นิรุกติศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิรุกติศาสตร์ คำว่า "นิรุกติ" แปลว่า "ภาษา" ส่วนคำว่า "ศาสตร์" แปลว่า "วิชา" หรือแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ "การเรียนรู้สิ่ง ๆ หนึ่ง" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ระบุไว้คือแม่คำของ "นิรุกติศาสตร์" คือ นิรุกติ และนิรุกติ คือ ภาษา, คำพูด โดยมี "นิรุกติศาสตร์" เป็นลูกคำ[1] นิรุกติศาสตร์ จึงมีความหมายในภาษาไทยคือ ศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ด้านภาษา เช่น นิรุกติศาสตร์ ภาษาไทย หมายถึง การเรียนรู้ศึกษาประวัติ ความเป็นมา รูปแบบ วิธีใช้ วิธี พูด อ่าน เขียน เกี่ยวกับภาษาไทย ที่ใช้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึงวิวัฒนาการของภาษาและการเปลี่ยนแปลง ในแต่ละช่วงเวลาที่สำคัญ

ประวัติความเป็นมา[แก้]

นิรุกติศาสตร์ การเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของภาษา เป็นลูกคำของคำว่า "นิรุกติ" แปลว่า ภาษา ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ ซึ่งคำว่า นิรุกติศาสตร์ หรือ การเรียนรู้เกี่ยวกับที่มาของภาษา ซึ่งตรงกับศัพท์บัญญัติ จากคำว่า philology[2] ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีการเริ่มใช้ในระหว่าง ค.ศ. 1350-1400 โดยก่อนหน้านั้นในอดีตมีการใช้คำว่า "linguistics" ซึ่งคำว่า philology มีรากศัพท์มาจากภาษาละติน และภาษากรีก ก็คือ การเรียนรู้ถึงภูมิหลัง และการใช้ในปัจจุบัน ของการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าด้วยวิธีการพูดหรือการเขียน แม้ว่าคุณลักษณะทั่วไปของภาษาที่ถูกศึกษา จะมีความสำคัญมากกว่าที่มา หรืออายุ แต่การศึกษาเรื่องที่มาและอายุของคำก็มีความสำคัญเช่นกัน

คำว่า ฟิโลโลจี (philology) ในภาษาอังกฤษ มาจากคำศัพท์ภาษากรีก ฟิลอส (Φιλος) ความรักอย่างพี่น้อง และ โลกอส (λογος) สนใจ หมายถึง ความรักในคำศัพท์ การศึกษาเชิงนิรุกติศาสตร์ คือการทำความเข้าใจถึง ที่มาของภาษา และมักใช้ในการศึกษาภาษา หรือคัมภีร์โบราณ

คำนี้ มักจะใช้สับสนกับคำว่า ศัพทมูลวิทยา (etymology) ซึ่งเป็นการศึกษาที่มาของคำศัพท์

ดูเพิ่ม[แก้]

บรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.royin.go.th/dictionary/นิรุกติ
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-02. สืบค้นเมื่อ 2018-11-09.