ข้ามไปเนื้อหา

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ
Department of Mineral Fuels
ไฟล์:Logo dmf.jpg
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 (22 ปี)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กองเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมทรัพยากรธรณี
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ศูนย์เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ชั้น 21-22 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
งบประมาณต่อปี209.5005 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วรากร พรหโมบล, อธิบดี
  • ศุภลักษณ์ พาฬอนุรักษ์[2], รองอธิบดี
  • พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์, รองอธิบดี
ต้นสังกัดหน่วยงานกระทรวงพลังงาน
เว็บไซต์http://www.dmf.go.th

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (อังกฤษ: Department of Mineral Fuels) เป็นหน่วยงานระดับกรมของกระทรวงพลังงาน มีหน้าที่หลักในภารกิจสำคัญด้านพลังงาน ดำเนินงานตั้งแต่ปี 2545 เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการ การจัดหาและจัดการแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อสร้างและรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

ประวัติ

[แก้]

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2545 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ส่งผลให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ สังกัดกระทรวงพลังงาน มีฐานะเป็นหน่วยงานหลักที่เป็นแกนนำในการส่งเสริม และเร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติในประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือด้านการสำรวจและพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างและรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ก่อนที่จะมีการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี พ.ศ. 2545 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเป็นหน่วยงานระดับกองมีหน้าที่หลักในภารกิจสำคัญด้านพลังงานของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นทำให้มีกรมใหม่เกิดขึ้นอีก 2 กรม ได้แก่ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

อำนาจหน้าที่

[แก้]

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีหน้าที่บริหารจัดการในการให้สัมปทานการสำรวจ การผลิต การเก็บ รักษา การขนส่ง การขาย และการจำหน่ายปิโตรเลียม วิเคราะห์ วิจัย ประเมินศักยภาพ ปริมาณสำรอง และพัฒนาแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ พิจารณาสิทธิ ประสาน และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อผูกพันต่อรัฐ จัดเก็บค่าภาคหลวง และผลประโยชน์อื่นใดจากปิโตรเลียม ปฏิบัติงานด้านวิชาการ กำหนดมาตรฐานการดำเนินงานความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการประกอบกิจการปิโตรเลียม วิเคราะห์ และจัดทำแผนการดำเนินงาน การพัฒนาแหล่งและจัดการแหล่งปิโตรเลียม กำหนดแนวทางการจัดหา และพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ประสานความร่วมมือในการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วม พื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ และประเทศอื่น ประมวลผล และบริหารจัดการข้อมูลปิโตรเลียม ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]