พระราชวังมัณฑะเลย์

พิกัด: 21°59′34.59″N 96°5′45.28″E / 21.9929417°N 96.0959111°E / 21.9929417; 96.0959111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวังมัณฑะเลย์
မန္တလေး နန်းတော်
บริเวณพระราชวังมัณฑะเลย์
พระราชวังมัณฑะเลย์ตั้งอยู่ในประเทศพม่า
พระราชวังมัณฑะเลย์
ที่ตั้งในประเทศพม่า
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวังหลวง
ที่ตั้งมัณฑะเลย์
ประเทศ พม่า
พิกัด21°59′34.59″N 96°5′45.28″E / 21.9929417°N 96.0959111°E / 21.9929417; 96.0959111
เริ่มสร้างค.ศ. 1857
แล้วเสร็จค.ศ. 1859
เจ้าของรัฐบาลพม่า

พระราชวังมัณฑะเลย์ (อังกฤษ: Mandalay Palace, พม่า: မန္တလေး နန်းတော်) เป็นพระราชวังหลวงในประเทศพม่า และเป็นพระราชวังสุดท้ายแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของอาณาจักรพม่า ถูกก่อสร้างโดยพระเจ้ามินดง ระหว่างปี ค.ศ. 1857–ค.ศ. 1859 หลังการย้ายเมืองหลวงจากอมรปุระมายังมัณฑะเลย์ เพื่อหนีกองกำลังของจักรวรรดิอังกฤษ ระหว่างสงครามพม่า–อังกฤษ ตามความเชื่อ

พระราชวังมัณฑะเลย์เป็นที่พำนักของกษัตริย์มินดงและกษัตริย์ธีบอซึ่งเป็นกษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศ พระราชวังยุติการเป็นเป็นที่รโหฐานของราชวงศ์และเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 ช่วงสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สาม กองกำลังทหารได้เข้าไปสนามด้านในพระราชวังเพื่อควบคุมตัวพระราชวงศ์ อังกฤษเปลี่ยนพระราชวังให้กลายเป็นป้อมปราการดัฟเฟอริน โดยตั้งชื่อตามอุปราชแห่งอินเดียในเวลานั้น ตลอดยุคอาณานิคมของอังกฤษพระราชวังถูกมองเป็นสัญลักษณ์หลักของอำนาจอธิปไตยและอัตลักษณ์ของพม่า

บริเวณพระราชวังส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยการทิ้งระเบิดของฝ่ายพันธมิตร เหลือเพียงส่วนกรมธนารักษ์และหอนาฬิกาเท่านั้นที่เหลือรอดจากการทำลาย แบบจำลองของวังปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1990 ด้วยวัสดุสมัยใหม่โดยรัฐบาลพม่า โดยการลอกแบบโครงสร้างเดิม ปัจจุบันพระราชวังมัณฑะเลย์เป็นสัญลักษณ์และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของมัณฑะเลย์[1]

ชื่อ[แก้]

ชื่อทางการของพระราชวังมัณฑะเลย์ในภาษาพม่าคือ မြနန်းစံကျော် (Mya Nan San Kyaw) อันหมายความว่า "พระบรมมหาราชวังมรกตลือเลื่อง" แต่เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ ရွှေနန်းတော်ကြီး อันหมายถึง "พระราชวังทองคำ"

ประวัติ[แก้]

กองกำลังอาณานิคมของอังกฤษในพระราชวังมัณฑะเลย์ก่อนการถูกปล้นสะดม (พ.ศ. 2430)
ภาพวาดแบบพม่าดั้งเดิมบริเวณพระราชวังมัณฑะเลย์ในสมัยราชวงศ์โก้นบอง
กองทัพ​อังกฤษ​ เหล่าทหารอณานิคม​บริเตน​ ยกกำลังมายืนถึงหน้าวังหลวงทอง​ พระราชวัง​มัณฑะเลย์​ ในวันสุดท้าย​สงครามอังกฤษ​-พม่าครั้งที่​ 3​ วันที่​ 28​ พฤศจิกายน​ ปี​ 1885 เมื่อพระเจ้าธ​ี​บอ​เเห่งราชวงศ์​โก้นบอง​ทรงประกาศ​ยอมเเพ้ต่อจักรวรรดิ​บริติช​

พระราชวังมัณฑะเลย์สร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการก่อตั้งเมืองหลวงมัณฑะเลย์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1857[2] สถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ของพระราชวังมัณฑะเลย์ถูกย้ายจากพระราชวังในอมรปุระ มาตั้ง ณ มัณฑะเลย์[3] แผนผังเมืองแบ่งเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัส 144 บล็อก โดยพระราชวังมีขนาด 16 บล็อกอยู่ตรงกลางจากเนินเขามัณฑะเลย์[4] พระราชวังกินบริเวณพื้นที่ 2,581 ไร่ล้อมรอบด้วยกำแพงยาว 2 กิโลเมตร (6,666 ฟุต) และคูเมืองกว้าง 64 ม. (210 ฟุต) ลึก 4.5 ม. (15 ฟุต) ตามกำแพงมีมุขป้อมที่มียอดแหลมทองคำตามช่วงระยะทาง 169 ม. (555 ฟุต) กำแพงแต่ละด้านมีประตูสามบานรวมทั้งหมดสิบสองประตูแต่ละหลังมีสัญลักษณ์จักรราศี และแต่ละป้อมปราการมีสะพานห้าแห่งทอดข้ามคูเมือง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2400 เริ่มการก่อสร้างพระราชวัง หลังจากสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง ในปี พ.ศ. 2395 อาณาจักรพม่าที่เผชิญศึกมีทรัพยากรไม่มากนักในการสร้างวังอันโอ่อ่าแห่งใหม่ อดีตวังของอมรปุระถูกรื้อถอนและย้ายโดยช้างไปยังตำแหน่งใหม่ที่เชิงเขามัณฑะเลย์ การก่อสร้างบริเวณพระราชวังเสร็จสมบูรณ์อย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2402[2]

หลังจากจักรวรรดิบริติชยึดครองอาณาจักรพม่าอย่างสมบูรณ์ ชาวอังกฤษได้เข้าบุกและรื้อค้นพระราชวังและเผาหอสมุดหลวงที่ซึ่งเคยเป็นสถานที่สำคัญที่ใช้เก็บต้นฉบับคัมภีร์ใบลานชั้นสูงภาษาบาลีและพม่าดั้งเดิมจำนวนมาก อีกทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพม่าถูกปล้นสะดมและไปปรากฏจัดแสดงเป็นหนึ่งในโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์เซาท์เคนซิงตัน (ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียและอัลเบิร์ต, ลอนดอน) ในปี พ.ศ. 2507 เครื่องราชกกุธภัณฑ์ถูกส่งคืนกลับมาพม่าเพื่อแสดงไมตรีจิตร[5][6] อังกฤษเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมปราการดัฟเฟอรินและใช้เป็นค่ายกองทหาร ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองพระราชวังได้กลายเป็นคลังพัสดุของจักรวรรดิญี่ปุ่น และถูกเผาจากความประมาทโดยการวางระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตร เหลือเพียงส่วนกรมธนารักษ์และหอนาฬิกาเท่านั้นที่เหลือรอดจากการทำลาย

การบูรณะพระราชวังเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยกรมโบราณคดี[7] แต่ด้วยเงินทุนของรัฐบาลไม่เพียงพอ จึงมีการก่อตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูพระราชวังมัณฑะเลย์ด้วยเงินทุนที่มาจากสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการนี้ รัฐบาลระดับภูมิภาคของมัณฑะเลย์, มะกเว และซะไกง์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการวาดแผนสถาปัตยกรรมและสร้างส่วนต่าง ๆ ของพระราชวังขึ้นมาใหม่ โดยแบ่งออกเป็น

  • ส่วนรับผิดชอบมัณฑะเลย์: หอประชุมใหญ่ สีหาสนบัลลังก์
  • ส่วนรับผิดชอบมะกเว: หอสังเกตการณ์ ปทุมาสนราชบัลลังก์
  • ส่วนรับผิดชอบซะไกง์; หงสาสนบัลลังก์

ในขณะที่การออกแบบโดยรวมพยายามยึดถือตามแผน กระบวนการก่อสร้างได้รวมเทคนิคการก่อสร้างทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ มีการใช้แผ่นโลหะลูกฟูกใช้สำหรับมุงหลังคาของอาคารส่วนใหญ่ ยังมีการใช้คอนกรีตเป็นส่วนมากของสถาปัตยกรรม (พระราชวังเดิมถูกสร้างขึ้นโดยใช้เพียงไม้สักเท่านั้น)

โดยหนึ่งในอาคารที่ถูกรื้อถอนในช่วงการปกครองของกษัตริย์ธีบอ และสร้างใหม่เป็นวัดชเวนันดอว์ เป็นเพียงอาคารหลังเดียวที่เหลืออยู่ของพระราชวังไม้แบบดั้งเดิม

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลและรูป เมืองมัณฑะเลย์ และข้อมูลพระราชวังมัณฑะเลย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-29. สืบค้นเมื่อ 2012-01-30.
  2. 2.0 2.1 "Mandalay Palace" (PDF). Directorate of Archaeological Survey, Burma. 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 January 2018. สืบค้นเมื่อ 2006-08-22.
  3. List of Ancient Monuments in Burma (I. Mandalay Division). Vol. 1. Rangoon: Office of the Superintendent, Government Printing, Burma. 1910. p. 2.
  4. Kyaw Thein (1996). The Management of Secondary Cities in Southeast Asia. Case Study: Mandalay. United Nations Centre for Human Settlements. UN-Habitat. ISBN 9789211313130.
  5. Lowry, John,1974, Burmese Art, London
  6. Bird, George W. (1897). Wanderings in Burma. London: F. J. Bright & Son. p. 254.
  7. Moore, Elizabeth (1993). "The Reconstruction of mandalay Palace". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. University of London. 56 (2). doi:10.1017/s0041977x0000553x.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

21°59′34.59″N 96°5′45.28″E / 21.9929417°N 96.0959111°E / 21.9929417; 96.0959111