ผู้ใช้:Clumsy/ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ "ไอ้กบฏ!!!" (Treason!!!) เป็นภาพจอห์น บุลล์ ผายลมใส่พระฉายาสาทิสลักษณ์พระเจ้าจอร์จที่ 3 และวิลเลียม พิตต์ ด่าเขาว่า "ไอ้กบฏ" ผลงานของริเชิร์ด นิวเทิน เมื่อ 19 มีนาคม ค.ศ. 1798 (พ.ศ. 2341)

ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ (ฝรั่งเศส: lèse majesté (/แลซมาแชสเต/); อังกฤษ: lese majesty (/ลีซมาเจสตี/); ละติน: crimen laesae majestatis (/ครีเมนลีซีมาเจสตาทิส/)) หมายถึง ความผิดอาญาว่าด้วยการละเมิดพระองค์ เสรีภาพ หรือพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ ซึ่งประเทศราชาธิปไตยถือว่าเป็นความผิดต่อรัฐอีกประการหนึ่ง และในประเทศไทย ความผิดฐานนี้นอกจากเป็นการละเมิดต่อพระมหากษัตริย์แล้ว ยังหมายความรวมถึงการละเมิดต่อพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ด้วย ดังที่บัญญัติในไว้ในประมวลกฎหมายอาญา

ความผิดฐานนี้ ในประเทศไทยบางทีเรียกโดยภาษาปากว่า "ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"[1], "การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"[2] และ "กฎหมายหมิ่น"[3] อันที่จริงแล้วความผิดฐานดังกล่าวเป็นรูปแบบหนึ่งของความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ตามกฎหมายไทย

ภูมิหลัง[แก้]

ความผิดฐานนี้ปรากฏครั้งแรกในสมัยโรมันโบราณและเรียก "ความผิดต่อเกียรติยศแห่งสาธารณรัฐโรมัน" ด้วยในครั้งนั้น พระจักรพรรดิ

This behavior was first classified as a criminal offense against the dignity of the Roman republic in Ancient Rome. In time, as the Emperor became identified with the Roman state (the empire never formally became a monarchy), it was essentially applied to offenses against his person.[1] Though legally the princeps civitatis (his official title, roughly 'first citizen') could never become a sovereign, as the republic was never abolished, emperors were to be deified as divus, first posthumously but ultimately while reigning, and thus enjoyed the legal protection provided for the divinities of the state cult; by the time it was exchanged for Christianity, the monarchical tradition in all but name was well established.

Narrower conceptions of offenses against Majesty as offences against the crown predominated in the European kingdoms that emerged in the early medieval period. In feudal Europe, various real crimes were classified as lèse majesté even though not intentionally directed against the crown, such as counterfeiting because coins bear the monarch's effigy and/or coat of arms.

However, since the disappearance of absolute monarchy, this is viewed as less of a crime, although similar, more malicious acts, could be considered treason. By analogy, as modern times saw republics emerging as great powers, a similar crime may be constituted, though not under this name, by any offence against the highest representatives of any state.

ในประเทศต่าง ๆ[แก้]

ไทย ประเทศไทย[แก้]

โครงสร้างของกฎหมายในปัจจุบัน[แก้]

ประมวลกฎหมายอาญา
ภาค 2, ลักษณะ 1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร,
หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ลำดับมาตรา
บทบัญญัติ
ชื่อมาตรา
มาตรา 107
• ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
• ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
• ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต
การปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์
มาตรา 108
• ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
• ผู้ใดพยายามกระทำความผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
• ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
• ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพ ของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
การประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์
มาตรา 109
• ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต
• ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
• ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี
การปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาืท หรือฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา 110
• ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี
• ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน
• ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
• ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือประทุษร้ายต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี
การประทุษร้ายต่อพระองค์หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
มาตรา 111
• ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 107 ถึงมาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น
การสนับสนุนการกระทำความผิดตามมาตรา 107 ถึงมาตรา 110
มาตรา 112
(แก้ไขเพิ่มเติมโดย ข้อ 1 แห่งคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 41 ลงวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2519)
• ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

วิวัฒนาการ[แก้]

การบังคับใช้[แก้]

ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยประเทศเดียวที่บังคับใช้ความผิดฐานนี้อย่างเข้มงวดและพร่ำเพรื่อ ซ้ำยังมีการตีความให้ครอบคลุมพฤติกรรมต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ขณะที่หลักการตีความกฎหมายอาญานั้นต้องตีความอย่างแคบตามตัวอักษรและเจตนารมณ์ ไม่อาจตีความอย่างกว้างเช่นกฎหมายแพ่งได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายว่า "ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (ละติน: nulla poena sine lege)

การวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

นานาชาติ[แก้]
  • • "ประเทศไทย แม้เป็นประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ธำรงไว้ซึ่งกฎหมายรุนแรงว่าด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์"[4]
  • • "พระมหากษัตริย์ไทยได้รับการปกป้องจากการกล่าวขวัญของสาธารณชน โดยกฎหมายว่าด้วยความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์อันเป็นกฎหมายที่เคร่งครัดที่สุดในโลกกฎหมายหนึ่ง"[5]
  • • "กฎหมายได้ดักผู้กระทำความผิดเป็นจำนวนอันน่าประหลาดเหลือแสนในช่วงปีที่ผ่านมา"[6]
  • • "กฎหมายโหด"[7]
  • • "กฎหมายอันเคร่งครัดที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์"[8]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Google Hits!; 2009, 14 August (20:27-ICT) : Online.
  2. Google Hits!; 2009, 14 August (20:30-ICT) : Online.
  3. Google Hits!; 2009, 14 August (20:32-ICT) : Online.
  4. ""Thailand is a constitutional monarchy but has severe lese majeste laws." (BBC; 2009, 21 February : Online).
  5. "Thailand's monarchy is sheltered from public debate by some of the world's most stringent 'lese-majeste' laws." (BBC; 2009, 19 January : Online).
  6. "So, the law has netted an odd assortment of offenders over the years." (BBC; 2008, 9 September : Online).
  7. "Thailand is not the only state to prosecute those who offend their head of state, though few such laws are as draconian." (BBC; 2007, 30 March : Online).
  8. "The strict laws in Thailand that forbid any criticism of the monarchy." (BBC; 2007, 12 March : Online).

อ้างอิง[แก้]

ภาษาไทย[แก้]

ภาษาต่างประเทศ[แก้]

  • BBC.
    • (2007, 12 March). Swiss man admits Thai king insult. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • (2007, 30 March). Sensitive heads of state. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • (2008, 9 September). Writer held for 'insulting' Thai royals. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • (2009, 19 Janurary). Writer jailed for Thai 'insult'. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • (2009, 21 February). Thailand frees Australian writer. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
  • Google Hits!
    • [2009, 14 August (20:27-ICT)]. ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • [2009, 14 August (20:30-ICT)]. การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).
    • [2009, 14 August (20:32-ICT)]. กฎหมายหมิ่น. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 14 August 2009).