บรินด์ซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรินด์ซา
เขตยุโรปกลางและตะวันออก[1]
นมแกะ
พาสเจอไรส์ไม่
เนื้อสัมผัสแล้วแต่ชนิด
ไขมันแล้วแต่ชนิด
การรับรองบรินด์ซาปอตฮาแล: การตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการคุ้มครอง[2]
บรินด์ซาสโลวัก: สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับการคุ้มครอง[3]
สื่อที่เกี่ยวข้องที่คอมมอนส์

บรินด์ซา (สโลวัก: bryndza; จากโรมาเนีย: brânză ว่า "เนยแข็ง") เป็นเนยแข็งนมแกะที่มีผลิตทั่วไปในภูมิภาคยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง โดยเฉพาะในแถบเทือกเขาคาร์เพเทียนของประเทศสโลวาเกีย, ยูเครน, โรมาเนีย และทางใต้ของโปแลนด์[1] บรินด์ซาเป็นเนยแข็งลักษณะครีมสีขาว มีลักษณะเด่นอยู่ที่กลิ่นและรสที่แรง ลักษณะของเนยแข็งมีความชุ่มเล็กน้อย แตกง่าย และมีรสเข้มข้น กลิ่นและรสของเนยแข็งที่เป็นเอกลักษณ์ส่วนใหญ่มาจากกรดบิวทีริก รสโดยรวมของเนยแข็งเริ่มต้นที่รสอ่อน ๆ แล้วแรงขึ้น และจบลงที่รสเค็มปลาย ๆ สูตรการทำแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศและพื้นที่

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

bryndza หรือ brynza ซึ่งยืมมาจากคำในภาษาโรมาเนียว่า brânză [ˈbrɨnzə] ("เนยแข็ง") นั้นเป็นคำที่มีใช้ในหลายประเทศในยุโรป[4] เนื่องจากชาววลากได้อพยพไปทั่วยุโรปและนำคำนี้เข้าไปเผยแพร่ ถึงแม้คำว่า brânză จะเป็นคำเรียกเนยแข็งในภาษาโรมาเนีย[5] แต่ก็ไม่ได้หมายถึงเนยแข็งชนิดใดชนิดหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง สันนิษฐานกันว่าภาษาโรมาเนียน่าจะรับคำนี้สืบทอดมาจากภาษาเดเชีย[6][7] ซึ่งเป็นภาษาของประชากรยุคก่อนโรมันในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศโรมาเนีย นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าคำนี้ยืมมาจากคำในภาษาแอลเบเนียว่า brëndës ("กระเพาะ") เดิมทีคำนี้หมายถึงเนยแข็งที่บ่มในกระเพาะของแกะโดยการทำปฏิกิริยากับเรนนิตในกระเพาะของแกะ[8] นอกจากนี้เนยแข็งนี้ยังเป็นที่นิยมในประเทศเช็กเกียในชื่อ brynza พจนานุกรมอรรถาธิบายภาษาโรมาเนีย (Dicționar explicativ al limbii române) ระบุรากศัพท์ของคำ brânză ไว้ว่า "ไม่ทราบที่มา"[9]

ชื่อท้องถิ่นชื่ออื่น ๆ ที่พบยังรวมถึง brenca ในภาษาเซอร์เบีย; ברינזע ในภาษายิดดิช;[10] бринза และ бринзя ในภาษายูเครน; Brimsen ในภาษาเยอรมัน; брынза ในภาษารัสเซีย; และ juhtúró ในภาษาฮังการี

ประวัติศาสตร์[แก้]

คำนี้ได้รับการบันทึกไว้เป็นครั้งแรกในเมืองดูบรอฟนีกของโครเอเชียใน ค.ศ. 1370 ในรูปสะกด brençe ซึ่งมีคำบรรยายไว้ว่าหมายถึง "เนยแข็งวลาก" ส่วนรูปสะกด bryndza ปรากฏบันทึกครั้งแรกในราชอาณาจักรฮังการีใน ค.ศ. 1470 และในภูมิภาคปอตคาแลของโปแลนด์ที่อยู่ติดกันใน ค.ศ. 1527[11] ในสโลวาเกียถือว่า bryndza เป็นผลิตภัณฑ์ของสโลวาเกีย และเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำหรับอาหารประจำชาติอย่างบรินด์ซอเวฮาลุชกี ส่วนบรินด์ซาแบบทาที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบันนั้นเข้าใจว่าพัฒนาขึ้นโดยนักธุรกิจจากสตาราตูราในสโลวาเกียตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 18[12]

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Cheese Description: Bryndza". Cheese.com. สืบค้นเมื่อ 2008-06-11.
  2. 2.0 2.1 European Commission (2007-06-11). "Commission Regulation (EC) No 642/2007 of 11 June 2007 registering a name in the Register of protected designations of origin and protected geographical indications Bryndza Podhalańska (PDO)". สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.
  3. 3.0 3.1 European Commission (2008-07-16). "Commission Regulation (EC) No 676/2008 of 16 July 2008 registering certain names in the Register of protected designations of origin and protected geographical indications". สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  4. Vasmer, Max; Oleg Trubachyov (1996). "бры́нза". Этимологический словарь русского языка (Etymological dictionary of the Russian language) (ภาษารัสเซีย) (3rd ed.). ISBN 5-7684-0023-0. สืบค้นเมื่อ 2008-07-22.
  5. "cheese". Dictionar Englez Roman - English Romanian Dictionary Online. Industrial Soft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-08. สืบค้นเมื่อ 2008-07-09. brânză
  6. Ion I. Russu, Limba traco-dacilor, Editura Ştiințifică, 1967
  7. Ariton Vraciu, Limba daco-geților, Timişoara: Editura Facla, 1980
  8. Vladimir Orel, Albanian Etymological Dictionary, s.v. "brenda" (Leiden: Brill, 1998), 35.
  9. "Dexonline".
  10. "Rumania, Rumania!". Yiddish Songs and Lyrics.
  11. Votruba, Martin. "Bryndza". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 2008-12-07.
  12. "Bryndziar Vagač".
  13. European Commission (2007-10-04). "Publication of an application pursuant to Article 6(2) of Council Regulation (EC) No 510/2006 on the protection of geographical indications and designations of origin for agricultural products and foodstuffs (2007/C 232/10)". สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  14. European Commission (2006-09-23). "Publication of an application pursuant to Article 6(2) of Council Regulation (EC) No 510/2006 on the protection of geographical indications and designations of origin for agricultural products and foodstuffs". สืบค้นเมื่อ 2008-06-10.

อ่านเพิ่ม[แก้]