พูดคุย:ไตรลักษณ์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงพระธรรมจักร
ธงพระพุทธศาสนาสากล
ไตรลักษณ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระพุทธศาสนา และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ถ้าต้องการมีส่วนร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมได้ที่หน้าโครงการ
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ไตรลักษณ์ == สามัญลักษณะ == อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะ, อนัตตลักษณะ
อนิจจัง != อนิจจลักษณะ
ทุกขัง != ทุกขลักษณะ
อนัตตา != อนัตตลักษณะ
so
ไตรลักษณ์ != อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
????! --125.24.1.123 00:55, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT) งงงง

ค้นมาฝาก (จากหนังสือพุทธธรรม ท่านไม่ได้ใช้ว่า "อนิจจัง กับ อนิจจลักษณะ ไม่เหมือนกัน")

http://www.geocities.com/wisootwiseschinda/p70a8.doc

http://www.geocities.com/wisootwiseschinda/p70a9.doc

http://www.geocities.com/dharma_buddha/

--125.24.1.123งงงง

อธิบายว่า อ้างอรรถกถาเล่มเดียวกันแต่คนละแห่งครับ[แก้]

สวัสดี ครับ คุณ ????! ไอพี - 125.24.1.123.
อนุโมทนาด้วยครับ อุตสาห์อ่านจนจบ ไม่ใช่เรื่องอ่านได้ง่ายเลย.

  • เรื่องไตรลักษณ์ ในพุทธธรรมตามที่ คุณ ????! ยกมานั้น ให้ตามเชคที่เชิงอรรถจะพบว่าท่านเจ้าคุณยกหลักฐานมาคนละที่กับบทความนี้ ครับ.

ที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ยกมานั้น อยู่ในมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส เป็นส่วนมาก ซึ่งในที่นั้นท่านพระพุทธโฆสาจารย์ไม่ได้แสดงเรื่องความต่างของ อนิจจังกับอนิจจลักษณะ เป็นต้นไว้ครับ.
ส่วนที่บทความนี้ยกมาอธิบายส่วนใหญ่จะอยู่ในปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิทเทส ซึ่งอยู่ถัดไปอีกญาณหนึ่ง จึงทำให้ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ไม่ได้แสดงเรื่องนี้ไว้ ครับ[1].
ในวิสุทธิหลังนี้ท่านได้วิภาคความต่างของ "1. อนิจฺจํ, 2. อนิจฺจลกฺขณํ, 3. ทุกฺขํ, 4. ทุกฺขลกฺขณํ, 5. อนตฺตา, 6. อนตฺตลกฺขณํ"ไำว้ ทั้งนี้ท่านให้เหตุผลว่าเพื่อให้ญาณชัดขึ้นจนบรรลุปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ.


อนุโมทนาด้วยครับ อุตสาห์อ่านจนจบ ไม่ใช่เรื่องอ่านได้ง่ายเลย
แสดงว่าเห็นด้วยว่า "ไม่ใช่เรื่องอ่านได้ง่ายเลย"
ย้ายไปวิกิตำราเหอะนะ สงสารเด็กมัธยมที่มาค้นเรื่องไตรลักษณ์ในวิกิพีเดียไทย (คง bad impression ไปเลย)--202.149.25.233 14:09, 9 กรกฎาคม 2551 (ICT)
เรื่องเคยมีมาแล้ว ใครค้นนึงค้น-ศึกษาเรื่องไตรลักษณ์จากวิกิพีเดียไทย มีความสงสัยว่า "ทุกสิ่งทั้งปวงล้วนอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ เมื่อไม่มีสิ่งใดเป็นของใคร การลัก, ขโมย, หรือ การผิดศีลข้อ 2 จะเกิดขึ้นได้อย่างไร" http://larndham.net/index.php?showtopic=32514&st=0 --118.173.250.77 23:35, 27 กรกฎาคม 2551 (ICT)

สวัสดี ครับ คุณ ผู้ใช้ไอพี 202.149.25.233.
ขอบคุณมากจริงๆ ครับ สำหรับคำแนะนำดีๆ.
ผมขอพิจารณาดูก่อนครับ เพราะกำลังจะปรับปรุงอยู่พอดี (ขอเวลา 4-5 เดือน).
คือ ความจริง ผมก็เกรงจะเป็นเช่นนั้นครับ จึงกำลังจะย่อเนื้อหาลงอีก. ทั้งนี้ตอนแรกเกรงว่า ทางผู้ดูแลจะรู้สึกว่าเป็นบทความเขียนเอาเอง จึงได้อ้างอิงไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้. อีกประการหนึ่ง คือ เนื้อหามีประเด็นค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทยอยู่มาก จึงได้อ้างอิงและอธิบายไว้เพื่อสะดวกต่อการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย ครับ. อย่างไรก็ตาม คิดว่า จะแก้ปัญหาด้วยการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อนไปยังลิงค์ต่างๆ ซึ่งขอเวลาประมาณ4-5 เดือน ครับ.
คุณ ผู้ใช้ไอพี 202.149.25.233 ลองอ่านดูนะครับ เป็นเนื้อหาที่พยายามรวบรวมให้มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ โดยใช้เวลาค้นคว้าอยู่เป็นปี(ด้วยความรักในคำสอนนะครับ ไม่ได้ทำเป็นผลงานส่งใครแต่อย่างใด) และ พยายามอ้างอิงให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้มากที่สุด ครับ.
ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ครับ โอกาสหน้าอย่าลืมบอกกล่าวตักเตือนกันอีกนะครับ.
สวัสดี ครับ.

16:30, 9 กรกฎาคม 2551 (ICT)

Feel good that U understand.This is great info.,that need special(not easy) way to present(so that anyone can get this concept).--203.146.63.187 17:40, 9 กรกฎาคม 2551 (ICT)

คำถามอื่นๆ[แก้]

ท่านขอหลักฐานอ้างอิงเพิ่มได้อีกที่นี่ และ คุยกับผู้ใช้:budthai(กันหาย) โดยปลายปี 2551 หรือ ต้นปี 2552 ผู้เขียนจัะกลับมาเชคอีกครั้ง(ไปต่างจังหวัดหลายเดือน). --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Budthai (พูดคุยหน้าที่เขียน) 07:03, 9 กรกฎาคม 2551 (ICT) สิริธรรมโชติกุล

อ้างอิง-เชิงอรรถ[แก้]

  1. ในขั้นตอนการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้บรรลุปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ท่านจะแสดงรายละเอียดส่วนที่ซับซ้อนลงไปกว่ามัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ, เนื่องจากการเจริญวิปัสสนาเพื่อบรรลุปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินั้น จะต้องเป็นผู้ที่บรรลุมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และกำลังจะทำปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ(ระดับภังคญาณ)ต่อไป. ท่านจึงแสดงเนื้อหาที่ต้องใช้พิจารณาให้ละเอียดลงไปอีก เพื่อให้ผู้ปฏิบัตินำไปใคร่ครวญตามจนญาณคมชัดแกล้วกล้าขึ้นบรรลุปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิในที่สุดรายละเอียดดูในอ้างอิงที่ได้ยกมาแล้ว.
    นอกจากข้อความในที่นี้แล้ว ยังสามารถพบในอานาปานสติกถา สมาธินิทเทส(แต่เปลี่ยนจากอนิจจลักษณะเป็นอนิจจตา, ส่วนอนิจจัง ใช้เหมือนเดิม), และใน สัมโมหวิโนทนี เป็นต้นด้วย. ซึ่งอรรถกถาเหล่านี้ ที่ชื่อ สัมโมหวิโนทนี จะมีพระฎีกาจารย์ชื่อ อานันนทาจารย์ อธิบายสมทบไว้ โดยมีพระอรรถกถา-ฎีกาจารย์อีกรูปหนึ่ง ชื่อ พระธรรมปาลาจารย์ ท่านได้รจนาคัมภีร์อนุฎีกาเพื่ออธิบายสมทบไว้อีก, และท่านธัมมปาลาจารย์ยังได้รจนามหาฎีกา ชื่อ ปรมัตถมัญชูสา อ�กเล่มเพื่ออธิบายคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงทำให้ข้อมูลที่ได้มีความชัดเจนมากขึ้นไปอีก.
  2. - อภิ.ธ.อ.มกุฏ 75/-/620", บาลีอยู่ใน "​โลกุตฺตรกุสลวณฺณนา​ - -34- ​อฏฺฐสาลินี​ ​ธมฺมสงฺคณี​-​อฏฺฐกถา​ (พุทฺธโฆส) - ​อภิ​.​อฏฺ​. 1 ​ข้อ​ 350"
  3. อภิธมฺมวิกาสินี 2 อภิธมฺมาวตารฎีกา 2(สุมงฺคลมหาสามิ อภิธมฺมตฺถสงฺคห-อฏฺถกถาย อภิธมฺมตฺถวิภาวินีฎีกาจริโย) - 12. ทฺวาทสโม ปริจฺเฉโท ปญฺญตฺตินิทฺเทสวณฺณนา - อภิธมฺมาวตาร.ฏี.2/777