ผู้ใช้:!dz4299/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
ประเทศไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพนักธุรกิจ ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด
คู่สมรสพัชญ์ชสุทธิ์ ไกรมาตย์
บุตรณัฐภรศิษย์ ไกรมาตย์


ภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ (ชื่อเดิม วรเดช) [1] [2] (เกิด: 15 กันยายน พ.ศ.2507) นักธุรกิจชาวไทยซึ่งเป็นผู้คิดประดิษฐ์ "ลูกบอลดับเพลิง" ซึ่งต่อมาเรียกว่า "ลูกบอลดับเพลิง ELIDE FIRE" เทคโนโลยีใหม่นี้พัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของถังดับเพลิงแบบดั้งเดิม ช่วยให้ผู้เห็นเหตุการณ์คนแรกสามารถ ดับไฟได้โดยไม่ต้องกังวลถึงอันตรายจากเปลวไฟหรือการแผ่รังสีความร้อน แม้ว่าจะไม่มีใครอยู่ในที่เกิดเหตุเมื่อเกิดไฟไหม้

ประวัติ[แก้]

ภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2507 เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนบุตรทั้งหมด 6 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิชา รัฐศาสตร์ และ ระดับปริญญาโทจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับผู้บริหาร (MPE) สมรสกับนาวาโทหญิง พัชญ์ชสุทธิ์ ไกรมาตย์ มีบุตร 1 คน ได้แก่ นายณัฐภรศิษย์ ไกรมาตย์

เริ่มต้นจากศูนย์[แก้]

บิดาทำสวน ทำไร่ชิง ไร่พริก และรับจ้างทำงานทั่วไป เพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัว ส่วนมารดาก็คอยดูแลเขาและน้องๆ เป็นครอบครัวใหญ่ อดบ้างกินบ้างแต่ก็ยังมีความสุข ในแต่ละวันเขาต้องเดินเท้าเพื่อไปเรียนหนังสือ เป็นระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ทำแบบนี้ทุกวันๆ ในความเหนื่อยล้าแต่มีอะไรซุกซ่อนอยู่ เขาได้เรียนรู้สรรพสิ่งของชีวิตจากสองฝั่งข้างทาง เห็นสรรพสิ่งรอบกาย ที่เวียนว่ายตายเกิด เมื่ออายุ 14 ปี ชีวิตที่เคยมีความสุขก็เริ่มพลิกผัน บิดาและมารดา ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตพร้อมกันทันทีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2521 ในช่วงอายุเพียงแค่ 14 ปี เขากลับต้องพบกับความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต เมื่อเสาหลักจากไปเขายึดมั่นหลักคำสอนของมารดาเป็นที่ตั้งมาเสมอนั่นก็คือ “เป็นคนดีนะลูก” เขาทำงานหาเลี้ยงชีพสุจริต ทำทุกอย่างที่มีคนจ้างเพื่อหาเงินมาเลี้ยงน้องอีก 4 คน แม้คนแถวนั้นจะตีตราเขาว่าเป็น “ไอ้ลูกไม่มีพ่อมีแม่..เดี๋ยวก็เป็นโจร”

การเดินทางครั้งแรกในชีวิต[แก้]

เขาได้ตัดสินใจเดินทางเข้ามายังกรุงเทพและเริ่มหางานทำ แต่เขาก็ไม่เคยลืมที่จะหาโอกาสเรียนหนังสือ เมื่อได้เข้ามาทำงานที่แรก มีคนสนใจและทาบทามอยากให้เขามาเป็นนักร้อง แต่ที่เขาเลือกคืออนาคตทางการเรียนเพราะคิดว่า ถ้ามีวุฒิเขาจะสามารถไปได้ไกลมากกว่าการเป็นนักร้อง สุดท้ายจึงตัดสินใจเป็นเด็กเสิร์ฟร้านอาหารลานเท ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ก้าวเข้าสู่รั้วของชาติ[แก้]

เมื่อถึงเวลาต้องเสียสละเพื่อรับใช้ชาติ เขาได้ไปรายงานตัวและฝึกที่ศูนย์ฝึกทหารใหม่ และสมัครเข้าเรียนการขนส่งทหารเรือ หลังจากนั้นจึงย้ายมาประจำการที่ กรมการขนส่งทหารเรือ บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เขาได้รับราชการจนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยใช้เวลาเพียง 3 ปีครึ่ง และจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เก็บเกี่ยวประสบการณ์[แก้]

เมื่อทำงานราชการจนถึงจุดอิ่มตัว เขาได้ตัดสินใจลาออก และท้าทายศักยภาพของตัวเองด้วยการมาทำงานในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง โดยได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย อาชีวอนามัย ระดับวิชาชีพ หลังจากนั้นได้ย้ายงานใหม่ มาทำงานอยู่ที่บริษัทญี่ปุ่นแถวแหลมฉบัง เขาได้ยกระดับความปลอดภัยจากอันดับ 0 เป็นอันดับ 5 ของประเทศติดต่อกันจนผู้ว่าราชการจังหวัดได้เล็งเห็นความสามารถจึงได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการศูนย์ความปลอดภัย ระหว่างทำงานเขาได้เก็บเกี่ยวความรู้ จากการเป็นพนักงาน หัวหน้างาน จนถึงระดับผู้บริหาร เรียนรู้ว่าการทำงานร่วมกับคนอื่นมันเป็นอย่างไร และการทำงานกับลูกน้อง กับหัวหน้า เราควรปฏิบัติตนอย่างไร

จุดเริ่มต้นของลูกบอลดับเพลิง[แก้]

เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2540 ได้เกิดโศกนาฏกรรมไฟไหม้ โรงแรมในเมืองพัทยาทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 91 ราย[3] [4] เขาจึงกลับมาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ลูกบอลดับเพลิง โดยเขาได้เริ่มทดลองจากการใช้ขวดน้ำดื่มทดลองซึ่งล้มเหลว จึงได้คิดค้นทดลองใหม่อีกครั้งด้วยการใข้ลูกบอลพลาสติก แล้วนำไปทดสอบที่ศูนย์ความปลอดภัยภาคตะวันออก ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือยังคงล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง แต่เขาไม่ได้ล้มเลิกความคิดที่จะประดิษฐ์ลูกบอลดับเพลิง เขาได้กลับมาคิดค้นและทำการทดลองใหม่ โดยในครั้งนี้เขาใช้ลูกบอลพลาสติกอีกครั้ง แต่ปรับส่วนผสมที่ใช้ในการดับเพลิง จากนั้นจึงเริ่มการทดสอบใหม่โดยการโยนลูกบอลดับเพลิงเข้าไปในกองไฟคราวนี้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เหมือนครั้งก่อนนั่นคือ "ไฟที่กำลังลุกไหม้นั้นดับลงอย่างรวดเร็ว"

เริ่มทำธุรกิจ[แก้]

สุดท้ายเขาได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทญี่ปุ่นเพื่อหันมาพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของเขาอย่างเต็มที่และก้าวเข้าสู่เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจดทะเบียนบริษัทในปี พ.ศ.2542 ภายใต้ชื่อว่า บริษัท สยาม เซฟตี้ พรีเมียร์ จำกัด และได้เข้าสู่ตลาดโลกในปี พ.ศ.2552 ปัจจุบันบริษัท สยาม เซฟตี้ พรีเมียร์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อิไลด์ ไฟร์บอล โปร จำกัด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2555 ในปัจจุบันมีลูกบอลดับเพลิง[5]อยู่ 3 รุ่น จวบจนวันนี้ ทั้งตัวเขาและสิ่งประดิษฐ์ ก็ได้คว้ารางวัลต่างๆมากมาย และได้กลายเป็นนักประดิษฐ์ที่สร้างนวัตกรรมใหม่อันดับ 1 ใน 100 ของนวัตกรรมและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

โดยเริ่มจากการรับรางวัลที่สภาวิจัยแห่งประเทศไทย ต่อมาในปีเดียวกัน เขาได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประกวด Brussels ureka Contest ณ ราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติในปี พ.ศ. 2544 โดยมีรายการรางวัลดังนี้[6]:

ปีที่รับ รายชื่อรางวัล
2544 1) Gold Medal with Mention from Eureka, Brussels the Kingdom of Belgium (The Gold Medal with Mention from Eureka Organization, Brussels Belgium, 2001)
2544 2) Being an international award from Russia Ministry of Emergency and Safety by the Deputy Minister of Russia Ministry of Emergency and Safety Federal state of Zia Is bestowed with the Best Human Invention in Human Security and Saving Award from Russia at Brussels Eureka 2001
2544 3) Received an award for an excellent invention From the Bulgarian and American Chamber of Commerce Received from the president Republic of Bulgaria 2001 (Award from Bulgarian American Chamber of Commerce & Industry at Brussels Eureka 2001)

ในปี พ.ศ. 2551 ยังคงได้รับรางวัลอีกมากมาย[แก้]

ปีที่รับ รายชื่อรางวัล
2551 1) Received the WIPO Award for Outstanding Inventors from World Intellectual Property Organization at the 1st IIDC Day, Bangkok 2008
2551 2) Received Semi-Prize, Korean Invention Promotion Association (KIPA), the Seoul International. Invention Fair 2008, Seoul - Korea
2551 3) Received the Award for the High Technical Level of Epitome the Creative Idea, Federal Agency for Science and Innovations of Russian Federation, the Seoul International Invention Fair 2008, Seoul - Korea

เมื่อเร็วๆนี้ ยังได้รับรางวัลจากงาน World Intelligence Conference ครั้งที่ 33 ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปี พ.ศ. 2562[แก้]

ปีที่รับ รายชื่อรางวัล
2562 1) The 33rd World Genius Convention, Tokyo, Japan 2019
2562 2) Tokyo Award, the 33rd World Genius Convention, Tokyo, Japan 2019

ทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดสิทธิบัตร[แก้]

  • WIPO PCT International Patent No. WO2008 / 150265 [7]
  • European Patent n* EP 2160233
  • Thai Patent No. 18966 [8]
  • Eurasian Patent No. 200802044
  • Turkish Patent No. TR2008 09279Y
  • US Patent No. US 6796382 at the Trademark Office [9]
  • Chinese Invention Patent No. ZL 02829433.5
  • World Intellectual Property Organization (WIPO) No. PCT / US / 2002/025158[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]