พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล
ชื่อเต็มพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล
ชื่อสามัญหลวงพ่อพระงาม
ประเภทพระพุทธรูป
ศิลปะปางมารวิชัย
ความกว้าง๒๒ เมตร หรือ ๑๑ วา ๑๑ ศอก
ความสูงสูงจากหน้าตักถึงยอด ๓๔ เมตร หรือ ๑๘ วา
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
สถานที่ประดิษฐานประดิษฐานอยู่บนเชิงเขาพระงาม ภายในวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร
ความสำคัญพระพุทธรูปสำคัญ ของจังหวัดลพบุรี
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าหลวงพ่อพระงาม เป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดลพบุรี พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ภายในวัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

ประวัติ[แก้]

พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล (หลวงพ่อพระงาม) เป็นพระพุทธรูปที่มีประวัติการสร้างที่ยาวนาน คือสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2455 โดยท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง คือเมื่อครั้งที่ท่านได้ธุดงมายังบริเวณที่แห่งนี้และเห็นว่ามีความเหมาะสม จึงได้ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่องค์สีขาวนี้ร่วมกับพระภิกษุที่เดินทางมาด้วยกัน เพื่อประดิษฐานบนไหล่พระงามแห่งเมืองลพบุรี หลวงพ่อพระงาม เป็นพุทธรูปก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กศิลปะรัตนโกสินทร์ มีขนาดหน้าตักกว้าง 22 เมตร สูงจากหน้าตักถึงพระเกศ 34 เมตร หรือ พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รู้จักเป็นที่กราบไหว้สักการะของพุทธศาสนิกชนชาวลพบุรีและชาวจังหวัดใกล้เคียงทั่วไป พ.ศ. 2469 จึงเปลี่ยนนามใหม่ว่า "พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล" มาจนทุกวันนี้

ความสำคัญ[แก้]

พระงามหรือหลวงพ่อใหญ่หรือพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล เป็นพระพุทธรูปที่พบในประเทศไทยตามลักษณะงดงามศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนโท) สร้างเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ ณ บริเวณใกล้ถ้ำเขาบ่องาม เพื่อเป็นที่บรรจุพระพุทธรูปเก่าชำรุดในบริเวณนั้น แล้วขนานนามใหม่เมื่อ พุทธศักราช๒๔๖๙ ว่าพระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล หมายถึง พระพุทธรูปที่สร้างในวาระกึ่ง ๕,๐๐๐ แห่งพุทธกาลไรพระศกบนพระเศียรทำด้วยไหกระเทียมจำนวนมาก ต่อมาเกิดพายุฝนทำให้ไรพระศกหรือไหกระเทียมนี้หลุดลงมา ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ ได้บูรณะซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดและทาสีองค์พระพุทธรูปใหม่พร้อมทั้งติดสายล่อฟ้าวัดจันทรนิมิตร สร้างเสร็จเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จมาทรงร่วมงานฉลองมีงานผูกพัทธสีมาในครั้งนี้ด้วยพร้อมกับพระราชทานนามวัดว่า "วัดสิริจันทรนิมิตร" พร้อมโปรดเกล้าฯ ยกวัดสิริจันทรนิมิตร ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร โดยมีชื่อเต็มว่า วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท)และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปีจะเป็นเทศกาลไหว้พระงาม ที่ประชาชนชาวลพบุรีถือปฏิบัติติดต่อกันมา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]