ผีหิ้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผีหิ้ง เป็นพิธีกรรมในการเรียกผีบรรพบุรุษของชาวชอง มีที่มาจากการเล่นเชิญผีของเด็กเลี้ยงควาย จนกลายเป็นพิธีกรรมสำคัญในการติดต่อกับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว และเป็นพิธีที่ทำให้ญาติพี่น้องได้มาพบปะกัน

การเตรียมพิธี[แก้]

บ้านที่จัดให้มีการเชิญผีหิ้ง ต้องมีบริเวณเพียงพอให้ญาติๆ เข้ามารวมตัวกันได้ มีหิ้งแบบหิ้งพระสมัยโบราณ บนหิ้งมีขนมต้ม ขนมเทียน เหล้าและเนื้อสัตว์ต่างๆ แขวนรูปช้าง รูปม้าไว้ คนทรงผีต้องเป็นผู้หญิง ใช้ด้ายขาวที่โยงจากหิ้งเคียนรอบหัว ปักดอกไม้ไว้รอบ ทั้งนี้ ครูหมอผีจะเป็นคนเชิญผี โดยเชิญได้ปีละ 1 ครั้งๆละ 12 ผี เท่านั้น

การเชิญผี[แก้]

ครูหมอผีร้องเพลงเชิญผี โดยมี โทน กรับ ฉิ่ง ตีเป็นจังหวะ เมื่อเชิญผีมาแล้ว คนทรงผีลุกขึ้นเต้นรำ กินอาหารที่อยู่บนหิ้งจนอิ่ม จากนั้นจะล้มตัวลงบนตักของครูหมอผีๆ จะเป่ากระหม่อมด้วยคาถาใช้ข้าวสารเสก คนทรงผีจะลุกขึ้น พูดคุยกับลูกหลานด้วยกิริยาเหมือนคนที่ถูกเชิญมาเมื่อยังมีชีวิต เมื่อพูดคุยกันพอแล้ว ผีตัวแรกออกไป ผีตัวอื่นเข้ามาจนครบ 12 ผี จึงสิ้นสุดการเชิญด้วยการร้องเพลงส่งผี

กำหนดการเชิญ[แก้]

นิยมเชิญในช่วงกลางคืน ตั้งแต่เดือนห้าถึงเดือนหก โดยจะบอกญาติทั้งหมดให้มาร่วมงาน

ผีโรง[แก้]

ต่างจากผีหิ้งคือ นิยมเชิญตอนกลางวัน ต้องตั้งโรงนอกบ้านบนพื้นดิน ของแขวนหน้าโรงเป็นเรือ หรือ เครื่องบิน รายละเอียดอื่นเหมือนการเชิญผีหิ้ง

อ้างอิง[แก้]

  • พระครูธรรมสรคุณ (เขียน ขนฺธสโร). อารยธรรมชอง จันทบุรี ใน อารยธรรมชองจันทบุรี และอาณาจักรจันทบูร เมืองเพนียต. กทม. โรงพิมพ์ไทยรายวัน. 2541.