ประคอง พลหาญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประคอง พลหาญ

นายประคอง พลหาญ (7 พฤศจิกายน 2478 - ) นายกสมาคมนักเรียนเก่ารัสเซีย อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม[1] และนายกสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย[2] คนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมอสโก[3][4] มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศรัสเซีย[5] และเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกให้เกิดอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นในประเทศไทย[6]

การศึกษา[แก้]

นายประคอง พลหาญ สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ด้านธรณีวิทยาและการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม และในระดับเทียบเท่าปริญญาเอก ด้านการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมด้วยวิธีทางธรณีเคมี จากมหาวิทยาลัยมอสโก (Lomonosov Moscow State University) ประเทศรัสเซีย และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัตร จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 31[7]

การทำงาน[แก้]

ด้านการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม[แก้]

นายประคอง พลหาญ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเสนอแนะให้รัฐบาล ในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เปิดให้มีการให้สัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย[8] ส่งผลให้ในที่สุดเกิดอุตสาหกรรมการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมขึ้นในประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น รวมทั้งยังทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ นายประคอง พลหาญ ยังมีบทบาทสำคัญในการกำหนดแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในไทย และเชิญชวนเอกชนที่มีศักยภาพมาลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย

การจัดตั้งหน่วยงานด้านปิโตรเลียม[แก้]

นายประคอง พลหาญ เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมของประเทศไทย (กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน) และได้ร่วมกับ นายพิสุทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดำเนินการจัดตั้งหน่วยงานรับซื้อปิโตรเลียมจากบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย (ต่อมาพัฒนาเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))

การพัฒนาบุคลากรและวิชาชีพด้านธรณีวิทยา[แก้]

นายประคอง พลหาญ เป็นผู้จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย (The Geological Society of Thailand)[9] เพื่อเพิ่มพูนความรู้และยกระดับมาตรฐานการประกอบวิชาชีพธรณีวิทยา และสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับธรณีวิทยา โดยได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมระหว่างปี 2531 - 2533 รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์พิเศษ ทำการสอนเรื่องการปิโตรเลียมและธรณีวิทยาที่ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[8]

ด้านกฎหมายปิโตรเลียม[แก้]

นายประคอง พลหาญ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่สำคัญของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และยังได้ร่วมให้ความเห็นเพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายดังกล่าว ในฐานะที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสามัญและวิสามัญด้านพลังงานของรัฐสภาหลายคณะ[10]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

นายประคอง พลหาญ สมรสกับ พลตรีหญิงโสภาทิวัตถ์ พลหาญ มีบุตร 2 คน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.thairath.co.th/content/190426
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  3. http://www.thairath.co.th/content/529151
  4. https://www.youtube.com/watch?v=fQpPnR4M7pU&t=1339s
  5. https://www.topuniversities.com/universities/lomonosov-moscow-state-university#wurs
  6. https://www.dailynews.co.th/article/337139
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-02-08. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  8. 8.0 8.1 http://www.dailynews.co.th/article/337139
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2016-12-09.
  10. http://www.rsu.ac.th/repc/index.php/2014-12-22-09-01-59/2014-11-13-19-26-06/23-2014-11-13-14-08-02/129-2015-07-15-07-17-26
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๑, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖