ผู้ใช้:Wanwisa Wongpon/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิกิพีเดีย “นิคโคโล มาเคียเวลลี”

     นิคโคโล มาเคียเวลลี (อิตาลี:Niccolò Machiavelli) ( 3 พฤษภาคม ค.ศ.1469 – 21 มิถุนายน ค.ศ.1527) หรือชื่อที่เป็นทางการคือ นิคโคโล ดี แบร์นาโด เดย์ มาเคียเวลลี (Niccolò di Bernardo dei Machiavelli) เป็นนักปรัชญาการเมือง นักการทูต นักการเมือง และนักเขียน ชาวอิตาลี มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคเรอเนซองซ์[1] ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ หรือ เจ้าทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ ผลงานที่มีชื่อเสียง เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) พูดถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ในทางการเมือง ซึ่งเป็นแรงผลักดัน การก่อตั้งระบบการเมืองแบบรัฐชาติ (nation-state) , The Discourses ,Mandragola,The Art of War เป็นต้น[2]
  "Machiavellian ที่เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า "รอบจัด" หรือ "เจ้าเล่ห์" (อาจจะแปลได้อีกคำคือ "สาวกของมาเคียเวลลี") ซึ่งก็บอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับตัวเขาคนนี้ได้ดี แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด ชายคนนี้ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ (ส่วนสมัยเก่าคืออาริสโตเติล) และเป็นนักคิดคนสำคัญของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกว่าสัจนิยม  เขาคือ Niccolo Machiavelli (นิคโคโล มาเคียเวลลี)"[3]


ประวัติ[แก้]

   นิคโคโล มาเคียเวลลี (อังกฤษ:Niccolo Machiavelli) หรือ นิคโคโล ดี แบร์นาโด เดย์ มาเคียเวลลี (อิตาลี:Niccolò di Bernardo dei Machiavelli) เกิดเมื่อ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1469 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาของมาเคียเวลลี คือ เบอร์นาโด มาเคียเวลลี มีอาชีพเป็นทนายความและสนใจการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ส่วนมารดา คือ บาร์โรโลเนีย เพลลี ว่ากันว่าเป็นกวีทางศาสนา นิคโคโล มาเคียเวลลี เริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุ 7 ปี โดยศึกษาเกี่ยวกับภาษาลาตินเป็นพื้นฐาน เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคือ เปาโล ดารอนซิกลีโอนี (Pao Daroniglioni) และได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ซึ่งได้พบอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อ นิคโดโล มาเคียเวลลีเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ มาร์เซลโล อเดรียนี (Marcello Adriani) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาคลาสสิคที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ต่อมาอาจารย์ท่านนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในเมืองฟลอเรนซ์[4]  
   นิคโคโล มาเคียเวลลี ได้เริ่มเข้ารับรัชการครั้งแรกในช่วงเดือน มิถุนายน ค.ศ.1498 ในตำแหน่งเลขานุการฝ่ายการทูตแห่งมหาชนรัฐฟลอเรนซ์ ขณะนั้น มาเคียเวลลี อายุได้ 19 ปี และได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นนระยะเวลา 14 ปี[5] ซึ่งทำให้มาเคียเวลลีได้เดนทางไปสังเกตการณ์ทางการทูตทั้งภายในและภายนอกประเทศอิตาลี โดยมาเคียเลลีได้มีโอกาสพบกับบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลทางการเมืองหลายท่านทำให้มีโอกาสได้พบกับ ซีซาร์ บอร์เจีย (Cesare Borgia)ในปี ค.ศ.1502 ผู้นำทัพเข้ายึดดินแดนของสันตะปาปาอย่างไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆทั้งสิ้น ทำให้มาเคียเวลลีประทับใจท่านซ๊ซาร์ บอร์เจีย เป็นอย่างมากซึ่งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญในการเขียน The Prince หรือ เจ้าผู้ปกครอง (โดยเฉพาะบทที่7) นอกจากนั้นยังมีโฮกาสได้พบกับสันตะปาปาจูเลียสที่2 เมื่อ ค.ศ.1506 และจักรพรรดิแมกซิมิเลียน เมื่อ ค.ศ.1507[6] 
  
  นิคโคโล มาเคียเวลลี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของคณะกรรมการทั้งเก้าของกองทหารแห่งชาติในปี ค.ศ.1506 สามารถจัดตั้งกองทหารดังกล่าวสำเร็จในปี ค.ศ.1509 เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มาเคียเวลลีมีอิทธิพลและสามารถทำให้ประชาชนในเมืองฟลอเรนซ์ยอมรับในตัวมาเคียเวลลีมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.1510 เกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้เมืองฟลอเรนซ์ทำให้เมืองฟลอเรนซ์กลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลเมดิซีอีกครั้ง(ซึ่งตระกูลเมดิซีเคยมีอำนาจในเมืองฟลอเรนซ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1432)มาเคียเวลลีถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิการยน ค.ศ.1512 ขณะนั้นมาเคียเวลลีอายุ 43 ปี แต่ความโชคร้ายไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้นเพราะต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1513 มาเคียเวลลีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการโค่นล้มอำนาจของตระกูลเมดิซีที่ถูกจับได้ ทำให้ถูกจับกุมและโดนทรมาน แต่เพราะมาเคียเวลลีไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1513 ตามประกาศนิรโทษกรรม หลังจากนั้นมาเคียเวลลีได้ย้ายไปอยู่ชนบทพร้อมภรรยาและบุตรอีก 6 คน ที่เซนท์แอนเดรีย (Sant Andrea)ในแปร์กูสซีนา ห่างไปทางตอนใต้ของเมืองฟลอเรนซ์ 7 ไมล์ และได้อุทิศตัวเองเพื่อการศึกษาและการเขียนตำราทางการเมือง ซึ่งผลงานเหล่านั้นได้สร้างชื่อเสียงให้มาเคียเวลลีไม่ว่าจะเป็น บทความวิชาการ ร้อยแก้วร้อยกรอง หรือบทละครต่างๆ เช่น เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) จนเมื่อปี ค.ศ.1520 มาเคียเวลลีได้รับบัญชาจากคาร์ดินัล กุยลิโอ้ เดอ เมดิซ๊ ให้เขียนประวัติของนครฟลอเรนซ์[7]ในปี ค.ศ.1525 ได้กลับเข้ามาวงการของการเมืองอีกครั้งเป็นระยะเวลาสั้น ในปี ค.ศ.1526 ได้เป็นประธานคณะกรรมการส่วนท้องถิ่นและมาเคียเวลลีได้มีโอกาสไปปฎิบัติการทางการฑูตในฐานะกึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักสันตะปาปา ทำให้มาเคียเวลลีมีความหวังที่จะไดกลับมารับตำแหน่งในเมืองฟลอเรนซ์อีกครั้ง แต่ถูกกล่าวหาซึ่งทำให้เสียโอกาสที่จะเข้าไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการ มาเคียเวลลีถึงแก่กรรมด้วยวัย 58 ปี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1527 และมีพิธีฝังศพเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1527 ณ ซันตา โกรเช ฟลอเร็นซ์[8]


ผลงาน[แก้]

ผลงานในด้านวรรณกรรมหรืองานเขียนของมาเคียเวลลีมีหลากหลายประเภทโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้[9]

1.งานเขียนที่เป็นผลมาจากหน้าที่การงาน[แก้]

  • Reports on The Florentine's Republic's Efforts to Suppress the Pistoia Factions
  • Of the Methods of Dealing with the Rebels of the Valdichiana
  • Discourses on Florentine Military Preparation
  • Description on the Affairs of France
  • Report on the Affair of Germany

2.งานเขียนหลังจากที่มาเคียเวลลีออกจากราชการ เป็นช่วงที่มีผลงานมากที่สุด[แก้]

  • The Prince(ค.ศ.1513)
  • The Discoureses on the Ten Books of Titus Livius (ค.ศ.1512-16)
  • The Art of WAr (ค.ศ.1520)
  • The Life of Castracani (ค.ศ.1520)
  • The History of Florence (ค.ศ.1520-1525)

3.งานเขียนที่เป็นบทกวี หรือ บทละครตลก[แก้]

  • The Golden Ass
  • Decennale primo (ค.ศ.1506)
  • Decennale secondo (ค.ศ.1509)
  • Belfagor arcidiavolo (ค.ศ.1515)
  • Andria or The Girl From Andros (ค.ศ.1517)
  • Asino d'oro (ค.ศ.1517)
  • Mandragola (ค.ศ.1518)
  • Frammenti storici (ค.ศ.1525)

The Prince[แก้]

เป็นงานเขียนชิ้นสำคัญของ มาเคียเวลลี โดยได้พูดถึงปรัชญาและแนวคิดทฤษฎีการเมืองในทาง เสียดสี และได้เล่าถึงสภาพความเป็นอยู๋ของคนในสมัยนั้นพูดถึงการทหารและสถานการณ์ทางการเมืองรวมถึงความเป็นจริงของนักการเมือง สะท้อนประสบการณ์ 15 ปีที่มาเคียเวลลีได้ทำงานที่เมืองฟลอเรนซ์ ผลงานชิ้นนี้เป็นงานเขียนที่น่าจดจำของมาเคียเวลลีแม้หนังสือเล่มนี้จะได้ตีพิมพ๋หลังจากมาเคียเวลลีเสียชีวิตไปแล้ว 5 ปี "ตามที่ ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของ The Prince ดังต่อไปนี้

  • 1.การแยกการเมืองออกจากศาสนา
  • 2.รัฐเป็นสิ่งสูงสุด
  • 3.ต้องแยกรัฐออกจากศีลธรรมจรรยา
  • 4.นักการเมืองเป็นนักฉวยโอกาส
  • 5.อย่ากลัวที่จะต้องทำผิดบ้าง
  • 6.ผู้ปกครองไม่จำเป็ฯต้องเป็นคนดี
  • 7.ผู้ปกครองควรให้คนกลัวมากกว่าคนรัก
  • 8.หลีกเลี่ยงการประจบสอพลอ
  • 9.ผู้มีอำนาจย่อมเป็นผู้ถูก
  • 10.ผู้มีอำนาจไม่ควรอยู่ที่ทางสายกลาง
จากทัศนคติดังกล่าวทำให้มาเคียเวลลีถูกตั้งชื่อว่าเป็น นักคิดที่ไร้ศีลธรรม และ นักคิดที่กล้าหาญ ไปพร้อมๆกันเพราะมาเคียเวลลีได้พูดถึงธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ในทางการเมืองซึ่งแนวคิดนี้ก่อให้เกิดระบบการเมืองแบบรัฐชาติ (nation-state)ซึ่งถือเป็นระบบการเมืองที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน"[10]ในปัจจุบันเจ้าผู้ปกครองยังคงมีอิทธิพลต่อนักการเมืองในสมัยปัจจุบันโดยนักการเมืองที่สำคัญบางท่านได้นำแนวคิดจากThe Prince มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการบ้านเมืองโดยการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ของแต่ละที่ 
"เจ้าผู้ปกครองจะต้องเรียนแบบจิ้งจอกและสิงโต ด้วยว่าสิงโตไม่อาจป้องกันตัวเองจากกับดัก และหมาจิ้งจอกไม่อาจป้องกันตัวเองจากหมาป่า ดังนั้นเราจึงต้องเป็นหมาจิ้งจอกในการระแวดระวังกับดัก และเป็นสิงโตที่จะทำให้หมาป่ากลัว"นิคโคโล มาเคียเวลลี

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

https://blogazine.pub/blogs/atthasit-muangin/post/5722

http://wwwanupong.blogspot.com/2011/11/political-philosophy.html

อ้างอิง[แก้]

  1. สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า15
  2. ธีระวิทย์.(2523).(สถาปนิกผู้สร้างทฤษฎีการเมืองตะวันตกจากแม็คคีเอเววลี่ถึงรูสโซ).หน้า12
  3. https://blogazine.pub/blogs/atthasit-muangin/post/5722
  4. คำนวล คำมณ๊.(2547).(ปรัชญาการเมือง).หน้า70
  5. ธีระวิทย์.(2523).(สถาปนิกผู้สร้าง ทฤษฎีการเมืองตะวันตก จากแม็คคีเอเวลลีถึงรูสโซ).หน้า11
  6. สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(์Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17
  7. สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17-22
  8. สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า21
  9. สมบัติ จันทรวงศ์.(2521).(ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่).หน้า26
  10. ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร.(2557).รัฐศาสตร์.หน้า70-71