พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรคุณ

(สมศักดิ์ ปณฺฑิโต)
ส่วนบุคคล
เกิด24 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (91 ปี)
มรณภาพ25 เมษายน พ.ศ.2566
นิกายธรรมยุติกนิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ประโยค 1-2, ครูพิเศษมูล, ครุศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาจิตวิทยาและการแนะแนว
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดสุรินทร์
อุปสมบท4 เมษายน พ.ศ. 2494
พรรษา72
ตำแหน่งอดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด]]สุรินทร์ (ธรรมยุต), อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์))

พระราชวรคุณ[1] นามเดิม สมศักดิ์ ดีมาก ฉายา ปณฺฑิโต อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต), อดีตเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม (อำเภอเมืองสุรินทร์)

ชาตภูมิ[แก้]

พระราชวรคุณ นามเดิมชื่อ สมศักดิ์ ดีมาก เกิดวันเสาร์ที่ 24 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2474 ตรงกับวันขึ้น13 ค่ำ เดือน11 ปีมะแม ณ บ้านตานงค์ หมู่ที่ 14 ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โยมบิดาชื่อ นายธรรม โยมมารดาชื่อ นางเบียน นามสกุล ดีมาก

การศึกษา[แก้]

การบรรพชาและอุปสมบท[แก้]

ในปี พ.ศ. 2491 อายุได้ 16 ปีบริบูรณ์ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบูรพารามตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุครบ20 ปีบริบูรณ์ เมื่อวันพุธ ที่4 เดือน เมษายน พ.ศ. 2494 ณ พัทธสีมาวัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยมี พระครูรัตนากรวิสุทธิ์ (ดูลย์ อตุโล) สมณศักดิ์สุดท้ายที่ พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูคุณสารสัมบัน (โชติ คุณสมฺปนฺโน) สมณศักดิ์สุดท้ายที่พระเทพสุทธาจารย์ (โชติ คุณสมฺปนฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์วรารามวรวิหาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่าปณฺฑิโต

การรวบรวม/เรียบเรียง จัดทำตำราหนังสือคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล[แก้]

หลวงปู่สมศักดิ์ เป็นผู้ที่อุปัฏฐากรับใช้ดูแลการบริหารงานภายในวัดบูรพาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งพระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) ละสังขาร เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526 หลังจากพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์แล้ว ท่านเป็นผู้ที่รวบรวมคำสอนของ หลวงปู่ดูลย์อย่างละเอียด หลักธรรมคำสั่งสอน โอวาทธรรมของหลวงปู่ดูลย์ ซึ่งจะกล่าวเพียงสั้นๆ พูดน้อยๆ แต่ละคำพูดของท่าน แต่ละประโยคมีความหมายเนื้อหาลึกซึ้งมีปฏิภาณไหวพริบเร็วฉับไวมาก ฟังแล้วต้องตริตรองด้วยปัญญาอย่างลึกซึ้ง เช่น หนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ อตุโล ไม่มีใดเทียม เป็นต้น

ตำแหน่งงานทางคณะสงฆ์[แก้]

รางวัลเกียรติคุณ[แก้]

มรณภาพ[แก้]

พระราชวรคุณ (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) อาพาธด้วยโรคประจำตัว และโรคชราภาพ เป็นผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พำนักรักษาตัว ณ ห้องปลอดเชื้อ กุฏิพิทยาภรณ์ วัดบูรพาราม]] และถึงแก่มรณภาพ[2]ด้วยอาการอันสงบ ณ ห้องปลอดเชื้อ กุฏิทิพยาภรณ์ วัดบูรพาราม วันที่ 25 เดือนเมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 15.09 น.

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2516 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูนันทปัญญาภรณ์
  • พ.ศ. 2522 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ที่ พระโพธินันทมุนี (12 สิงหาคม พ.ศ. 2535)[3]
  • พ.ศ. 2548 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรคุณ วิบูลธรรมโสภิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.kaentong.com/index.php?topic=11984.0
  2. chanhena, Bandit. "คณะศิษย์อาลัย "หลวงปู่สมศักดิ์" วัดบูรพาราม ละสังขารสงบ สิริอายุ 91 ปี". เดลินิวส์.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 109, ตอนที่ 101, 12 สิงหาคม 2535, ฉบับพิเศษ หน้า 11
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 123, ตอนที่ 2 ข, 12 มกราคม 2549, หน้า 5