พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว)
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2486 – พ.ศ. 2486
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดราว พ.ศ. 2440
เสียชีวิตพ.ศ. 2518 (78 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสจินดา บุญเฉลียว

พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 1 สมัย ในปี พ.ศ. 2480

ประวัติ[แก้]

พระศรีวรานุรักษ์ เป็นบุตรของนายวัง กับนางบัวจันทร์ บุญเฉลียว เกิดที่บ้านศาลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2440 เข้าเรียนที่โรงเรียนกลางเวียง ต่อมาเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม และส่งเรียนต่อโรงเรียนปกครอง กระทรวงมหาดไทย จนกลับมารับราชการประจำแผนกเลขาฯ มณฑลพายัพ ต่อมาย้ายไปประจำที่กรุงเทพ และเรียนวิชากฎหมายเพิ่มเติม[1]

การทำงาน[แก้]

พระศรีวรานุรักษ์ ขอกลับมารับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ และเคยดำรงตำแหน่งเสมียนตรามณฑลพายัพ นายอำเภอสารภี และ[2] นายอำเภอแม่ริม[3] รับราชการในยุคเดียวกับเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุงเมือง ณเชียงใหม่)[4]

ศรี บุญเฉลียว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีวรานุรักษ์ ในปี พ.ศ. 2471[5] และเป็นพระศรีวรานุรักษ์ ในเวลาต่อมา

พระศรีวรานุรักษ์ ถูกมองว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ และเป็นฝ่ายเดียวกับเชื้อพระวงศ์จึงตรงข้ามกับฝ่ายคณะราษฎร จึงถูกย้ายไปมณฑลนครราชสีมา ทำให้พระศรีวรานุรักษ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการ และกลับมาทำธุรกิจส่วนตัวที่เชียงใหม่

พระศรีวรานุรักษ์ ลงเล่นการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2480 และเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการต้อนรับรัฐธรรมนูญเมื่อมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476[6] พระศรีวรานุรักษ์ มีบทบาทในฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดสหกรณ์นิคมในเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่[7]

พระศรีวรานุรักษ์ ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2486[1]

พระศรีวรานุรักษ์ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2518 อายุ 78 ปี[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-30. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  4. ย้อนอดีต 101 ปี คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุงเมือง)
  5. "พระราชทานบรรดาศักดิ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/D/3274.PDF