ฟิกซ์เอต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟิกซ์เอต
ผู้พัฒนาโทแพลน
ผู้จัดจำหน่ายโทแพลน
ออกแบบนัมเป คาเนโกะ
แต่งเพลงโทชิอากิ โทมิซาวะ
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวรันแอนด์กัน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, ร่วมมือกัน, หลายผู้เล่น (ผู้เล่นพร้อมกันสูงสุดสามคน)

ฟิกซ์เอต (อังกฤษ: FixEight)[a] เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดแนวรันแอนด์กันที่พัฒนาและเผยแพร่โดยบริษัทโทแพลนเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992[1] โดยเป็นเกมผู้สืบทอดจิตวิญญาณของเอาต์ โซน ค.ศ. 1990 ซึ่งโดดเด่นเพราะเป็นหนึ่งในไม่กี่เกมโดยโทแพลนที่ไม่ได้รับพอร์ตอย่างเป็นทางการไปยังคอนโซลภายในบ้านสมัยนั้น[2][3][4][5] เกมนี้มีฉากอยู่ในอนาคตที่เผ่าพันธุ์เอเลียนซึ่งรู้จักกันในชื่อกอซซูจากดาวเคราะห์สมมติชื่อฟอร์ทูนาบุกเข้ามาในเอกภพ และผู้เล่นได้รับมอบหมายจากรัฐบาลสหพันธ์กาแล็กติกในภารกิจกำจัดผู้รุกรานโดยสวมบทบาทเป็นทหารรับจ้างหนึ่งในแปดคน

ทั้งนี้ ใน ค.ศ. 2019 สิทธิ์ในฟิกซ์เอตได้เป็นของทัตสึจิง ซึ่งเป็นบริษัทที่ก่อตั้งใน ค.ศ. 2017 โดยมาซาฮิโระ ยูเงะ อดีตสมาชิกโทแพลน และปัจจุบันเป็นบริษัทในเครือของผู้ผลิตเกมอาร์เคดญี่ปุ่นอย่างเอกซา-อาร์เคเดีย ควบคู่ไปกับทรัพย์สินทางปัญญาของโทแพลนอื่น ๆ อีกมาก

รูปแบบการเล่น[แก้]

ภาพหน้าจอของรูปแบบการเล่น

ฟิกซ์เอตเป็นเกมแนวรันแอนด์กันเลื่อนแนวตั้งธีมบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ที่คล้ายกับเกมเอาต์ โซน ซึ่งผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นหนึ่งในแปดทหารรับจ้างที่เล่นได้ผ่านด่านที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ เจ็ดด่าน โดยแต่ละด่านจะมีบอสซึ่งต้องต่อสู้ก่อนที่จะผ่านด่านใด ๆ ต่อไป ในความพยายามที่จะกำจัดเผ่าพันธุ์เอเลียนกอซซูที่บุกรุกบนดาวเคราะห์ฟอร์ทูนาเป็นวัตถุประสงค์หลัก[6][7][8][9][10] เหล่าผู้เล่นต่อสู้กับศัตรูด้วยการเดินเท้า และเคลื่อนที่ขึ้นไปข้างบนตลอดเลเวล ผู้เล่นยังได้รับระเบิด "เอกซ์" จำนวนหนึ่ง ณ จุดเริ่มต้น ซึ่งสามารถโจมตีศัตรูที่อยู่ในรัศมีระเบิด ทำให้ผู้เล่นอยู่ยงคงกระพันในช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากใช้ระเบิด และจะเติมในสต็อกของผู้เล่นได้อีกจากการเก็บไอคอน "บี"[4][11][12][13]

ส่วนที่กลับมาจากเกมเอาต์ โซน คือระบบอาวุธ แม้ว่าจะมีการดัดแปลง ผู้เล่นจะติดตั้งอาวุธหลักสองชิ้นในตอนเริ่ม ซึ่งสามารถอัปเกรดได้โดยเก็บไอคอน "พี" และสลับระหว่างอาวุธทั้งสองได้ตามต้องการโดยยืนอยู่บนแผงเปลี่ยน แต่ตัวละครแต่ละตัวมีชุดอาวุธของตัวเอง เช่นเดียวกับชุดอาวุธของพวกเขา เป็นเจ้าของอาวุธพิเศษที่ได้มาจากไอคอน "?"[4][11][13] การไขว่คว้าไอคอน "?" หลังจากได้รับอาวุธพิเศษจะมอบคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น การเพิ่มความเร็วโดยรวมของตัวละครหรือเกราะป้องกัน[13] ส่วนไอเทมอื่น ๆ เช่น ทองคำแท่งและรูปปั้นทองคำยังสามารถรับคะแนนได้[11][13] ทั้งนี้ สิ่งที่ขาดหายไปจากเกมก่อนหน้าคือระบบแถบพลังงานที่ผู้เล่นต้องตระหนักถึงระดับพลังงานที่หมดลง[4]

หากผู้เล่นเดี่ยวล้มลง ตัวละครของพวกเขาจะเกิดใหม่ทันทีในตำแหน่งที่พวกเขาตาย ซึ่งแตกต่างจากระบบเช็กพอยต์ของเกมก่อนหน้า[4] การโดนศัตรูยิง, การชนกับสิ่งกีดขวางที่แข็งในต่าน หรือการตกจากด่านจะส่งผลให้สูญเสียชีวิต เช่นเดียวกับบทลงโทษของการลดอำนาจการยิงรวมทั้งความเร็วของตัวละครให้กลับสู่สภาพเดิม และเมื่อทุกชีวิตสูญเสียไป เกมจะโอเวอร์ เว้นแต่ผู้เล่นจะใส่เครดิตเพิ่มในเครื่องอาร์เคดเพื่อเล่นต่อ ซึ่งแม้ว่าจะมีฉากจบ แต่เกมจะวนกลับไปที่ด่านแรกหลังจากจบด่านสุดท้ายเช่นเดียวกับเกมก่อนหน้าจากบริษัทโทแพลน โดยลูปที่สองจะเพิ่มความยากและศัตรูจะยิงรูปแบบกระสุนที่หนาแน่นขึ้น นอกเหนือจากการเกิดของกระสุนพิเศษเมื่อถูกทำลาย (บางครั้งเรียกว่า 'กระสุนฆ่าตัวตาย' หรือ 'เอฟเฟกต์กระสุนที่กระดอน') และการเอาชนะลูปที่สองส่งผลให้ถูกส่งกลับไปยังด่านแรก โดยเริ่มลูปที่สาม

สรุปความ[แก้]

โครงเรื่อง[แก้]

ฟิกซ์เอตเกิดขึ้นในอนาคตที่เผ่าพันธุ์เอเลียนที่รู้จักกันในชื่อกอซซูจากดาวฟอร์ทูนาได้รุกรานจักรวาล ทำให้รัฐบาลของสหพันธ์กาแล็กติกปล่อยกลุ่มทหารรับจ้างแปดนายจากการจำคุกในเรือนจำดาวเคราะห์น้อย และส่งพวกเขาไปยังดาวฟอร์ทูนาด้วยภารกิจในการทำลายล้างผู้รุกรานข้าง ๆ ดาวเคราะห์ของพวกเขา[4][11][12][13]

ตัวละคร[แก้]

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

ฟิกซ์เอตได้รับการวางจำหน่ายในอาร์เคดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1992[1] แม้จะแชร์กลไกรูปแบบการเล่นแบบเดียวกัน แต่ทัตสึยะ อูเอมูระ ผู้แต่งดนตรีเอาต์ โซน ได้ระบุในพอดแคสต์เมื่อ ค.ศ. 2017 ว่าฟิกซ์เอต ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเกมอันก่อน แม้ว่าเขาและสมาชิกในทีมดั้งเดิมจะไม่มีส่วนร่วมระหว่างการพัฒนาก็ตาม[15][16] ตามที่จุงยะ อิโนอูเอะ อดีตนักออกแบบของบริษัทโทแพลนกล่าวไว้ ฟิกซ์เอตได้รับการออกแบบโดยนัมเป คาเนโกะ ผู้เป็นสมาชิกที่ต่อมาได้ทำงานในนักเคิลแบช ก่อนที่จะลาออกจากบริษัทและทำงานเป็นนักวาดภาพประกอบให้แก่นิตยสารของญี่ปุ่น[17][18] ส่วนซาวด์แทร็กแต่งโดยโทชิอากิ โทมิซาวะ[19] ซึ่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1992 มีอัลบัมที่ได้รับการเผยแพร่ร่วมกันในญี่ปุ่นโดยเฉพาะโดยไซทรอนและโพนีแคนยอน โดยมีเพลงเรียบเรียงที่แต่งโดยโทมิซาวะ[19] นอกจากนี้ สื่อบันทึกเพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่บริษัทโทแพลนส่งไปยังผู้ให้บริการอาร์เคดยังมีเพลงที่เรียบเรียงซึ่งไม่มีอยู่ในอัลบัม ค.ศ. 1992[20]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ ญี่ปุ่น: フィグゼイト -地獄の英雄伝説-โรมาจิ: 'FixEight: Jigoku no Eiyū Densetsu'ฟิกซ์เอต: ตำนานวีรบุรุษแห่งนรก ในประเทศญี่ปุ่น

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Akagi, Masumi (13 October 2006). タイトー (Taito); 東亜プラン (Toa Plan); Taito America; F. アーケードTVゲームリスト 国内•海外編 (1971-2005) (ภาษาญี่ปุ่น) (1st ed.). Amusement News Agency. pp. 44, 50, 137, 152. ISBN 978-4990251215.
  2. Yanma (August 1992). "Super Soft Hot Information - Video Game: フィグゼイド". Micom BASIC Magazine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 122. The Dempa Shimbunsha Corporation. p. 239.
  3. S.E.A. (March 1993). "Arcade Machine: Fixeight - Armamento infalible". Micromanía (ภาษาสเปน). Vol. 2 no. 58. HobbyPress. p. 70.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Zverloff, Nick (5 กุมภาพันธ์ 2011). "Toaplan Shooters (Page 5) - Fixeight". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
  5. "The Unconverted: FixEight". Retro Gamer. No. 127. Future Publishing. March 2014. p. 67.
  6. "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 75. Shinseisha. August 1992. p. 70.
  7. "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 76. Shinseisha. September 1992.
  8. "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 80. Shinseisha. November 1992.
  9. "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 84. Shinseisha. February 1993.
  10. "フィグゼイト". Gamest (ภาษาญี่ปุ่น). No. 107. Shinseisha. February 1994.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 FixEight arcade flyer (Toaplan, JP)
  12. 12.0 12.1 FixEight manual (Toaplan, EU)
  13. 13.0 13.1 13.2 13.3 13.4 "FIXEIGHT" (ภาษาญี่ปุ่น). Shooting Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
  14. 14.0 14.1 14.2 derboo (October 2012). "Tracing the Influence: Stolen Images in Games - Part 5: Other: In-game graphics". Hardcore Gaming 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15.
  15. "東亜プラン シューティングクロニクル". SweepRecord (ภาษาญี่ปุ่น). SuperSweep. 14 November 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2018-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  16. Brian Mosley; James Brunner (มีนาคม 2017). "Out Zone with guest Tatsuya Uemura – PA76" (Podcast). Pixelated Audio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2019.
  17. "井上淳哉 - 「エスプレイド」「ぐわんげ」を創った男". Continue (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 6. Ohta Publishing. September 2002. ISBN 978-4872337006. (Translation by Gamengai. เก็บถาวร 2019-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Transcription by Gaijin Punch. เก็บถาวร 2006-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  18. "イラストレーターのわ第16回/金子ナンペイ". ワコムタブレットサイト (ภาษาญี่ปุ่น). Wacom. 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-13.
  19. 19.0 19.1 "PCCB-00100 | FIXEIGHT". vgmdb.net. VGMdb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-15. (Translation by Shmuplations. เก็บถาวร 2019-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  20. Tatsuya Uemura (July 27, 2019). 『Fixeight』1992年JAMMAショー用PV. YouTube. สืบค้นเมื่อ 2019-12-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]