ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก
ด้านบน เบงกอลตะวันตก อินเดีย
ด้านข้าง โกโมโด อินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Lepidoptera
วงศ์: Nymphalidae
สกุล: Acraea
สปีชีส์: A.  terpsicore
ชื่อทวินาม
Acraea terpsicore
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง

Acraea violae (Fabricius, 1775)

ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก (อังกฤษ: tawny coster) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acraea terpsicore)[1] เป็นผีเสื้อขนาดเล็ก (53-64 มิลลิเมตร) ในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่ (Nymphalidae) พบได้ทั่วไปทุ่งหญ้าและพุ่มไม้เตี้ย ลักษณะการบินดูไม่มั่นคง ผู้ล่าแมลงส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงการล่าผีเสื้อชนิดนี้ สายพันธุ์นี้และผีเสื้อหนอนหนามปีกเหลือง (Acraea issoria) เป็นผีเสื้อเพียงสองชนิดในเผ่า Acraeini ที่พบในอินเดียขณะที่ส่วนใหญ่พบในแอฟริกา[2] โดยพบได้ตั้งแต่ อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ ไปจนถึง พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม บังคลาเทศ สิงคโปร์[3] [4] และรวมถึง ออสเตรเลีย ในปัจจุบัน[5]

อนุกรมวิธาน[แก้]

มีการถกเถียงกันมานานในหมู่นักอนุกรมวิธานว่าชื่อที่ถูกต้องของสายพันธุ์นี้คือ Acraea terpsicore Linnaeus, 1758[6] [7] หรือ Acraea violae Fabricius,[8] โดยปิแอร์และเบอร์โนด์ระบุว่าได้ตรวจสอบสองชนิดนี้ในสมาคมลินเนียนแห่งลอนดอน และถือว่า A. terpsicore กับ A. violae เป็นสายพันธุ์เดียวกัน[1] Bulletin de la Société entomologique de France. 102 (5): 405–412 – via Le site des Acraea de Dominique Bernaud.</ref> แต่ฮันนี่และสคอเบิลได้แย้งว่าตัวอย่างทั้งสองถูกเพิ่มเข้ามาในสมาคมลินเนียนในภายหลังโดย เจมส์ เอ็ดเวิร์ด สมิธ ที่เป็นผู้ซื้อตัวอย่างของลินเนียน ซึ่งเมื่อไม่มีตัวอย่างต้นแบบที่แท้จริงและยังไม่ถูกระบุลักษณะชัดเจน จึงมีโอกาสที่สองชนิดนี้อาจเป็นเพียงคำพ้องความหมายกัน[9]

มีการสับสน A. terpsicore กับสายพันธุ์แอฟริกา A. eponina Cramer, 1780.[10] ปิแอร์และเบอร์โนด์ได้ศึกษาปัญหานี้และนำชื่อเดิมว่า Acraea serena กลับมาใช้กับ A. eponina[11] [12]

ลักษณะ[แก้]

ปีกบนและปีกล่างมีสีพื้นเป็นสีส้มในตัวผู้และสีน้ำตาลอ่อนในตัวเมีย มีแถบและจุดดำประปราย ท้ายสุดของปีกล่างมีแต้มสีขาวเรียงขนานบนแถบสีดำ[13]

ด้านล่างของตัวเมีย

การกระจายพันธ์ุ และถิ่นที่อยู่[แก้]

ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกเป็นผีเสื้อที่บินไม่สูง โดยบินอยู่ในระยะ 3 เมตรเหนือพื้นดิน และมักจะเกาะบนต้นพืชในระยะ 1 เมตรเหนือพื้นดิน พบเห็นได้มากในบริเวณที่มีพืชที่เป็นอาหารตัวอ่อน (สกุลกะทกรก) ตัวเต็มวัยมักจะอยู่ตามพื้นที่เปิดโล่งบนพืชหลากหลายชนิด และมักหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีพงหญ้าหนาแน่นและพื้นที่ร่ม

ตัวเมียที่มีตุ่มสืบพันธ์ (sphragis)

ตัวเต็มวัยบินช้า ๆ ด้วยการกระพือปีกที่ดูเหมือนไม่มั่นคง เมื่อผีเสื้อชนิดนี้ถูกโจมตีจะแสดงพฤติกรรมเหมือนตายและปล่อยของเหลวสีเหลืองกลิ่นฉุนที่ทำให้ผู้ล่าเกิดอาการคลื่นไส้จากต่อมในข้อต่อ โดยผีเสื้อทุกชนิดที่มีกลไกลการป้องกันตัวลักษณะนี้จะมีโครงร่างแข็งภายนอกที่แข็งแรง ช่วยให้ตัวเต็มวัยสามารถอยู่รอดต่อไปหลังถูกนกจิกสองสามครั้งหรือหลังถูกกิ้งก่ากัด โดยเมื่อปล่อยทิ้งไว้ผีเสื้อจะเริ่มออกบินต่อไปโดยไม่สนใจผู้ล่า

ผีเสื้อชนิดนี้มักจะเกาะกินน้ำหวานบนดอกไม้ดอกเดียวกันเป็นเวลานานก่อนเปลี่ยนดอก เวลาเกาะจะกางหรือหุบปีก ขณะหุบปีกพื้นที่ปีกหน้าส่วนใหญ่จะถูกปีกหลังคลุม และบางครั้งผีเสื้อไม่ได้ทิ้งตัวลงบนดอกไม้ขณะเกาะกินอาหาร เพียงแต่เกาะพักบนดอกไม้ด้วยการกระพือปีกหน้า และกางปีกหลังไว้นิ่ง ๆ เพื่อรักษาสมดุล

ในไทยมีรายงานการพบพี่เสื้อชนิดนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 คาดว่าตัวอ่อนติดมากับพรรณไม้จากอินเดียหรือศรีลังกา[14] โดยพบได้ในทุกภาคของประเทศ[13]

ตุ่มสืบพันธุ์[แก้]

ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรกเป็นหนึ่งในกลุ่มผีเสื้อที่ตัวเมียมีลักษณะตุ่มสืบพันธุ์ (sphragis) ซึ่งเกิดขึ้นหลังการผสมพันธุ์ โดยหลังจากที่ตัวผู้ผลิตอสุจิแล้ว พวกมันจะหลั่งสารคล้ายขี้ผึ้งเพิ่มเติมจากต่อม ซึ่งจะไหลออกจากช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย กลายเป็นตุ่มสืบพันธุ์ที่จะแข็งตัวภายในไม่กี่ชั่วโมงเพื่อป้องกันการผสมพันธุ์ซ้ำ

วงจรชีวิต[แก้]

ผีเสื้อผสมพันธุ์กันบนพืชในวงศ์กันเกราและพืชในสกุลกะทกรก ซึ่งหลายชนิดมีสารพิษที่หนอนผีเสื้อจะสะสมไว้ และยังมีข้อสังเกตว่าพวกมันกินใบของ Hybanthus enneaspermus ในรัฐเบงกอล[15] และ บานเช้าสีเหลือง (Turnera ulmifolia) ในรัฐมหาราษฏระ[16]

ไข่[แก้]

ไข่จะถูกวางเป็นชุด ชุดละ 20 ถึง 100 ฟอง ไข่มีสีเหลือง ค่อนข้างยาว สูง และมีลายตามขวาง[17]

ตัวอ่อน[แก้]

ตัวอ่อนกินใบเสาวรส

ตัวหนอนที่โตเต็มมีความยาว 21 มิลลิเมตร ด้านหลีงมีสีน้ำตาลแดง ด้านท้องมีสีขาวอมเหลือง แต่ละปล้องมีหนามสีดำเรียงรอบปล้อง[14] หนามแต่ละก้านแตกแขนงออกเป็นก้อนย่อย หัวมีสีแดง ตัวหนอนแต่ละกลุ่มมีแนวโน้มที่จะกินอาหารกันเป็นกลุ่มและกินเนื้อเยื่ออ่อนของต้นพืชอาศัยได้ทั้งหมด ทำให้พวกมันเป็นศัตรูพืชสำคัญต่อต้นกะทกรกนอกจากนี้ตัวออ่อนยังมีสารพิษป้องกันตัวที่แปรรูปมากจากสารจากต้นกระทกรกเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย[17]

ดักแด้[แก้]

ดักแด้มีความยาว 17 มิลลิเมตร มีสีต้องห้ามแสดงอย่างชัดเจน เพื่อบ่งบอกว่าวัตถุนี่ไม่เหมาะกับการกิน โดยจะมีสีขาว เส้นสีดำหนา มีจุดและรอยแดงและส้ม[17] ระยะดักแด้ 6 วัน[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Bernaud, D.; Pierre, J. (1997). "Acraea terpsicore (Linné), problèmes de nomenclature et données biologiques (Lepidoptera, Nymphalidae)" (PDF). Bulletin de la Société entomologique de France. 102 (5): 405–412. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03 – โดยทาง Le site des Acraea de Dominique Bernaud.
  2. Moore, Frederic (1880). The Lepidoptera of Ceylon. London: L. Reeve & co. p. 66.
  3. Varshney, R.; Smetacek, P. A Synoptic Catalogue of the Butterflies of India (2015 ed.). New Delhi: Butterfly Research Centre, Bhimtal and Indinov Publishing. p. 222.
  4. Inayoshi, Yutaka. "Acraea violae   (Fabricius,1775)". Butterflies in Indo-China. สืบค้นเมื่อ 2018-03-31.
  5. "Arrival of Tawny Coster butterflies on the East Australian Coast coinciding with the winds of Tropical Cyclone Debbie".
  6. Linné, Carl von (1758). Systema naturae : Insecta : Lepidoptera. Halae Magdeburgicae : Typis et sumtibus Io. Iac. Curt. p. 466.
  7. "Papilio terpsicore". The Linnean Collections. สืบค้นเมื่อ 2018-04-04.
  8. Fabricius, Johann Christian (1775). Systema entomologiae : sistens insectorvm classes, ordines, genera, species, adiectis synonymis, locis, descriptionibvs, observationibvs. Flensbvrgi et Lipsiae. p. 460.
  9. Honey, Martin R.; Scoble, Malcolm J. (2001). "Linnaeus's butterflies (Lepidoptera: Papilionoidea and Hesperioidea)". Zoological Journal of the Linnean Society. 132 (3): 277–399. doi:10.1111/j.1096-3642.2001.tb01326.x.
  10. Eltringham (1912). Transactions of the Entomological Society of London. Royal Entomological Society of London. p. 239.
  11. Bernaud, D.; Pierre, J. (1999). "Acraea serena (Fabricius, 1775) (=A. eponina Cramer, 1780), problème de nomenclature et premiers états (Lepidoptera, Nymphalidae)" (PDF). Bulletin de la Société entomologique de France. 104 (4): 357–364 – โดยทาง Le site des Acraea de Dominique Bernaud.
  12. Savela, Markku. "Acraea violae (Fabricius, 1793)". Lepidoptera and Some Other Life Forms. สืบค้นเมื่อ June 30, 2018.
  13. 13.0 13.1 เกรียงไกร. 2556. Thailand Butterfly Guide. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สารคดี
  14. 14.0 14.1 ทัศนัย จีนทอง. 2563 ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก...ผีเสื้อบ้านๆ. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum.
  15. Das RP; AB Roy; R Polley; G Saha (2010). "A new record of larval host plant of tawny coster Acraea violae (Fabricius)". Journal of the Bombay Natural History Society. 107 (1): 63.
  16. Khot, R.; Gaikwad, K. (2011). "An additional record of larval host plant of Tawny Coster Acraea violae (Fabricius 1775)". Journal of the Bombay Natural History Society. 108 (2): 140.
  17. 17.0 17.1 17.2 Public Domain ประโยคก่อนหน้าอย่างน้อยหนึ่งประโยคประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: Bingham, Charles Thomas (1907). Fauna of British India. Butterflies Vol. 2. Taylor & Francis. pp. 471–472.
  18. โกวิทย์ หวังทวีทรัพย์. 2551. ผีเสื้อหนอนหนามกะทกรก. โครงการอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้.

การอ้างอิงอื่น ๆ[แก้]