ปยะตะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้องพระโรงของพระราชวังมัณฑะเลย์มีปยะตะเจ็ดชั้นอันโดดเด่น

ปยะตะ (พม่า: ပြာသာဒ်, ออกเสียง: [pjaʔθaʔ]; จากภาษาสันสกฤต ปฺราสาท; มอญ: တန်ဆံၚ် ออกเสียง: [tan.cʰi̤ŋ]) เป็นชื่อของอาคารหลังคาหลายชั้น โดยมีชั้นเป็นเลขคี่ (จากสามชั้นถึงเจ็ด)[1] ปยะตะ มักอยู่ในสถาปัตยกรรมพุทธและสถาปัตยกรรมหลวงของพม่า (เช่น อาคารพระราชวัง, เจดีย์) และหอคอยเหนือพระพุทธรูปหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ (เช่น พระที่นั่งและประตูเมือง)[1]

โครงสร้าง[แก้]

ปยะตะสร้างจากหลังคาทรงสี่เหลี่ยมมีหน้าจั่วสูงต่อเนื่องเป็นทรงกรวยหลายชั้น โดยมีโครงสร้างคล้ายกล่องแทรกขั้นระหว่างหลังคาแต่ละชั้น เรียกว่า เลบอ (လည်ပေါ်)[1] ปยะตะสวมมงกุฎยอดไม้แหลมที่เรียกว่า ไตง์พู่ (တိုင်ဖူး) หรือ กู้นพู่ (ကွန်းဖူး) ขึ้นอยู่กับรูปร่าง คล้ายกับ ที่ หรือฉัตร ซึ่งเป็นเครื่องประดับที่สวมยอดบนสุดของเจดีย์พม่า ขอบของแต่ละชั้นมีการประดับแผ่นโลหะปิดทองตรงมุมที่เรียกว่า ตุยีน (တုရင်; คล้ายกับช่อฟ้าของไทย) ปยะตะมีสามประเภทหลัก โดยแบ่งตามจำนวนชั้นที่เรียกว่า โบน (ဘုံ, จากภาษาบาลี ภูมิ) สามชั้น, ห้าชั้น และเจ็ดชั้น[2]

ประวัติ[แก้]

ภาพจิตรกรรมฝาผนังปยะตะก่ออิฐถือปูนในเมืองอังวะ

การใช้ปยะตะเริ่มแรกในสถาปัตยกรรมพม่ามีตัวอย่างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรพุกาม[3] ตัวอย่างโดดเด่นที่มีลักษณะเป็นปยะตะในยุคนี้ เช่น อานานดาพะย่า วัดกอด่อปะลีน

ในพม่าก่อนยุคอาณานิคม ปยะตะเป็นส่วนสำคัญในอาคารของราชวงศ์ เป็นสัญลักษณ์ของดาวดึงส์สวรรค์ของชาวพุทธ เหนือบัลลังก์หลักในท้องพระโรงมีปยะตะเก้าชั้น โดยส่วนยอดสื่อถึงเขาพระสุเมรุ (မြင်းမိုရ်) และชั้นล่างหกชั้นสื่อถึงที่อยู่ของเหล่าเทวดาและมนุษย์[4] นอกจากนี้ ประตูเมืองทั้งสิบสองแห่งของเมืองหลวงพม่ายังประดับด้วยปยะตะ โดยประตูหลักที่ใช้โดยราชวงศ์มีห้าชั้น[5]

พม่าก่อนยุคอาณานิคมมีกฎหมายป้องกันความฟุ่มเฟือย จำกัดการใช้ปยะตะไว้เฉพาะอาคารของราชวงศ์และทางศาสนาเท่านั้น[6] และมีการควบคุมจำนวนชั้นตามระดับชั้นยศ[7] ปยะตะเก้าชั้นสงวนไว้สำหรับกษัตริย์แห่งอาณาจักร โดยที่เจ้าฟ้าประเทศราชสำคัญ มีสิทธิใช้ปยะตะเจ็ดชั้น[8]

คลังภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Hla, U Kan (1977). "Pagan: Development and Town Planning". Journal of the Society of Architectural Historians. 36 (1): 15–29. doi:10.2307/989143. JSTOR 989143.
  2. Scott, James George (1910). The Burman, His Life and Notions. BiblioBazaar. p. 126. ISBN 978-1-115-23195-4.
  3. Strachan, Paul (1990). Imperial Pagan: art and architecture of Burma. University of Hawaii Press. ISBN 978-0-8248-1325-3.
  4. Ferguson, John (1981). Essays on Burma. Brill Archive. p. 53. ISBN 978-90-04-06323-5.
  5. Michael, Aung-Thwin (1986). "Heaven, Earth, and the Supernatural World: Dimensions of the Exemplary Center in Burmese History". Journal of Developing Societies. 2. ProQuest 1307834694.
  6. Fraser-Lu, Sylvia (1994). Burmese Crafts: Past and Present (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. ISBN 9780195886085.
  7. Tilly, Henry L. (1903). Wood Carving Of Burma. Burma: Superintendent, Government Printing.
  8. Nisbet, John (1901). Burma Under British Rule--and Before (ภาษาอังกฤษ). A. Constable.