พายุไต้ฝุ่นนีนา (พ.ศ. 2530)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พายุไต้ฝุ่นนีนา)
ซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนา (ซีซัง)
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนาขณะใกล้ขึ้นฝั่ง
ซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนาขณะใกล้ขึ้นฝั่ง
ซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนาขณะใกล้ขึ้นฝั่ง
ก่อตัว 16 พฤศจิกายน 2530
สลายตัว 30 พฤศจิกายน 2530
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
270 กม./ชม. (165 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 692-1,036 คน
ความเสียหาย 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 1987)
77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2006)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ไมโครนีเชีย, ฟิลิปปินส์, จีน
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2530

พายุไต้ฝุ่นนีนาหรือพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนา (ชื่อสากล: 8722, JTWCตั้งชื่อ: 22W) เป็นพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 4 ที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อปีค.ศ.1987 เป็นพายุที่ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตมากที่สุดและเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากที่สุดลูกหนึ่ง พายุไต้ฝุ่นนีนาหรือพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น Sisang เป็นพายุที่สร้างความเสียหายรุนแรงที่สุดลูกหนึ่งของฟิลิปปินส์ต่อจากพายุแพทซี่ย์เมื่อ 17 ปีก่อน

ประวัติ[แก้]

แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
พายุไต้ฝุ่นนีนาจากภาพถ่ายทางดาวเทียม ขณะที่กำลังจากพัดขึ้นเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์.

พายุไต้ฝุ่นนีนาก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทิศตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากลเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน วันที่ 19 พฤศจิกายน ได้เคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกและทวีกำลังความแรงเป็นพายุดีเปรสชัน หลังจากนั้นไม่นานก็เป็นพายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่นตามลำดับ วันที่21 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่นนีนาได้เคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อชั่วโมง และในวันเดียวกันนี้เองก็ได้ขึ้นพัดถล่มหมู่เกาะทางทิศเหนือของประเทศไมโครนีเชีย

เมื่อพายุไต้ฝุ่นนีนากำลังเข้าประเทศฟิลิปปินส์ ระดับความรุนแรงของพายุได้ขึ้นไปถึงระดับ 5 มีความเร็วลมถึง 270กิโลเมตรต่อชั่วโมง วันที่[25 พฤศจิกายน]] พายุไต้ฝุ่นนีนาเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นนีนาได้ขึ้นที่ฟิลิปปินส์ที่แรกคือเขตไบโคล ทำให้เกิดฝนตกหนักและลมกรรโชกแรงพัดถล่มยับเยิน พายุมีความดันอากาศถึง 930 ปาสคาลซึ่งวัดจากเครื่องบารอมิเตอร์ ทันทีที่ขึ้นพัดผ่านหลังจากจึงเคลื่อนตัวไปทางเกาะลูซอนใต้และลงทะเลจีนใต้ไปในวันที 28 พฤศจิกายน และในอีก 2 วันถัดมาพายุได้สลายตัวไป

ความเสียหาย[แก้]

พายุไต้ฝุ่นนีนาทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 692-1036 คนและมีมูลค่าความเสียหายรวม 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบค่าดอลลาร์ช่วงค.ศ.1987) ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดจากลมกรรโชกแรงและฝนตกหนัก พายุลูกนี้เป็นพายุที่คร่าชีวิตประชาชนไปมากที่สุดในปีนั้น

ไมโครนีเชีย[แก้]

เกาะตรูก[แก้]

สถานีตรวจวัดอากาศของเกาะตรูก (Truk Atoll) ตรวจวัดกระแสลมความเร็ว 60-70 ไมล์ต่อชั่วโมง พัดถล่มเกาะโมเอ็น(Moen Island) มีผู้เสียชีวิต 5 คนได้รับบาดเจ็บ 38 คน เนื่องจากดินถล่ม ประชาชนไม่มีที่อยู่ 40,000 คน ประเมินมูลค่าความเสียหายประมาณ 30,000-40,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (เทียบค่าดอลล่าร์ช่วงค.ศ.1987)

เกาะลูอิติ[แก้]

เกิดน้ำท่วมฉับพลัน บนเกาะอาคาร 20% ของทั้งหมดได้รับความเสียหาย

ฟิลิปปินส์[แก้]

หมู่บ้านชาวประมง 14 แห่งได้รับความเสียหายยับเยินจากสตอร์มเซิร์จ อาคารและบ้านเรือนของประชาชนพังเสียหายรวมประมาณ 35,000 หลัง มีผู้เสียชีวิตประมาณ 540-687 คน ประชาชนไม่มีทีอยู่อาศัยประมาณ 80,000-100,000 คน ประเมินความเสียหายที่ 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เทียบค่าดอลล่าร์ช่วงค.ศ.1987) สภากาชาด 9 ประเทศมาช่วยฟื้นฟูความเสียหายกลับมา ช่วยรักษาคนที่ได้รับบาดเจ็บ ประธานาธิบดี คอราซอน อากีโน ในขณะนั้น ประกาศว่า 4 เขตของเกาะลูซอนให้อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

อ้างอิง[แก้]