พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี
ชื่อเต็มพระพุทธโคดมศรีศากยมุนี
ชื่อสามัญพระพุทธโคดม, หลวงพ่อพระพุทธโคดม, หลวงพ่อมารวิชัย, หลวงพ่อรับระเบิด
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย
วัสดุสำริด
สถานที่ประดิษฐานวิหารวัดยางโทน จังหวัดอุตรดิตถ์
ความสำคัญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์
(ที่อัญเชิญมาจากวัดราชบูรณะในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี หรือ พระพุทธโคดม เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เนื้อโลหะสัมฤทธิ์โบราณ ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดยางโทน บ้านยางโทน ตำบลวังดิน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

พระพุทธโคดมศรีศากยมุนี ได้อัญเชิญขึ้นมาจากวัดราชบุรณราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถูกทำลายจากระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2488[1] โดยนายขานุช จันทร์เขียว ผู้ใหญ่บ้านยางโทนในสมัยนั้น ได้ติดต่อขอรับพระพุทธรูปโบราณที่เหลือจากการทำลายเพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดยางโทน โดยในครั้งนั้นกรมการศาสนาได้ส่งรูปพระอัครสาวกมาถวายวัดยางโทนพร้อมกันด้วยอีกสององค์ โดยได้ประดิษฐานในอุโบสถวัดยางโทนมาโดยตลอดจนทางวัดได้สร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธโคดมศรีศากยมุนีเป็นการเฉพาะในปีพ.ศ. 2552[2]

ประวัติ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. วัดราชบุรณราชวรวิหาร. (2538). ประวัติวัดราชบูรณราชวรวิหาร ผลงานของพระเดชพระคุณพระราชพฤฒาจารย์ (เชียง อินฺทโชโต)[ลิงก์เสีย]. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สหธรรมิก. หน้า 24
  2. แสงธรรมประทีปเจโตวิมุตติ. (2552). พระพุทธโคดม วัดยางโทน จังหวัดอุตรดิตถ์. [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.mettajetovimuti.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538832951&Ntype=7[ลิงก์เสีย]