ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นักพรต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 2403:6200:8810:2B12:5D7D:C37:EF15:1F27 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Cuteystudio
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''นักพรต''' ({{lang-en|monk}})<ref name="แก่นปรัชญายุคกลาง">กีรติ บุญเจือ, ''แก่นปรัชญายุคกลาง'', พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 131</ref> คือผู้บำเพ็ญ[[พรต]] หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตน<ref name="พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒">ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒'', กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 131</ref> นักพรตมีทั้งแบบที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเรียกว่า[[เฮอร์มิต]] (hermit) และอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใน[[อาราม]] (monastery) ลักษณะการดำรงชีวิตของนักพรตเรียกว่า'''ลัทธิพรตนิยม''' (monachism)<ref>กีรติ บุญเจือ, หน้า 89</ref> หรือ[[ชีวิตอารามวาสี|ลัทธิอารามวาสี]]<ref name="ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์">เคนเน็ธ สก๊อตท์ ลาทัวเร็ทท์, ''ประวัติศาสตร์ศาสนาคริสต์'', แปลโดย ธนาภรณ์ ธรรมสุจริตกุล และสิธยา คูหาเสน่ห์, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: พระคริสตธรรมกรุงเทพฯ, 2551, หน้า 297</ref> (monasticism)
'''นักพรต''' () คือผู้บำเพ็ญ หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตน นักพรตมีทั้งแบบที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเรียกว่า (hermit) และอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใน (monastery) ลักษณะการดำรงชีวิตของนักพรตเรียกว่า'''ลัทธิพรตนิยม''' (monachism) หรือ (monasticism)


ใน[[วรรณกรรมไทย]]มักใช้คำว่า '''นักพรต''' ในความหมายเดียวกับ[[ฤๅษี]] [[มุนี]] [[นักสิทธิ์]] และ[[ดาบส]]<ref>ราชบัณฑิตยสถาน, ''พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย'', กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 235-6</ref>
ในมักใช้คำว่า '''นักพรต''' ในความหมายเดียวกับ และ


== นักพรตในพุทธศาสนา ==
== นักพรตในพุทธศาสนา ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:24, 1 พฤศจิกายน 2565

นักพรต () คือผู้บำเพ็ญ หรือผู้ประพฤติตามข้อกำหนดการปฏิบัติทางศาสนาเพื่อข่มกาย ใจ ของตน นักพรตมีทั้งแบบที่อาศัยอยู่โดดเดี่ยวซึ่งเรียกว่า (hermit) และอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะใน (monastery) ลักษณะการดำรงชีวิตของนักพรตเรียกว่าลัทธิพรตนิยม (monachism) หรือ (monasticism)

ในมักใช้คำว่า นักพรต ในความหมายเดียวกับ และ

นักพรตในพุทธศาสนา

พระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีในประเทศไทย

ในศาสนาพุทธมีทั้งนักพรตชาย (monk) และนักพรตหญิง (nun) นักพรตชายเรียกว่าภิกษุและสามเณร นักพรตหญิงเรียกว่าภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี นอกจากนี้ยังมีนักพรตในรูปแบบอื่นๆ เช่น โยคี แม่ชี เป็นต้น

ภิกษุเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่ปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน นับจากนั้นก็ทรงอุปสมบทกุลบุตรอื่น ๆ เรื่อยมา ทั้งยังทรงอนุญาตการบวชแบบติสรณคมณูปสัมปทาและจตุตถกัมมอุปสัมปทา ซึ่งเป็นการบวชที่สาวกดำเนินการได้ด้วยตนเองโดยที่ไม่ต้องกราบทูลให้พระองค์ทราบ ติสรณคมณูปสัมปทาปัจจุบันใช้สำหรับการบวชสามเณร ส่วนจตุตถกัมมอุปสัมปทาใช้กับการบวชพระภิกษุ

ภิกษุณีเกิดขึ้นครั้งแรกหลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ 5 พรรษา โดยการประทานครุธรรมแปดประการแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมีและเจ้าหญิงศากยะ 500 องค์ ณ เมืองเวสาลี การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่าครุธัมมปฏิคคหณูปสัมปทา ภายหลังทรงบัญญัติอัฏฐวาจิกาอุปสัมปทาขึ้นใช้ในแทน คือให้ผู้ขอบวชได้รับจตุตถกรรม 2 ครั้ง คือจากฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ก่อน แล้วจึงรับจากภิกษุสงฆ์ เมื่อครบแล้วจึงจะเป็นภิกษุณีโดยสมบูรณ์

ตามพระวินัยปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลีกำหนดให้ภิกษุรักษาสิกขาบท 227 ข้อ ภิกษุณีรักษาสิกขาบท 311 ข้อ ส่วนสามเณรและสามเณรีต้องรักษาศีล 10 ข้อ รวมทั้งเสขิยวัตรอีก 75 ข้อ รวมเป็นสิกขาบท 85

ปัจจุบันภิกษุณีสงฆ์คงเหลืออยู่แต่ในนิกายมหายานและวัชรยาน เพราะในนิกายเถรวาทสายภิกษุณีสงฆ์ซึ่งมีเฉพาะที่ลังกาได้ขาดช่วงสืบทอดไปตั้งแต่สมัยถูกโปรตุเกสยึดครอง[1] ทำให้ไม่สามารถทำการบวชภิกษุณีให้ถูกต้องตามพระไตรปิฎกได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในประเทศไทยมีความพยายามรื้อฟื้นภิกษุณีสงฆ์ในเถรวาท แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากมหาเถรสมาคม

นักพรตในคริสต์ศาสนา

นักพรตคณะซิสเตอร์เชียนชาวเวียดนาม

ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก นักพรตหมายถึงนักบวช (religious) ไม่ว่าชายหรือหญิงที่อุทิศตนกับการอธิษฐาน การเข้าเงียบ การชดใช้บาป และการทำพลีกรรม[2]

คำว่า monk ในภาษาอังกฤษ มาจากคำภาษากรีก monachos ซึ่งแปลว่า ผู้อยู่โดดเดี่ยว แต่ต่อมาได้ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้นคือหมายถึงนักพรตโดยรวม อาจอยู่โดดเดี่ยวในป่าซึ่งเรียกว่าเฮอร์มิต (hermit) หรืออยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มในอาราม (monastic monk)[3]

ในศาสนาคริสต์มีพื้นฐานแนวคิดแบบพรตนิยมมาตั้งแต่สมัยพระเยซู ดังปรากฏพระวจนะที่ตรัสกับชายหนุ่มคนหนึ่งว่า “...จงไปขายบรรดาสิ่งของซึ่งท่านมีอยู่แจกจ่ายให้คนอนาถา แล้วท่านจะมีทรัพย์สมบัติในสวรรค์” [4] (มธ. 19:21) แต่การดำเนินชีวิตแบบนักพรตเริ่มมีบทบาทอย่างชัดเจนในศตวรรษที่ 4 คือภายหลังสิ้นสุดการเบียดเบียนคริสตชน เพราะจักรพรรดิคอนสแตนตินประกาศกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ในปี ค.ศ. 313 ให้ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา[5]

ในยุคที่คริสต์ศาสนาถูกเบียดเบียนจากภาครัฐ คริสตชนยุคนั้นได้แสดงออกถึงการติดตามพระเยซูด้วยการยืนยันความศรัทธา ยอมถูกทรมาน หลายคนต้องหนีไปอยู่ในถิ่นทุรกันดาร บางคนถูกประหารชีวิต ทำให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์ขึ้นหลายท่านเป็นแบบอย่างของผู้อุทิศตนในเวลานั้น เมื่อศาสนาคริสต์ได้รับการยอมรับตามกฤษฎีกาแห่งมิลาน การเบียดเบียนคริสตชนก็สิ้นสุดลง ชาวคริสต์จำนวนหนึ่งจึงหันไปแสดงการอุทิศตนโดยใช้ชีวิตแบบสละทางโลก อาศัยอยู่โดดเดี่ยวในถิ่นทุรกันดารและป่าเขา อธิษฐานภาวนา การบำเพ็ญพรตในยุคนั้นจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น “วีรกรรมใหม่” [6]

ในคริสต์ศาสนานักพรตแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภท)[7] คือ

  1. นักพรตที่อยู่โดดเดี่ยว (eremite) หรือเฮอร์มิต (hermit) เช่น นักบุญแอนโทนีอธิการ
  2. นักพรตที่อยู่กึ่งโดดเดี่ยว (semi-eremite) คือนักพรตแต่ละรูปอาศัยเดี่ยว แต่ในวันเสาร์และอาทิตย์จะมาประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ (Eucharistic celebration) และฟังเทศน์ด้วยกัน เช่น กลุ่มนักพรตของนักบุญอัมโมน[8]
  3. นักพรตที่อยู่เป็นคณะ (cenobite) นักพรตทุกรูปต้องปฏิบัติตามวินัยคณะ (rules) และเชื่อฟังอธิการอาราม (abbot) ซึ่งเป็นหัวหน้าอาราม นักพรตแบบนี้มีจุดเริ่มต้นมาจากนักบุญปาโคมีอุส (Pachomius) นักบุญบาซิลแห่งซีซาเรีย (Basyl of Caesarea)

จะเห็นว่าลัทธิอารามวาสีในคริสต์ศาสนาเริ่มจากคริสตจักรตะวันออกก่อน ฝ่ายคริสตจักรตะวันตกเริ่มพบการสนับสนุนลัทธิอารามวาสีในปลายศตวรรษที่ 4 จากการที่นักบุญอะทาเนเชียสแห่งอะเล็กซานเดรียได้แปลประวัตินักบุญแอนโทนีอธิการเป็นภาษาละตินซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในคริสตจักรตะวันตก เพื่อแผยแพร่วิถีอารามวาสีให้คริสตชนที่นั่น ที่มุขมณฑลแวร์เชลี (Vercelli) นักบุญเอวเซบีอุสซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นมุขนายกก็เป็นบุคคลแรกที่นำวิถีนักพรตมาใช้กับนักบวชในมุขมณฑลของตน[9] ต่อมานักบุญหลายท่านก็ตั้งกลุ่มนักพรตของตนและวางวินัยเอาไว้เป็นหลักปฏิบัติซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นคณะนักบวชคาทอลิกรุ่นแรก เช่น นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปผู้ก่อตั้งคณะออกัสติเนียนในยุคแรก นักบุญเบเนดิกต์แห่งเนอร์เซียผู้วางรากฐานคณะเบเนดิกติน เป็นต้น

นักพรตในศาสนาเชน

อาจารย์ปุษปทันตสาคร นักพรตเชนนิกายทิคัมพร

ลัทธิพรตนิยมในศาสนาเชนเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยศาสดาพระมหาวีระ นักพรตเชนแบ่งเป็น 2 นิกาย คือ

  • ทิคัมพร เป็นนักพรตเปลือย เพราะไม่ถือครองสมบัติใด ไม่กินอาหาร
  • เศวตัมพร (อ่านว่า สะ-เหฺว-ตำ-พอน[10]) เป็นนักพรตนุ่งขาว

นักพรตเชนจะต้องถือข้อปฏิบัติที่เรียกว่า มหาพรต 5 ประการ[11] คือ

  1. อหิงสา ไม่ทำลายแม้แต่ชีวิตเล็กน้อย ฉะนั้นจึงต้องมีผ้าปิดปากจมูกเพื่อกันสิ่งมีชีวิตเข้า มีไม้กวาด มีผ้ากรองน้ำไว้ป้องการกันฆ่าสัตว์โดยไม่เจตนา
  2. สัตยะ การพูดแต่ความจริง
  3. อัสเตยะ ไม่ลักขโมย
  4. พรหมจรรยะ เว้นจากกามโดยสิ้นเชิง
  5. อปริครหะ ไม่ละโมบ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 98
  2. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกคริสตศาสนธรรม, คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2553, หน้า 109
  3. monk. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA เรียกข้อมูลวันที่ 27 ม.ก. พ.ศ. 2554
  4. พระคริสตธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ ฉบับ ๑๙๗๑ (ฉบับเรียงพิมพ์ใหม่ ๑๙๙๘), กรุงเทพฯ: สมาคมพระคริสตธรรมไทย, 2543, หน้า 98
  5. กีรติ บุญเจือ, หน้า 72
  6. สมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, พัฒนาการวิถีชีวิตจิตคริสตชน, นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 2551, หน้า 39
  7. เคนเน็ธ สก๊อตท์ ลาทัวเร็ทท์, หน้า 300
  8. สมชัย พิทยาพงษ์พรม บาทหลวง, หน้า 42
  9. สมชัย พิทยาพงษ์พร, บาทหลวง, หน้า 60
  10. เศวตัมพร จาก พจนานุกรม ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน
  11. พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, หน้า 270