ปลาฉลามครุย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาฉลามครุย
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: เพลสโตซีน - โฮโลซีน, 2.5–0Ma
รูปวาดเต็มตัวของปลาฉลามครุย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ: Hexanchiformes
วงศ์: Chlamydoselachidae
สกุล: Chlamydoselachus
สปีชีส์: C.  anguineus
ชื่อทวินาม
Chlamydoselachus anguineus
(Garman, 1884)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของปลาฉลามครุย
ชื่อพ้อง
  • Chlamydoselachus anguineum Garman, 1884
  • Didymodus anguineus Garman, 1884

ปลาฉลามครุย (อังกฤษ: Frilled shark; ญี่ปุ่น: ラブカ) เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ในอยู่ในวงศ์ Chlamydoselachidae เดิมเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่มีรายงานพบในหลายพื้นที่ รวมถึงในเขตน่านน้ำของญี่ปุ่น ทำให้ปลาฉลามครุยกลายเป็น "ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต" อีกชนิดหนึ่งของโลก เพราะเชื่อว่ามันไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะเลยมาตั้งแต่ยุคครีเทเชียส จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

บริเวณส่วนหัว
ลักษณะฟันและปาก

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ปลาฉลามชนิดนี้ได้สร้างความฮือฮากลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั้งโลก เมื่อชาวประมงชาวญี่ปุ่นสามารถจับตัวอย่างที่ยังมีชีวิตได้ตัวหนึ่งในเขตน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งใกล้สวนน้ำอะวาชิมา ในนครชิซูโอกะทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียว ซึ่งเชื่อว่าปลาตัวนี้ลอยขึ้นมาเพราะร่างกายอ่อนแอเนื่องจากความร้อนที่ขึ้นสูงของอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งมีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็ตายไป[2]

เชื่อว่าปลาฉลามชนิดนี้ กระจายพันธุ์อยู่ในเขตน้ำลึกใกล้นอร์เวย์, แอฟริกาใต้, นิวซีแลนด์, ชิลี และญี่ปุ่น มีรูปร่างเรียวยาวคลายปลาไหลหรืองูทะเล เป็นไปได้ว่าตำนานงูทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นเรื่องเล่าขานของนักเดินเรือในสมัยอดีตอาจมีที่มาจากปลาฉลามชนิดนี้[3] มีผิวสีน้ำตาลหรือเทาเข้ม มีซี่กรองเหงือก 6 คู่ สีแดงสด และฟูกางออกเหมือนซาลาแมนเดอร์บางชนิด ทำให้ดูแลเหมือนครุย ซึ่งมีไว้สำหรับดูดซับออกซิเจนโดยเฉพาะ เนื่องจากในทะเลลึกมีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าด้านบนถึงกว่าครึ่ง[3] ปากกว้างเลยตำแหน่งของตา ภายในปากมีฟันที่แตกเป็นดอกแหลม ๆ 3 แฉก ทำให้สันนิษฐานว่าเป็นปลาที่ล่าปลาเล็กเป็นอาหารที่เก่งฉกาจชนิดหนึ่ง ความยาวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 6.5 ฟุต[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Chlamydoselachus anguineus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.1. 2003. สืบค้นเมื่อ April 25, 2010.
  2. Rare "Prehistoric" Shark Photographed Alive จากสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก
  3. 3.0 3.1 "ท่องโลกกว้าง: สุดยอดตำนานแห่งท้องทะเล ตอน ฉลามทะเลลึก". ไทยพีบีเอส. 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 20 September 2014.[ลิงก์เสีย]
  4. "ปลาฉลามสายพันธุ์โบราณที่หาดูยาก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]