บรอมีเลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรอมีเลน
สับปะรด
หนึ่งในสายพันธุ์ Bromeliaceae
อุณหถูมิที่มีประสิทธิภาพสูงสุด40-60 °C
อุณหภูมิที่เหมาะสม50-60 °C
อุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมประมาณ 65 °C
pH ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด4.0-8.0
pH ที่เหมาะสม4.5-5.5


บรอมีเลน (อังกฤษ: bromelain) เป็นเอนไซม์ตามธรรมชาติจากพืชที่สามารถพบได้ทุกส่วนของสับปะรดทั้งใบ ลำต้น หรือผล แต่มีสารนี้มากที่สุดที่แกนลำต้น และเหง้า บรอมีเลน เป็นสารที่สามารถย่อยโปรตีนได้เช่น เนื้อ วัว หมู ไก่ ปลา ฯลฯ มีคุณสมบัติคล้ายตัวยาแอสไพริน ซึ่งสามารถลดการจับตัวของเกล็ดเลือดได้โดยมีฤทธิ์ยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ชักนำการหลั่งไซโทไคน์ที่มีความสามารถชักนำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวกำจัดเซลล์มะเร็งได้[1] มีการนำสารบรอมีเลนไปใช้ในทางการแพทย์อื่นๆ[2]

ประโยชน์ด้านโภชนาการ[แก้]

บรอมีเลน มีฤทธิ์ช่วยในระบบการย่อยอาหารและช่วยในการสมานแผลในกระเพาะอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถย่อยโปรตีนให้มีโมเลกุลเล็กลง หรือเมื่อมีอาการแน่นท้องหลังจากกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากๆ ให้ดื่มน้ำสับปะรดหรือทานเนื้อสับปะรดหลังอาหารเพื่อช่วยลดอาการแน่นท้องได้[3]

ประโยชน์ด้านการแพทย์[แก้]

ใช้บรอมีเลนควบคุมการเจริญเติบโตของเนื้องอก และชิ้นส่วนเนื้อร้าย(มะเร็ง) ใช้ในการช่วยสมานแผล เช่น ลดการอักเสบ แผลจากการผ่าตัด และช่วยให้รอยแผลเป็นดูดีขึ้นได้ ใช้บรอมีเลนในการสลายลิ่มเลือด หรือลดการจับตัวของเกล็ดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคที่เกิดจากการอุดตันในเส้นเลือดเช่น หลอดเลือดอุดตัน และโรคหัวใจ [2]

ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม[แก้]

อุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์เช่น ผสมน้ำสับปะรดในการหมักเนื้อ ผลิตเบียร์ ไวน์ และน้ำผลไม้ ผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงอุตสาหกรรมการฟอกหนัง การทำยาสีฟันและสารซักฟอก อุตสาหกรรมเส้นใย การทำกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยา ได้แก่ ยาลดการอักเสบบางชนิด และยาช่วยย่อย อีกทั้งในปัจจุบันมีการนำบรอมีเลนไปใช้เป็นอาหารเสริมกันมาก เพราะความเชื่อที่ว่าทำให้มนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันโรคและมีสุขภาพแข็งแรง[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. [1]
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2012-09-06.
  3. 3.0 3.1 [2]