและการออกแบบ[แก้]

ห้องโถงปฏิกรณ์หมายเลข 1 โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีล ยูเครน
แผนภาพที่เรียบง่ายของความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการออกแบบของเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ของเชียร์โนบีลกับเครื่องปฏิกรณ์น้ำเบา (LWR) ที่เป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่พบมากที่สุด 1. การใช้ตัวหน่วงนิวตรอนที่ทำด้วยกราไฟท์ในเครื่องปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ 2. ค่าสัมประสิทธิ์โมฆะของไอน้ำเชิงบวกที่ทำให้เกิดการปั่นป่วนของพลังงานซึ่งระเบิดตัวเครื่องปฏิกรณ์ 3. แท่งควบคุมเคลื่อนที่ช้ามาก ใช้เวลา 18-20 วินาทีเพื่อที่จะทำงานได้ ด้วยแท่งควบคุมที่มีปลายเป็นกราไฟท์เพื่อเป็นตัวหน่วง ดังนั้นอัตราการฟิชชันจึงเพิ่มขึ้นในจุดเริ่มต้นของการเสียบแท่งควบคุม 4. ไม่มีอาคารบรรจุที่ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก[32][84][85]

ในปี 1991 กรรมการคนหนึ่งของคณะกรรมการแห่งรัฐสหภาพโซเวียตเพื่อการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรมและการไฟฟ้านิวเคลียร์ได้มีการประเมินใหม่ถึงสาเหตุและสถานการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีลและได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกใหม่และข้อสรุป บนพื้นฐานของมัน ในปี 1992 กลุ่มที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยนิวเคลียร์ของ IAEA (INSAG) ได้ตีพิมพ์รายงานเพิ่มเติม INSAG-7[30] ซึ่งตรวจสอบ "ส่วนหนึ่งของรายงาน INSAG-1 ในที่ซึ่งความสนใจหลักได้ให้สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ" และได้รวมเข้ากับรายงานของสำนักงานคณะกรรมการกำกับรัฐสหภาพโซเวียตตามภาคผนวกที่หนึ่ง[30]

ตามรายงานของ INSAG ส่วนใหญ่ของข้อกล่าวหาก่อนหน้านี้ได้กล่าวหาพนักงานว่าละเมิดกฎระเบียบชึ่งเป็นที่รับรู้ว่าอาจเป็นการผิดพลาด บนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับในเดือนสิงหาคมปี 1986 ที่ไม่ถูกต้อง หรือการละเมิดกฎระเบียบเกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุน้อยมาก รายงานนี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองอื่นของเหตุผลหลักสำหรับการเกิดอุบัติเหตุที่นำเสนอในภาคผนวกที่หนึ่ง ตามหัวข้อนี้การกระทำของผู้ควบคุมเครื่องในการปิดฉุกเฉินระบบทำความเย็นของแกน มีการรบกวนการตั้งค่าของอุปกรณ์ป้องกันและการปิดกั้นระดับและความดันในถังแยก (อังกฤษ: separator drum) การกระทำเหล่านี้ไม่ได้นำไปสู่​​สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแต่แรกและขนาดของอุบัติเหตุ ถึงแม้ว่าพวกมันอาจเป็นการละเมิดกฎระเบียบก็ตาม การปิดระบบฉุกเฉินถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันทั้งสองเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไม่ให้มันหยุดและไม่ได้เป็นการละเมิดกฎระเบียบ[30]

ปัจจัยที่เป็นมนุษย์มีส่วนในการสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่​​การเกิดภัยพิบัติ ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงการเดินเครื่องปฏิกรณ์ในระดับพลังงานที่ต่ำ คือต่ำกว่า 700 MW ซึ่งเป็นระดับที่มีการบันทึกไว้ในโปรแกรมการทดสอบเรื่องการลดความเร็ว และการดำเนินงานที่มีขนาดเล็กของส่วนต่างของปฏิกิริยาการดำเนินงาน (อังกฤษ: operational reactivity margin (ORM)) แม้จะมีการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญโซเวียตในปี 1986 กฎระเบียบนั้นไม่ได้ห้ามการดำเนินงานของเครื่องปฏิกรณ์ที่ระดับพลังงานต่ำนี้[30]: 18 

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบได้มีการห้ามการดำเนินงานของเครื่องปฏิกรณ์ที่ความต่างเล็ก ๆ ของการเกิดปฏิกิริยา แต่ "การศึกษาหลังอุบัติเหตุได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการที่บทบาทที่แท้จริงของ ORM ที่สะท้อนให้เห็นในขั้นตอนการปฏิบัติและเอกสารการออกแบบสำหรับ RBMK-1000 มีความขัดแย้งกันอย่างมาก" และนอกจากนี้ "ORM ก็ไม่ได้มีการปฏิบัติในฐานะที่เป็นขีดจำกัดด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การละเมิด ORM อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้"[30]: 34–25 

ตามรายงานของ INSAG-7, หัวหน้าได้ให้เหตุผลสำหรับการเกิดอุบัติเหตุว่าเป็นความแปลกประหลาดของฟิสิกส์และในการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์ เหตุผลดังกล่าวมีสองประการดังนี้: [30]: 18 

  • เครื่องปฏิกรณ์มีค่าสัมประสิทธิ์โมฆะของการเกิดปฏิกิริยา (อังกฤษ: void coefficient of reactivity) เชิงบวกขนาดใหญ่ที่เป็นอันตราย ค่าสัมประสิทธิ์โมฆะเป็นการวัดวิธีการที่เครื่องปฏิกรณ์ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของการก่อตัวเป็นไอน้ำในน้ำหล่อเย็น ส่วนใหญ่ของการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์อื่น ๆ จะมีค่าสัมประสิทธิ์เป็นเชิงลบ นั่นคืออัตราการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์จะช้าเมื่อฟองไอน้ำก่อตัวในน้ำหล่อเย็น เนื่องจากเมื่อไอในเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้น จะมีนิวตรอนจำนวนไม่มากชะลอตัวลง นิวตรอนที่เร็วกว่าก็มีโอกาสที่จะแยกอะตอมยูเรเนียมได้น้อย ดังนั้นเครื่องปฏิกรณ์จะผลิตพลังงานน้อยลง (เป็น negative feedback) อย่างไรก็ตาม เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ RBMK ของเชียร์โนบีลใช้แท่งกราไฟท์แข็งเป็นตัวหน่วงนิวตรอน (อังกฤษ: neutron moderator) เพื่อชะลอนิวตรอนและน้ำที่อยู่ในนั้นให้ช้าลง ในทางตรงกันข้าม มันทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดซับนิวตรอนที่เป็นอันตราย ดังนั้นนิวตรอนจะถูกทำให้ชะลอตัวลงแม้ว่าไอน้ำถูกเป่าให้เป็นฟองอากาศในน้ำ นอกจากนี้เนื่องจากไอน้ำดูดซับนิวตรอนได้น้อยกว่าน้ำเป็นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นของความเข้มขึ้นของการกลายเป็นไอหมายความว่ามีนิวตรอนที่จะสามารถแยกอะตอมของยูเรเนียมได้มากขึ้น ทำให้พลังงานส่งออกของเครื่องปฏิกรณ์เพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์นี้ทำให้การออกแบบของ RBMK ไม่แน่นอนอย่างมากที่ระดับพลังงานต่ำ และมีแนวโน้มที่จะมีการผลิตพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างกระทันหันจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย พฤฒิกรรมนี้เป็นแบบค้านกับธรรมชาติ (อังกฤษ: counter-intuitive) และคุณสมบัติของเครื่องปฏิกรณ์แบบนี้เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ไม่รู้จัก
  • ข้อบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้นอย่างหนึ่งคือการออกแบบของแท่งควบคุมที่จะถูกเสียบเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์เพื่อที่จะชะลอการเกิดปฏิกิริยา ในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์แบบ RBMK ส่วนล่างของแต่ละแท่งควบคุมถูกทำจากกราไฟท์และสั้นกว่าที่จำเป็น 1.3 เมตร และในที่ว่างที่อยู่ใต้แท่งเหล่านั้นเ​​ป็นช่องกลวงที่เต็มไปด้วยน้ำ ส่วนบนของแท่ง ซึ่งเป็นส่วนการทำงานจริงที่ดูดซับนิวตรอนและหยุดปฏิกิริยา ถูกทำจากโบรอนคาร์ไบด์ ด้วยการออกแบบแบบนี้ เมื่อแท่งเหล่านั้นถูกเสียบเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์จากตำแหน่งบนสุด

ส่วนที่เป็นกราไฟท์เริ่มจะแทนที่น้ำบางส่วน (ซึ่งน้ำนั้นดูดซับนิวตรอนตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น) ส่งผลให้นิวตรอนน้อยลงจะถูกดูดซึมในตอนแรก ดังนั้นสำหรับไม่กี่วินาทีแรกของการใช้งานก้านควบคุม การส่งออกพลังงานเครื่องปฏิกรณ์จะเพิ่มขึ้น แทนที่จะลดลงตามที่ต้องการ ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบค้านธรรมชาติและผู้ควบคุมเครื่องปฏิกรณ์ไม่รู้จัก

  • ข้อบกพร่องอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ถูกตั้งข้อสังเกตในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ RBMK-1000 เช่นเดียวกับสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและสิ่งที่เป็นความต้องการด้านความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

การวิเคราะห์มุมมอง[แก้]

มุมมองทั้งสองอย่างถูกนำไปชักชวนอย่างมากจากกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้งนักออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ บุคลากรของโรงไฟฟ้​​า และรัฐบาลของโซเวียตและของยูเครน ตามการวิเคราะห์ของ IAEA ในปี 1986 สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุคือการปฏิบัติของผู้ควบคุมเครื่อง แต่ตามการวิเคราะห์ฉบับปรับปรุงของ IAEA ปี 1993 สาเหตุหลักคือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ฯ[86] เหตุผลหนึ่งที่มีมุมมองที่ขัดแย้งดังกล่าวและการอภิปรายมากเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีลก็คือข้อมูลหลักที่ครอบคลุมภัยพิบัติ ตามที่ได้รับการบันทึกโดยเครื่องมือและเซ็นเซอร์ ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างสมบูรณ์ในแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ

อีกครั้งหนึ่ง ปัจจัยมนุษย์จะต้องได้รับการพิจารณาว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการก่อให้เกิดอุบัติเหตุ INSAG ตั้งข้อสังเกตว่าทั้งกฎระเบียบของการดำเนินงานและพนักงานได้จัดการการปิดการใช้งานระบบการป้องกันเครื่องปฏิกรณ์ได้อย่างง่ายดายพอเพียง: เป็นสักขีพยานในระยะเวลาซึ่ง ECCS ไม่ทำงานในขณะที่เครื่องปฏิกรณ์ได้รับการดำเนินการที่พลังงานครึ่งเดียว มุมมองของ INSAG คือความเบี่ยงเบนไปจากโปรแกรมการทดสอบของทีมงานปฏิบัติควรจะต้องถูกตำหนิเป็นส่วนใหญ่ "การเปลี่ยนแปลงที่น่าตำหนิและไม่ได้รับการอนุมัติส่วนใหญ่ในขั้นตอนการทดสอบมีการกระทำอย่างจงใจ แม้จะรู้ว่าโรงไฟฟ้าจะอยู่ในสภาพที่แตกต่างจากที่ตั้งใจไว้สำหรับการทดสอบ"[30]: 24 

เหมือนอย่างในรายงานของ INSAG-1 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ความสนใจอย่างใกล้ชิดอยู่ในรายงาน INSAG-7 ที่ "วัฒนธรรมความปลอดภัย" (ในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ) ในทุกระดับยังไม่เพียงพอ ความบกพร่องในวัฒนธรรมความปลอดภัยโดยธรรมชาติไม่เพียงแต่ในขั้นตอนการดำเนินงานเท่านั้น แต่ยัง และมีขอบเขตไม่น้อย ระหว่างการทำกิจกรรมในขั้นตอนอื่น ๆ ในช่วงชีวิตของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (รวมถึงการออกแบบ การวิศวกรรม การก่อสร้าง การผลิต, และการควบคุม) คุณภาพที่ไม่ดีของขั้นตอนการปฏิบัติการและคำแนะนำและตัวอักษรที่ขัดแย้งกันของพวกมัน ได้วางภาระหนักให้กับทีมงานผู้ปฏิบัติ รวมทั้งหัวหน้าวิศวกร "อุบัติเหตุอาจกล่าวได้ว่าได้มีการไหลจากวัฒนธรรมความปลอดภัยที่บกพร่อง ไม่เพียงแต่ที่โรงไฟฟ้าเชียร์โนบีลเท่านั้น แต่ตลอดการออกแบบ การดำเนินงาน และองค์กรกฎระเบียบของโซเวียตสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ที่มีอยู่ในเวลานั้น"[30]: 24 

ผลกระทบ[แก้]

บทความหลัก: ผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล

การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในประเทศและต่างประเทศ[แก้]

วัสดุกัมมันตรังสีถูกปล่อยออกจากเชียร์โนบีลมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาถึงสี่ร้อยเท่า ภัยพิบัตินี้ได้ปล่อยออกมา 1/100 ถึง 1/1000 ของปริมาณกัมมันตภาพรังสีทั้งหมดที่ปล่อยออกมาโดยการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงปี 1950s และ 1960s[87] ประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตรของที่ดินมีการปนเปื้อนอย่างมีนัยสำคัญด้วยฝุ่นละออง (อังกฤษ: fallout) ที่มีผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดกับภูมิภาคที่อยู่ในเบลารุส ยูเครนและรัสเซีย[88] ระดับการปนเปื้อนที่น้อยกว่าได้รับการตรวจพบทั่วทั้งยุโรปยกเว้นคาบสมุทรไอบีเรีย[17][89][90]

หลักฐานเริ่มแรกที่การปลดปล่อยขนาดใหญ่ของวัสดุกัมมันตรังสีได้กำลังส่งผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ ไม่ได้มาจากแหล่งที่มาจากโซเวียต แต่มาจากสวีเดน ในเช้าวันที่ 28 เมษายน[91] คนงานที่โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ Forsmark (ห่างจากเชียร์โนบีลประมาณ 1,100 กิโลเมตร (680 ไมล์)) พบว่ามีอนุภาคกัมมันตรังสีบนเสื้อผ้าของพวกเขา[92]

สวีเดนเป็นผู้ค้นหาแหล่งที่มาของกัมมันตภาพรังสี หลังจากที่พวกเขาได้พิจารณาแล้วว่าไม่มีการรั่วไหลที่โรงไฟฟ้าของสวีเดน ในตอนเที่ยงของวันที่ 28 เมษายน พวกเขาค้นพบเบาะแสแรกว่าเกิดปัญหานิวเคลียร์ร้ายแรงในทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ดังนั้นการอพยพของ Pripyat ในวันที่ 27 เมษายน หรือ 36 ชั่วโมงหลังจากการระเบิดครั้งแรกก็เสร็จสมบูรณ์อย่างเงียบ ๆ ก่อนที่ภัยพิบัติจะกลายเป็นที่รู้จักนอกสหภาพโซเวียต ในเวลานั้นการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีได้มีการวัดเรียบร้อยแล้วในฟินแลนด์ แต่การนัดหยุดงานของข้าราชการพลเรือนทำให้การตอบสนองและข่าวล่าช้า[93]

พื้นที่ของยุโรปที่มีการปนเปื้อน Caesium-137 (137Cs)[94]
ประเทศ 37–185 Becquerel(kBq)/m2 185–555 kBq/m2 555–1480 kBq/m2 >1480 kBq/m2
km2 % ของประเทศ กม2 % ของประเทศ กม2 % ของประเทศ กม2 % ของประเทศ
เบลารุส 29,900 14.4 10,200 4.9 4,200 2.0 2,200 1.1
ยูเครน 37,200 6.2 3,200 0.53 900 0.15 600 0.1
รัสเซีย 49,800 0.29 5,700 0.03 2,100 0.01 300 0.002
สวีเดน 12,000 2.7
ฟินแลนด์ 11,500 3.4
ออสเตรีย 8,600 10.3
นอร์เวย์ 5,200 1.3
บัลแกเรีย 4,800 4.3
สวิตเซอร์แลนด์ 1,300 3.1
กรีซ 1,200 0.91
สโลเวเนีย 300 1.5
อิตาลี 300 0.1
มอลโดวา 60 0.2
รวม 162,160 กม2 19,100 กม2 7,200 กม2 3,100 กม2

การปนเปื้อนจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีลได้กระจัดกระจายอย่างไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ จำนวนมากของมันฝังอยู่บนพื้นที่ที่เป็นภูเขาเช่นเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาเวลส์และที่ราบสูงสก็อต ซึ่งเป็นบริเวณที่การระบายความร้อนแบบอะเดียแบติก(โดยไม่มีการสูญหรือได้ความร้อน)ทำให้เกิดน้ำฝนกัมมันตรังสี รอยเชื่อมของการปนเปื้อนที่เป็นผลมักจะถูกรวมอยู่ภายในท้องที่หนึ่งอย่างสูงและน้ำที่ไหลไปทั่วพื้นดินช่วยส่งเสริมให้มีการแปรเปลี่ยนขนาดใหญ่มากขึ้นของกัมมันตภาพรังสีไปทั่วพื้นที่ขนาดเล็กหลายแห่ง สวีเดนและนอร์เวย์ยังได้รับฝุ่นผงอย่างหนักเมื่ออากาศที่ปนเปื้อนชนเข้ากับอากาศเย็น ทำให้เกิดฝน[95]: 43–44, 78 

การทำฝนเทียมถูกจงใจให้ทำขึ้นทั่วพื้นที่ 10,000 ตารางกิโลเมตรของเบลารุส SSR โดยกองทัพอากาศโซเวียตเพื่อกำจัดอนุภาคกัมมันตรังสีจากกลุ่มเมฆที่กำลังมุ่งหน้าไปยังพื้นที่ที่มีประชากรสูง ฝนหนักสีดำตกลงในเมือง Gomel[96] หลายรายงานจากสหภาพโซเวียตและนักวิทยาศาสตร์ตะวันตกระบุว่าเบลารุสได้รับประมาณ 60% ของการปนเปื้อนที่ตกลงในอดีตสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามรายงานของ TORCH ปี 2006 ระบุว่าครึ่งหนึ่งของอนุภาคระเหยได้ตกลงบนแผ่นดินนอกประเทศยูเครน เบลารุสและรัสเซีย พื้นที่ขนาดใหญ่ในรัสเซียภาคใต้ของ Bryansk ก็ปนเปื้อนเช่นกัน เพราะมันเป็นส่วนตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศยูเครน การศึกษาในประเทศโดยรอบระบุว่ามากกว่าหนึ่งล้านคนน่าจะได้รับผลกระทบจากรังสี[97]

ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้จากโปรแกรมเฝ้าระวังระยะยาว (รายงาน Korma)[98] แสดงให้เห็นถึงการลดลงของการสัมผัสรังสีภายในของคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคหนึ่งของเบลารุสใกล้กับ Gomel การตั้งถิ่นฐานใหม่อาจจะเป็นไปได้ด้วยซ้ำในพื้นที่ต้องห้ามถ้าประชาชนปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เหมาะสมเรื่องอาหาร

ในยุโรปตะวันตก มาตรการแบบระมัดระวังที่ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อรังสีดูเหมือนจะรวมถึงระเบียบตามอำเภอใจที่ห้ามการนำเข้าอาหารบางชนิดแต่ไม่ห้ามชนิดอื่น ๆ ในประเทศฝรั่งเศสเจ้าหน้าที่บางคนระบุว่าอุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลไม่มีผลข้างเคียง[99] ตัวเลขอย่างเป็นทางการในภาคใต้ของบาวาเรียในเยอรมนีชี้ให้เห็นว่าบางสายพันธุ์พืชป่าจะมีระดับของซีเซียมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะมีการส่งผ่านไปยังพวกเขาโดยการบริโภคหมูป่า ที่จำนวนมากของมันได้ปนเปื้อนอนุภาคกัมมันตรังสีสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้เรียบร้อยแล้ว[โปรดขยายความ][100]

ลูกสุกรที่มีเกิดมาพิการมีแขนขางอกเกินแบบ dipygus ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์เชียร์โนบีลแห่งชาติยูเครน

การกลายพันธุ์ทั้งในมนุษย์[ต้องการอ้างอิง] และในสัตว์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามหลังภัยพิบัติ ยกตัวอย่างเช่นในหลายฟาร์มในเมือง Narodychi Raion ของยูเครน ในสี่ปีแรกของภัยพิบัติ สัตว์เกือบ 350 ตัวเกิดมาพร้อมกับความผิดปกติขั้นต้นเช่นแขนขาหายไปหรือเกินมา ตา หัวหรือซี่โครงขาดหายไปหรือกะโหลกผิดรูป; ในการเปรียบเทียบ การเกิดแบบผิดปกติมีเพียงสามรายเท่านั้นที่มีการจดทะเบียนในช่วงห้าปีก่อนหน้า[101][102][103][104][105][106] แม้จะมีการเรียกร้องเหล่านี้ องค์การอนามัยโลกระบุว่า "เด็กที่อยู่ในครรภ์ก่อนหรือหลังจากที่พ่อของพวกเขาเปิดรับกับรังสีจะไม่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญของความถี่ในการกลายพันธุ์"[107]

การปล่อยกัมมันตรังสี[แก้]

เช่นเดียวกับการปล่อยกัมมันตภาพรังสีเข้าสู่สภาพแวดล้อมอื่นๆหลายครั้ง การปล่อยของเชียร์โนบีลถูกควบคุมโดยคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของธาตุกัมมันตรังสีในแกนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นอันตรายเป็นผลผลิตจากฟิชชั่นที่มีกัมมันตภาพรังสีสูง, พวกที่มีอัตราการสลายตัวทางนิวเคลียร์ (อังกฤษ: nuclear decay) สูงที่สะสมในห่วงโซ่อาหาร เช่นบางส่วนของไอโซโทปของไอโอดีน ซีเซียมและสตรอนเตียม ไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 รับผิดชอบของรังสีส่วนใหญ่ที่ประชาชนทั่วไปได้รับ[108]

รายงานทีมีรายละเอียดเกี่ยวกับการปล่อยไอโซโทปรังสีจากแต่ละจุดได้ถูกตีพิมพ์ในปี 1989[109] และปี 1995[110] โดยที่รายงานฉบับหลังมีการอัปเดตในปี 2002[108]

การมีส่วนร่วมของไอโซโทปต่างๆที่ให้กับปริมาณรังสีดูดกลืน (อังกฤษ: absorbed dose)(บรรยากาศ)ภายนอกในพื้นที่ปนเปื้อนของ Pripyat จากไม่นานหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงหลายปีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ
ปริมาณรังสีแกมมาสัมพันธ์ภายนอกสำหรับคนหนึ่งในที่โล่งใกล้สถานที่เกิดภัยพิบัติเชียร์โนบีล

เวลาที่ต่างกันหลังจากอุบัติเหตุ ไอโซโทปที่ต่างกันก็รับผิดชอบส่วนใหญ่ของปริมาณภายนอก กิจกรรมของไอโซโทปรังสีใด ๆ ซึ่งเท่ากับปริมาณของไอโซโทปที่เหลือนั้นหลังจากได้ผ่านการสลาย 7 ครึ่งชีวิต จะน้อยกว่า 1% ของขนาดเริ่มต้นของมัน[111] และจะยังคงลดต่อเลย 0.78% หลังจาก 7 ครึ่งชีวิตไปอยู่ที่ 0.098% ที่เหลือหลังจากผ่านไป 10 ครึ่งชีวิตที่ผ่านมาและลดลงไปเรื่อยๆ[112][113] การปล่อยไอโซโทปรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ถูกควบคุมอย่างสูงโดยจุดเดือดของพวกมันและส่วนใหญ่ของกัมมันตภาพรังสีที่ปรากฏในแกนกลางจะถูกเก็บไว้ในเครื่องปฏิกรณ์

  • ทั้งหมดของแก๊สมีสกุลที่รวมทั้งคริปตอนและซีนอน ที่มีอยู่ภายในเครื่องปฏิกรณ์จะถูกปล่อยออกมาทันทีเข้าสู่บรรยากาศโดยการระเบิดของไอน้ำในครั้งแรก[108] มีการปล่อยซีนอน-133 (ที่มีครึ่งชีวิตที่ 5 วัน) เข้าสู่บรรยากาศประมาณ 5200 PBq[108]
  • 50 ถึง 60% ของรังสีไอโอดีนในแกนกลางของเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมด ประมาณ 1,760 PBq (1760 × 1015 becquerels) หรือประมาณ 0.4 กิโลกรัม ถูกปล่อยออกมาเป็นส่วนผสมของไอระเหิด อนุภาคของแข็ง และอินทรีย์สารไอโอดีน. ไอโอดีน-131 มีครึ่งชีวิตที่ 8 วัน[108]
  • 20 ถึง 40% ของซีเซียม-137 ในแกนกลางทั้งหมดถูกปล่อยออกมา 85 PBq[108][114] ซีเซียมถูกปล่อยออกมาในรูปของสเปรย์ ซีเซียม-137 พร้อมกับไอโซโทปของธาตุสตรอนเตียมเป็นสององค์ประกอบหลักที่ป้องกันเขตยกเว้นเชียร์โนบีลไม่ให้ถูกใช้เป็นที่อยู่อาศัยอีกครั้ง[115] 8.5 × 1016 Bq เท่ากับ 24 กิโลกรัมของซีเซียม-137[115] Cs-137 มีครึ่งชีวิตที่ 30 ปี[108]
  • เทลลูเรียม-132 มีครึ่งชีวิตที่ 78 ชั่วโมง ประมาณ 1,150 PBq ถูกปล่อยออกมา[108]
  • ประมาณในตอนต้นสำหรับวัสดุเชื้อเพลิงนิวเคลียร์โดยรวมที่ถูกปล่อยเข้าสู่สภาพแวดล้อม อยู่ที่ 3±1.5%; ตัวเลขนี้ได้รับการแก้ไขในภายหลังเป็น 3.5±0.5% ซึ่งสอดคล้องกับการปล่อยก๊าซในชั้นบรรยากาศปริมาณ 6 ตันของน้ำมันเชื้อเพลิงที่กระจัดกระจาย[110]

อนุภาคสองขนาดถูกปล่อยออกมาได้แก่ อนุภาคขนาดเล็กที่ 0.3-1.5 ไมโครเมตร (เส้นผ่าศูนย์กลางทางพลศาสตร์) และอนุภาคขนาดใหญ่ที่ 10 ไมโครเมตร อนุภาคขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยประมาณ 80% ถึง 90% ของเซอร์โคเนียม-95, ไนโอเบียม-95, แลนทานัม-140, ซีเรียม-144 และองค์ประกอบ transuranic ที่เป็นรังสีไอโซโทปที่ไม่ระเหย ได้ถูกปล่อยออกมา รวมทั้งเนปทูเนียม พลูโตเนียมและแอกทิไนด์เล็กน้อยที่ฝังอยู่ในเมทริกซ์ยูเรเนียมออกไซด์

ปริมาณที่คำนวณเป็นอัตราปริมาณรังสีแกมมาภายนอกสัมพันธ์สำหรับคนที่ยืนอยู่ในที่โล่ง ปริมาณที่แน่นอนสำหรับคนที่อยู่ในโลกแห่งความจริงที่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ของพวกเขาในการนอนหลับอยู่ในบ้านในที่กำบังจากฝุ่นละอองแล้วก็เดินทางออกไปบริโภคปริมาณภายในจากการสูดดมหรือการกินรังสีไอโซโทป ต้องใช้การวิเคราะห์แบบปริมาณรังสีการฟื้นฟูที่มีเฉพาะบุคคล

กัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม[แก้]

แม่น้ำ ทะเลสาบและอ่างเก็บน้ำ[แก้]

ภาพการสังเกตโลก-1 ของเครื่องปฏิกรณ์และพื้นที่โดยรอบในเดือนเมษายน 2009

โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีลตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำ Pripyat ซึ่งป้อนเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ Dnieper ซึ่งเป็นหนึ่งในระบบน้ำพื้นผิวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปซึ่งในเวลาหนึ่งจ่ายน้ำให้กับประชาชน 2.4 ล้านคนที่อาศัยอยู่เมืองเคียฟและยังคงอยู่ในภาวะน้ำท่วมในฤดูใบไม้ผลิเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น[116]: 60  เพราะฉะนั้น การปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีของระบบน้ำจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ในทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ[117] ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดของยูเครน ระดับของกัมมันตภาพรังสี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกัมมันตรังสี 131I, 137Cs และ 90Sr) ในน้ำดื่มทำให้เกิดความกังวลในช่วงสัปดาห์หลายและหลายเดือนหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[117] แม้ว่าอย่างเป็นทางการมันได้ถูกระบุว่าสารปนเปื้อนทั้งหมดได้ตกตะกอนลงไปด้านล่าง "ในขั้นตอนที่ไม่ละลายน้ำ" และจะไม่ละลายในอีก 800-1000 ปี[116]: 64  คำแนะนำสำหรับระดับของรังสีในน้ำดื่มถูกยกให้สูงขึ้นชั่วคราวเป็น 3,700 Bq/ลิตร เป็นการยอมให้น้ำส่วนใหญ่ที่จะถูกรายงานว่าปลอดภัย[117] และอีกหนึ่งปีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุมันก็ถูกประกาศว่าแม้แต้น้ำจากบ่อระบายความร้อนของโรงงานเชียร์โนบีลก็อยู่ในบรรทัดฐานที่ยอมรับได้ ทั้งๆที่มีการประกาศดังกล่าว สองเดือนหลังจากที่เกิดภัยพิบัติ แหล่งน้ำประปาเมืองเคียฟถูกเปลี่ยนอย่างกะทันหันจาก Dnieper ไปเป็นแม่น้ำ Desna[116]: 64–5  ในเวลาเดียวกัน กับดักตะกอนขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้น พร้อมกับผนังกั้นขนาดใหญ่ใต้ดินลึก 30 เมตรเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำบาดาลจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกทำลายไหลลงไปในแม่น้ำ Pripyat[116]: 65–67 

การสะสมของกัมมันตภาพรังสีแบบ Bio ในปลา[118] ที่เป็นผลมาจากความเข้มข้นของรังสี (ทั้งในยุโรปตะวันตกและในอดีตสหภาพโซเวียต) ในหลายกรณีอยู่ในระดับสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญเหนือคำแนะนำสำหรับการบริโภค[117] ระดับสูงสุดที่แนะนำสำหรับรังสีจากซีเซียมในปลาจะแตกต่างกันในแต่ละประเทศ แต่จะมีค่าประมาณ 1,000 Bq/kg ในสหภาพยุโรป[119] ในอ่างเก็บน้ำเมืองเคียฟในยูเครน ความเข้มข้นในปลามีค่าหลายพัน Bq/kg ในช่วงหลายปีหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุ[118]

แผนที่แสดงระดับรังสีรอบเชียร์โนบีลในปี 1996

ในทะเลสาบ "ถูกปิด" ขนาดเล็กในเบลารุสและภูมิภาค Bryansk ของรัสเซีย ความเข้มข้นของรังสีในสายพันธุ์ปลาจำนวนมากมีความแตกต่างกันตั้งแต่ 100 ถึง 60,000 Bq/kg ในช่วงเวลาระหว่าง 1990-1992[120] การปนเปื้อนของปลาสร้างความกังวลระยะสั้นในหลายส่วนของสหราชอาณาจักรและเยอรมนีและในระยะยาว (หลายปีมากกว่าจะเป็นเดือน) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของยูเครน เบลารุส และรัสเซีย เช่นเดียวกับในหลายส่วนของสแกนดิเนเวีย[117]

น้ำบาดาล[แก้]

น้ำบาดาลไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีลเนื่องจากกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นได้เสื่อมสลายไปนานก่อนที่พวกมันจะส่งผลกระทบต่อน้ำใต้ดินและรังสีที่มีอายุยาวกว่าเช่นรังสีซีเซียมและรังสีสตรอนเตียมได้ถูกดูดซับไปในดินพื้นผิวก่อนที่พวกมันจะสามารถถ่ายโอนไปยังน้ำใต้ดิน[121] อย่างไรก็ตาม การถ่ายโอนอย่างมีนัยสำคัญของรังสีไปยังน้ำใต้ดินได้เกิดขึ้นจากสถานที่กำจัดของเสียในระยะ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ที่เป็นเขตยกเว้นรอบเชียร์โนบีล ถึงแม้ว่าจะมีศักยภาพพอสำหรับการถ่ายโอนกัมมันตรังสีจากสถานที่กำจัดเหล่านี้ออกไปข้างนอก (นั่นคือออกจากเขตยกเว้นระยะ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์)) ก็ตาม รายงานเชียร์โนบีลของ IAEA[121] ก็แย้งว่าการถ่ายโอนนี้ไม่ได้มีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระดับปัจจุบันของการชะล้างของกัมมันตภาพรังสีที่สะสมบนผิวดิน

พืชและสัตว์[แก้]

หลังจากภัยพิบัติ สี่ตารางกิโลเมตรของป่าสนโดนลมพัดจากเครื่องปฏิกรณ์โดยตรงเปลี่ยนให้เป็นสีน้ำตาลแดงและตาย จึงได้รับฉายาว่า "ป่าสีแดง"[122] สัตว์บางชนิดในพื้นที่ที่ถูกกระทบอย่างเลวร้ายที่สุดก็ตายหรือหยุดการแพร่พันธ์อีกด้วย สัตว์ท้องถิ่นส่วนใหญ่ถูกโยกย้ายออกจากเขตยกเว้น แต่ม้าที่เหลืออยู่บนเกาะหนึ่งในแม่น้ำ Pripyat ที่ห่างไป 6 กม. (4 ไมล์) จากโรงไฟฟ้​​าต้องตายเมื่อต่อมธัยรอยด์ของพวกมันถูกทำลายโดยรังสีขนาด 150-200 Sv[123] วัวบางต้วบนเกาะเดียวกันก็ตายและพวกที่รอดชีวิตก็แคระแกรนเพราะความเสียหายของต่อมไทรอยด์ ลูกหลานต่อไปของมันดูเหมือนจะเป็นปกติ[123]

หลังจากภัยพิบัติ สี่ตารางกิโลเมตรของป่าสนโดนลมพัดจากเครื่องปฏิกรณ์โดยตรงเปลี่ยนให้เป็นสีน้ำตาลแดงและตาย จึงได้รับฉายาว่า "ป่าสีแดง"[122]

หุ่นยนต์ตัวหนึ่งได้ถูกส่งเข้าไปในเครื่องปฏิกรณ์ มันได้กลับมาพร้อมกับตัวอย่างของเชื้อราที่มีรังสีโภชนาการ (อังกฤษ: radiotrophic fungi) ที่อุดมไปด้วยเมลานินและมีสีดำที่กำลังเจริญเติบโตบนผนังของเครื่องปฏิกรณ์ฯ[124]

ในจำนวนของหมูป่า 440,350 ตัวที่ถูกฆ่าตายในฤดูล่าสัตว์ปี 2010 ในเยอรมนี มากกว่า 1000 ตัวถูกพบว่ามีการปนเปื้อนที่มีระดับรังสีเหนือขีดจำกัดที่ยอมรับได้ที่ 600 becquerels ต่อกิโลกรัมเนื่องจากกัมมันตภาพรังสีตกค้างจากเชียร์โนบีล[125]

ผู้มีอำนาจการเกษตรนอร์เวย์รายงานว่าในปี 2009 ปศุสัตว์รวมทั้งสิ้น 18,000 ตัวในนอร์เวย์ที่จำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่ปนเปื้อนเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะฆ่าเพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อของพวกมันปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์ การดำเนินการนี้เนื่องจากกัมมันตภาพรังสีที่ตกค้างจากเชียร์โนบีลในพืชที่พวกมันและเล็มในป่าในช่วงฤดูร้อน แกะ 1,914 ตัวจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่ปนเปื้อนเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะฆ่าในช่วงปี 2012 โดยที่แกะเหล่านี้ถูกเลี้ยงอยู่ในแค่ 18 เขตเทศบาลของนอร์เวย์ ลดลง 17 เขตจาก 35 เขตเทศบาลที่ได้รับผลกระทบในช่วงปี 2011 (117 เขตเทศบาลได้รับผลกระทบในช่วงปี 1986)[126]

ผลกระทบหลังจากเชียร์โนบีลคาดว่าจะได้เห็นไปอีกกว่า 100 ปี ถึงแม้ว่าความรุนแรงของผลกระทบจะลดลงตลอดช่วงเวลานั้น[127] นักวิทยาศาสตร์รายงานว่านี่เป็นเพราะสารกัมมันตรังสีไอโซโทปซีเซียม-137 ที่ถูกกินเข้าไปโดยเชื้อราเช่น caperatus Cortinarius ซึ่งก็จะถูกกินอีกทีโดยแกะในขณะที่มันแทะเล็ม[126]

สหราชอาณาจักรถูกบังคับให้จำกัดการเคลื่อนที่ของแกะจากพื้นที่สูงเมื่อกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ตกลงทั่วหลายส่วนของไอร์แลนด์เหนือ เวลส์ สกอตแลนด์และภาคเหนือของอังกฤษ ในทันทีหลังเกิดภัยพิบัติในปี 1986 แกะรวม 4,225,000 ตัวถูกจำกัดการเคลื่อนที่ข้ามฟาร์ม 9,700 แห่งเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์[128] จำนวนของแกะและจำนวนของฟาร์มที่ได้รับผลกระทบเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 1986 ไอร์แลนด์เหนือได้หลุดออกจากข้อจำกัดในปี 2000 และปี 2009 ฟาร์ม 369 แห่งที่มีแกะรอบ 190,000 ตัวยังคงอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเวลส์ และในเมือง Cumbria และภาคเหนือของสก็อตแลนด์[128] ข้อจำกัดที่ใช้กับสกอตแลนด์ถูกยกเลิกในปี 2010 ในขณะที่ข้อจำกัดที่ใช้กับเวลส์และคัมเบรีถูกยกเลิกในช่วงปี 2012 ซึ่งหมายความว่าไม่มีฟาร์มในสหราชอาณาจักรจะยังคงถูกจำกัดเพราะฝุ่นละอองจากเชียร์โนบีล[129][130]

กฎหมายที่ใช้ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของแกะและเพื่อชดเชยให้กับเกษตรกร (เกษตรกรได้รับการชดเชยต่อตัวของสัตว์เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมในการถือครองสัตว์ก่อนที่จะมีการเฝ้าระวังรังสี) ได้ถูกยกเลิกในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2012 โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของสหราชอาณาจักร[131]

การประท้วงในวันเชียร์โนบีลใกล้สำนักงานของ WHO ในเจนีวา

ผลกระทบต่อมนุษย์[แก้]

บทความหลัก: ผลกระทบจากภัยพิบัติเชียร์โนบีล

ดูเพิ่มเติม: การเสียชีวิตอันเนื่องมาจากภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล

หลังเกิดเหตุ มีผู้ป่วยจากโรครังสีเฉียบพลัน (อังกฤษ: acute radiation sickness (ARS)) จำนวน 237 คน ในจำนวนนี้ 31 คนเสียชีวิตในช่วงสามเดือนแรก[13][132] ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่กู้ภัยและดับเพลิงที่พยายามควบคุมเหตุการณ์โดยไม่ทราบถึงอันตรายของการรับรังสีและควัน

ทั้งนี้ใน Chernobyl Forum ค.ศ. 2005 ที่ประกอบด้วยองค์การพลังงานปรมาณูนานาชาติ (IAEA) รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติและรัฐบาลของเบลารุส รัสเซียและยูเครน ได้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเนื่องจากรังสีจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีล


เกียวกับจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ รายงานระบุว่าคนงานฉุกเฉิน ("ผู้ชำระบัญชี" (อังกฤษ: liquidators)) 28 คนเสียชีวิตจากโรครังสีเฉียบพลัน รวมทั้งการเผาไหม้ขนาดเบต้าและ 15 คนที่เสียชีวิตจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ในช่วงหลายปีต่อมา และมีการประมาณอย่างหยาบ ๆ ว่าการเสียชีวิตจากมะเร็งที่เกิดโดยเชียร์โนบีลอาจรวมแล้วสูงถึงประมาณ 4000 คนในจำนวนประชากร 5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปนเปื้อน รายงานยังคาดการณ์อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง "เพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละหนึ่ง" (~ 0.3%) ในช่วงเวลา 80 ปีข้างหน้า และยังเตือนอีกว่าการประมาณการนี้เป็นการ "เก็งกำไร" เท่านั้นเนื่องจากในเวลานี้ มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเพียงไม่กี่รายที่เชื่อมโยงกับภัยพิบัติ Chernobyl[133] รายงานกล่าวต่อไปว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายอย่างน่าเชื่อถือถึงจำนวนของโรคมะเร็งร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างเล็ก ๆ ในสมมติฐานสามารถส่งผลในการแตกต่างอย่างมากในค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพโดยประมาณ รายงานกล่าวว่าตัวมันเองเป็นตัวแทนของมุมมองที่เป็นฉันทามติของแปดองค์กรสหประชาชาติ

จากคนงานฉุกเฉินชาวเบลารุสทั้งหมด 66,000 คน โดยช่วงกลางของปี​​ 1990s เพียง 150 คนเท่านั้น (ประมาณ 0.2%) ที่รัฐบาลของพวกเขารายงานว่ามีการเสียชีวิต ในทางตรงกันข้าม มีรายงานว่าคนงานทำความสะอาดชาวยูเครน 5722 คนได้รับบาดเจ็บล้มตายจนถึงปี 1995 รายงานนี้เป็นของคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการป้องกันรังสีให้กับประชากรยูเครน[88]

นิวไคลด์กัมมันตรังสี(นิวไคลด์ที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสี เช่น แอลฟา บีตา แกมมา ออกมา นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ และที่มาจากการผลิตของมนุษย์มีมากกว่า 1,300 ชนิด ตัวอย่างนิวไคลด์กัมตรังสีที่มีในธรรมชาติ เช่น $ _{92}^{235} $U $ _{92}^{238} $U $ _{19}^{40} $K และที่มนุษย์ผลิตขึ้นเช่น $ _{27}^{60} $Co $ _{43}^{99} $Tc $ _{95}^{241} $AM [นิวเคลียร์]) 4 ชนิดที่เป็นอันตรายมากที่สุดได้แพร่กระจายออกจากเชียร์โนบีล ได้แก่ไอโอดีน-131 ซีเซียม-134 ซีเซียม-137 และ strontium-90 มีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 8.02 วัน, 2.07 ปี, 30.2 ปีและ 28.8 ปีตามลำดับ[134]: 8  ไอโอดีนถูกมองครั้งแรกกับมีภัยน้อยกว่าไอโซโทปอื่น ๆ เพราะครึ่งชีวิตของมันสั้น แต่มันก็มีความผันผวนสูงและตอนนี้ดูเหมือนว่าจะได้เดินทางออกมาไกลที่สุดและก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงที่สุดในระยะสั้น[88]: 24  สตรอนเตียม ในทางตรงกันข้าม มีความผันผวนน้อยที่สุดในรังสีสี่ตัวนั้นแต่ตัวมันเองเป็นความกังวลหลักในพื้นที่ใกล้กับเชียร์โนบีล[134]: 8  ไอโอดีนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นความเข้มข้นในต่อมไทรอยด์และต่อมนม และนำไปสู่อุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นของการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และอื่น ๆ ซีเซียมมีแนวโน้มที่จะสะสมในอวัยวะที่สำคัญเช่นหัวใจ[135]: 133  ในขณะที่สตรอนเตียมจะสะสมอยู่ในกระดูก ดังนั้นจึงอาจจะมีความเสี่ยงต่อกระดูกและเซลล์เม็ดเลือดขาว[134]: 8  รังสีเป็นตัวสร้างความเสียหายส่วนใหญ่ให้กับเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวอย่างแข็งขัน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นผู้ใหญ่ การแบ่งเซลล์เป็นไปอย่างช้า ๆ ยกเว้นในรูขุมขน ในผิวหนัง กระดูกและระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการอาเจียนและผมร่วงจึงเป็นอาการที่พบบ่อยของการเจ็บป่วยเฉียบพลันรังสี[136]: 42 

ความยากลำบากในการประเมิน[แก้]

สุขภาพในเบลารุสและยูเครนได้แสดงให้เห็นแนวโน้มที่รบกวนตามหลังภัยเชียร์โนบีล ในเบลารุส อุบัติการณ์ของโรคบกพร่องแต่กำเนิดได้เพิ่มขึ้น 40% ภายในหกสิบปีหลังการเกิดอุบัติเหตุไปยังจุดที่มันได้กลายเป็นสาเหตุหลักของการตายของทารก[137]: 52  โรคและมะเร็งต่างๆมีเพิ่มขึ้นมากเช่นโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร โรคไหลเวียนของเลือด โรคประสาท โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีที่สูง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอที่ปนเปื้อนหนึ่งของเบลารุส ที่ 95% ของเด็กในปี 2005 ถูกรายงานว่ามีการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค[135]: 129, 199  กระทรวงสาธารณสุขของยูเครนประมาณในปี 1993 อย่างหยาบว่า 70% ของประชากรไม่สบายโดยมีการเพิ่มขึ้นขนาดใหญ่ของโรคในระบบทางเดินหายใจ ในระบบเลือดและในระบบประสาท[88]: 27  โดยในปี 2000 ตัวเลขของชาวยูเครนที่อ้างว่าเป็น 'ผู้ประสบภัย' (poterpili) จากรังสีและกำลังรับผลประโยชน์จากรัฐได้เพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านคนหรือ 5% ของประชากรทั้งหมด คนเหล่านี้หลายคนเป็นประชากรที่อพยพมาจากโซนที่ปนเปื้อนหรือเป็นอดีตคนงานของโรงงานเชียร์โนบีล[81]: 4–5  อ้างถึงหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ในเครือของ IAEA การเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเหล่านี้ของสุขภาพที่ไม่ดีส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้และการดูแลสุขภาพและการโภชนาการที่ไม่ดี นอกจากนี้หน่วยงานดังกล่าวยังแนะนำว่าการเฝ้าระวังทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นหลังการเกิดอุบัติเหตุได้หมายความว่าหลายกรณีที่ก่อนหน้านี้ไม่มีใครสังเกตเห็น (โดยเฉพาะของโรคมะเร็ง) ได้กำลังถูกนำมาลงทะเบียนในตอนนี้[88]

ในจำนวน 'ผู้ชำระบัญชี' ประมาณ 600,000 คนที่ได้มีส่วนร่วมในการทำความสะอาดเชียร์โนบีล ประมาณหยาบ 50,000 คนต้องทำงานเป็น 'หุ่นยนต์ชีวภาพ' ในสภาพของการฉายรังสีที่รุนแรงขนาดที่ว่าหุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์ยังต้องหยุดทำงาน หุ่นยนต์ชีวภาพเหล่านี้เป็นบุคลสำดัญที่รู้จักกันดีภายในทุกหมู่บ้าน ทุกบล็อกที่อยู่อาศัยและทุกศูนย์การทำงานร่วมกัน ส่วนใหญ่จะแก่ก่อนกำหนดและหลายคนได้เสียชีวิตและอัตราของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในกลุ่มของพวกเขาสูงเป็นอย่างมากกว่าในประชากรในวงกว้าง[81]: 9–10, 31  นักชาติพันธุ์วิทยา Adriana Petryna กล่าวว่าโรคบกพร่องแต่กำเนิดปรากฏว่าได้เพิ่มขึ้นในยูเครนเช่นกัน เธออธิบายถึงความผิดรูปโดยรวมในหน่วยทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลเมือง Kyev รวมทั้งหนึ่งในทารกที่เกิดกับคนงานเชียร์โนบีล เด็กคนนั้นมีนิ้วเกินมาหนึ่งนิ้ว หูผิดรูป หลอดลมของเขาหายไปและลำไส้ของเขาอยู่ภายนอกร่างกาย เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลให้ความร่วมมือตลอด แต่เตือน Petryna ว่าเธอจะถูกห้ามในการเข้าถึงสถิติใด ๆ เพราะฉะนั้นเธอจะสามารถปฏิบัติกับกรณีเหล่านี้ว่าเป็นเพียงหลักฐานที่เล็กน้อย[81]: 7–8  สถิติที่แย่หรือการที่ไม่สามารถเข้าถึงสถิติได้หมายความว่าการเชื่อมต่อถึงสาเหตุเป็นเรื่องยากมากที่จะทำทั้งในเบลารุสและยูเครน สังเกตได้ว่าโดยเฉพาะกับเบลารุสที่จะยับยั้งหรือเพิกเฉยต่อการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างแข็งขัน[81]: 4–5  เศรษฐกิจที่คำนวณอย่างผิดพลาดคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายของประเทศสิบเท่ามากกว่ามันจะประหยัดได้[137]: 51–2  ชาวเบลารุสคนหนึ่งอธิบายว่า "เรามีบางปีที่ครั้งหนึ่งเกือบทุกวันมีงานศพ เราจะต้องมีการฝังศพประมาณห้าสิบคนในปีนั้น มันเกี่ยวข้องกับรังสีหรือไม่ ใครรู้บ้าง..."[135]: 259 

ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ขอบเขตของการบาดเจ็บจากรังสีถูกปกปิดอย่างเป็นระบบ กรณีการเจ็บป่วยจากรังสีอย่างเฉียบพลัน (ARS) ส่วนใหญ่ถูกหลอกว่าเป็นโรค 'Vegetovascular dystonia' (VvD) ซึ่งเป็นหมวดหมู่หนึ่งของสหภาพโซเวียตสำหรับประเภทหนึ่งของความผิดปกติอย่างหวาดกลัวที่มีอาการที่เป็นไปได้รวมทั้งใจสั่น เหงื่อออก ตัวสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำหรือความดันโลหิตสูง โรคประสาท เกร็งและชัก ซึ่ง อาการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายกับผลกระทบทางระบบประสาทของ ARS เอกสารลับแสดงให้เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขโซเวียตได้สั่งให้การวินิจฉัยที่ผิดพลาดอย่างเป็นระบบของ ARS เป็น VvD สำหรับทุกคนที่ไม่ได้แสดงอาการขั้นต้นของความเจ็บป่วยจากรังสีเช่นการเผาไหม้หรือการสูญเสียเส้นผม และสำหรับ 'ผู้ชำระบัญชี' ทุกคนที่ได้รับรังสีเกินปริมาณสูงสุดที่ได้รับอนุญาตของพวกเขา ปรากฏว่ามีสูงถึง 17,500 คนถูกวินิจฉัยให้ผิดพลาดโดยเจตนาในลักษณะนี้[81]: 43–4  การเรียกร้องต่อมาสำหรับสวัสดิการสุขภาพก็ถูกปฏิเสธบนพื้นฐานของการวินิจฉัยโรคแบบนี้หรือการใช้ประเภทอื่น ๆ ทางการแพทย์ด้านจิตสังคม (สุขภาพร่างกายที่ไม่ดีของแต่ละบุคคล การเหนี่ยวนำทางด้านจิตใจด้วยตนเอง)[81]: 11  เครื่องมือสำคัญสำหรับการปฏิเสธของโซเวียตคือ 'แนวคิด 35 rem' (rem=หน่วยวัดปริมาณรังสี) โดยที่จะถิอว่า 35 rems เป็นปริมาณรังสีที่ปลอดภัยสำหรับชั่วอายุคน "ตามมาตรฐานสากล" และเนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่ใกล้เชียร์โนบีลได้รับน้อยกว่าค่านั้น การร้องทุกข์เกี่ยวกับสุขภาพของพวกเขาอาจจะเป็นผลมาจาก "โรคกลัวรังสี" (อังกฤษ: radiophobia)[135]: 47 

ทั้งเบลารุสและยูเครนต้องพึ่งพาการช่วยเหลืออย่างมากจากต่างประเทศและถูกกดดันให้สอดคล้องกับมุมมองต่างประเทศเกี่ยวกับภัยพิบัติ ยกตัวอย่างเช่นในปี 2002 ธนาคารโลกได้แนะนำให้เบลารุส "เปลี่ยนความสนใจจากการคำนวณผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุไปเป็นการพัฒนากิจกรรมที่มองไปข้างหน้าที่ชี้ไปที่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ได้รับผลกระทบ" สวัสดิการของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพถูกกล่าวหาว่าเป็นการสร้าง "ความรู้สึกของการตกเป็นเหยื่อและการพึ่งพา" ซึ่งทำให้ความผิดปกติของจิตใจเลวร้ายมากยิ่งขึ้น[135]: 98, 101  เบลารุสโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ปฏิบัติตามโดยไม่สนใจหรือปราบปรามการวิจัยทางวิทยาศาสตร์[81]: 4–5  นักประวัติศาสตร์ David Marples ให้เหตผลว่าเป็นเพราะความอ่อนแอของรัฐบาลและความสนใจกับความปรารถนาง่าย ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ[137]: 51–2 

มะเร็งต่อมไทรอยด์[แก้]

อัตราการเกิดของมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กและวัยรุ่นจากเบลารุสหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีล
สีเหลือง: ผู้ใหญ่ (19–34)
น้ำเงิน: วัยรุ่น (15–18)
สีแดง: เด็ก (0–14)

รายงานของเชียร์โนบีลฟอรั่มในปี 2005 เปิดเผยว่ามะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กจะเป็นหนึ่งในหลายผลกระทบหลักต่อสุขภาพจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีล ในสิ่งพิมพ์นั้นมากกว่า 4000 กรณีอยู่ในรายงานและไม่มีหลักฐานของการเพิ่มขึ้นของการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวอย่างชัดเจน มันบอกว่ามีการเพิ่มขึ้นในปัญหาทางจิตใจในหมู่ประชาชนได้รับผลกระทบ[133] ดร. ไมเคิล Repacholi ผู้จัดการโครงการการฉายรังสีขององค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า 4000 กรณีของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์มีผลในการเสียชีวิต 9 ราย[138]

ตามข้อมูลของ UNSCEAR จนถึงปี 2005 มีรายงานส่วนเกินกว่า 6,000 กรณีของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ นั่นคือเกินกว่าค่าประมาณการพื้นฐานของอัตราการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ก่อนการเกิดอุบัติเหตุ มากกว่า 6,000 กรณีสบาย ๆ ของมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้รับรายงานในเด็กและวัยรุ่นที่สัมผัสในช่วงเวลาของการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น พวกเขาสรุปว่าไม่มีหลักฐานอื่น ๆ ของผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญจากการสัมผัสรังสี[139]

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่มีการแบ่งแยกที่ดีโดยทั่วไปสามารถรักษาได้[140] และเมื่อได้รับการรักษา อัตราการรอดตายห้าปีของมะเร็งต่อมไทรอยด์เป็น 96% และ 92% หลังจาก 30 ปี[141] UNSCEAR รายงานการเสียชีวิต 15 รายจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ในปี 2011[142] สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ยังระบุด้วยว่าไม่มีการเพิ่มขึ้นของอัตราการเกิดข้อบกพร่องหรือความผิดปกติแต่กำเนิดหรือโรคมะเร็งที่เป็นของแข็ง (เช่นโรคมะเร็งปอด) ที่จะยืนยันการประเมินของ UNSCEAR[143] UNSCEAR ยกระดับความเป็นไปได้ของข้อบกพร่องทางพันธุกรรมระยะยาว โดยการชี้ไปที่การเพิ่มเป็นสองเท่าของการกลายพันธุ์ดาวเทียมขาดเล็กที่เหนี่ยวนำโดยรังสีที่เกิดขึ้นในหมู่เด็กที่เกิดในปี 1994[144] อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุเชียร์โนบีลยังคงสูงตามการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์[145][146]

บริษัทในเครือของเยอรมัน-แพทย์ระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันสงครามนิวเคลียร์ (IPPNW) แย้งว่ามากกว่า 10,000 คนในวันนี้จะได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์และ 50,000 กรณีคาดว่าจะมีในอนาคต[147]

ความผิดปกติของสุขภาพอื่น ๆ[แก้]

Fred Mettler ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีที่มหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก ให้จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งทั่วโลกที่อยู่นอกเขตที่ปนเปื้อนสูงที่ "อาจจะ" เป็น 5000 คน รวมกับมะเร็งร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีลเป็น 9000 คน โดยกล่าวว่า "ต​​ัวเลขจะมีขนาดเล็ก (แทนความหมายไม่กี่เปอร์เซ็นต์) เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเองตามปกติของมะเร็ง แต่ตัวเลขจะมีขนาดใหญ่ในความหมายที่สมบูรณ์"[148] รายงานเดียวกันยังระบุถึงการศึกษาตามข้อมูลที่พบในทะเบียนของรัสเซียจากปี 1991-1998 ที่แนะนำว่า "ในจำนวนของคนงานชาวรัสเซีย 61,000 คนที่สัมผัสกับรังสีปริมาณเฉลี่ย 107 mSv, ประมาณ 5% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นอาจจะเนื่องจากการสัมผัสกับรังสี"[133]

รายงานยังระบุในเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อสุขภาพจิตของความกลัวที่พูดเกินจริงเกี่ยวกับผลกระทบของรังสี[133] อ้างอิงจาก IAEA ว่า "การแต่งตั้งให้ประชากรที่ได้รับผลกระทบเป็น "เหยื่อ" แทนที่จะเป็น "ผู้รอดชีวิต" ได้นำพวกเขาให้รับรู้ว่าตัวพวกเขาเองเป็นผู้ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อ่อนแอและขาดการควบคุมในอนาคตของพวกเขา" IAEA กล่าวว่าเรื่องนี้อาจได้นำไปสู่​​พฤติกรรมที่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพให้มากขึ้นไปอีก[149]

เฟร็ด Mettler แสดงความเห็นว่า 20 ปีต่อมา "ประชากรส่วนใหญ่จะยังคงไม่แน่ใจว่าผลกระทบของรังสีจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไรและยังคงเก็บความรู้สึกของการสังหรฌ์ จำนวนมากของวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวที่ไ​​ด้รับการสัมผัสกับปริมาณรังสีที่เล็กขนาดจิ๋วหรือเล็กน้อยจะรู้สึกว่าพวกเขามีข้อบกพร่องรุนแรงอะไรสักอย่างและไม่มีข้อเสียที่จะใช้ยาเสพติดที่ผิดกฎหมายหรือการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีการป้องกัน การย้อนกลับของทัศนคติและพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องใช้เวลาหลายปีแม้ว่าบางกลุ่มเยาวชนได้เริ่มโปรแกรมที่มีคำมั่นสัญญา"[150] นอกจากนี้เด็กด้อยโอกาสรอบเชียร์โนบีลได้ทนทุกข์ทรมานจากปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุไม่เพียงแต่มาจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีลเท่านั้น แต่ยังมาจากรวมถึงสภาพที่เลวร้ายของระบบสุขภาพรัฐบาลหลัง-โซเวียต[143]

คณะกรรมการวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับผลกระทบของรังสีจากอะตอมแห่งสหประชาชาติ (UNSCEAR) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเชียร์โนบีลฟอรั่มได้ผลิตการประเมินผลกระทบจากรังสีของพวกเขาเอง[151] UNSCEAR ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆสหประชาชาติ รวมทั้งองค์การอนามัยโลก หลังจากการโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ เพื่อประเมินผลกระทบระยะยาวของรังสีที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์[152]

เสียชีวิตจากการสัมผัสกับรังสี[แก้]

จำนวนผู้เสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่เชียร์โนบีลได้มีการถกเถียงกันอย่างหนัก องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็ง 4000 คนในประเทศโดยรอบในอนาคต[153] การคาดการณ์มีพื้นฐานอยู่บน'รูปแบบไม่มีขีดจำกัดเชิงเส้น (อังกฤษ: Linear no-threshold model (LNT)) ซึ่งสันนิษฐานว่าความเสียหายที่ถูกทำโทษโดยการฉายรังสีในปริมาณที่ต่ำเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณ effective dose[154] นักระบาดวิทยารังสี รอย ชอร์ เชื่อว่าการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพในประชากรจากรูปแบบ LNT "ไม่ฉลาดเพราะความไม่แน่นอน"[155]

สัญญาณเตือนภัยรังสีในปรือปิยัจ

อ้างอิงถึง'สหภาพนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นห่วง'จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งส่วนเกินทั่วโลก (รวมทั้งพื้นที่ที่ปนเปื้อนทั้งหมด) จะอยู่ที่ประมาณ 27,000 คนขึ้นอยู่กับ LNT เดียวกัน[156]

การศึกษาที่สำคัญอีกอันหนึ่งของรายงานเชียร์โนบีลฟอรั่มถูกแต่งตั้งให้ดำเนินการโดยกลุ่มกรีนพีซ ซึ่งยืนยันว่าตัวเลขที่เผยแพร่ล่าสุดชึ้ว่าในเบลารุส รัสเซียและยูเครน อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอาจมีผลในการเสียชีวิตเพิ่มเติมถึง 10,000-200,000 รายในช่วงระหว่างปี 1990 และปี 2004[18] เลขานุการด้านวิทยาศาสตร์ของเชียร์โนบีลฟอรั่มได้วิพากษ์วิจารณ์รายงานเกี่ยวกับการที่มันต้องพึ่งพาการศึกษาที่ผลิตในพื้นที่ที่ไม่ผ่านการทบทวนจากเพื่อน แม้ว่าส่วนใหญ่ของแหล่งที่มาของการศึกษาจะมาจากวารสารที่ผ่านการทบทวนจกเพื่อน รวมทั้งจากวารสารทางการแพทย์ตะวันตกจำนวนมากก็ตาม การประมาณการของอัตราการตายที่สูงขึ้นจะมาจากแหล่งที่มาที่ไม่ผ่านการทบทวนจากเพื่อน[18] ในขณะที่เกรกอรี่ Hartl (โฆษกของ WHO) แนะนำว่าข้อสรุปได้รับแรงบันดาลใจโดยอุดมการณ์[157]

เชียร์โนบีล: ผลกระทบจากภัยพิบัติสำหรับผู้คนและสิ่งแวดล้อม เป็นภาษาอังกฤษของสิ่งพิมพ์ของรัสเซียในปี 2007 เชียร์โนบีล ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 2009 โดยสถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์กในงาน ประวัติศาสตร์ของ New York Academy of Sciences ของพวกเขา สิ่งพิมพ์นำเสนอการวิเคราะห์วรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์และสรุปว่าเวชระเบียนระหว่างปี 1986 (ปีที่เกิดอุบัติเหตุ) และปี 2004 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 985,000 คนเป็นผลมาจากการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี[158] แม้กระนั้น มันก็ยังเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวจสอบได้อย่างแม่นยำถึงปริมาณของรังสีที่มีผลกระทบกับประชาชนเหล่านั้น เพื่อให้รู้ความจริงที่ว่าปริมาณที่ได้รับแตกต่างกันอย่างมากจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งในกลุ่มประชากรดังกล่าวข้างต้นในที่ซึ่งเมฆกัมมันตรังสีได้เดินทางไปถึง และยังให้รู้ความจริงที่ว่าไม่มีใครสามารถบอกได้อย่างมั่นใจว่าโรคมะเร็งในบุคคลจากอดีตสหภาพโซเวียตเกิดจากรังสีจากอุบัติเหตุเชียร์โนบีลหรือเกิดจากปัจจัยทางสังคมหรือพฤติกรรมอื่น ๆ เช่นการสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์[159]

ผู้เขียนแนะนำว่าส่วนใหญ่ของการเสียชีวิตอยู่ในรัสเซีย เบลารุสและยูเครน แต่ที่อื่น ๆ เกิดขึ้นทั่วโลกจากหลายประเทศที่ได้รับฝุ่นละอองกัมมันตรังสีจากเชียร์โนบีลที่ตกลงมา การวิเคราะห์วรรณกรรมสร้างสิ่งตีพิมพ์กว่า 1,000 ชื่อและสื่ออินเทอร์เน็ตและเอกสารการพิมพ์กว่า 5000 ชุดที่พูดคุยกันเรื่องผลกระทบของภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล ผู้เขียนยืนยันว่าสิ่งพิมพ์และเอกสารเหล่านั้นถูกเขียนขึ้นโดยหน่วยงานชั้นนำในยุโรปตะวันออกและส่วนใหญ่ถูกมองว่าด้อยค่าหรือเพิกเฉยโดย IAEA และ UNSCEAR[158] การประมาณการนี้ก็ยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าพูดเกินจริง ขาดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม[22]

การร้องขอการทำแท้ง[แก้]

ดูเพิ่มเติม: โรคกลัวรังสี (อังกฤษ: radiophobia)

หลังการเกิดอุบัติเหตุ นักข่าวไม่ไว้วางใจผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จำนวนมาก (เช่นโฆษกจากกรรมการป้องกันรังสีแห่งชาติของสหราชอาณาจักร) และในทางเดียวกันก็สนับสนุนให้ประชาชนไม่ไว้วางใจพวกนี้ด้วย[160] ทั่วทวีปยุโรป ในประเทศที่การทำแท้งเป็นสิ่งถูกกฎหมาย การร้องขอเพื่อการทำแท้งจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ตามปกติ จะได้รับอนุญาตโดยปราศจากความกลัวรังสีจากเชียร์โนบีล รวมทั้งจำนวนการทำแท้งส่วนเกินในเดนมาร์กในหลายเดือนหลังจากการเกิดอุบัติเหตุ[161] ในกรีซ หลังอุบัติเหตุ สูตินารีหลายคนไม่สามารถต้านทานต่อการร้องขอจากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่กังวลเกี่ยวกับความกลัวรังสี แม้ว่าจะมีการระบุว่าปริมาณรังสียังผลกับชาวกรีกจะไม่เกิน 1 mSv (100 มิลลิเรม)ก็ตาม ปริมาณที่ต่ำกว่านั้นมากอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนหรือผลกระทบที่ไม่สุ่มอื่น ๆ มีข้อสังเกตว่าเกินกว่า 2500 กรณีของการตั้งครรภ์ที่แม้ว่าจะตั้งใจได้ถูกยกเลิก อาจจะเป็นเพราะความกลัวของคุณแม่ในความเสี่ยงของรังสี[162] การร้องขอการทำแท้งในอิตาลีสูงกว่าจำนวนที่คาดหวัง "เล็กน้อย"[163][164]

เงื่อนไขอื่น ๆ[แก้]

อ้างถึงเคนเน็ธ Mossman ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์สุขภาพและสมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษากำกับกิจการพลังงานสหรัฐ[165] "ปรัชญา LNT เป็นอนุรักษ์นิยมมากเกินไปและการฉายรังสีในระดับต่ำอาจเป็นอันตรายน้อยกว่าที่เชื่อกัน"[166] Yoshihisa Matsumoto นักชีววิทยารังสีที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว อ้างอิงถึงการทดลองในห้องปฏิบัติการกับสัตว์เพื่อแนะนำว่าจะต้องมีปริมาณหนึ่งที่เป็นเกณฑ์ที่ใต้เกณฑ์นั้นกลไกการซ่อมแซมดีเอ็นเอจะสามารถซ่อมแซมความเสียหายจากรังสีใด ๆ ได้อย่างสมบูรณ์[155] Mossman แนะนำว่าฝ่ายเสนอของรุ่นปัจจุบันเชื่อว่าการเป็นอนุรักษ์นิยมมีความเหมาะสมเนื่องจากความไม่แน่นอนรอบปริมาณรังสีระดับต่ำและมันจะดีกว่าที่จะมี "นโยบายสุขภาพของประชาชนอย่างรอบคอบ"[165]

เรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการจัดทำข้อมูลที่สอดคล้องกันกับข้อมูลที่มีพื้นฐานจากการวิเคราะห์ผลกระทบของการเกิดอุบัติเหตุที่เชียร์โนบีล ตั้งแต่ปี 1991 การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ทางสังคมและการเมืองได้เกิดขึ้นในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการบริหารงานของการดูแลสุขภาพ และกระทบกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม และลักษณะของข้อมูลทางสถิติที่เก็บรวบรวมได้[167] โรนัลด์ Chesser นักชีววิทยารังสีที่มหาวิทยาลัยเทคนิคเท็กซัสกล่าวว่า "การล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่ตามมา ทุนที่ขาดแคลน การวัดปริมาณรังสีที่ไม่แน่นอนและความยากลำบากในการติดตามผู้คนตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ได้จำกัดจำนวนของการศึกษาและความน่าเชื่อถือของพวกเขา"[155]

ผลกระทบที่ตามมาทางเศรษฐกิจและการเมือง[แก้]

ตึกที่ถูกปล่อยทิ้งร้างในเชียร์โนบีล
ประธานาธิบดีเมดเวเดฟของรัสเซียและประธานาธิบดี Yanukovych ของยูเครนวางพวงหรีดเพื่อระลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของภัยพิบัติเชียร์โนบีลเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2011

มันเป็นเรื่องยากที่จะจัดทำค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจโดยรวมของภัยพิบัติ ตามที่นาย Mikhail Gorbachev สหภาพโซเวียตใช้เงิน 18 ล้านรูเบิล (เทียบเท่ากับ US$ 18 พันล้านในเวลานั้น) ในการเก็บกักและลบล้างการปนเปื้อน แทบล้มละลาย[3] ในเบลารุสค่าใช้จ่ายทั้งหมดกว่า 30 ปีอยู่ที่ประมาณ US$ 235 พันล้าน (เงินดอลลาร์ในปี 2005)[143] ค่าใช้จ่ายต่อเนื่องเป็นที่รู้จักกันดีในรายงานปี 2003-2005 ของพวกเขา เชียร์โนบีลฟอรั่มกล่าวว่าระหว่าง 5% ถึง 7% ของรัฐบาลที่จ่ายในยูเครนยังคงเกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีล ในขณะที่ในเบลารุส มากกว่า $ 13 พันล้านคิดว่าน่าจะได้ใช้จ่ายไประหว่างปี 1991 ถึงปี 2003 ที่มี 22% ของงบประมาณของชาติเป็นการจ่ายเกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีลในปี 1991 และลดลง 6% ในปี 2002[143] ค่าใช้จ่ายในปัจจุบันจำนวนมากจะเกี่ยวข้องกับการชำระเงินให้กับผลประโยชน์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับเชียร์โนบีลให้กับประมาณ 7 ล้านคนทั่วทั้ง 3 ประเทศ[143]

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นช่วงเวลานั้นก็คือการรื้อถอน 784,320 เฮกแตร์ (1,938,100 ไร่) ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและ 694,200 เฮกแตร์ (1,715,000 ไร่) ของป่าจากการผลิต ในขณะที่จำนวนมากของพื้นที่เหล่านี้ถูกคืนกลับไปใช้ใหม่ ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางการเกษตรได้เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการสำหรับเทคนิคการเพาะปลูก ปุ๋ยและสารเติมแต่งที่พิเศษ[143]

ในทางการเมือง อุบัติเหตุได้ให้ความสำคัญที่ยิ่งใหญ่กับนโยบายใหม่ของโซเวียต - Glasnost[168][169] และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอย่างปลอมระหว่างโซเวียต-สหรัฐในตอนท้ายของสงครามเย็น ผ่านความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์[170]: 44–48  ภัยพิบัติได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในท้ายที่สุดของการสลายตัวของสหภาพโซเวียตในปี 1991 และมีอิทธิพลที่สำคัญในการปรับรูปร่างยุโรปตะวันออกใหม่[170]: 20–21 

ทั้งยูเครนและเบลารุสในเดือนแรก ๆ ของการเป็นอิสระ ได้ลดเกณฑ์รังสีทางกฎหมายจากระดับเกณฑ์ของสหภาพโซเวียตที่สูงก่อนหน้านี้ (จาก 35 rems ตลอดชีพภายใต้สหภาพโซเวียตลงมาที่ 7 rems ตลอดชีพในยูเครนและ 0.1 rems ต่อปีในเบลารุส)[137]: 46–7, 119–124  เกณฑ์ใหม่นี้ต้องมีการขยายดินแดนที่เคยถูกพิจารณาว่ามีการปนเปื้อน ในยูเครนกว่า 500,000 คนถูกอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในขณะนี้ หลายคนได้กลายเป็นผู้สมัครเพื่อรับสวัสดิการทางการแพทย์และอื่น ๆ ยูเครนยังคงเก็บรักษาเครื่องปฏิกรณ์ที่ถูกทำลายเพื่อที่จะจ้างแรงงานในขนาดที่ใหญ่มากเพื่อให้เวลาของการสัมผ้สแต่ละครั้งต่ำลง คนงานเหล่านี้จำนวนมากได้ลงทะเบียนนับตั้งแต่พิการและสมัครเข้ารับสวัสดิการ ในยูเครนภัยพิบัติเชียร์โนบีลเป็นไอคอนของขบวนการชาตินิยม มีสัญลักษณ์ว่าทุกสิ่งผิดเพราะสหภาพโซเวียต และสวัสดิการกลายเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญสำหรับการชนะต่อการไม่เป็นเมืองขึ้น ยูเครนได้พัฒนาระบบสวัสดิการขนาดใหญ่และเป็นภาระตั้งแต่นั้นและมันได้กลายเป็นเสียหายและไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น[170] มันได้นำเสนอข้อเรียกร้องด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 1991 โดยการสาธิตของความถูกต้องทางศีลธรรมของตัวมันเอง และโดยเป็นข้อถกเถียงสำหรับความต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ[170]: 24  เบลารุสในทางตรงกันข้ามจะอ่อนแอทางการเมืองเมื่อมันได้รับเอกราช และมองไปที่มอสโกสำหรับคำแนะนำ ในหลาย ๆ เสันทาง มันได้กลับไปที่นโยบายของสหภาพโซเวียตเก่าเกี่ยวกับความลับและการปฏิเสธ[137]: 46–7, 119–124 [170]: 22–24 

หลังเกิดเหตุ[แก้]

หลังการเกิดอุบัติเหตุ มีหลายคำถามเกี่ยวกับอนาคตของโรงงานและชะตากรรมของมันในที่สุด งานทั้งหมดบนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 5 และ 6 ที่ยังไม่เสร็จถูกระงับสามปีต่อมา อย่างไรก็ตามปัญหาที่โรงงานเชียร์โนบีลไม่ได้จบลงพร้อมกับภัยพิบัติในเครื่องปฏิกรณ์หมายเลข 4 เครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายถูกปิดผนึกและ 200 ลูกบาศก์เมตร (260 ลูกบาศ์กหลา) ของคอนกรีตถูกวางอยู่ระหว่างสถานที่เกิดภัยพิบัติและอาคารการดำเนินงาน[ต้องการอ้างอิง] งานนี้ได้รับการจัดการโดย Grigoriy Mihaylovich Naginskiy รองหัวหน้าวิศวกรของการติดตั้งและผู้อำนวยการก่อสร้าง-90 รัฐบาลยูเครนยังคงยอมให้สามเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือทำงานเพราะปัญหาการขาดแคลนพลังงานในประเทศ

การรื้อถอน[แก้]

บทความหลัก: โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์เชียร์โนบีล รื้อถอน

ในปี 1991 เกิดไฟไหม้ในอาคารกังหันของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 2[171] ต่อมาเจ้าหน้าที่ประกาศว่าเครื่องปฏิกรณ์ได้รับความเสียหายเกินกว่าจะซ่อมแชมและถูกทำให้เป็นออฟไลน์ เครื่องปฏิกรณ์ 1 ถูกรื้อถอนในเดือนพฤศจิกายนปี 1996 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงระหว่างรัฐบาลยูเครนและองค์กรระหว่างประเทศเช่น IAEA เพื่อสิ้นสุดการดำเนินงานที่โรงงาน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2000 ประธานาธิบดีในเวลานั้น Leonid Kuchma ปิดเครื่องปฏิกรณ์ที่ 3 ด้วยตัวเองในพิธีปิดโรงไฟฟ้าทั้งหมดอย่างเป็นทางการ[172]

การจัดการกับกากกัมมันตรังสี[แก้]

การบรรจุของเครื่องปฏิกรณ์[แก้]

เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลขณะนี้ถูกปิดล้อมอยู่ในโลงศพคอนกรีตขนาดใหญ่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของเครื่องปฏิกรณ์อื่น ๆ ที่โรงไฟฟ้า[173]

ตัวเก็บที่ปลอดภัยใหม่จะต้องถูกสร้างขึ้นภายในสิ้นปี 2005 อย่างไรก็ตาม มันมีปัญหาเนื่องจากความล่าช้าอย่างต่อเนื่องและ ณ ปี 2010 เมื่อการก่อสร้างเริ่มได้ในที่สุด มันคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2013 มันถูกเลื่อนออกไปอีกครั้งไปที่ปี 2016 ซึ่งเป็นตอนปลายของอายุการใช้งาน 30 ปีของโลงศพ โครงสร้างจะถูกสร้างขึ้นติดกับโรงเก็บเดิมและจะถูกเลื่อนให้เข้าที่โดยราง มันจะเป็นโลหะโค้งสูง 105 เมตร (344 ฟุต) และทอดยาว 257 เมตร (843 ฟุต) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งหน่วยที่ 4 และโครงสร้างอื่นที่สร้างขึ้นอย่างเร่งรีบในปี 1986 'กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีล' ถูกตั้งขึ้นในปี 1997 ได้รับ €810 ล้านจากผู้บริจาคและโครงการระหว่างประเทศเพื่อให้ครอบคลุมโครงการนี​​้และงานก่อนหน้า กองทุนนี้และ 'บัญชีความปลอดภัยนิวเคลียร์' ยังถูกใช้ในการรื้อถอนเชียร์โนบีลอีกด้วย ทั้งสองกองทุนมีการจัดการโดยธนาคารยุโรปเพื่อการบูรณะและพัฒนา (EBRD)[ต้องการอ้างอิง]

ในปี 2002 คนงานยูเครนประมาณ 15,000 คนยังคงทำงานในโซนการยกเว้น ทำการบำรุงรักษาโรงงานและปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุและการวิจัยอื่น ๆ และมักจะอยู่ในสภาพที่อันตราย[170]: 2  นักวิทยาศาสตร์ยูเครนทำงานเต็มกำลังภายในโลงศพ แต่บุคคลภายนอกจะยากที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไป ในปี 2006 ทีมงาน '60 นาที' ของออสเตรเลีย นำโดยนักข่าว ริชาร์ด Carleton และผู้ผลิต สตีเฟ่น Rice ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในโลงศพเป็นเวลา 15 นาทีและถ่ายเป็นภาพยนตร์ภายในห้องควบคุม[174]

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2013 ส่วนหลังคาพื้นที่ 600 m2 (6,500 ตารางฟุต) ของอาคารกังหันที่อยู่ติดกับโลงศพได้ทรุดตัวลงมา ตอนแรกมีการสันนิษฐานว่าหลังคาทรุดตัวลงเพราะน้ำหนักของหิมะบนนั้น อย่างไรก็ตามปริมาณของหิมะไม่ได้มีอะไรพิเศษ และรายงานของคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงของยูเครนสรุปว่าชิ้นส่วนที่ทรุดตัวลงมาของอาคารกังหันเป็นผลมาจากงานซ่อมแซมที่ไม่เป็นระเบียบและความเก่าแก่ของโครงสร้าง รายงานกล่าวถึงความเป็นไปได้ที่ว่าส่วนซ่อมแซมของอาคารกังหันเพิ่มแรงเครียดขนาดใหญ่บนโครงสร้างรวมมากกว่าที่คาดไว้ และคานรองรับหลังคาได้รับความเสียหายจากการกัดกร่อนและการเชื่อมที่ไม่เรียบร้อย ผู้เชี่ยวชาญหลายคน อย่างเช่น Valentin Kupny อดีตรองผู้อำนวยการโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ ได้เตือนว่ากลุ่มอาคารอยู่บนปากเหวของการล่มสลาย ปล่อยให้อาคารอยู่ในสภาพที่อันตรายมาก โครงสร้างเสริมแรงที่ถูกนำเสนอในปี 2005 ถูกยกเลิกโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ระดับกัมมันตภาพรังสีเพิ่มขึ้นไปที่ 19 becquerels ต่อลูกบาศก์เมตรของอากาศ หรือ 12 เท่าของค่าปกติ รายงานสันนิษฐานว่าสารกัมมันตรังสีจากภายในโครงสร้างแพร่กระจายไปยังสภาพแวดล้อมหลังจากหลังคาทรุดตัวลง คนงานทั้งหมด 225 คนที่ถูกจ้างโดยเชียร์โนบีลและบริษัทฝรั่งเศสที่กำลังสร้างโรงเก็บใหม่ถูกอพยพไม่นานหลังจากการถล่ม อ้างถึงผู้จัดการของกลุ่มอาคาร ระดับรังสีโดยรอบโรงงานอยู่ในระดับปกติ (ระหว่างวันที่ 5 และ 6 μSv/ชม) และไม่ควรมีผลต่อสุขภาพของคนงาน อ้างถึง Kupny สถานการณ์ได้รับการประเมินต่ำเกินไปโดยผู้จัดการกลุ่มอาคารนิวเคลียร์เชียร์โนบีลและข้อมูลต่างๆก็ถูกเก็บไว้เป็นความลับ[175][176]

การจัดการกับวัสดุและกากกัมมันตรังสี[แก้]

ณ ปี 2006 เชื้อเพลิงบางส่วนยังคงอยู่ในเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 ถึง 3 ส่วนใหญ่ในบ่อเชื้อเพลิงใช้แล้ว (อังกฤษ: spent fuel pool) ของแต่ละหน่วย เช่นเดียวกับวัสดุบางอย่างในบ่อสถานที่จัดเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วระหว่างกาล (อังกฤษ: interim storage facility (ISF-1)) ขนาดเล็ก

ในปี 1999 มีการเซ็นสัญญาเพื่อก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการกากกัมมันตรังสีในการจัดเก็บ 25,000 ส่วนประกอบเชื้อเพลิงใช้แล้วจากหน่วยที่ 1-3 และของเสียจากการดำเนินงานอื่น ๆ รวมทั้งวัสดุจากการรื้อถอนหน่วย 1-3 (ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่หน่วย RBMK ถูกปลดประจำการ ) สัญญาจะรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในการประมวลที่สามารถตัดส่วนประกอบเชื้อเพลิง RBMK และบรรจุวัสดุในถังซึ่งจะถูกเติมเต็มด้วยก๊าซเฉื่อยและทำการปิดด้วยการเชื่อม

ถังเหล่านั้นจะถูกเคลื่อนย้ายไปยังห้องใต้ดินแห้ง ซึ่งเป็นสถานที่ที่ภาชนะบรรจุเชื้อเพลิงจะถูกปิดล้อมนานถึง 100 ปี สถานที่เพื่อความสะดวกนี้สามารถบำบัดถังเชื้อเพลิงได้ 2500 ถังต่อปี และสถานที่นี้จะเป็นครั้งแรกของชนิดของมันสำหรับเชื้อเพลิงของ RBMK อย่างไรก็ตามหลังจากส่วนสำคัญของโครงสร้างอาคารจัดเก็บถูกสร้างขึน ข้อบกพร่องทางเทคนิคในแนวคิดก็โผล่ออกมา และสัญญาได้ยกเลิกในปี 2007 สถานที่จัดเก็บเชื้อเพลิงใชัแล้วระหว่างกาล (ISF-2) ตอนนี้จะถูกสร้างให้แล้วเสร็จโดยคนอื่น ๆ ในช่วงกลางปี​​ 2013[ต้องการอ้างอิง]

สัญญาอีกอันหนึ่งได้ถูกเซ็นสำหรับโรงบำบัดกากกัมมันตรังสีที่ของเหลว เพื่อจัดการกับกากของเหลวระดับต่ำและระดับกลางประมาณ 35,000 ลูกบาศก์เมตรที่จุดผลิต กากเหล่านี้จะต้องมีการทำให้เป็นของแข็งและนำไปฝังในที่สุดพร้อมกับขยะแข็งในไซต์งาน[ต้องการอ้างอิง]

ในเดือนมกราคมปี 2008 รัฐบาลยูเครนประกาศแผนการรื้อถอน 4 ระยะที่รวมเอากิจกรรมกำจัดของเสียดังกล่าวกับการดำเนินไปสู่การชำระล้างไซต์[97]

วัสดุที่ประกอบด้วยเชื้อเพลิง (FCMs)[แก้]

บทความหลัก: Corium (เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์)

ตามการประมาณการอย่างเป็นทางการ ประมาณ 95% ของเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์ 4 ในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ (ประมาณ 180 เมตริกตัน) ยังคงอยู่ภายในโรงเก็บ ที่มีกัมมันตภาพรังสีรวมเกือบ 18 ล้านคูรี (670 PBq) วัสดุกัมมันตรังสีประกอบด้วยชิ้นส่วนแกนกลาง ฝุ่นและ "วัสดุที่ประกอบด้วยเชื้อเพลิง" (อังกฤษ: fuel-containing materials (FCM)) ที่มีลักษณะเหมือนลาวา หรือที่เรียกว่า "corium" ที่ไหลไปทั่วอาคารปฏิกรณ์ที่พังเสียหายก่อนที่จะแข็งตัวอยู่ในรูปแบบเซรามิก

มีลาวาสามชนิดที่แตกต่างกันที่พบในห้องใต้ดินของอาคารเครื่องปฏิกรณ์ ได้แก่ลาวาสีดำ, สีน้ำตาล, และลาวาเซรามิกรูพรุน วัสดุลาวาเป็นแก้วซิลิเกตที่มีวัสดุอื่น ๆ ผสมอยู่ภายใน ลาวารูพรุนเป็นลาวาสีน้ำตาลที่หยดลงในน้ำและถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว

มันก็ไม่มีความชัดเจนว่าอีกนานเท่าไรที่รูปแบบเซรามิกจะสามารถชะลอการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสี จากปี 1997 ถึงปี 2002 สิ่งตีพิมพ์ที่ออกมาอย่างต่อเนื่องได้แนะนำว่าการฉายรังสีด้วยตัวเองของลาวาจะแปลงทั้งหมด 1,200 ตันให้เป็นฝุ่นขนาดหนึ่งในล้านเมตรและฟุ้งกระจายได้ภายในไม่กี่สัปดาห์[177] แต่มีรายงานว่าการสลายตัวของลาวามีแนวโน้มที่จะเป็นกระบวนการที่ช้าและค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าอย่างฉับพลันและรวดเร็ว[178] เอกสารเดียวกันระบุว่าการสูญเสียของยูเรเนียมจากเครื่องปฏิกรณ์ที่อับปางเป็นเพียง 10 กิโลกรัม (22 ปอนด์) ต่อปี อัตราที่ต่ำของการฉุดรั้งยูเรเนียมแนะนำว่าลาวานี้มีลักษณะที่ต้านทานต่อสภาพแวดล้อม[178] เอกสารยังระบุอีกด้วยว่าเมื่อโรงเก็บได้รับการปรับปรุง อัตราการฉุดรั้งของลาวาจะลดลง[178]

บางส่วนของพื้นผิวของการไหลของลาวาได้เริ่มต้นที่จะแสดงให้เห็นถึงแร่ธาตุยูเรเนียมใหม่ ๆ เช่น Na4(UO2)(CO3)3 และ uranyl carbonate อย่างไรก็ตาม ระดับของกัมมันตภาพรังสีเป็นเช่นว่าในช่วง 100 ปี การฉายรังสีด้วยตนเองของลาวา (2×1016 α สลายตัวต่อกรัมและ 2 ถึง 5×105 Gy ของ β หรือ γ) จะตกลงในระยะสั้นของระดับที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนคุณสมบัติของแก้ว (1018 α สลายตัวต่อกรัม และ 108 ถึง 109 Gy ของ β หรือ γ) นอกจากนี้อัตราการละลายของลาวาในน้ำจะต่ำมาก (10−7 กรัม·ซม−2·วัน−1) ที่แนะนำว่าลาวาไม่น่าที่จะละลายในน้ำ[178]

เขตยกเว้น[แก้]

บทความหลัก: เขตยกเว้นเชียร์โนบีล

ทางเข้าเขตยกเว้นเชียร์โนบีลหรือ'โซนของการแยก'รอบเชียร์โนบีล

พื้นที่ที่แต่เดิมขยายออกไป 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ในทุกทิศทางจากโรงไฟฟ้าถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โซนของการแยก" (อังกฤษ: zone of alienation) ซึ่งไม่มีใครอยู่เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นประมาณ 300 คนที่ปฏิเสธที่จะออกจากพื้นที่ พื้นที่นี้ส่วนใหญ่ได้ถูกเปลี่ยนกลับไปเป็นป่า และได้ถูกบุกรุกโดยสัตว์ป่าเพราะขาดการแข่งขันกับมนุษย์สำหรับพื้นที่และทรัพยากร แม้กระทั่งทุกวันนี้ ระดับรังสีมีสูงซะจนกระทั่งคนงานที่รับผิดชอบในการสร้างโลงศพได้รับอนุญาตให้ทำงานแค่ห้าชั่วโมงต่อวันเท่านั้นเป็นเวลาหนึ่งเดือนก่อนที่จะพักได้ 15 วัน เจ้าหน้าที่ยูเครนประเมินว่าพื้นที่นี้จะไม่ปลอดภัยต่อชีวิตมนุษย์ไปอีก 20,000 ปี[58]

ในปี 2011 ยูเครนได้เปิดโซนที่ถูกปิดผนึกรอบ ๆ เครื่องปฏิกรณ์เชียร์โนบีลให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นในปี 1986[179][180]

ไฟป่า[แก้]

ถ้าป่าที่ถูกปนเปื้อนด้วยสารกัมมันตรังสีถูกไฟใหม้ ไฟจะแพร่กระจายสารกัมมันตรังสีให้ออกไปไกลมากขึ้นโดยไปกับควัน[181][182]

โครงการกู้คืน[แก้]

กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีล[แก้]

บทความหลัก: Chernobyl Shelter Fund และ Chernobyl New Safe Confinement

กองทุนโรงเก็บเชียร์โนบีลได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 ที่ประชุมสุดยอด G8 ครั้งที่ 23 ที่เดนเวอร์ เพื่อเป็นเงินทุนการดำเนินงานตามแผนการสร้างโรงเก็บ (SIP) แผนนี้เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนสถานที่ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยทางระบบนิเวศโดยใช้วิธีการรักษาเสถียรภาพของโลงศพหลังการก่อสร้างอาคารเก็บที่ปลอดภัยใหม่ (อังกฤษ: new safe confinement (NSF)) ในขณะที่การประมาณการค่าใช้จ่ายเดิมของ SIP อยู่ที่ USD 768 ล้าน การประมาณการในปี 2006 จะอยู่ที่ USD 1.2 พันล้าน SIP จะถูกจัดการโดยบริษัทร่วมทุนของ Bechtel Battelle และไฟฟ้าฝรั่งเศส และออกแบบตามแนวความคิดสำหรับ NSC ที่ประกอบด้วยซุ้มประตูเคลื่อนที่ โดยสร้างให้ไกลจากโรงเก็บเพื่อหลีกเลี่ยงรังสีที่สูง ที่จะตกลงไปในโลงศพ NSC คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2015[183] และจะเป็นโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา

ขนาด:

  • ช่วง: 270 เมตร (886 ฟุต)
  • ความสูง: 100 เมตร (330 ฟุต)
  • ความยาว: 150 เมตร (492 ฟุต)

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ[แก้]

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในปี 2003 ได้เปิดตัวโครงการเฉพาะที่เรียกว่าโครงการการกู้คืนและพัฒนาเชียร์โนบีล (CRDP) เพื่อกู้คืนพื้นที่ได้รับผลกระทบ[184] โปรแกรมถูกริเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2002 ตามคำแนะนำในรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมากับมนุษย์เนื่องจากอุบัติเหตุนิวเคลียร์เชียร์โนบีล เป้าหมายหลักของกิจกรรมของ CRDP ก็คือการสนับสนุนรัฐบาลของประเทศยูเครนในการบรรเทาผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศระยะยาวของภัยพิบัติเชียร์โนบีล. CRDP ทำงานอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากเชียร์โนบีลในยูเครน 4 แห่ง ได้แก่ Kyivska, Zhytomyrska, Chernihivska และ Rivnenska

โครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของเชียร์โนบีลอุบัติเหตุ โครงการระหว่างประเทศเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของอุบัติเหตุเชียร์โนบีล (IPEHCA) ถูกจัดตั้งขึ้นและได้รับ US$ 20 ล้าน ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น ในความหวังของการค้นพบสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากรังสี 131I เงินทุนเหล่านี้ถูกแบ่งให้กับยูเครน เบลารุสและรัสเซีย ทั้งสามประเทศที่ได้รับผลกระทบหลัก สำหรับการสืบสวนต่อไปของผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากมีการคอร์รับชั่นอย่างมีนัยสำคัญในประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ส่วนใหญ่ของการช่วยเหลือจากต่างประเทศได้ถูกส่งไปยังรัสเซียและไม่มีผลลัพธ์ด้านบวกจากเงินจำนวนนี้มีการแสดงออกให้เห็น[ต้องการอ้างอิง]

ที่ระลึก[แก้]

เหรียญตราของโซเวียตที่เป็นรางวัลให้กับผู้ชำระบัญชี
เหรียญ 200,000 karbovanets ที่ออกโดยธนาคารแห่งชาติของประเทศยูเครนเพื่อรำลึกถึงวันครบรอบ 10 ปีของภัยพิบัติเชียร์โนบีล

The Front Veranda (1986), พิมพ์หินโดยซูซาน โดโรธี White ในหอศิลป์แห่งชาติของออสเตรเลีย[185] เป็นตัวอย่างของการรับรู้ทั่วโลกของเหตุการณ์ น้ำหนัก (อังกฤษ: heavy wator) ภาพยนตร์สำหรับเชียร์โนบีล ได้รับการนำเสนอวโดย Seventh Art ในปี 2006 เพื่อรำลึกถึงภัยพิบัติผ่านทางบทกวีและบัญชีมือแรก[186] ฟิล์มนำเสนอสารคดีเรื่องสั้นที่ดีที่สุดที่เทศกาลภาพยนตร์ Cinequest เช่นเดียวกับรางวัล "คะแนนที่ดีที่สุด" ที่โรดไอแลนด์[187] พร้อมกับการคัดกรองที่ Tate Modern[188]

Chernobyl Way เป็นการวิ่งแรลลี่ประจำปีในวันที่ 26 เมษายนโดยฝ่ายค้านในเบลารุสเพื่อเป็นความทรงจำของภัยพิบัติที่เชียร์โนบีล

ผลกระทบทางวัฒนธรรม[แก้]

บทความหลัก: ผลกระทบทางวัฒนธรรมของภัยพิบัติเชียร์โนบีลและการอภิปรายพลังงานนิวเคลียร์

อุบัติเหตุที่เชียร์โนบีลดึงดูดความสนใจเป็นอันมาก เพราะความไม่ไว้วางใจของผู้คนจำนวนมาก (ทั้งภายในและภายนอกสหภาพโซเวียต) ที่มีต่อหน่วยงานของสหภาพโซเวียต การอภิปรายจำนวนมากเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เชียร์โนบีลจึงเกิดขึ้นใน'โลกที่หนึ่ง'ในช่วงวันแรก ๆ ของเหตุการณ์ เพราะข้อมูลที่รวบรวมได้มีข้อบกพร่องขึ้นอยู่กับภาพที่ถ่ายจากอวกาศ มีความเข้าใจว่าปฏิกรณ์หน่วยที่สามก็ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุเช่นกัน[ต้องการอ้างอิง]

ผู้สื่อข่าวก็ไม่ไว้วางใจพวกมืออาชีพ (เช่นโฆษกจาก NRPB ของสหราชอาณาจักร) และในทางเดียวกันก็สนับสนุนให้ประชาชนไม่ไว้วางใจพวกนั้นด้วย[160]

ในอิตาลี อุบัติเหตุเชียร์โนบีลได้สะท้อนให้เห็นในผลของการลงประชามติเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เมื่อปี 1987 อันเป็นผลมาจากประชามติ อิตาลีเริ่มลดการใช้โรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ในปี 1988 เป็นการตัดสินใจหันหลังกลับอย่างมีประสิทธิภาพในปี 2008 การลงประชามติในปี 2011 ได้ตอกย้ำการคัดค้านอย่างแข็งแกร่งของชาวอิตาเลียนสำหรับพลังงานนิวเคลียร์ นี่เองที่เป็นการล้มเลิกการตัดสินใจของรัฐบาลในปี 2008

ในประเทศเยอรมนี อุบัติเหตุเชียร์โนบีลได้นำไปสู่​​การก่อตั้งกระทรวงสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลกลาง หลังจากที่หลายรัฐบาลท้องถิ่นได้ก่อตั้งตำแหน่งดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงได้รับอำนาจดูแลความปลอดภัยของเครื่องปฏิกรณ์อีกด้วย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคนปัจจุบันยังคงยึดถือในปี 2015 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังได้รับเครดิตกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับความเคลื่อนไหวต่อต้านนิวเคลียร์อีกด้วย ซึ่งถึงจุดสูงสุดในการตัดสินใจที่จะยุติการใช้พลังงานนิวเคลียร์ที่ได้วางแผนไว้โดยรัฐบาล Schröder ระหว่างปี 1998-2005

หมายเหตุ[แก้]

  1. "No one believed the first newspaper reports, which patently understated the scale of the catastrophe and often contradicted one another. The confidence of readers was re-established only after the press was allowed to examine the events in detail without the original censorship restrictions. The policy of openness (glasnost) and 'uncompromising criticism' of outmoded arrangements had been proclaimed back at the 27th Congress (of KPSS), but it was only in the tragic days following the Chernobyl disaster that glasnost began to change from an official slogan into an everyday practice. The truth about Chernobyl that eventually hit the newspapers opened the way to a more truthful examination of other social problems. More and more articles were written about drug abuse, crime, corruption and the mistakes of leaders of various ranks. A wave of 'bad news' swept over the readers in 1986–87, shaking the consciousness of society. Many were horrified to find out about the numerous calamities of which they had previously had no idea. It often seemed to people that there were many more outrages in the epoch of perestroika than before although, in fact, they had simply not been informed about them previously." -Kagarlitsky pp. 333–334
  2. "The mere fact that the operators were carrying out an experiment that had not been approved by higher officials indicates that something was wrong with the chain of command. The State Committee on Safety in the Atomic Power Industry is permanently represented at the Chernobyl station. Yet the engineers and experts in that office were not informed about the program. In part, the tragedy was the product of administrative anarchy or the attempt to keep everything secret." Medvedev, Z., pp. 18–20

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติศาสตร์ยุโรป หน้า 145 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
  2. Black, Richard (12 April 2011). "Fukushima: As Bad as Chernobyl?". BBC. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  3. 3.0 3.1 Gorbachev, Mikhail (1996), interview in Johnson, Thomas, The Battle of Chernobyl ที่ยูทูบ, [film], Discovery Channel, retrieved 19 February 2014.
  4. Finn, Peter (2005-09-06). "Chernobyl's Harm Was Far Less Than Predicted, U.N. Report Says". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2010-04-28.
  5. "Frequently Asked Chernobyl Questions". International Atomic Energy Agency – Division of Public Information. May 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
  6. "Table 2.2 Number of people affected by the Chernobyl accident (to December 2000)" (PDF). The Human Consequences of the Chernobyl Nuclear Accident. UNDP and UNICEF. 22 January 2002. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 17 September 2010.
  7. "Table 5.3: Evacuated and resettled people" (PDF). The Human Consequences of the Chernobyl Nuclear Accident. UNDP and UNICEF. 22 January 2002. p. 66. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-01. สืบค้นเมื่อ 17 September 2010.
  8. ICRIN Project (2011). International Chernobyl Portal chernobyl.info. สืบค้นเมื่อ 2011. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 Environmental consequences of the Chernobyl accident and their remediation: Twenty years of experience. Report of the Chernobyl Forum Expert Group ‘Environment’ (PDF). Vienna: International Atomic Energy Agency. 2006. p. 180. ISBN 92-0-114705-8. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  10. "Assessing the Chernobyl Consequences". International Atomic Energy Agency.
  11. "UNSCEAR 2008 Report to the General Assembly, Annex D" (PDF). United Nations Scientific Committee on the Effects of Atomic Radiation. 2008.
  12. "UNSCEAR 2008 Report to the General Assembly" (PDF). United Nations Scientific Committee on the Effects of Atomic Radiation. 2008.
  13. 13.0 13.1 Hallenbeck, William H (1994). Radiation Protection. CRC Press. p. 15. ISBN 0-87371-996-4. Reported thus far are 237 cases of acute radiation sickness and 31 deaths.
  14. "Chernobyl: the true scale of the accident". Chernobyl's Legacy: Health, Environmental and Socio-Economic Impacts. สืบค้นเมื่อ 15 April 2011.
  15. Cardis, E.; Krewski, D.; Boniol, M.; Drozdovitch, V.; Darby, S. C.; Gilbert, E. S.; Akiba, S.; Benichou, J.; Ferlay, J.; Gandini, S.; Hill, C.; Howe, G.; Kesminiene, A.; Moser, M.; Sanchez, M.; Storm, H.; Voisin, L.; Boyle, P. (2006). "Estimates of the cancer burden in Europe from radioactive fallout from the Chernobyl accident". International Journal of Cancer. 119 (6): 1224. doi:10.1002/ijc.22037.
  16. Chernobyl Cancer Death Toll Estimate More Than Six Times Higher Than the 4000 Frequently Cited, According to a New UCS Analysis เก็บถาวร 2011-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Note: "The UCS analysis is based on radiological data provided by UNSCEAR, and is consistent with the findings of the Chernobyl Forum and other researchers."
  17. 17.0 17.1 "Torch: The Other Report On Chernobyl—executive summary". European Greens and UK scientists Ian Fairlie PhD and David Sumner – Chernobylreport.org. April 2006. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  18. 18.0 18.1 18.2 "The Chernobyl Catastrophe. Consequences on Human Health" (PDF). Greenpeace. 2006.
  19. Alexey V. Yablokov; Vassily B. Nesterenko; Alexey V. Nesterenko (2009). Chernobyl: Consequences of the Catastrophe for People and the Environment (Annals of the New York Academy of Sciences) (paperback ed.). Wiley-Blackwell. ISBN 978-1-57331-757-3.
  20. Correspondence (see reference 17) to George Monbiot from Douglas Braaten, Director and Executive Editor, Annals of the New York Academy of Sciences, 2 April 2011: "In no sense did Annals of the New York Academy of Sciences or the New York Academy of Sciences commission this work; nor by its publication do we intend to independently validate the claims made in the translation or in the original publications cited in the work. The translated volume has not been peer-reviewed by the New York Academy of Sciences, or by anyone else."
  21. New York Academy of Sciences (2010-04-28). "Statement on Annals of the New York Academy of Sciences volume entitled "Chernobyl: Consequences of the Catastrophe for People and the Environment"". สืบค้นเมื่อ 2011-09-15.
  22. 22.0 22.1 M. I. Balonov (28 April 2010). "Review of Volume 1181". New York Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 15 September 2011. Full text PDF เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. Juhn, Poong-Eil, Kupitz, Juergen (1996). "Nuclear power beyond Chernobyl: A changing international perspective" (PDF). IAEA Bulletin. 38–1: 2.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Kagarlitsky, Boris (1989). "Perestroika: The Dialectic of Change". ใน Mary Kaldor, Gerald Holden, Richard A. Falk (บ.ก.). The New Detente: Rethinking East-West Relations. United Nations University Press. ISBN 0-86091-962-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  25. "Chernobyl cover-up a catalyst for 'glasnost'". Associated Press. 24 April 2006. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  26. 26.00 26.01 26.02 26.03 26.04 26.05 26.06 26.07 26.08 26.09 26.10 26.11 26.12 26.13 26.14 26.15 26.16 Medvedev, Zhores A. (1990). The Legacy of Chernobyl (Paperback. First American edition published in 1990 ed.). W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-30814-3.
  27. "DOE Fundamentals Handbook – Nuclear physics and reactor theory" (PDF). United States Department of Energy. January 1996. p. 61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  28. "Standard Review Plan for the Review of Safety Analysis Reports for Nuclear Power Plants: LWR Edition (NUREG-0800)". United States Nuclear Regulatory Commission. May 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2 June 2010.
  29. 29.0 29.1 Karpan 2006, pp. 312–13
  30. 30.00 30.01 30.02 30.03 30.04 30.05 30.06 30.07 30.08 30.09 30.10 "IAEA Report INSAG-7 Chernobyl Accident: Updating of INSAG-1 Safety Series, No.75-INSAG-7" (PDF). Vienna: International Atomic Energy Agency. 1992.
  31. Dyatlov 2003, p. 30
  32. 32.0 32.1 32.2 32.3 "Chernobyl: Assessment of Radiological and Health Impact, 2002 update; Chapter I - The site and accident sequence" (PDF). OECD-NEA. 2002. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03.
  33. "The official program of the test" (ภาษารัสเซีย).
  34. 34.0 34.1 Medvedev, Grigori (1989). The Truth About Chernobyl (Hardcover. First American edition published by Basic Books in 1991 ed.). VAAP. ISBN 2-226-04031-5.
  35. Dyatlov 2003, p. 31
  36. "What Happened at Chernobyl?". Nuclear Fissionary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 12 January 2011.
  37. The accumulation of Xe-135 in the core is burned out by neutrons. Higher power settings bring higher neutron flux and burn the xenon out more quickly. Conversely, low power settings result in the accumulation of xenon.
  38. The information on accident at the Chernobyl NPP and its consequences, prepared for IAEA, Atomic Energy, v. 61, 1986, pp. 308–320.
  39. The RBMK is a boiling water reactor, so in-core boiling is normal at higher power levels. The RBMK design has a negative void coefficient above 700 MW.
  40. "Physicians of Chernobyl Association" (ภาษารัสเซีย). Association «Physicians of Chernobyl». คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-01. สืบค้นเมื่อ September 3, 2013.
  41. E. O. Adamov; Yu. M. Cherkashov; และคณะ (2006). Channel Nuclear Power Reactor RBMK (ภาษารัสเซีย) (Hardcover ed.). Moscow: GUP NIKIET. ISBN 5-98706-018-4.
  42. Dyatlov, Anatoly. "4". Chernobyl. How did it happen? (ภาษารัสเซีย).
  43. "Chernobyl as it was – 2" (ภาษารัสเซีย).
  44. Davletbaev, RI (1995). Last shift Chernobyl. Ten years later. Inevitability or chance? (ภาษารัสเซีย). Moscow: Energoatomizdat. ISBN 5-283-03618-9.
  45. Checherov, K.P. (25–27 November 1998). Development of ideas about reasons and processes of emergency on the 4-th unit of Chernobyl NPP 26.04.1986 (ภาษารัสเซีย). Slavutich, Ukraine: International conference "Shelter-98".
  46. 46.0 46.1 Pakhomov, Sergey A.; Dubasov, Yuri V. (2009). "Estimation of Explosion Energy Yield at Chernobyl NPP Accident". Pure and Applied Geophysics. 167 (4–5): 575. doi:10.1007/s00024-009-0029-9.
  47. B. Medvedev (June 1989). "JPRS Report: Soviet Union Economic Affairs Chernobyl Notebook" (Republished by the Foreign Broadcast Information Service ed.). Novy Mir. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-24. สืบค้นเมื่อ 27 March 2011.
  48. "Cross-sectional view of the RBMK-1000 main building". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-13. สืบค้นเมื่อ 11 September 2010.
  49. "Meltdown in Chernobyl". National Geographic Channel (Video). National Geographic. 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  50. Shcherbak, Y (1987). Medvedev (บ.ก.). "Chernobyl". 6. Yunost: 44. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  51. 51.0 51.1 Adam Higginbotham (26 March 2006). "Adam Higginbotham: Chernobyl 20 years on | World news | The Observer". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  52. Mil Mi-8 crash near Chernobyl ที่ยูทูบ 2006.
  53. 53.0 53.1 53.2 53.3 "Special Report: 1997: Chernobyl: Containing Chernobyl?". BBC News. 21 November 1997. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  54. Zeilig, Martin (August–September 1995). "Louis Slotin And 'The Invisible Killer'". The Beaver. 75 (4): 20–27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 28 April 2008.
  55. 55.0 55.1 National Geographic, VOL. 171, NO. 5, May 1987 (article "Chernobyl – One Year After")
  56. "Веб публикация статей газеты". Swrailway.gov.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  57. Методическая копилка (ภาษารัสเซีย). Surkino.edurm.ru. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-17. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
  58. 58.0 58.1 Time: Disasters that Shook the World. New York City: Time Home Entertainment. 2012. ISBN 1-60320-247-1.
  59. 59.00 59.01 59.02 59.03 59.04 59.05 59.06 59.07 59.08 59.09 "Interview of Valentyna Shevchenko to "Young Ukraine" (Ukrainian Pravda)". Istpravda.com.ua. 25 April 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  60. Sahota, M. (dir).; Smith, A. (nar).; Lanning, G. (prod).; Joyce, C. (ed). (17 August 2004). "Meltdown in Chernobyl". Seconds From Disaster. ฤดูกาล 1. ตอน 7. National Geographic Channel.
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 61.4 61.5 Marples, David R. (1988). The Social Impact of the Chernobyl Disaster. New York, NY: St Martin's Press.
  62. "Chernobyl haunts engineer who alerted world". CNN Interactive World News. Cable News Network, Inc. 26 April 1996. สืบค้นเมื่อ 28 April 2008.
  63. 63.0 63.1 Video footage of Chernobyl disaster on 28 April ที่ยูทูบ (รัสเซีย)
  64. 64.0 64.1 The Chernobyl Gallery Timeline of Events
  65. Schmemann, Serge (1986-04-29). "Soviet Announces Nuclear Accident at Electric Plant". The New York Times. pp. A1. สืบค้นเมื่อ 26 April 2014.
  66. American TV-footage about Chernobyl
  67. Petrov, Yu. B.; Udalov, Yu. P.; Subrt, J.; Bakardjieva, S.; Sazavsky, P.; Kiselova, M.; Selucky, P.; Bezdicka, P.; Jorneau, C.; Piluso, P. (2009). "Behavior of melts in the UO2-SiO2 system in the liquid-liquid phase separation region". Glass Physics and Chemistry. 35 (2): 199–204. doi:10.1134/S1087659609020126. S2CID 135616447.
  68. Bogatov, S. A.; Borovoi, A. A.; Lagunenko, A. S.; Pazukhin, E. M.; Strizhov, V. F.; Khvoshchinskii, V. A. (2009). "Formation and spread of Chernobyl lavas". Radiochemistry. 50 (6): 650–654. doi:10.1134/S1066362208050131. S2CID 95752280.
  69. Journeau, Christophe; Boccaccio, Eric; Jégou, Claude; Piluso, Pascal; Cognet, Gérard (2001). "Flow and Solidification of Corium in the VULCANO Facility". Engineering case studies online. Commissariat à l'énergie atomique et aux énergies alternatives. CiteSeerX 10.1.1.689.108. OCLC 884784975.
  70. Medvedev Z. (1990). The Legacy of Chernobyl. W W Norton & Co Inc. pp. 58–59. ISBN 0-393-30814-6.
  71. 71.0 71.1 Chernobyl: The End of the Nuclear Dream, 1986, p.178, by Nigel Hawkes et al., ISBN 0-330-29743-0
  72. "Stephen McGinty: Lead coffins and a nation's thanks for the Chernobyl suicide squad". scotsman.com. 16 March 2011.
  73. Sattonnay, G.; Ardois, C.; Corbel, C.; Lucchini, J. F.; Barthe, M.-F.; Garrido, F.; Gosset, D. (2001). "Alpha-radiolysis effects on UO2 alteration in water". Journal of Nuclear Materials. 288: 11. doi:10.1016/S0022-3115(00)00714-5.
  74. Clarens, F.; De Pablo, J.; Díez-Pérez, I.; Casas, I.; Giménez, J.; Rovira, M. (2004). "Formation of Studtite during the Oxidative Dissolution of UO2 by Hydrogen Peroxide:  A SFM Study". Environmental Science & Technology. 38 (24): 6656. doi:10.1021/es0492891.
  75. Burakov, B. E.; Strykanova, E. E.; Anderson, E. B. (2012). "Secondary Uranium Minerals on the Surface of Chernobyl "Lava"". MRS Proceedings. 465. doi:10.1557/PROC-465-1309.
  76. Burns, P. C; K. A. Hughes (2003). "Studtite, (UO2)(O2)(H2O)2(H2O)2: The first structure of a peroxide mineral". American Mineralogist. 88 (7): 1165–1168.
  77. Tom Burnett (28 March 2011). "When the Fukushima Meltdown Hits Groundwater". Hawai'i News Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 2015-09-10.
  78. The Social Impact of the Chernobyl Disaster, 1988, p. 166, by David R. Marples ISBN 0-333-48198-4
  79. Collecting History (1986-04-26). "Medal for Service at the Chernobyl Nuclear Disaster". Collectinghistory.net. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  80. "Chernobyl's silent graveyards". BBC News. 20 April 2006.
  81. 81.0 81.1 81.2 81.3 81.4 81.5 81.6 81.7 Petryna, Adriana (2002). Life Exposed: Biological Citizens After Chernobyl. Princeton, NJ: Princeton University Press.
  82. IAEA Report INSAG-1 (International Nuclear Safety Advisory Group). Summary Report on the Post-Accident Review on the Chernobyl Accident. Safety Series No. 75-INSAG-1.IAEA, Vienna, 1986.
  83. 83.0 83.1 83.2 "Expert report to the IAEA on the Chernobyl accident" (ภาษารัสเซีย). 61. Atomic Energy. 1986. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  84. "INSAG-7 The Chernobyl Accident: Updating of INSAG-1" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  85. Masayuki Nakao. "Chernobyl Accident (Case details)".
  86. "NEI Source Book: Fourth Edition (NEISB_3.3.A1)". Insc.anl.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-08. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  87. "Facts: The accident was by far the most devastating in the history of nuclear power". Ten years after Chernobyl : What do we really know?. International Atomic Energy Agency (IAEA). 21 September 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  88. 88.0 88.1 88.2 88.3 88.4 Marples, David R. (May–June 1996). "The Decade of Despair". The Bulletin of the Atomic Scientists. 52 (3): 20–31.
  89. "Tchernobyl, 20 ans après" (ภาษาฝรั่งเศส). RFI. 24 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-30. สืบค้นเมื่อ 24 April 2006.
  90. "L'accident et ses conséquences: Le panache radioactif" [The accident and its consequences: The plume] (ภาษาฝรั่งเศส). Institut de Radioprotection et de Sûreté Nucléaire (IRSN). สืบค้นเมื่อ 16 December 2006.
  91. Jensen, Mikael; Lindhé, John-Christer (Autumn 1986). "International Reports – Sweden: Monitoring the Fallout" (PDF). IAEA Bulletin. International Atomic Energy Agency (IAEA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-16{{cite journal}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  92. Mould, Richard Francis (2000). Chernobyl Record: The Definitive History of the Chernobyl Catastrophe. CRC Press. p. 48. ISBN 0-7503-0670-X.
  93. Ikäheimonen, T.K. (บ.ก.). Ympäristön Radioaktiivisuus Suomessa – 20 Vuotta Tshernobylista [Environmental Radioactivity in Finland - 20 Years from Chernobyl] (PDF). Säteilyturvakeskus Stralsäkerhetscentralen (STUK, Radiation and Nuclear Safety Authority). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-16{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  94. "3.1.5. Deposition of radionuclides on soil surfaces" (PDF). Environmental Consequences of the Chernobyl Accident and their Remediation: Twenty Years of Experience, Report of the Chernobyl Forum Expert Group ‘Environment’. Vienna: International Atomic Energy Agency (IAEA). 2006. pp. 23–25. ISBN 92-0-114705-8. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  95. Gould, Peter (1990). Fire In the Rain: The Dramatic Consequences of Chernobyl. Baltimore, MD: Johns Hopkins Press.
  96. Gray, Richard (22 April 2007). "How we made the Chernobyl rain". Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
  97. 97.0 97.1 "Chernobyl Accident 1986". World Nuclear Association. April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-20. สืบค้นเมื่อ 21 April 2015.
  98. Dederichs, Herbert; Pillath, Jürgen; Heuel-Fabianek, Burkhard; Hill, Peter; Lennartz, Reinhard (2009). "Langzeitbeobachtung der Dosisbelastung der Bevölkerung in radioaktiv kontaminierten Gebieten Weißrusslands – Korma-Studie" [Long-term monitoring of radiation exposure of the population in radioactively contaminated areas of Belarus - Korma Study]. Schriften des Forschungszentrums Jülich: Reihe Energie & Umwelt / Energy & Environment. Forschungszentrum Jülich, Zentralbibliothek, Verlag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-21. สืบค้นเมื่อ 30 January 2011.
  99. fr:Conséquences de la catastrophe de Tchernobyl en France
  100. "'Radioactive boars' on loose in Germany". Agence France Presse. 10 August 2010. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
  101. Marples, David R. (1991). Ukraine Under Perestroika: Ecology, Economics and the Workers' Revolt. Basingstoke, Hampshire: MacMillan Press. pp. 50–51, 76.
  102. Wertelecki, W. (2010). "Malformations in a Chornobyl-Impacted Region". Pediatrics. 125 (4): e836–43. doi:10.1542/peds.2009-2219. PMID 20308207.
  103. Dancause, Kelsey Needham; Yevtushok, Lyubov; Lapchenko, Serhiy; Shumlyansky, Ihor; Shevchenko, Genadiy; Wertelecki, Wladimir; Garruto, Ralph M. (2010). "Chronic radiation exposure in the Rivne-Polissia region of Ukraine: Implications for birth defects". American Journal of Human Biology. 22 (5): 667–74. doi:10.1002/ajhb.21063. PMID 20737614.
  104. Møller, Anders Pape; Pape, Anders (April 1998). "Developmental Instability of Plants and Radiation from Chernobyl". Oikos. Nordic Ecological Society. 81 (3): 444–48. doi:10.2307/3546765. JSTOR 3546765.
  105. Saino, N.; Mousseau, F.; De Lope, T. A.; Saino, A. P. (2007). "Elevated frequency of abnormalities in barn swallows from Chernobyl". Biology Letters. 3 (4): 414–17. doi:10.1098/rsbl.2007.0136. PMC 1994720. PMID 17439847.
  106. Weigelt, E.; Scherb, H. (2004). "Spaltgeburtenrate in Bayern vor und nach dem Reaktorunfall in Tschernobyl". Mund-, Kiefer- und Gesichtschirurgie. 8 (2): 106. doi:10.1007/s10006-004-0524-1.
  107. Bennett, Burton; Repacholi, Michael; Carr, Zhanat, บ.ก. (2006). Health Effects of the Chernobyl Accident and Special Health Care Programmes: Report of the UN Chernobyl Forum, Expert Group "Health" (PDF). Geneva: World Health Organization (WHO). p. 79. ISBN 978-92-4-159417-2. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  108. 108.0 108.1 108.2 108.3 108.4 108.5 108.6 108.7 "Chernobyl: Assessment of Radiological and Health Impact, 2002 update; Chapter II - The release, dispersion and deposition of radionuclides" (PDF). OECD-NEA. 2002. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03.
  109. P. Gudiksen; และคณะ (1989). "Chernobyl Source Term, Atmospheric Dispersion, and Dose Estimation". Health Physics. 57(5).
  110. 110.0 110.1 "Chernobyl, Ten Years On: Assessment of Radiological and Health Impact" (PDF). OECD-NEA. 1995. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03.
  111. "The Society for Radiological Protection - SRP". Srp-uk.org. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  112. "Applet for kids". Colorado.edu. 1999-09-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-30. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  113. Ken Lyle. "Mathematical half life decay rate equations". Chem.purdue.edu. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  114. "Unfall im japanischen Kernkraftwerk Fukushima". ZAMG. 24 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  115. 115.0 115.1 Cesium-137: A Deadly Hazard. Large.stanford.edu (2012-03-20). Retrieved on 2013-02-13.
  116. 116.0 116.1 116.2 116.3 Marples, David R. (1988). The Social Impact of the Chernobyl Disaster. New York, NY: St Martin’s Press.
  117. 117.0 117.1 117.2 117.3 117.4 Chernobyl: Catastrophe and Consequences, Springer, Berlin ISBN 3-540-23866-2
  118. 118.0 118.1 Kryshev, I.I. (1995). "Radioactive contamination of aquatic ecosystems following the Chernobyl accident". Journal of Environmental Radioactivity. 27 (3): 207. doi:10.1016/0265-931X(94)00042-U.
  119. EURATOM Council Regulations No. 3958/87, No. 994/89, No. 2218/89, No. 770/90
  120. Fleishman, David G.; Nikiforov, Vladimir A.; Saulus, Agnes A.; Komov, Victor T. (1994). "137Cs in fish of some lakes and rivers of the Bryansk region and north-west Russia in 1990–1992". Journal of Environmental Radioactivity. 24 (2): 145. doi:10.1016/0265-931X(94)90050-7.
  121. 121.0 121.1 "Environmental consequences of the Chernobyl accident and their remediation"PDF IAEA, Vienna
  122. 122.0 122.1 Wildlife defies Chernobyl radiation, by Stefen Mulvey, BBC News
  123. 123.0 123.1 The International Chernobyl Project Technical Report, IAEA, Vienna, 1991
  124. "'Radiation-Eating' Fungi Finding Could Trigger Recalculation Of Earth's Energy Balance And Help Feed Astronauts".
  125. "25 Jahre Tschernobyl: Deutsche Wildschweine immer noch verstrahlt – Nachrichten Wissenschaft – WELT ONLINE". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). 18 March 2011. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  126. 126.0 126.1 "Record low number of radioactive sheep". The Local. The Local Europe AB. 23 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  127. "Fortsatt nedforing etter radioaktivitet i dyr som har vært på utmarksbeite – Statens landbruksforvaltning" (ภาษานอร์เวย์). SLF. 30 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-03. สืบค้นเมื่อ 21 June 2015.
  128. 128.0 128.1 Macalister, Terry; Helen Carter (12 May 2009). "Britain's farmers still restricted by Chernobyl nuclear fallout". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  129. Rawlinson, Kevin; Rachel Hovenden (7 July 2010). "Scottish sheep farms finally free of Chernobyl fallout". The Independent. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  130. "Post-Chernobyl disaster sheep controls lifted on last UK farms". BBC News. BBC. 1 June 2012. สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  131. Food Standards Agency (29 November 2012). "Welsh sheep controls revoked". สืบค้นเมื่อ 1 November 2013.
  132. Mould 2000, p. 29. "The number of deaths in the first three months were 31[.]"
  133. 133.0 133.1 133.2 133.3 "Chernobyl's Legacy: Health, Environmental and Socio-Economic Impacts" (PDF). Chernobyl Forum assessment report. Chernobyl Forum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-15. สืบค้นเมื่อ 21 April 2012.
  134. 134.0 134.1 134.2 Fairlie, Ian; Sumner, David (2006). The Other Report on Chernobyl (TORCH). Berlin: The European Greens.
  135. 135.0 135.1 135.2 135.3 135.4 Kuchinskaya, Olga (2007), We Will Die and Become Science: The production of invisibility and public knowledge about Chernobyl radiation effects in Belarus (doctoral dissertation), San Diego: University of California
  136. Mycio, Mary (2005). Wormwood Forest: A Natural History of Chernobyl. Washington, D.C.: Joseph Henry Press.
  137. 137.0 137.1 137.2 137.3 137.4 Marples, David R. (1996). Belarus: From Soviet Rule to Nuclear Catastrophe. Basingstoke, Hampshire: MacMillan Press.
  138. Chernobyl: the true scale of the accident, Joint News Release WHO/IAEA/UNDP, 5 SEPTEMBER 2005
  139. "UNSCEAR – Chernobyl health effects". Unscear.org. สืบค้นเมื่อ 23 March 2011.
  140. Rosenthal, Elisabeth. (6 September 2005) Experts find reduced effects of Chernobyl. nytimes.com. Retrieved 14 February 2008.
  141. "Thyroid Cancer". Genzyme.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  142. "CHERNOBYL at 25th anniversary Frequently Asked Questions April 2011" (PDF). World Health Organisation. 23 April 2011. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  143. 143.0 143.1 143.2 143.3 143.4 143.5 "Chernobyl's Legacy: Health, Environmental and Socia-Economic Impacts and Recommendations to the Governments of Belarus, Russian Federation and Ukraine" (PDF). International Atomic Energy Agency – The Chernobyl Forum: 2003–2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-15. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  144. "Excerpt from UNSCEAR 2001 REPORT ANNEX – Hereditary effects of radiation" (PDF). สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  145. Bogdanova TI, Zurnadzhy LY, Greenebaum E, McConnell RJ, Robbins J, Epstein OV, Olijnyk VA, Hatch M, Zablotska LB, Tronko MD. (2006). "A cohort study of thyroid cancer and other thyroid diseases after the Chornobyl accident: pathology analysis of thyroid cancer cases in Ukraine detected during the first screening (1998–2000)". Cancer. 11 (107): 2599–66. doi:10.1002/cncr.22321. PMC 2983485. PMID 17083123.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  146. Dinets A, Hulchiy M, Sofiadis A, Ghaderi M, Höög A, Larsson C, Zedenius J. (2012). "Clinical, Genetic and Immunohistochemical Characterization of 70 Ukrainian Adult Cases with Post-Chornobyl Papillary Thyroid Carcinoma". Eur J Endocrinol. 166 (6): 1049–60. doi:10.1530/EJE-12-0144. PMC 3361791. PMID 22457234.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  147. "20 years after Chernobyl – The ongoing health effects". IPPNW. April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-29. สืบค้นเมื่อ 24 April 2006.
  148. Mettler, Fred. "IAEA Bulletin Volume 47, No. 2 – Chernobyl's Legacy". Iaea.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  149. "What's the situation at Chernobyl?". Iaea.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-28. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  150. Mettler, Fred. "Chernobyl's living legacy". Iaea.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-05. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  151. "UNSCEAR assessment of the Chernobyl accident". United Nations Scientific Committee of the Effects of Atomic Radiation. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  152. "Historical milestones". United Nations Scientific Committee of the Effects of Atomic Radiation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-11. สืบค้นเมื่อ 14 April 2012.
  153. World Health Organisation "World Health Organization report explains the health impacts of the world's worst-ever civil nuclear accident", WHO, 26 April 2006. Retrieved 4 April 2011.
  154. Berrington De González, Amy; Mahesh, M; Kim, KP; Bhargavan, M; Lewis, R; Mettler, F; Land, C (2009). "Projected Cancer Risks from Computed Tomographic Scans Performed in the United States in 2007". Archives of Internal Medicine. 169 (22): 2071–77. doi:10.1001/archinternmed.2009.440. PMID 20008689.
  155. 155.0 155.1 155.2 Normile, D. (2011). "Fukushima Revives the Low-Dose Debate". Science. 332 (6032): 908–10. doi:10.1126/science.332.6032.908. PMID 21596968.
  156. "How Many Cancers Did Chernobyl Really Cause?". UCSUSA.org. 17 April 2011.
  157. Hawley, Charles. "Greenpeace vs. the United Nations". The Chernobyl Body Count Controversy. SPIEGEL. สืบค้นเมื่อ 15 March 2011.
  158. 158.0 158.1 "Details". Annals of the New York Academy of Sciences. Annals of the New York Academy of Sciences. สืบค้นเมื่อ 15 March 2011.
  159. - pp. 85-86, pp. 92-93 in "Radiation: What It Is, What You Need To Know" by Robert Peter Gale, M.D., Ph.D. and Eric Lax. Publisher: Alfred A. Knopf, New York, 2013. ("The correct number of Chernobyl-related cancers will never be known, in part because of the considerable uncertainties in estimating cancers and cancer deaths. Especially problematic is the controversy about whether very low doses of radiation, especially if given over a prolonged interval, increase cancer risk. There are other difficulties as well. For one, we do not know precisely what radiation dose most people received. People who were indoors when the radioactive plume passed received much less radiation than those who were outdoors. However, because most people did not know when the radioactive plume passed, they cannot accurately reconstruct their whereabouts at that time. Also, many people were evacuated from contaminated land at different times and thus received very different doses from ground and food contamination. Next we have the geopolitical reality that many of the exposed people no longer live in the Chernobyl area. Living elsewhere, even in other countries, they are lost to follow-up. The Chernobyl accident was relatively quickly followed by the dissolution of the Soviet Union, whereupon many people's lifestyles but perhaps not their lives changed, mostly for the worse. For example, cigarette smoking and alcohol consumption increased, resulting in a profound drop in life expectancy. Both activities are correlated with increased cancer risk independent of radiation exposure. Sorting out any changes in cancer incidence or prevalence will be difficult at best. […] Fourth, high-quality cancer registries were absent before and even after the accident, making it impossible to know with certainty the background rate of most cancers before the accident.")
  160. 160.0 160.1 Kasperson, Roger E.; Stallen, Pieter Jan M. (1991). Communicating Risks to the Public: International Perspectives. Berlin: Springer Science and Media. pp. 160–162. ISBN 0-7923-0601-5.
  161. Knudsen, L. B. (1991). "Legally induced abortions in Denmark after Chernobyl". Biomedicine & Pharmacotherapy. 45 (6): 229–31. doi:10.1016/0753-3322(91)90022-L. PMID 1912378.
  162. Trichopoulos, D; Zavitsanos, X; Koutis, C.; Drogari, P; Proukakis, C.; Petridou, E. (1987). "The victims of chernobyl in Greece: Induced abortions after the accident". British Medical Journal. 295 (6606): 1100. doi:10.1136/bmj.295.6606.1100. PMC 1248180. PMID 3120899.
  163. Parazzini, F.; Repetto, F.; Formigaro, M.; Fasoli, M.; La Vecchia, C . (1988). "Induced abortions after the Chernobyl accident". British Medical Journal. 296 (6615): 136. doi:10.1136/bmj.296.6615.136-a. PMC 2544742. PMID 3122957.
  164. Perucchi, M; Domenighetti, G (1990). "The Chernobyl accident and induced abortions: Only one-way information". Scandinavian Journal of Work, Environment & Health. 16 (6): 443–44. doi:10.5271/sjweh.1761. PMID 2284594.
  165. 165.0 165.1 "ASU school of life scientist:Kenneth Mossman". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-02. สืบค้นเมื่อ 2015-09-23.
  166. Mossman, Kenneth L. (1998). "The linear no-threshold debate: Where do we go from here?". Medical Physics. 25 (3): 279–84, discussion 300. doi:10.1118/1.598208. PMID 9547494.
  167. Shkolnikov, V.; McKee, M.; Vallin, J.; Aksel, E.; Leon, D.; Chenet, L; Meslé, F (1999). "Cancer mortality in Russia and Ukraine: Validity, competing risks and cohort effects". International Journal of Epidemiology. 28 (1): 19–29. doi:10.1093/ije/28.1.19. PMID 10195659.
  168. Shlyakhter, Alexander; Wilson, Richard (1992). "Chernobyl andGlasnost: The Effects of Secrecy on Health and Safety". Environment: Science and Policy for Sustainable Development. 34 (5): 25. doi:10.1080/00139157.1992.9931445.
  169. Petryna, Adriana (1995). "Sarcophagus: Chernobyl in Historical Light". Cultural Anthropology. 10 (2): 196. doi:10.1525/can.1995.10.2.02a00030.
  170. 170.0 170.1 170.2 170.3 170.4 170.5 Petryna, Adriana (2002). Life Exposed: Biological Citizens after Chernobyl. Princeton, NJ: Princeton University Press.
  171. "Information Notice No. 93–71". Nrc.gov. สืบค้นเมื่อ 20 August 2011.
  172. IAEA's Power Reactor Information System polled in May 2008 reports shutdown for units 1, 2, 3 and 4 respectively at 30 November 1996, 11 October 1991, 15 December 2000 and 26 April 1986.
  173. Чернобыль, Припять, Чернобыльская АЭС и зона отчуждения. ""Shelter" object description". Chornobyl.in.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 8 May 2012.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  174. "Inside Chernobyl". 60 Minutes Australia, Nine Network Australia. 16 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2015-09-25.
  175. "Collapse of Chernobyl nuke plant building attributed to sloppy repair work, aging". The Mainichi Newspapers. 25 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2013. สืบค้นเมื่อ 26 April 2013.
  176. Ukraine: Chernobyl nuclear roof collapse 'no danger', BBC News, 13 February 2013
  177. Baryakhtar, V.; Gonchar, V.; Zhidkov, A.; Zhidkov, V. (2002). "Radiation damages and self-sputtering of high-radioactive dielectrics: spontaneous emission of submicronic dust particles" (PDF). Condensed Matter Physics. 5 (3{31}): 449–471. doi:10.5488/cmp.5.3.449.
  178. 178.0 178.1 178.2 178.3 Borovoi, A. A. (2006). "Nuclear fuel in the shelter". Atomic Energy. 100 (4): 249. doi:10.1007/s10512-006-0079-3.
  179. "News". Yahoo News. Associated Press. 13 December 2010. สืบค้นเมื่อ 2 March 2012.
  180. "Tours of Chernobyl sealed zone officially begin". TravelSnitch. TravelSnitch. 18 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-30. สืบค้นเมื่อ 2015-09-25.
  181. "Chernobyl's radioactive trees and the forest fire risk" BBC News. Patrick Evans. 7 July 2012.
  182. "Forests Around Chernobyl Aren’t Decaying Properly" Smithsonian. Rachel Nuwer. March 14, 2014
  183. "NOVARKA and Chernobyl Project Management Unit confirm cost and time schedule for Chernobyl New Safe Confinement". 8 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-18. สืบค้นเมื่อ 28 March 2012.
  184. "CRDP: Chernobyl Recovery and Development Programme (United Nations Development Programme)". Undp.org.ua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-04. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  185. "''The Front Veranda'' (1986)". Susandwhite.com.au. สืบค้นเมื่อ 2013-09-12.
  186. "Processing the Dark: Heavy Water – A Film for Chernobyl | Movie Mail UK". Moviemail-online.co.uk. สืบค้นเมื่อ 31 July 2010.
  187. "Heavy Water: A film for Chernobyl". www.atomictv.com. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21.
  188. "Heavy Water: a film for Chernobyl". Atomictv.com. 26 April 1986. สืบค้นเมื่อ 6 August 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]