ผู้ใช้:Sasichay kammanit/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล

สาเหตุที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจ[แก้]

เนื่องจาก ปัญหาทางเศรษฐกิจรัฐบาลจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจบริหารจัดงบประมาณและทรัพยากรให้เหมาะสม

หน้าที่ทั่วไปทางเศรษฐกิจของรัฐบาล[แก้]

การจำแนกหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาล เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในนโยบายการคลังการปฏิบัติหรือหน้าที่เกี่ยวกับนโยบายเหล่านี้ต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด

หน้าที่ในการจัดสรรทางเศรษฐกิจของรัฐบาล[แก้]

รัฐบาลมีหน้าที่ดำเนินการใน เรื่องการจัดหาสินค้าและ บริการสาธารณะโดยเป็นสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน และเป็นการบริการที่รัฐไม่เรียกเก็บค่าบริการกับประชาชนโดยตรง และไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริโภค แต่สินค้าและบริการบางอย่างยังมีการกำหนดเฉพาะบุคคลบางกลุ่ม[1]

หน้าที่ในการกระจายรายได้[แก้]

รัฐบาลต้องมีความเป็นธรรมในเรื่องการกระจายรายได้ก็ต้องมีความเป็นธรรมและทั่วถึงรัฐบาลกระทำได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ “การจัดเก็บภาษีอากรในอัตราก้าวหน้า จัดเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยในอัตราสูง การจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน”[2] หรือค่าธรรมเนียม และ ค่าบริการ ต่างๆ จากคนที่ได้รับประโยชน์และนำรายได้จากส่วนนี้ไปใช้จ่ายแก่บุคคลที่สมควรได้ ที่จะมาในรูปของเงิน หรือบริการต่างๆรัฐบาลยังสามารถช่วยในเรื่องเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธิในเรื่องเจ้าของปัจจัยการผลิต เช่น ให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นโดยจัดการประกันสินค้าเกษตรมีการจำกัดหรือกำหนดการเข้ามาประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจบางอย่าง[3]

หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ[แก้]

เนื่องจากเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรัฐบาลจึงเข้ามามีบทบาทโดยรัฐบาลใช้เครื่องมือที่ก่อให้เกิด “การจ้างงาน และการรักษาเสถียรภาพของราคา”[4] จากนโยบายงบประมาณเพื่อที่จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาว่าง งาน และปัญหาของระดับราคาต่างๆ รัฐบาลกระทำได้โดยควบคุมปริมาณเงินและค่าใช้จ่ายของประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถเป็นหลักได้ว่าประเทศจะมีรายได้สูงและประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชนทุกคน โดยทั่วไปแล้วหน่วยธุรกิจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ด้วยตัวเองยังรวมไปถึงการออกกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย[5]

ส่งเสริมและสนับสนุนความเติบโตทางเศรษฐกิจ[แก้]

โดยการแก้ปัญหาความยากจนให้ความสำคัญกับปัจจัย ที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตโดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์การศึกษาและสาธารณสุข ยังรวม ไปถึงการปรับปรุงโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ[6]

หน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลตามแนวคิด[แก้]

แนวคิดระบบเสรีนิยมหรือทุนนิยม[แก้]

มีเครื่องมือโดยใช้กลไกของตลาด ให้รัฐมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุดและสนับสนุนให้เอกชนเข้าไปมีเสรีภาพด้านการประกอบการต่างๆ แต่รัฐบาลมีหน้าที่ป้องกันทรัพย์สินรักษาความสงบต่างๆของประเทศทั้งดำเนินการอื่นๆที่เอกชนไม่สามารถทำได้ตามแนวคิดของ อดัม สมิท[7]

แนวคิดระบบคอมมิวนิสต์[แก้]

ระบบนี้รัฐบาลมีความเป็นใหญ่ในทรัพย์สิน ทุกอย่างในประเทศถือเป็นของรัฐบาลเพียงผู้เดียว[8] แนวคิดระบบนี้ประชาชนขาดเสรีภาพในการเลือกสินค้าหรือบริการ การทำงาน และยังรวมไปถึงการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆเป็นของรัฐบาลเพียงผู้เดียว ประชาชนไม่มีสิทธิในส่วนนี้เลย[9]

แนวคิดระบบเศรษฐกิจแบบผสม[แก้]

รัฐบาลมีส่วนช่วยในการวางแผนเพื่อ[10] เอกชนมีส่วนร่วมในการผลิตมากยิ่งขึ้น[11]

แนวคิดระบบสังคมนิยม[แก้]

รัฐบาลมีบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่าเอกชน ทำหน้าที่ดำเนินการพื้นฐานต่างๆของสังคมเน้นให้เกิดความยุติธรรมและการกระจายรายได้[12] แต่ระบบนี้ยังสามารถให้เอกชนมีสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัวได้[13]

จุดมุ่งหมายของรัฐบาลในการทำหน้าที่ทางเศรษฐกิจ[แก้]

เพื่อให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ[แก้]

เมื่อเศรษฐกิจมีเสถียรภาพแล้วก็จะเกิดการสร้างงานที่สูงขึ้น ยังทำให้ ไม่ก่อปัญหาเงินเฟ้อ[14]

เพื่อให้เกิดความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ[แก้]

เมื่อเศรษฐกิจมีความยุติธรรมก็จะเกิดการกระจายรายได้ของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆมีความเท่าเทียมและเหมาะสม[15] ก็จะไม่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆตามมา

เพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ[แก้]

การเจริญเติบ โตทางเศรษฐกิจนั้นคือจุดมุ่งหมายของการบริหารประเทศทุกรัฐบาล เมื่อเศรษฐกิจ เกิดมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นการผลิตสินชนค้าก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้การบริโภคสินค้ามากขึ้นตามความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็จะตามมาซึ่ง ทำให้ประชาชนในประเทศมีรายได้ต่อหัวมากขึ้น[16] และ ค่าความสุขของประชาชนก็จะเพิ่มขึ้น เช่นกัน

รายรับของรัฐบาล[แก้]

ที่มารายรับของรัฐบาล[แก้]

จาการที่รัฐบาลต้องมีหน้าที่ในการบริหารประเทศต่างๆจึงต้องมีการใช้จ่ายที่ค่อนข้างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องมีรายได้เพื่อที่จะนำมาใช้ในการบริหารประเทศต่างๆซึ่งรายได้ของรับบาลก็มาจากหลายส่วนด้วยกัน[17]


ประเภทของรายรับรัฐบาล[แก้]

รายได้จากภาษีอากร[แก้]

ซึ่งประกอบด้วยภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อมซึ่งภาษีทางตรงประกอบด้วย ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีปิโตเลียม ส่วนภาษีทางอ้อมประกอบด้วยภาษีการขายทั่วไปและภาษีการขายเฉพาะ[18]

รายได้จากธุรกิจของรัฐบาล[แก้]

คือ การที่รัฐผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ[19] เพื่อตอบสนองหรือจัดจำหน่ายแก่ประชาชน เช่น ผลกำไรและรายได้จากการเป็นเจ้าของธุรกิจ และสลากกินแบ่งรัฐบาล[20]

รายได้จากการกูยืมหรือก่อหนี้สาธารณะ[แก้]

เพื่อมาใช้จ่ายในการบริหารประเทศในส่วนนี้อาจมาจากการกู้ยืมต่างประเทศหรือจากประชาชน[21]

ประเภทของรายจ่ายของรัฐบาล[แก้]

รายจ่ายสาธารณะ[แก้]

คือการใช้จ่ายของรัฐบาลในการบริหารประเทศเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม[22]

ใช้จ่ายเพื่อการรักษาระดับการบริหารงานรัฐบาล[23][แก้]

ในส่วนนี้จะเป็นเกี่ยวกับการใช้จ่ายในการบริหารและการดูแลรักษาประเทศ รายจ่ายส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากสำหรับรัฐบาล[24]

ใช้จ่ายเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม[25][แก้]

ส่วนนี้จะเกี่ยวกับหน้าที่ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนมากที่สุด รายจ่ายในส่วนนี้ยังรวมไปถึงการลงทุนของรัฐบาล[26]

ใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือต่างประเทศ[27][แก้]

เป็นการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประเทศต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อความสงบสุขของโลก แต่ก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ[28]

  1. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545), หน้า23
  2. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545), หน้า24
  3. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545), หน้า24
  4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545), หน้า26
  5. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545), หน้า26
  6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เศรษฐศาสตร์ภาครัฐ(นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2545), หน้า27
  7. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า24
  8. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า24
  9. บ้านจอมยุทธ, ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์, www.baanjomyut.com(23 เมษายน 2560), บรรทัด1-19
  10. ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง, รูปแบบของเศรษฐกิจ, https://sites.google.com(23 เมษายน 2560), บรรทัด91-97
  11. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า25
  12. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า25
  13. ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง, รูปแบบของเศรษฐกิจ, https://sites.google.com(23 เมษายน 2560), บรรทัด40-46
  14. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า26
  15. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า26
  16. รศ.บุญธรรม ราชรักษ์,การคลังว่าด้วยการกระจายความเป็นธรรม(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548), หน้า5
  17. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า101
  18. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า46-47
  19. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า103
  20. ณัฐพัชร สถิตพรธนชัย, การคลังสาธารณะ(กรุงเทพมหานคร:บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด,2553), หน้า48
  21. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า104
  22. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า345
  23. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า345
  24. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า345
  25. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า346
  26. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า346
  27. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า346
  28. ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม, การคลังว่าด้วยการจัดสรรและการกระจาย(กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2541), หน้า346