ปลากะแมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลากะแมะ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Chacidae
สกุล: Chaca
สปีชีส์: C.  bankanensis
ชื่อทวินาม
Chaca bankanensis
Bleeker, 1852
ชื่อพ้อง[1]
  • Chaca bankae Giebel, 1857

ปลากะแมะ (อังกฤษ: Angler catfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Chaca bankanensis) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) มีรูปร่างประหลาด หัวแบนราบมากและปากกว้าง ครีบหลังและครีบอกสั้น ก้านครีบอกมีขอบหยัก ครีบท้องใหญ่ มีผิวย่นและเป็นตุ่มขนาดต่างๆ หัวมีติ่งหนังอยู่โดยรอบ ลำตัวสีน้ำตาลแดงเข้มหรือน้ำตาลไหม้ ท้องสีจาง มีประและจุดสีคล้ำกระจายทั่ว มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่กองใบไม้ร่วง มักอยู่นิ่งเป็นเวลานานเพื่อรอจับปลาเล็ก ๆ โดยอาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาสที่เดียวเท่านั้น[2] สถานภาพเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และบรูไน

ปลากะแมะในวัยอ่อน

ไม่บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะผู้ที่นิยมเลี้ยงปลาแปลก แต่เป็นชนิดที่เลี้ยงให้รอดยาก เนื่องจากปลามักปรับสภาพให้อยู่กับสิ่งแวดล้อมในที่เลี้ยงไม่ได้ [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. เอกสารดาวน์โหลด
  3. Roberts, Tyson R. (1982). "A Revision of the South and Southeast Asian Angler-Catfishes (Chacidae)". Copeia. American Society of Ichthyologists and Herpetologists. 1982 (4): 895–901. doi:10.2307/1444100. JSTOR 1444100.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Chaca bankanensis ที่วิกิสปีชีส์