พูดคุย:อาร์เอ็มเอส ไททานิก

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอ็มเอส ไททานิก เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ อาร์เอ็มเอส ไททานิก หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 ดี  บทความนี้อยู่ที่ระดับดี ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ไม่มีชื่อเรื่อง[แก้]

สวัสดีครับ ผมเห็นคุณเขียนบทความเกี่ยวกับเรือไททานิก ไม่ทราบว่าคุณชอบเรือด้วยหรือเปล่า ผมชื่นชอบประวัติศาสตร์ของเรือมาก ถ้ามีโอกาสคุยทางเอ็มเอสเอ็นได้หรือเปล่าครับ

จาก คนชอบเรือ ^.^ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 118.173.237.71 (พูดคุย | ตรวจ) 06:32, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

สวัสดีครับ ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่ทดลองเขียน --lovekrittaya but gwperi 13:46, 22 ตุลาคม 2551 (ICT)

ลักษณะเฉพาะ[แก้]

ชื่อเต็ม: Royal Mail Steamer Titanic

เจ้าของ: บริษัทไวท์ สตาร์ ไลน์

ต่อขึ้นที่: อู่ต่อเรือ ฮาร์แลนด์ แอนด์ วูลฟฟ์ ในควีนส์ ไอแลนด์ เมืองเบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือ ประเทศอังกฤษ งบประมาณ: 1.75 ล้านปอนด์ (ในปี ค.ศ. 1912) หรือประมาณ 650-900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ในยุคปัจจุบัน)

จดทะเบียนที่: ลิเวอร์พูล, อังกฤษ, สหราชอาณาจักร

วางกระดูกงู: 31 มีนาคม ค.ศ. 1909

ดำเนิการก่อสร้างตัวเรือ: กันยายน ค.ศ. 1909 - พฤษภาคม ค.ศ. 1909

ปล่อยลงน้ำ: 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 เวลา 10.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น

พิธีตั้งชื่อเรือ: ไม่มี

ตกแต่ง ติดตั้งอุปกรณ์ภายใน : 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 - 1 เมษายน ค.ศ. 1912 ดำเนินการโดย บริษัท ทอมป์สัน แอนด์ ซันส์ จำกัด ในควีนส์ ไอแลนด์ เมืองเบลฟัสต์ ไอร์แลนด์เหนือ ประเทศอังกฤษ

ทดสอบเรือ: 1 เมษายน ค.ศ. 1912- 8 เมษายน ค.ศ. 1912

เส้นทางประจำเที่ยวเรือ: เบลฟัสต์ - ควีนส์ทาวน์ (ท่าเรือโคบห์) - แชร์บรูก - เซาแธมป์ตัน - นิวยอร์ก

ประสบอุบัติเหตุ: วันเสาร์ที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 23.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น

อับปางลง: วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 เวลา 02.20น.

สัดส่วนเรือ[แก้]

ความยาว: ความยาวตลอดลำ 883 ฟุต 9 นิ้ว ยาวกว่าเรือโอลิมปิก 3 นิ้ว[1] โดยมีความยาวแนวน้ำ 710 ฟุต 5 นิ้ว

ความกว้าง: วัดที่แนวน้ำกลางลำเรือ 92ฟุต 6 นิ้ว

กินน้ำลึก: วัดจากกลางท้องเรือถึงแนวน้ำ 59 ฟุต 2 นิ้ว

ความสูง: วัดจากแนวน้ำถึงดาดฟ้าเรือบด 60ฟุต 6 นิ้ว และวัดจากกระดูกงูถึงปลายปล่องไฟ 175 ฟุต

ขนาด: 46,439 ตันเนจ, ระวางขับน้ำ 52,310 ตัน

ลักษณะทั่วไป[แก้]

ปล่องไฟ: 4 ปล่อง ติดหวูดไอน้ำทุกปล่อง ใช้เส้นเคเบิลตรึงปล่องละ 12 เส้น โดยแต่ละปล่องทำมุม 3.27 องศาจากแนวตั้งฉาก ใช้งานจริง 3 ปล่องแรก ปล่องสุดท้ายให้ระบายอากาศและทำให้ดูสมดุล

การทาสี: ปลายปล่องไฟทาสีดำ ตัวปล่องทาสีเหลืองอ่อนเนื้อลูกวัว ซุเปอร์สตรัคเจอร์ทาสีขาวงาช้าง ตัวเรือทำสีดำ โดยมีแถบสีทองคาดกลางระหว่างตัวเรือและซุเปอร์สตัคเจอร์ตลอดความยาวเรือ ท้องเรือใต้แนวน้ำทางสีแดง ใบจักรสีทองบรอนซ์

หัวรือ: ออกแบบให้มีที่ตัดน้ำแข็งทางหัวเรือ โดยมี สมอเรือ 2 ตัว ปั่นจั่น 1 ตัว เสากระโดงเรือ 1 ต้องและช่องขนสินค้า

ท้ายเรือ: หางเสือ 1 ตัว, สะพานเทียบเรือ, ปั้นจั่นยกสินค้า 2 ตัว

ประเภทวัสดุสร้างเรือ: เฟรม ทำจาก เหล็ก, โครงสร้างภายใน ทำจาก ไม้, เปลือกเรือภายในและภายนอก ทำจาก เหล็กกล้า พื้นดาดฟ้าเรือ ปูด้วย ไม้สัก ปล่องไฟ ทำจาก เหล็กกล้า, เสากระโดงเรือ ทำจาก ไม้สนสพรูซ (spruce) ท้องเรือ 2 ชั้น มีปีก stabilizer และมีเข็มทิศขนาดใหญ่บนดาดฟ้าชั้น Sun Deck ระหว่างปล่องไฟหมายเลข 2 และ 3

ดาดฟ้า: 10 ชั้น; 7 ชั้นสำหรับผู้โดยสาร, 3 ชั้นสำหรับลูกเรือ โดยมี Sun deck, Boat (ชั้น เอ), Promenade (ชั้น บี), decks ซี-จี, ชั้นท้องเรืออีก 2 ชั้น (เป็นพื้นที่สำหรับหม้อน้ำ, เชื้อเพลิง, เครื่องยนต์, ห้องผนึกน้ำ, ประตูกั้นน้ำ หรือพื้นทีสำหรับเพลาใบจักร เป็นต้น)

ตำแหน่งห้องวิทยุสื่อสาร: ชั้นเรือบด กราบซ้าย ถัดจากห้องสะพานเดินเรือ

ตะเกียงส่งสัญญาณ: 2 ดวง ติดตั้งทั้งกราบซ้ายและขวา บริเวณปีกสะพานเดินเรือชั้นเรือบด

สมอเรือ: 2 ตัว ตำแหน่งกราบซ้ายและขวาหัวเรือ หนัก 27 ตัน/ตัว

ปั้นจั่นไฟฟ้า: 9 ตัว โดยมี

1 ตัว ที่หัวเรือสำหรับสมอเรือ

2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหน้าของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck)

2 ตัว บนชั้น บี ค่อนไปทางท้ายเรือ

2 ตัว บนชั้น ซี ด้านหลังของซุเปอร์สตรัคเจอร์ ใกล้กับช่องสินค้า (Well deck)

โกดังสินค้า: 9 แห่ง (ห้องมาตรฐาน 6 ห้อง ห้องแช่แข็ง 2 ห้อง และห้องไปรษณีย์ ห้อง)

ลิฟต์สินค้า: 2 ตัว (ตัวแรกจากชั้น เอ ไป ชั้น ดี ตัวที่สอง จากชั้น ดี ไปชั้น จี และลงท้องเรือโดยบันได)

ฝากั้นน้ำ: 15 แนวแบ่งเป็น 16 ห้อง พร้อมประตูประตูผนึกน้ำทำงานด้วยไฟฟ้า

ความจุผู้โดยสาร: แบบพักเดี่ยว 1,324 คน (ชั้นหนึ่ง 329 คน ชั้นสอง 285 คน และชั้นสาม จำนวน 710 คน) และสามารถปรับเปลี่ยนเป็นพักแบบคู่ในบางห้องได้เป็น 2,435 คน ( ชั้นหนึ่ง 735 คน, ชั้นสอง 674 คน และชั้นสาม 1,026 คน )

ความจูสูงสุด: 3,547 คน

เสื้อชูชีพ: 3,560 ชุด

ห่วงชูชีพ: 49 ห่วง

เรือชูชีพ: เรือบด 20 ลำ ความจุ 1,178 ชีวิต เป็นเรือไม้ 14 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 30 ฟุต กว้าง 9 ฟุต 1 นิ้ว สูง 4 ฟุต จุ 65 ชีวิต) เรือเร็ว (Cutter) 2 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 25 ฟุต 2 นิ้ว กว้าง 7 ฟุต 2 นิ้ว สูง 3 ฟุต จุ 40 ชีวิต) เรือผ้าใบ 4 ลำ (ขนาดลำเรือยาว 27 ฟุต 5 นิ้ว กว้าง 8 ฟุต สูง 3 ฟุต จุ 47 ชีวิต)

ลูกเรือ: 899 คน

พนักงานประจำเรือ[แก้]

-กัปตันเรือ: เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ

-หัวหน้าเจ้าหน้าที่: เฮนรี่ ทิงเกลิ ไวด์

-เจ้าหน้าที่ชั้นหนึ่ง: วิลเลียม แม็คมาสเตอร์ เมอร์ด็อก

-เจ้าหน้าที่ชั้นสอง: ชาร์ลส์ เฮิร์บเบิร์ต ไลโทเลอร์

-เจ้าหน้าที่ชั้นสาม: เฮิร์บเบิร์ต จอห์น พิตแมน

-เจ้าหน้าที่ชั้นสี่: โกรฟ์ โจเซฟ บ็อกซ์ฮอล

-เจ้าหน้าที่ชั้นห้า: ฮาโรลด์ ก็อดเฟรย์ โลว์

-เจ้าหน้าที่ชั้นหก: เจมส์ เพล มุดดี้

โดยรวมทั้ง สจ็วตชายและหญิง สาวใช้ บริกรชายและหญิง คนครัว แพทย์ กะลาสี ช่างไฟฟ้า ช่างน้ำมัน คนเติมถ่านหิน กรีเซอร์ ผู้ช่วยห้องเครื่อง ผู้ดูแลพื้นที่ผู้โดยสารหรือสัตว์เลี้ยง ผู้ดูแลอาหารและบัญชี เสมียน วงดนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ควบคุมปั่นจั่น ผู้สังเกตการณ์บนเสากระโดงเรือ ซีแมน พนักงานประจำลิฟต์ พนักงานห้องซักล้าง พนักงานห้องวิทยุโทรเลข เป็นต้น

เจ้าหน้าทีสังเกตการณ์บนเสากระโดงเรือ: ก่อนเที่ยงวัน ริชาร์ด ไซมอนส์ และ อาร์คิบัลด์ เจเวล และ หลังเที่ยงวัน เฟร็ดเดอริก ฟลีต และ เรจจิโนลด์ ลี

พนักงานประจำห้องวิทยุสื่อสาร: แจ็ค ฟิลลิปส์ และ ฮาโรลด ไบรด์ จาก บริษัท มาร์โคนี เทเลกราฟ, นิวยอร์ก

ระบบขับเคลื่อน[แก้]

เครื่องยนต์: 2 ชุดเครื่องยนต์ 4 กระบอกสูบไอน้ำTriple Expansion ขับเคลื่อนโดยตรงกับใบจักรข้างซ้าย-ขวา ให้กำลัง 30,000 แรงม้า 75 รอบ/นาที และไอน้ำความดันต่ำที่ผ่านการใช้เครื่องยนต์กระสอบสูบทั้งสองชุดเข้าสู่เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ขับเคลื่อนผ่านชุดเกียร์สู่ใบจักรกลาง ให้กำลัง 16,000 แรงม้า 165 รอบ/นาที

ใบจักร: 3 ใบ ทำจากสัมฤทธิ์ โดยใบจักรกลางขนาด 16 ฟุต ดุมใบจักรเป็นกรวยครอบ พวงใบจักรมี 4 ใบ และใบจักรข้างทั้งสอง ขนาด 23 ฟุต 6 นิ้ว ไม่มีกรวยครอบที่ดุม พวงใบจักรมี 4 ใบ

หม้อน้ำ: 29 ตัว ผลิตโดย เดนนี่ แอนด์ ซันส์ ในลิเวอร์พูล 24 ตัวเป็นแบบเติมถ่านได้ 2 ฝั่ง (6 ช่องเตาต่อหม้อน้ำ 1 ตัว) อีก 5 ตัวเติมถ่านได้ฝั่งเดียว (3 ช่องเตาต่อหม้อน้ำ 1 ตัว) รวมพื้นที่นำความร้อน (Active Heat Surface) 144,142 ตารางฟุต

เชื้อเพลิง: ถ่านหิน 825 ตัน/วัน

น้ำจืด: 14,000 แกลลอน/วัน

หางเสือ: 1 ตัว ตำแหน่งท้ายเรือตรงกลาง หนัก 100 ตัน, ยึดด้วยบานพับ 6 จุด

ความเร็วเรือออกแบบ: 20-23 นอต

ความเร็วเรือตอนปะทะภูเขาน้ำแข็ง: 20-21 นอต

ความเร็วสูงสุด: ไม่เคยทดสอบอย่างจริงจัง คาดว่าประมาณ 21 นอต

อ้างอิง[แก้]

  1. "Titanic-construction".

ไททานิก[แก้]

ฉันชอบไททานิกมากๆเลยค่า เพราะมันสวยและใหญ่ มีความยาวตั้ง 269 เมตร สุดยอดคนสมัยก่อนเขาทำได้ไงเนี่ย แต่เสียดาย เรือไททานิกมันไม่น่าจมเลย อยากขึ้นังถ้ามันยังไม่จมนะ -+---118.173.86.69 13:53, 14 สิงหาคม 2554 (ICT)

ชื่อ[แก้]

@Phanukon0942: กรุณาอ่าน การถอดเสียงภาษาอังกฤษ จากราชบัณฑิตฯ ด้วยครับ อย่าบัญญัติหลักการใหม่เอง Horus (พูดคุย) 13:53, 3 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]