พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมรัตนากร

(สีนวล ปญฺญาวชิโร)
คำนำหน้าชื่อพระเดชพระคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด29 มิถุนายน 2482 (81 ปี)
มรณภาพ7 มีนาคม พ.ศ. 2564
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.9, น.ธ.เอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
บรรพชา15 กรกฎาคม พ.ศ. 2495
อุปสมบท6 พฤษภาคม พ.ศ. 2502
พรรษา61
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15

พระธรรมรัตนากร นามเดิม สีนวล เรืองอำพันธ์ ฉายา ปญฺญาวชิโร (29 มิถุนายน 2482 - 7 มีนาคม 2564) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร อดีตอธิบดีสงฆ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15

ชาติภูมิ[แก้]

พระธรรมรัตนากร มีนามเดิมว่า สีนวล เรืองอำพันธ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ที่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 4 ตำบลไผ่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง บิดาชื่อ นายฟุ้ง เรืองอำพันธ์ มารดาชื่อนางทุเรียน เรืองอำพันธ์

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว​ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม​ฯ ให้ นาย ฐาปน สิริวัฒนภักดี[1]​ เป็นประธานในพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพสวดอภิธรรม​ ณ ศาลาเลื่อนศักดิ์ เจียมอุดม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

อุปสมบท[แก้]

บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ณ วัดต้นทอง ตำบลไผ่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ณ วัดโบสถ์วรดิตถ์ ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม เป็นพระอุปัชยาจารย์ พระปาโมกข์มุนี (บุญศรี สิริทตฺโต) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูปาโมกข์คณารักษ์ เจ้าคณะอำเภอปาโมกข์ เจ้าอาวาสวัดป่าโมก ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระวิเศษชยสิทธิ์ (ผวน อวิกฺเขโป) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูวิเศษชยสิทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เจ้าอาวาสวัดอ่างทอง ตำบลตลาดหลวง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปัญฺญาวชิโร"

วิทยฐานะ[แก้]

ความรู้พิเศษ[แก้]

ภาษาอังกฤษ และวิชาเลขานุการ

งานปกครอง[แก้]

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้มีพระบัญชาแต่งตั้งพระเทพวีราภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน เมื่อวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2557
  • พ.ศ. 2504 - เป็นเลขานุการคณะกรรมการสงฆ์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
  • พ.ศ. 2505 - เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอป่าโมก
  • พ.ศ. 2507 - เป็นรองเจ้าอาวาสวัดโบสถ์วรดิตถ์ จังหวัดอ่างทอง, เป็นพระกรรมวาจาจารย์
  • พ.ศ. 2515 - เป็นเลขานุการเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพ-ธนบุรี (สมัยที่ 1)
  • พ.ศ. 2517 - เป็นเลขานุการเจ้าคณะนครหลวงกรุงเทพ-ธนบุรี (สมัยที่ 2)
  • พ.ศ. 2521 - เป็นเลขานุการเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร (สมัยที่ 3)
  • พ.ศ. 2526 - เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ฝ่ายการศึกษาและเผยแพร่
  • พ.ศ. 2527 - เป็นผู้ช่วยปกครองพระสงฆ์สามเณร คณะกลาง วัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2538 - 2549 - เป็นเจ้าคณะเขตยานนาวา - สาทร
  • พ.ศ. 2539 - เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
  • พ.ศ. 2540 - เป็นประธานดำเนินการอบรมและให้ศีลแก่สามเณรวัดพระเชตุพน ทุกกึ่งเดือน
  • พ.ศ. 2544 - เป็นกรรมการยกร่างระเบียบวัดพระเชตุพน ว่าด้วยการบริหารวัดพระเชตุพน พ.ศ. 2544
  • พ.ศ. 2549 - เป็นรองเจ้าคณะภาค 15 (จังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์)
  • พ.ศ. 2550 - เป็นรองประธานกรรมการฝ่ายปกครองพระภิกษุ สามเณร วัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน - เป็นเจ้าคณะปกครอง พระภิกษุสามเณร วัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2554 - 2557 - เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน - เป็นประธานกรรมการมูลนิธิสังเค็ดสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริมหาเถร)
  • พ.ศ. 2557 - เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ "ทุนพระพุทธยอดฟ้า" ในพระบรมราชูปถัมภ์, เป็นประธานกรรมการบริหารวัดพระเชตุพน, เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (29 กรกฎาคม ถึง 14 กันยายน 2557)
  • พ.ศ. 2557 - เป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รูปที่ 15 ตามพระบัญชาของ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ในขณะนั้น (15 กันยายน 2557)
  • พ.ศ. 2557 - เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 15

งานการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2506 - เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักศึกษา วัดโบสถ์วรดิตถ์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
  • พ.ศ. 2510 - เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้นเอก
  • พ.ศ. 2514 - เป็นกรรมการตรวจบาลีสนามหลวง ประโยค ป.ธ.7
  • พ.ศ. 2515 - เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี สำนักเรียนวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2522 - เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2523 - เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น "ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระเชตุพน"
  • พ.ศ. 2528 - เป็นอาจารย์ใหญ่ สำนักเรียนวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2531 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี
  • พ.ศ. 2532 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • พ.ศ. 2533 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี
  • พ.ศ. 2534 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • พ.ศ. 2535 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี
  • พ.ศ. 2536 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ
  • พ.ศ. 2537 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
  • พ.ศ. 2538 - เป็นผู้แทนแม่กองบาลีสนามหลวงนำข้อสอบไปเปิดสอบ ณ วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ
  • พ.ศ. 2538 - เป็นกรรมการกำกับห้องสอบ ประโยค ป.ธ.7 สนามสอบกลาง วัดสามพระยา
  • พ.ศ. 2539 - เป็นรองประธานดำเนินการสอบบาลีสนามหลวง สนามสอบวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2540 - เป็นกรรมการกำกับห้องสอบ ประโยค ป.ธ.8 สนามสอบกลาง วัดสามพระยา
  • พ.ศ. 2544 - เป็นรองประธานดำเนินการสอบบาลีสนามหลวง ประโยค ป.ธ.5 - 6 สนามสอบวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2545 - 2556 - เป็นครูสอนนวกภูมิ วิชาธรรม สำนักเรียนวัดพระเชตุพน
  • พ.ศ. 2549 - 2557 - เป็นผู้แทนเจ้าคณะภาค 15 ออกตรวจเยี่ยมสนามสอบธรรม - บาลี สนามหลวง ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 15
  • พ.ศ. 2557 - เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดพระเชตุพน

เกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. 2547 - ได้รับปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2553 - ถวายพระธรรมเทศนา เรื่อง "สัปปุริสวัตตกถา" ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ในการสดับพระธรรมเทศนาและเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2530 - เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวชิราภรณ์[2]
  • พ.ศ. 2544 - เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวชิราภรณ์ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2557 - เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวีราภรณ์ สุนทรศาสนกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • 28 กรกฎาคม 2562 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมรัตนากร สุนทรปริยัติคุณ วิบูลธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. พิธีสวดพระอภิธรรม (คืนแรก) พระธรรมรัตนากร
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 104, ตอนที่ 253, 5 ธันวาคม 2530, ฉบับพิเศษ หน้า 11.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 118, ตอนที่ 24 ข, 7 ธันวาคม 2544, หน้า 26.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 131, ตอนที่ 25 ข, 2 ธันวาคม 2557, หน้า 1.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เก็บถาวร 2019-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562, หน้า 8.
บรรณานุกรม
  • พระราชเวที (สุรพล ชิตญาโณ), บรรณาธิการ. 15 อธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกด (มหาชน), 2557. 152 หน้า. หน้า 134-150. ISBN 978-616-91766-3-3
  • พระพรหมเสนาบดี (พิมพ์ ญาณวีโร)ทำเนียบพระราชาคณะ ฉบับสมบูรณ์ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด, 2557. 344 หน้า. หน้า 75. ISBN 978-616-11-2142-6


ก่อนหน้า พระธรรมรัตนากร (สีนวล ปญฺญาวชิโร) ถัดไป
พระธรรมปัญญาบดี
(ถาวร ติสฺสานุกโร)

เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(15 กันยายน พ.ศ. 2557 — 7 มีนาคม พ.ศ. 2564)
สมเด็จพระมหาธีราจารย์
(ปสฤทธิ์ เขมงฺกโร)