พายุเฮอริเคนมารีอา (พ.ศ. 2560)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุเฮอริเคนมารีอา
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
พายุเฮอริเคนมารีอาขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของดอมินีกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน
พายุเฮอริเคนมารีอาขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของดอมินีกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน
พายุเฮอริเคนมารีอาขณะมีกำลังแรงสูงสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของดอมินีกาเมื่อวันที่ 9 กันยายน
ก่อตัว 16 กันยายน 2560
สลายตัว 2 ตุลาคม 2560
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
175 ไมล์/ชม. (280 กม./ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 908 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 26.81 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต 59 คน (ณ วันที่ 25 กันยายน)
ความเสียหาย ไม่ทราบ
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
เลสเซอร์แอนทิลลีส (โดยเฉพาะดอมินีกา, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา), ปวยร์โตรีโก, เกาะฮิสปันโยลา, หมู่เกาะเติกส์และเคคอส, บาฮามาส
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560

พายุเฮอริเคนมารีอา (อังกฤษ: Hurricane Maria; สเปน: huracán María) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงซึ่งขึ้นฝั่งที่ดอมินีกาในขณะที่มีความเร็วลมอยู่ในระดับ 5 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน และขึ้นฝั่งที่ปวยร์โตรีโกในขณะที่มีความเร็วลมอยู่ในระดับ 4

มารีอาก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2560 จากคลื่นเขตร้อนที่ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐได้เฝ้าสังเกตมาตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน นับเป็นพายุลูกที่สิบสาม เฮอริเคนลูกที่เจ็ด เฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สี่ และเฮอริเคนระดับ 5 ลูกที่สองที่ได้รับการตั้งชื่อในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ยังเป็นเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สามที่คุกคามหมู่เกาะลีเวิร์ดติดกันภายในเวลาสองสัปดาห์ หลังจากที่เฮอริเคนเออร์มาได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่นั่น และเฮอริเคนโฮเซ (ซึ่งในขณะนั้นเป็นเฮอริเคนระดับ 4) ได้เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้อย่างฉิวเฉียดไม่กี่วันหลังจากนั้น

ณ วันที่ 25 กันยายน เฮอริเคนลูกนี้ได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 59 ราย โดย 27 รายอยู่ในดอมินีกา, 24 รายในปวยร์โตรีโก, 5 รายในสาธารณรัฐโดมินิกัน, 3 รายในเฮติ, 2 รายในกัวเดอลุป และ 1 รายในหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกา จากการประเมินเบื้องต้นพบว่าดอมินีกาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ระบบการสื่อสารล่มทั่วเกาะ กัวเดอลุปและมาร์ตีนิกมีน้ำท่วม หลังคาบ้านเรือนเสียหาย และต้นไม้ถูกถอนรากถอนโคน ส่วนปวยร์โตรีโกมีน้ำท่วมสูงหลายแห่ง ไฟฟ้า ประปา ถนนหนทาง และระบบการสื่อสารถูกตัดขาดทั่วทั้งเกาะ กล้องโทรทรรศน์วิทยุที่อาเรซีโบเสียหายบางส่วน

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]