พยม พรหมเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พยม พรหมเพชร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 3
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566
ก่อนหน้าวิรัตน์ กัลยาศิริ
ถัดไปสมยศ พลายด้วง
เขตเลือกตั้งอำเภอนาหม่อม และ อำเภอหาดใหญ่ (เฉพาะตำบลคูเต่า ตำบลน้ำน้อย ตำบลท่าข้าม ตำบลทุ่งใหญ่ ตำบลคอหงส์ ตำบลควนลัง ตำบลทุ่งตำเสาและตำบลฉลุง)
คะแนนเสียง42,390 (40.99%)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)
พรรคการเมืองรวมไทยสร้างชาติ (2566—ปัจจุบัน)
คู่สมรสถนอมพร พรหมเพชร

นายพยม พรหมเพชร (เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) เป็นกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ[1] ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 1 สมัย

ประวัติ[แก้]

พยม พรหมเพชร เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายพ่วง และ นางเคียง พรหมเพชร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [2] สมรสกับนางถนอมพร พรหมเพชร มีบุตร-ธิดา 2 คน

งานการเมือง[แก้]

พยม เคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดสงขลา[3] ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ โดยสามารถเอาชนะนายวิรัตน์ กัลยาศิริ อดีต ส.ส. 4 สมัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ไปได้

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

พยม พรหมเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/D/005/T_0016.PDF
  2. นายพยม พรหมเพชร
  3. ตรวจแถวพลังประชารัฐสงขลา หลังมีรายชื่อผู้สมัครสส.โผล่ทั่วภาคใต้
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๙, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔